Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

▶▶▶ 111 เรื่องน่ารู้ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
1. จิตวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันที่เปิดสอนวิชาจิตวิทยาในระดับปริญญาตรีเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

2. โดยรุ่นแรกที่เปิดสอน สอนด้วยตำราเป็นภาษาอังกฤษ (English) ล้วน

3. นักศึกษารุ่นแรกๆ สมัยก่อนมีจำนวนไม่ถึง 10 คน และจำนวนผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิง

4. สมัยก่อนทำการเรียนการสอนกันที่ท่าพระจันทร์ ตลอด 4 ปี

5. ปัจจุบัน นักศึกษา ป.ตรี จะได้เรียนที่รังสิต ส่วน นักศึกษา ป.โท เรียนที่ท่าพระจันทร์

6. ปัจจุบัน มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 50 คนต่อ 1 รุ่น (จำนวนรวมนักศึกษา 4 ชั้นปี จะมีประมาณ200 คน) และในจำนวนนี้เป็นเพศหญิงเกินครึ่ง

7. จิตวิทยาคลีนิก เป็นสาขาแรกที่เปิดสอนเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งเป็นภาควิชาจิตวิทยา (พ.ศ.2507)

8. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เปิดสอนเป็นที่แรกของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2518 โดย อาจารย์ สิริอร วิชชาวุธ

9. ปี พ.ศ. 2557 ที่จะถึงนี้ จะมีงานครบรอบครึ่งศตวรรษของการก่อตั้งจิตวิทยา มธ.

10. อาจารย์ ในภาควิชาจิตวิทยา ธรรมศาสตร์ จบมาโดยตรงสำหรับสอนเฉพาะในสาขาวิชาที่อาจารย์ท่านนั้น ๆ เรียนจบมา เช่น จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการทดลอง จิตวิทยาอุตสาหากรรม จิตวิทยาคลีนิก จิตวิทยาให้การปรึกษา จิตวิทยาการรู้คิดและปัญญา และอีกมากมาย

11. ถึง จะสังกัดคณะศิลปศาสตร์ แต่เนื้อหาวิชารากฐานนั้นเป็นวิทยาศาสตร์แท้ (pure psychology) ต้องเรียน ชีววิทยาของสัตว์ สรีระจิตวิทยา สถิติที่ใช้ในจิตวิทยา 1 และ 2 และระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ ฯลฯ

12. เป็นหลักสูตรวิทย์แท้ ๆ แต่ก็แปลก ที่เรียนจบไปยังไงก็ได้วุฒิ ศศ.บ. ศิลปศาสตรบัณฑิต -..-

13. เหตุ ที่ชื่อปริญญาเป็น ศิลปศาสตรบัณฑิต เพราะอยู่ในคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งเขามีสโลแกนว่า (ยาวหน่อยนะ แต่ทนอ่านเหอะ จะได้เก็ท) "การจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ในครั้งนั้นมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ ๑.เพื่อจัดสอนวิชาความรู้พื้นฐานทั่วไปทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์แก่นักศึกษาชั้นปริญญาตรีทุกคนของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวางในสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติและสังคม ตลอดจนมีความเข้าใจในเรื่องจิตใจมนุษย์ เห็นความต่อเนื่องของวิทยาการแขนงต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดวิจารณาญาณอันดี สามารถนำความรู้เฉพาะด้านในแขนงที่ตนศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมให้ ดียิ่งขึ้น ๒.เพื่อเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาสาขาต่างๆทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่ยังมิได้มีการจัดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือที่มีการจัดสอนแล้วแต่ยังไม่ถึงขึ้นประสาทปริญญา"

14. อาจารย์บอกว่าที่ได้ ศศ.บ. เพราะเราใช้หลักสูตรฝรั่ง ซึ่งคนเรียนจบจิตวิทยาเมืองนอกก็ได้ B.A . เหมือนกัน

