Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

30 ปี "น้ำพุ" (2527) ภาพยนตร์ไทยในความทรงจำช่วงยุค 80

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ผ่านไปแล้ว 30 ปี ภาพยนตร์เรื่อง น้ำพุ ซึ่งเป็นหนังความทรงจำของวัยรุ่นไทยในช่วง 80 ออกฉายครั้งแรกวันที่ 9 มิถุนายน 2527 นำแสดงโดย อำพล ลำพูน รับบทเป็น น้ำพุ ภัทธาวดี มีชูธน รับบทเป็น สุวรรณี สุคนธา เรวัติ พุทธินันทน์ รับบทเป็น น้ารัน สุเชาว์ พงษ์วิไล รับบทเป็น ทวี นันทขว้าง และ วรรษมน วัฒโรดม รับบทเป็น แก้ว

น้ำพุ สร้างมาจากชีวิตของครอบครัวของ สุวรรณี สุคนธา นักเขียนชื่อดัง รวบรวมจากหนังสือ เรื่องของน้ำพุ และ พระจันทร์สีน้ำเงิน นวนิยายของเธอที่เขียนเรื่องราวชีวิตจริงของครอบครัวของเธอ โดยการเอาตัวละครจากนวนิยายมาเปลี่ยนจากชีวิตจริงอย่าง น้ารัน แทนน้ำแพท

เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำพุ หรือ วงศ์เมือง นันทขว้าง ลูกชายคนเดียวของสุวรรณี เพราะมีลูกสาวอีก 3 คน และเป็นคนชายขอบของครอบครัว มีปมปัญหาครอบครัวที่หย่าร้างกันสมัยวัยเด็ก ใช้ชีวิตเสเพลไม่ว่าหนีเรียน เที่ยวเตร่ และสูบบุหรี ก่อนจะติดยาตามคำแนะนำจากเพื่อน ระยะแรกติดแค่กัญชาก่อนจะใช้เฮโรอีนตามหลัง ส่วนการใช้ชีวิตน้ำพุกับแม่ได้อยู่อาศัยกับบ้านคนอื่น เพราะยังไม่มีบ้านเป็นหลักเป็นแหล่ง พอแม่ไปต่างประเทศให้น้ำพุไปอยู่อาศัยกับตายายที่แฟลต พอแม่กลับมาพร้อมข่าวดีว่าได้มีบ้านแล้ว เลยอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตากับพี่น้องที่ไม่ได้เจอกันนาน แต่ทว่าน้ารัน คู่ครองชีวิตคนใหม่ของสุวรรณีมาขออยู่บ้าน เป็นจุดชนวนที่ทำให้น้ำพุใช้ชีวิตเสเพลกับเพื่อน ไปเที่ยวเตร่ตามผับ แล้วได้พบกับกิ๊บ สาวใจแตกที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง คืนนั้นฝนตกหนักน้ำพุพากิ๊บเข้ามาอยู่บ้าน พอแม่เห็นกลับไม่พอใจ จึงเป็นให้น้ำพุหนีอยู่กับเพื่อนเสเพลหลายคน แล้วเปิดปราตี้พี้ยาจนตำรวจจับ และส่งไปที่บ้านเมตตา พอพ้นโทษ น้ำพุสอบติดโรงเรียนช่างศิลป์ แล้วพบรักกับแก้ว และคบเพื่อนใหม่อย่างจุก แต่น้ำพุยังใช้ยาอีกตามเคย จนจุกติดยาตาม พอแก้วเห็นจนเอือมระอา และเลิกคบกับน้ำพุ จากนั้นน้ำพุอยากจะเลิกยา เลยยอมรับกับแม่ว่าติดยา ก่อนจะไปบำบัดที่ถ้ำกระบอกพร้อมจุก หลังจากบำบัดเสร็จ แต่กลับไม่สร้างไม่ประทับใจของครอบครัว รวมทั้งแก้วด้วย น้ำพุตัดสินใจเดินทางไปทางมืดอีกครั้ง โดยการฉีดเฮโรอีนเข้าเส้นจนเกิดอาการช๊อค และเสียชีวิตในโรงพยาบาล

ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับการแสดงโดย ยุทธนา มุกดาสนิท ใช้ระบบการถ่ายทำแบบเสียงในฟิลม์ เพราะที่ผ่านมามีการใช้พาษย์เสียง ซึ่งต้นทุนสูง ทีแรกทางค่ายไฟวสตาร์ไม่อนุมัติให้สร้าง แต่แอบถ่ายทำอย่างเงียบๆ พอทางค่ายรู้เลยให้หยุดสร้าง ก่อนจะเปลี่ยนใจให้สร้างภายหลังจนถ่ายทำเสร็จ ทำรายได้ทะลุ 15 ล้าน (เยอะมากๆในสมัยนั้น) และคว้ารางวัลตุ๊กตาทอง 2 รางวัล ทั้งรางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลง และนักแสดงนำชาย (อำพล ลำพูน) ก่อนจะมีผลงานสร้างชื่อที่โด่งดังอย่าง ผี้เสื้อและดอกไม้ (2528) และ หลังคาแดง (2530) รวมทั้งจัดเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ในปี 2556 ด้วย

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สุวรรณี ไม่ได้ชื่นชมผลงานเรื่องนี้ เนื่องจากถูกฆ่าชิงทรัพย์ โดยฝีมือของเด็กช่างกลเพื่อต้องการทรัพย์สิน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2527 

ขอบคุณข้อมูลจาก Pantip และ 70-90 memory-blogspot.com

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

กบ อ๊บอ๊บ 20 ก.พ. 58 เวลา 23:16 น. 2

ถ้าคุณได้ดูเวอร์ชั่นอำพลในตอนนั้น.. มันอินกว่าตอนเด็กรุ่นนี้เล่นเยอะ หนังในความทรงจำเลยแหละ.เยี่ยม

0
วราภรรื พันธุ์พงศ์ 15 ก.ค. 64 เวลา 14:07 น. 3

ดีใจค่ะที่เห็นเรื่องราววรรณกรรมและภาพยนตร์ที่มีส่วนกระตุ้นสังคมในพื้นที่นี้

และขอชื่นชมการนำข้อมูลมาประกอบการเขียนบทความนี้ด้วยนะคะ

อ่านแล้วรู้สึกสะเทือนใจกับชะตากรรมของน้ำพุและแม่ของเขา-คุณสุวรรณี

และทำให้ภาพยนตร์และหนังสือมีความน่าสนใจขึ้นมาทันทีค่ะ


ขอท้วงประเด็นเดียว การระบุว่า ถูกฆาตกรรมโดยใครนั้น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้คำว่า "ฝีมือ" แล้วตามด้วยชื่ออาชญากร เพราะว่า คำว่า "ฝีมือ" หมายถึง ความสามารถในเชิงช่างที่เกี่ยวพันกับศิลปะค่ะ ที่ถูกต้องคือ "น้ำมือ" หรือ "การกระทำ" ของ.....จึงจะเหมาะสมและถูกต้องที่สุดค่ะ


0