Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

พระราชดำริ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พระราชดำริ
พระราชดำริเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริกับแม่ทัพภาคที่ 1  พลโทวินิจ กระจ่างสนธิ์ ณพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้ดำเนินการตรวจสอบสภาพพื้นที่  เพื่อดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี โดยทรงมีพระราชวินิจฉัยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวโดยใช้รูปแบบในการฟื้นฟูเช่นเดียวกับการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี  และโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดราชบุรี
พระราชดำริเมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2541
- ให้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกโดยปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้มาก
- ให้ปลูกสับปะรดที่คุณภาพไม่จำเป็นต้องดีนักสำหรับเป็นอาหารช้างโดยที่ลูกค้าของสับปะรดคือ ช้างและเพื่อให้คนและช้างสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข  ให้ชาวบ้านมาช่วยดูแลพืชอาหารช้างพร้อมทั้งให้ค่าตอบแทนเขาด้วย ถ้าชาวบ้านไม่มีที่พักให้จัดที่พักอาศัยให้โดยไม่ต้องแพงนักและให้ปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ด้วย
- ให้สำรวจตรวจสอบพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะทำ CheckDam ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมก็ดำเนินการได้เลย
- ให้พัฒนาที่ดินโดยใช้หญ้าแฝก เพราะมีระบบรากยาว ช่วยอุ้มน้ำสร้างความชุ่มชื้นได้มากและจะพัฒนาดินด้วย
- ถ้ามีฝนแล้งหรือเกิดน้ำท่วมก็พิจารณาหาแหล่งน้ำสัก 1 จุด ซึ่งจะใช้น้ำมาเติม CheckDam ก็ได้และเนื่องจากแม่น้ำกุยบุรีเป็นแม่น้ำสายสำคัญปัจจุบันมีปริมาณน้ำน้อยและตื้นเขินในฤดูแล้งควรมีการสร้างฝายหรือเขื่อนเก็บกักน้ำ รวมถึงการขุดลอก หรือหาแนวทางแก้ไขโดยวิธีอื่นเพื่อให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปีเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรและการใช้สอยของราษฎรในบริเวณลุ่มน้ำดังกล่าว
พระราชดำริเมื่อวันที่8 มิถุนายน พ.ศ. 2541
- เนื่องจากสัตว์ป่าอยู่ในพื้นที่จำนวนมากโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในป่าลึกจึงควรมีการปลูกพืชเสริมเพื่อเป็นอาหารของสัตว์ป่า  เช่น การปลูกอ้อย สับปะรด หรือพืชอื่น ๆ ที่เหมาะสมโดยทดลองนำพันธุ์พืชขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปโปรยในกลางป่าบริเวณต่าง ๆเพื่อให้เติบโตและเป็นอาหารของสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะเป็นทฤษฎีใหม่อีกแบบ
- ควรพิจารณาจัดหาแหล่งน้ำให้แก่พื้นที่โครงการและนำมาใช้ในการเกษตรในพื้นที่ที่เหมาะสม
พระราชดำริเมื่อวันที่5 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
- ช้างควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างให้เพียงพอการปฏิบัติ คือ ให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลงเล็ก ๆ และกระจาย
- กรณีช้างออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างบ้าง
พระราชดำริเมื่อวันที่18 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
- เมื่อช้างมีอาหารรับประทานก็จะไม่มารบกวนชาวบ้านและให้นำเมล็ดพันธุ์พืชไปโปรยเพิ่มเติมอีก เพื่อจะได้เป็นอาหารของช้างป่าในปีต่อไป
พระราชดำริเมื่อวันที่12 สิงหาคม  พ.ศ. 2542
- การปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารช้างตามที่ได้ดำเนินการปลูกตามรูปถ่ายที่ส่งให้ทอดพระเนตรนั้นจะไม่ค่อยได้ประโยชน์เพราะปลูกไม่ลึกเข้าไปในป่า ควรปลูกให้ลึกเข้าไปในป่ามาก ๆและปลูกให้กระจาย อย่าปลูกเพียงแห่งเดียว ให้ปลูกหลาย ๆ แห่งการโปรยหว่านทางอากาศก็เช่นเดียวกัน ให้โปรยหว่านเข้าไปในป่าลึก ๆ และจัดชุดสำรวจด้วยว่าได้ผลหรือไม่  ต้องการให้ช้างหากินอยู่ในป่าลึก ๆก็ควรทำในป่าลึก ๆ เข้าไป
- การจัดทำCheck  Dam ก็ควรทำในป่าลึกๆ เข้าไป