15. น.ศ.ป.ตรี จิตวิทยา มธ. มั่นใจได้เลยว่าสามารถเดินทางไปศึกษาต่อระดับ ป.โท สาขาจิตวิทยาในเมืองนอกที่มีเปิดสอนนานาชาติ ได้อย่างสบายใจ เพราะหลักสูตรของเรานั้นได้รับเกียรติจากนักจิตวิทยาฝรั่งเป็นผู้มากำหนด โครงสร้างเนื้อหาไว้ทั้งหมด นั่นก็คือ สมาคม Fulbright นั่นเอง ซึ่งได้รับการยอมรับในหลักสูตรว่าเป็นมาตรฐานโลก (standardize)

16. เคยมีแนวคิดแยกไปก่อตั้งเป็น"คณะจิตวิทยา" เมื่อปี '50 แต่ต้องล้มเลิกเพราะบุคลากรในการดำเนินการบริหารมีไม่เพียงพอ

17. สัญลักษณ์ประจำเอกจิตฯ คือ ψ เป็นสัญลักษณ์ที่หน้าตาคล้ายกับ "ส้อม" เรียกว่า ไซ (psi)

18. มธ. เป็นที่แรกที่สอน Cognitive Psychology

19. ปัจจุบัน ป.ตรี เปิดสอนเน้นไป 3 สาขา คือ คลินิก, อุตสาหกรรมและองค์การ และการปรึกษา

20. จิตวิทยาคลีนิก เรียนไปเพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วย/คนไข้ที่มีอาการทางจิต ตามโรงพยาบาล สถาบันจิตเวช เป็นต้น

21. จิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ เรียนไปเพื่อที่จะนำความรู้ไปใช้บริหารองค์การให้เกิดความสมดุลระหว่าง พนักงานและองค์การ ทำให้พนักงานทำงานในองค์การอย่างมีความสุข องค์การได้รับประโยชน์ (outcomes)สูงสุดจากพนักงาน

22. จิตวิทยาให้การ ปรึกษา เรียนไปเพื่อช่วยให้ผู้ที่กำลังมีปัญหาสามารถหาทางออกให้กับปัญหาเหล่านั้น ได้ โดยนักจิตวิทยาให้การปรึกษาจะเป็นผู้ช่วยให้ ผู้มารับการปรึกษาเกิด insight สามารถรู้วิธีหรือ เครื่องมือที่จะจัดการกับปัญหาได้ด้วยตนเอง

23. ไอโอ เป็นคำย่อมาจาก Industrial and Organization Psychology ก็คือ จิตอุตฯ นั่นเอง

24. เอกจิตมีการจัดประกวดตำแหน่งเดือน, ดิน และดาว ประจำเอกจิตฯด้วย

25. อาจารย์ในภาควิชาฯ ส่วนใหญ่จะเป็นศิษย์เก่า เช่น อ.ทิพพาวดี เอมวัฒนะ ก็เป็นศิษย์เก่ารุ่น 3, อ.ธีระศักดิ์ รุ่น5

26. วิธี เทียบรุ่นง่าย ๆ เอาเลข เลขรหัสนักศึกษา 2 ตัวหน้า ลบ ด้วย "7" ก็จะได้รุ่นแล้ว เช่น 5506XXXXXX ก็เอา55 - 7 = อยู่รุ่น 48 นั่นเอง

27. มีการเรียกชื่อรุ่นต่าง ๆ กันไปเช่น psycho, psyche, psytu แล้วแต่การตกลงของแต่ละรุ่น

28. อ.ดร.อุบล วรรณา ภวกานันท์ เป็นสมาชิกของคณะกรรมการจิตวิทยาประยุกต์นานาชาติ และเคยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาคจิตฯ มธ. ด้วย ที่นับได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญของเมืองไทย เพราะท่านเป็นนักจิตวิทยาประยุกต์โลก คนแรก ของประเทศไทย และจบปริญญาเอกด้านการทดลอง ที่ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งในประเทศไทยมีคนเรียนสำเร็จเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น

29. น.ศ.ในเอกจิต นิยมเรียก อ.ดร.อุบลวรรณา สั้น ๆ ว่า "เจ๊บุ๋ม"

