Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การฝึกสติ สมาธิ เจริญสมถะ วิปัสสนา มีผลดีต่อสมองและจิตใจ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
การฝึกสติ สมาธิ เจริญสมถะ วิปัสสนา มีผลดีต่อสมองและจิตใจ

ที่มา บีบีซีนิวส์ –  อาการ "กลัว" หรือผวากับสิ่งต่างๆ รอบตัว ดูเหมือนว่าจะเป็น

อุปสรรคสำคัญของมนุษย์ โดยเฉพาะการ "กลัวอย่างไร้เหตุผล" ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์

จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กสามารถระบุตำแหน่งบนสมองที่ช่วยพวกเรา ลบ "ความกลัว"

ที่มีอยู่ออกไปได้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University) เปิดเผยผ่านวารสารทางด้าน

ประสาทวิทยา "นิวโรน" (Neuron) ว่าในมนุษย์ก็มีต่อมลบอาการกลัวได้ เช่นเดียวกับสัตว์

โดยเชื่อว่าต่อมดังกล่าวอยู่ในสมองบริเวณที่เดียวกับที่เราบันทึกความกลัวลง ไป

บริเวณที่ลบหรือลืมความกลัวดังกล่าวเรียกว่า "อมิกดาลา" (amygdala) พื้นที่ขนาดเท่า

เมล็ดอัลมอนด์ ฝังอยู่บริเวณซีรีบรัม โดยเชื่อมต่อกับ ไฮโปธารามัส ซึ่งสมองตรงอไมก

ดาลาทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมเหตุผลและอารมณ์

ที่สำคัญกลไกทำงานลืมความจำของ "อมิกดาลา" นี้พบอยู่ในสมองสัตว์ แต่ยังไม่เคยมีผู้

ใดพบในสมองของมนุษย์มาก่อน และการค้นพบ กลไกของ "อไมกดาลา" ที่ช่วยให้ลืม

กลัวแบบเดียวกับสัตว์ในสมองมนุษย์นี้ จะช่วยทุ่นแรงให้บรรดาหมอๆ ทั้งหลายในการ

รักษา อาการจิตประสาท หรือ "โฟเบีย" ของคนไข้ได้

ดร.อลิซาเบธ เฟลปส์ และทีมงาน จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เปิดเผยว่า การค้นพบ

ตำแหน่งลืมความกลัวนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะเป็น โอกาสได้ศึกษาว่า อาการกลัว

ในมนุษย์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะดูแลมันอย่างไร แต่งานวิจัยน้อยชิ้นนัก ที่จะเข้า

ใจถึง วิธีการลดความกลัวให้น้อยลง

อาการกลัวถึงขั้นโฟเบียหรือจิตประสาท เป็นภัยต่อสุขภาพจิตและสุขภาพของมนุษย์ที่

จิตแพทย์พยายามหาวิธีรักษาแบบให้ ตรงจุดจริงๆ กันมานานแล้ว

"ยกตัวอย่าง เด็กๆ หลายคนกลัวความมืดเมื่อตอนวัยเยาว์ แต่พอโตขึ้นพวกเขาก็จะเลิก

กลัวความมืด หรืออาจจะมีแต่น้อยลง" ดร.เฟลปส์ กล่าว โดยเธอและทีมงานพยายาม

ศึกษาหากลไกลดความกลัวในสมอง โดยนำอาสาสมัครมาทดลองสร้างและลดความกลัว

พร้อมทั้งสังเกตดูว่า สมองส่วนใด ตรงไหนที่ทำงานในขณะนั้น

ทีมงานของ ดร.เฟลปส์ใช้การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ (MRI -

magnetic resonance imaging) เพื่อเข้าไปดูว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับสมองในช่วงระหว่างที่

เราเริ่มเลิกกลัว สิ่งที่เคยกลัว โดยพวกเขาได้ให้อาสาสมัครดูภาพสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่

ระบายสีไว้ พร้อมทั้งช็อตด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ จะทำให้เกิดสภาวะกลัว เหมือนๆ กับ

อาการจิตประสาท หรือโฟเบีย

เมื่ออาสาสมัครมองภาพสี่เหลี่ยมที่ระบายสีครั้งต่อๆ ไปจะทำให้เกิดอาการกลัวๆ กังวล

จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ทำให้เลิกกลัวด้วยการ ย้อนคือเหตุการ คือ ให้อาสาสมัครดูภาพ

สีเหลี่ยมระบายชุดเดิม (ที่กลัวไปแล้วเพราะโดนช็อต) พร้อมทั้งช็อตกระแสไฟเข้าไป

อีกรอบในปริมาณเท่าเดิม และค่อยลดๆ ลงจนอาสาสมัครดูภาพแบบปกติโดยไม่มี

กระแสไฟช็อต ก็จะทำให้อาการกลัวภาพนั้นหายไป

อย่างไรก็ดี เมื่อคณะวิจัยดูผลจากการสแกนสมองขณะอาสาสมัครถูกกระตุ้นให้กลัวจน

หายกระทั่ง หายกลัวแล้วพบว่า ตำแหน่งของ "อมิกดาลา" นั้นทำงานขณะที่กำลังบันทึก

ความกลัวเข้าสู่หัวสมอง และทำงานอีกเมื่ออาสาสมัครคลายความกลัวของพวกเขาลงไป

พร้อมกับสมองอีกส่วนหนึ่ง

การค้นพบเหล่านี้สนับสนุนงานวิจัยชิ้นก่อนๆ ที่อธิบายกันมาว่าในสัตว์มีระบบการแก้ไข

ความวิตกกังวลหรือความกลัวอย่างผิด ปกติได้ โดย ดร.เฟลปส์กล่าวว่า หากในมนุษย์

ก็มีกลไกนี้เช่นกัน ก็จะง่ายต่อการหายารักษาที่ตรงจุด

"ขณะนี้พวกเราทั้งหมดเริ่มมองหาสิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิมเพื่อที่จะรักษา อาการกลัว