- ทั้งการทำ Check  Dam  และการปลูกพืชให้ช้างไม่ควรใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก  ให้ทหารที่มีหน้าที่ในการลาดตระเวนอยู่แล้ว นำพืชหรือเมล็ดพันธุ์พืชติดตัวไปด้วยและทำการปลูกในขณะลาดตระเวนเข้าไปในป่าลึก ๆ
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
 กำหนดพื้นที่ดำเนินการเหนืออ่างเก็บน้ำยางชุมจำนวน 228,656 ไร่ หรือประมาณ 365.8 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำกุยบุรี โดยมีพื้นที่ปลายน้ำ (outlet) ที่อ่างเก็บน้ำยางชุมและพื้นที่เกษตรกรรมของราษฎร 3 หมู่บ้าน คือบ้านรวมไทย บ้านพุบอน และบ้านย่านซื่อในการดำเนินงานได้แบ่งพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะคือ
ระยะที่ 1 (ปี 2542-2544) มีพื้นที่ดำเนินการประมาณ 107,703 ไร่ หรือ172.32 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่หมู่บ้านรวมไทย
ระยะที่ 2 (ปี 2545-2549) มีพื้นที่ดำเนินการประมาณ 120,953 ไร่ หรือ193.52 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บ้านย่านซื่อและบ้านพุบอน
1. การอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า
1.1 การก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารลักษณะต่าง ๆ ได้แก่
(1)ฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน ( CheckDam)ดำเนินการก่อสร้างบริเวณพื้นที่ส่วนบนในลุ่มน้ำย่อยต่าง ๆ (ร่องห้วย) รวมทั้งสิ้น1,500 แห่ง
(2)ฝายต้นน้ำลำธารกึ่งถาวรดำเนินการก่อสร้างในร่องห้วยสลับกับ Check Dam จำนวน 11 แห่ง
(3)อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก โดยมีกรมชลประทานรับผิดชอบดำเนินงานแล้วเสร็จ9 แห่ง
1.2โครงการปลูกป่าและดูแลรักษาป่า จำนวน 18,000 ไร่
▪  กรมอุทยานแห่งชาติฯ(เดิมกรมป่าไม้รับผิดชอบ) ดำเนินการปลูกป่าและฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมจำนวน 4,690 ไร่
▪  บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)เข้าร่วมดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรีจำนวน 9,972 ไร่ โดยแยกเป็น กิจกรรมดำเนินงานในการปลูกฟื้นฟูสภาพป่า จำนวน 4,119ไร่ และ ดูแลและฟื้นฟูสภาพป่าตามธรรมชาติ จำนวน 5,853 ไร่ รวมทั้งสนับสนุนการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นจำนวน 250 แห่ง
1.3การโปรยหว่านเมล็ดพันธุ์พืช ตามเส้นทางเดินของช้างป่าระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตรได้แก่ มะขามเปรี้ยว มะเกลือ กระถิน และมะค่าขณะนี้เมล็ดพันธุ์ที่โปรยหว่านเจริญเติบโตขึ้นอยู่หนาแน่น
1.4การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำในบริเวณพื้นที่ 4,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่บ้านรวมไทยหมู่ที่ 7 ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2. การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
2.1 ดำเนินการขุดบ่อน้ำประจำไร่นา ขนาดความจุ 1,260 ลบ.ม. จำนวน 30 บ่อ
2.2 ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในลักษณะการจ้างงานให้กับเกษตรกรจำนวน 70,000 กล้า แนะนำและส่งเสริมให้ความรู้ด้านการพัฒนาและปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุจำนวน 200 ไร่ พร้อมทั้งบริการตรวจวิเคราะห์ดิน
2.3 ส่งเสริมอาชีพเพื่อเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรโดยการปลูกพืชแบบผสมผสานและการเลี้ยงไหม ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 32 รายส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 20 ราย ในพื้นที่ 100 ไร่และส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ จำนวน 9 ราย ในพื้นที่ 105 ไร่
2.4 ส่งเสริมการเลี้ยงแพะ จำนวน 50 รายและแจกจ่ายพันธุ์ปลาให้กับราษฎร จำนวน 20 ราย
3.การประชาสัมพันธ์และจิตวิทยาดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสิ่งพิมพ์และแผ่นพับและจัดชุดปฏิบัติการจิตวิทยาออกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าในพื้นที่โครงการอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าเพื่อให้ราษฎรกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจในผลกระทบที่เกิดขึ้นและเข้าใจในผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานของโครงการ

แสดงความคิดเห็น

>