30. "ฟองเบียร์" เป็นชื่อสุนัข ของ อ.สิริอร แสนรู้และเก่งมากๆ ทั้งนี้เกิดจากการฝึกฝนโดยใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้

31. อ.สิริ อร เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมก่อตั้ง โครงการปริญญาโทจิต I/O มธ. ด้วย เปิดสอนครั้งแรก 2532มหา'ลัยไม่ให้งบประมาณมา ก็เลยต้องเปิดระบบ "เลี้ยงตัวเอง"! ทำให้นักศึกษา ป.โท ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนเพิ่มอีกเท่าตัว

32. กิจกรรมรับน้อง จะจัดขึ้นตอนปี 2 (เพราะต้องรอนักศึกษาจากเอกรวมเข้าเอกก่อน)

33. "ค่าย จับจิต" (ค่ายแนะแนวจิตวิทยา) คือ กิจกรรมใหญ่ประจำปีที่พวกเราทุกรุ่นภูมิใจนำเสนอ ♥ จัดขึ้นสำเร็จครั้งแรก ปี 2554 นำโดย น.ศ.จิตวิทยา รุ่น 46 ด้วยการให้ความช่วยเหลือ และการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากคณาจารย์ในภาควิชาฯ

34. และในปี 2554 นั้นเองก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คือ น้ำท่วมมหา'ลัยครั้งใหญ่ จึงทำให้สถานที่จัดงานใช้การไม่ได้ ทำให้ต้องเลื่อนกิจกรรมไปจัดในต้นปีถัดไป ถึงน้องจะสละสิทธิ์มาร่วมกันกว่าครึ่ง แต่สุดท้ายก็ยังประสบผลสำเร็จด้วยดี

35. รู้ หรือไม่ ใบสมัครค่ายจับจิตครั้งแรก มีมากกว่า 1,700 ชุด จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ เกินโควต้าที่กำหนดรับแค่ร้อยกว่าคน ทำให้พี่ค่ายฝ่ายทะเบียนต้องยอมสละเวลาเรียนมาช่วยกันเป็นกรรมการตัดสินเลย ทีเดียว

36. คนส่งใบสมัครค่ายจับจิต 2 รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,012 คน ตรงกับปีที่จัดเลย (2012) แต่ทว่าเกณฑ์รับคือ 120คน!

37. เอกจิต มีกลุ่มช่างภาพอิสระ "จับจิตโซไซตี้" เป็นกลุ่มนักศึกษาผู้ผลิตวิดีโอเกี่ยวกับจิตวิทยาด้วย

38. หนังสือ PSYBOOK เป็นหนังสือที่จัดทำพิเศษในโอกาสค่ายจับจิตเท่านั้น แต่ละปีจะมีเนื้อหาชวนอ่านต่างกัน

39. บางปีจำนวนนักศึกษารุ่นน้องมีน้อยกว่ารุ่นพี่ จึงทำให้เวลาจับพี่รหัส-น้องรหัส น.ศ.บางคนจึงเกิดสภาวะ"สายขาด"

40. ศิษย์เก่า-ปัจจุบันที่ทำงานในวงการบันเทิง เช่น บัว สโรชา ตันจรารักษ์, ขวัญ วง Shuu ค่าย RS, ก้อ วงพาสเทล

41. สมาคมนักจิตวิทยาแห่งประเทศไทย อยู่ที่ ม.ธรรมศาสตร์

42. ห้อง ทดลองทางจิตวิทยาของภาควิชาจิตวิทยา มธ. ถือเป็นห้องแล็บที่ดีที่สุดและถูกต้องที่สุดของประเทศ ณ ขณะนี้ ซึ่งนักศึกษา จิตวิทยา มธ. จะได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์ทางจิตวิทยา โดยบางตัวมีราคาถึง "7 หลัก" เลยทีเดียว!

43. เฉพาะเครื่องจับสัญญาณ Eyes Movement ราคา 5 ล้าน!!!