ในมนุษย์พวกเราพยายามที่จะควบคุมอาการกลัว บางสถานการณ์พวกเรารู้ว่าไม่แสดง

อาการกลัวออกมา แต่บางสถานการณ์กลับแสดงออกมา"

"อย่างเช่น คนทั่วไปกลัวเสือ แต่เมื่อไปดูเสือในสวนสัตว์ เราก็จะไม่กลัวมัน สิ่งนี้เป็นคำ

ตอบว่า ร่างกายของเราจัดการกับความกลัวได้ แต่จะจัดการอย่างไร" ดร.เฟลปส์อธิบาย

หนึ่งในทฤษฎีที่เสนอโดย เดเนียล กอลแมน และ ทาร่า – เบนเนต กอลแมน ใน ค.ศ.

2001 ได้อธิบายการทำงานของสมาธิว่า

เป็นเพราะความสัมพันธ์ ระหว่าง amygdala ซึ่งเป็นเนื้อสมองที่มีรูปร่างคล้ายเม็ดแอลมอนด์

ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ทางอารมณ์ ความโกรธ ความกลัว และ บริเวณเนื้อสมองส่วน

prefrontal cortex กล่าวคือ เมื่อเรารู้สึกโกรธ หรือวิตกกังวล ในเรื่องต่างๆ amygdala

เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ทำให้เรารับรู้ความรู้สึกต่างๆ นี้ได้ จากนั้น pre-frontal cortex

จะทำหน้าที่หยุดและคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เรารู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นศูนย์หลั่งสารยับยั้งต่างๆ

หรือ (inhibitor center) ดังนั้น prefrontal cortex จึงทำหน้าที่ได้อย่าง ดีเยี่ยมในการ

วิเคราะห์และวางแผนในระยะยาว

ในทางกลับกัน amygdala เป็นสารที่ทำให้มนุษย์เกิด การตัดสินใจแบบเฉียบพลัน และจะ

ส่งผลอย่างยิ่งยวดในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเอาชีวิตรอด

ของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ถ้ามนุษย์เห็นสิงโต กำลังคืบคลานเข้ามา amygdala จะทำหน้าที่

เป็นกลไกในการต่อสู้หรือตอบสนองในการถอยหนีก่อนที่ pre-frontal cortex จะทำ

หน้าที่ตอบสนอง

แต่เมื่อต้องการใช้การตัดสินใจแบบเฉียบพลัน ถ้า amygdala เกิดความบกพร่องก็จะทำให้

เราเผชิญกับอันตราย อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงเมื่อสังคมเกิดการขัดแย้งซึ่งแตกต่าง

จาก เหตุการณ์ข้างบนที่มนุษย์เผชิญกับผู้ล่าคือสิงห์โต เราพบว่าเหตุการณ์ที่ทำให้มนุษย์

รับรู้ว่าเกิดความไม่สุขสบาย หรือรับรู้ว่าเกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลง ไม่สุขสบาย กลัว วิตก

กังวล เครียด และสับสน ก็จะทำให้เกิด amygdala บกพร่องด้วยเช่นกัน

เนื่องจากมีความแตกต่างของเวลาเมื่อมนุษย์เผชิญกับเหตุการณ์คับขัน amygdala และ

prefrontal cortex จะทำหน้าที่ด้วยตัวของมันเอง การฝึกสมาธิจะทำให้สมองส่วน left

pre-frontal cortex ทำงานได้ดีขึ้น สุดท้ายจะทำให้มนุษย์เราสามารถ ควบคุม

เหตุการณ์ต่างๆ ได้โดยตรง และเกิดความรู้สึกในด้านบวกขึ้น

ความแตกต่างในเรื่องบทบาทของสมองส่วน amygdala และ prefrontal cortex เรา

สามารถสังเกตการ ทำงานได้ง่ายๆ จากการใช้ยาเสพติดชนิดต่างๆ โดยทั่วไปการใช้

แอลกอฮอล์ จะกดการทำงานของสมอง โดยเฉพาะ ในส่วนของ prefrontal cortex

โดยจะทำให้เกิดการหลั่งสารยับยั้งต่างๆ ลดลง ความตั้งใจในการทำงานลดลง และลด

สภาวะ ความมั่นคงของอารมณ์ และเกิดพฤตกรรมก้าวร้าวได้ (Daneil Goleman &Tara

Bennett-Goleman, 2001)

นอกจากนี้ใน การศึกษาวิจัยบางชิ้น ยังพบว่าการทำสมาธิจะสัมพันธ์กับความมีสมาธิ การ

วางแผน การับรู้ การคิด และผลในเชิงบวกทางด้านอารมณ์ ยังมีงานวิจัยที่คล้ายกันซึ่งพบ

ว่าการทำสมาธิจะช่วยลดความรู้สึกหดหู่ใจ ความวิตกกังวล และเพิ่มการทำงานของสมอง

ในส่วน prefrontal cortex ซีกซ้าย

แสดงความคิดเห็น

>