Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงและแยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเด็ดขาดดีไหม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
การแยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเด็ดขาดจะเกิดผลดี คือ
- เป็นการป้องกันการแย่งชิงอำนาจ (ตามแนวความคิดด้านล่าง)
- เป็นการป้องกันไม่ให้ สส.อยากเป็นรัฐมนตรีหรือเข้ามาหาผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดิน
- ป้องกันการทุจริตในการบริหารงบประมาณแผ่นดินโดยกำหนดวิธีให้ สส.หรือกรรมาธิการ หรือ ปปช.มีอำนาจตรวจสอบได้อย่างเข้มข้น
- เป็นการสร้างความเข้มแข็งของการเมือง เมื่อฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ การบริหารก็มีความต่อเนื่องและจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติ

แนวความคิดในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง
นายกรัฐมนตรีของประเทศเป็นผู้กำอนาคตของชาติไว้ ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนี้ควรจะเป็นผู้ที่มีความฉลาด รอบรู้ มีประสบการณ์ ทันคนทันเหตุการณ์ ที่สำคัญคือต้องอุทิศตนเพื่อมาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้ชาติบ้านเมือง ไม่ใช่หวังเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือบริวาร สมควรที่จะต้องสรรหาบุคคลดังกล่าวมาให้ประชาชนเลือก พรรคการเมืองใดจะเสนอบุคคลเช่นว่านี้เข้ามาให้สรรหาก็ได้ แนวความคิดนี้คือ

1. เปลี่ยนแปลงการเลือกตั้ง สว. เพื่อให้ได้คนดีก่อนเป็นดับแรก ให้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็น สว.จะต้องเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่อาศัยในจังหวัดนั้นๆ และเคยดำรงตำแหน่งในระดับไม่ต่ำกว่าซี 9 หรือเคยเป็นผู้บริหารองค์กรหรือกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือประธานกรรมการบริหารของบริษัทหรือบริษัทมหาชนในจังหวัดนั้นเป็นระยะเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีและไม่เป็นสามีหรือภรรยาของ สส.ในขณะนั้นรวมทั้งห้าม สส.หาเสียงให้ผู้สมัครเป็น สว.ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม(คาดว่าคุณสมบัตินี้คงจะหลุดพ้นจากคำว่าสภาผัวเมียได้เป็นส่วนมาก)

2. ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครเป็นนายกรัฐมนตรี โดยกำหนดให้ สว.เป็นผู้คัดเลือกหรือสรรหาบุคคลบุคคลภายนอกที่ไม่เป็น สว.หรือ สส.มาเป็นกรรมการสรรหาผู้สมัครเป็นนายกรัฐมนตรีชุดหนึ่งก่อน คณะกรรมการชุดนี้ควรจะมีประมาณ 15 คนเพื่อให้มีผู้พิจารณามากพอประมาณ คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นกรรมการสรรหานายกรัฐมนตรีให้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

3. คณะกรรมการสรรหานายกรัฐมนตรีประกาศรับสมัครผู้เสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้สมัครจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ จากนั้นจึงดำเนินการตามกระบวนการต่อไปตามที่จะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเช่น ให้บุคคลเหล่านั้นมาแสดงวิสัยทัศน์ในทุกๆด้านว่าจะบริหารประเทศชาติอย่างไร หรือคณะกรรมการสรรหาจะกำหนดให้ทำอย่างอื่นหรือตรวจสอบวิธีอื่นอีกก็ได้เช่นตรวจสอบประวัติ ตรวจสอบการได้มาซึ่งทรัพย์สินบางรายการ
การสรรหานายกรัฐมนตรีโดยวิธีนี้คาดว่าเราจะได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถดีพอที่จะเข้ามาบริหารประเทศชาติได้ จะมีคนที่ฉลาด มีประสบการณ์ในการบริหารมาอาสาเป็นนายกรัฐมนตรี เราจะไม่มีคนที่ไม่รู้เรื่องการเมืองการต่างประเทศและการเศรษฐศาสตร์มาเป็นนากยกรัฐมนตรีอีก
4. ให้ประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อได้ตัวบุคคลที่เสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งจะมีจำนวนเท่าใดก็ตาม อาจจะได้ 10 คนหรือ 100 คนหรือมากกว่านั้น ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ให้ส่งรายชื่อบุคคลเหล่านั้นไปให้ กกต.ทำการประกาศให้ประชาชนเลือก ส่วนค่าใช้จ่ายในการหาเสียง การแถลงนโยบาย สถานที่ปราศรัย ให้ กกต.ประกาศกำหนด
เรียกว่าเป็นการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยประชาชนซึ่งคาดว่าจะเป็นการป้องกันการแย่งชิงอำนาจให้หมดไปได้
บุคคลที่ได้รับเลือกลำดับที่ 1 จะได้รับการเสนอโดย กกต.ให้ในหลวงโปรดเกล้าฯเป็นนายกรัฐมนตรี
นายกฯจัดตั้งรัฐบาล โดยคณะรัฐมนตรีจะต้องมาจากบุคคลที่ กกต.เสนอมาให้ประชาชนเลือกตั้งนั้นอย่างน้อย 5 คนซึ่งนายกรัฐมนตรีจะเลือกเอามาจากลำดับใดก็ได้ เพื่อให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี เป็นการเตรียมการไว้หากมีกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่สามารถทำหน้าที่ได้ในกรณีหนึ่งกรณีใดจะได้มีผู้ที่ขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการได้ โดยผู้ที่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ถือว่าได้รับเลือกมาจากประชาชนเช่นกัน
ให้รัฐบาลมีวาระการดำรงตำแหน่งบริหารราชการ 4 ปี เว้นแต่นายกรัฐมนตรีจะต้องพ้นจากตำแหน่งไปในกรณีใดตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
สำหรับรัฐมนตรีนั้นให้เป็นสิทธิของนายกรัฐมนตรีที่จะเสนอให้บุคคลใดมาเป็นก็ได้แต่บุคคลนั้นต้องไม่เป็น สส.หรือ สว.อยู่ในขณะนั้น
5. การพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเช่นการถอดถอน การปลดออกหรืออื่นๆ ให้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

แสดงความคิดเห็น

>