44. วิชา SC216 (ชีวะสัตว์) หินมากๆ สำหรับเด็กสายศิลป์ ใครเก็บด็อกมาล่ะก็ช้ำใจไปยันปี 4 เพราะมันตั้ง 4หน่วยกิต

45. ใน คาบ SC216 ช่วงท้าย ๆ เทอม จะมีปฎิบัติการผ่าหนูดอง กลิ่นนี่อย่าให้บอก หึ ๆ ๆ แล้วคนที่ผ่ากลับเป็นผู้หญิง ส่วนผู้ชายนั่งมองดูกันตาแป๋ว

46. วิชา PY211 (จิตวิทยาทั่วไป) นักศึกษาต่างคณะมาลงเรียนเยอะมาก PY 211 ลงเยอะเพราะเป็นตัวบังคับหลายคณะ และใครอยากวิชาโท ก็ต้องเก็บเป็นพื้นฐาน เป็นวิชาพื้นฐานคลาสสิคที่เด็กเอกจิตควรจะเก็บ A ให้ได้นะ

47. ดร. เสรี วงศ์มณฑา เป็นศิษย์เก่า และเคยมาสอนวิชา PY211 ในช่วงหนึ่งด้วย

48. น.ศ.เอกจิตฯ 2 คนที่มีส่วนร่วมอย่างมากในงานบอลปี 2555 คนหนึ่งออกแบบโลโก้งานบอลชนะเลิศ (พิซซ่า รุ่น 46) และอีกคนหนึ่งได้รับคัดเลือกเป็นลีดของมหาลัย (เบน รุ่น 46)

49. ว่ากันว่าจิตวิทยา มธ. เป็นอันดับ 1 ในด้านการประเมินการเรียนการสอน เพราะอาจารย์จบมาโดยตรงในรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย

50. รู้ หรือไม่! ตามหลักสูตรนานาชาติแล้ว คนที่จะเรียกตัวเองว่านักจิตวิทยา (psychologist) ได้ จะต้องเรียนจบป.เอกเท่านั้น แต่ในไทยนั้นแค่จบป.ตรีก็ถือว่าเป็นนักจิตวิทยาแล้ว

51. จิตวิทยา ธรรมศาสตร์เคยมี Boom เอก "ไซโค ไซโค ไซโคโลจี้ ไซชี ไซชี ทียู ลา" แต่ปัจจุบันไม่มีใครร้องต่อแล้ว

52. เอกจิต เป็นเอกที่ใหญ่ที่สุดในคณะศิลปศาสตร์ (เพราะจำนวนนักศึกษาเยอะสุด รุ่นละ 50-60 คน)

53. เด็ก เอกจิต เป็นมิตรกับทุก ๆ เอก แต่ไม่รู้ทำไมไม่ค่อยไว้วางใจนักศึกษาจากคณะแพทย์ อาจเพราะวิชาไหนที่พวกแพทย์ลง เด็กเอกจิตจะเป็นฐานทุกที (เช่น PY228 เป็นต้น) -..-

54. น.ศ. ที่ข้ามเพศ (Transgender) อาจารย์ไม่แนะนำเรียนจิตคลินิก เพราะทางสมาคมจิตคลินิกแห่งประเทศไทยระบุว่า นักจิตวิทยาคลินิกมีได้แค่ 2 เพศ คือ ชาย หรือ หญิง เท่านั้น เหตุผลเพิ่มเติม คือเมื่อไปประกอบอาชีพจะส่งผลโดยตรงต่อ rely&valid ในการแปรข้อมูลผู้ป่วย หรืออาจมีการ bias ได้นั่นเอง

55. วิชาจิตวิทยา การเรียนรู้ ในสมัยที่เปิดสอนที่ท่าพระจันทร์ (ยังไม่ได้ย้ายไปเรียนกันที่ศูนย์รังสิต) เขานิยมเลี้ยงนกพิราบไว้ใช้ทดลอง โดยนักศึกษาจะห้อยกรงไว้ตามระเบียงอาคารคณะศิลปศาสตร์

56. วิชาสถิติพื้นฐาน ST218 ถือเป็นวิชาบังคับนอกคณะที่เด็กเอกจิตจะต้องมีคนติด F ทุกปี (มันยากมากรึไง)

57. น่าแปลกที่หลายๆคนบอกว่า วิชาสถิติตัวที่ 3 ง่ายกว่าตัวที่ 1 กับ 2 อีก (คงเพราะเป็นวิชาประยุกต์ ไม่เน้นคำนวณ)

58. ไม่ต้องแปลกใจหากบางวิชาเราต้องไปเรียนจิตวิทยาที่อาคารเรียนคณะรัฐศาสตร์ เพราะห้องไม่พอ เป็นเรื่องปกติ

59. ห้องพักอาจารย์ภาคจิตฯ มธ. ศูนย์รังสิต ตั้งอยู่ที่ตึกศิลปศาสตร์ชั้น 6 ส่วนห้อง LAB นั้นจะอยู่ที่ชั้น 3

60. ห้องแลบท่าพระจันทร์อยู่ชั้นสอง แต่ตอนนี้ไม่ได้ใช้เพราะคณะจะ renovate ทำอย่างอื่น

61. ภาควิชาจิตวิทยา มธ. มีงบในการจัด road show ตามโรงเรียนต่าง ๆ ด้วย แต่ทว่านักศึกษาต้องไปดำเนินการจัดกิจกรรมกันเอง

62. การ ขอโควต้า EG แล้วไม่ผ่าน จะส่งผลกระทบต่อตารางสอนในเทอมต่อ ๆ ไปอย่างรุนแรง และเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าดวงใครดวงมัน ใครไม่ได้ถือว่า"ซวย" ไปขออาจารย์เป็นกรณีพิเศษแล้วกัน (ถ้ายังไม่ได้อีกก็ถือว่าโคตรซวย)

63. ก่อนที่จะมาเป็นเอกจิตวิทยา ก็มีเปิดสอนจิตวิทยาให้เด็กคณะนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ด้วย

64. สมา คมฟุลไบรท์ คือ กลุ่มนักจิตวิทยาชาวต่างประเทศที่เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาเด็กและครอบครัว ได้ร่วมวางแผนการเรียนการสอนในแรกเริ่มก่อตั้งเอกด้วย

65. อ.ที่ปรึกษา ปกติก็มีคนเดียว แต่ว่าน.ศ.บางคนอาจมีอาจารย์ที่ปรึกษาหลายคนได้ (งงไหม)

66. ถ้าเรียน ๆ ไปแล้วเกิดง่วง หรือเรียนแล้วไม่เข้าใจ ในคาบของ อ.เท็ด นักศึกษาสามารถปลดปล่อยอะไรบางอย่างออกมาได้

67. อ.ไบรท์ ชอบแจกขนม ทั้งแบบที่แกทำเอง และซื้อมา นักศึกษาอิ่มกันเลยทีเดียว

68. ถ้าคุณกำลังหาสถานที่ทำบุญทำทาน ต้องไปคุยกับ อ.บุรชัย แล้วจะไม่ผิดหวัง

69. อ.บุ รชัย สอบใบประกอบโรคศิลปะวิชาชีพจิตวิทยาคลินิกได้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศในรุ่นนั้นโดยเป็นรุ่นแรกที่เปิดสอบใบประกอบโรคศิลปะฯ

70. มีคนกล่าวว่า คุณอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้ หากลงเรียนวิชา Stress Management

71. จิตวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทยที่เปิดสอน Sensitivity Training ในปี 1973ซึ่งก่อนหน้านั้นมีสอนแค่ในต่างประเทศเท่านั้น

72. หาก ใครได้เรียนวิชา Sensitivity Training กับ อ.รุจนะ รับรองว่าถ้าคุณใจไม่แข็งพอคุณอาจเสียน้ำตาขณะเรียนได้ และวิชานี้เองที่คุณจะได้ล่วงรู้ความลับของเพื่อนๆ แบบหมดเปลือกโดยที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

73. อ.รุจนะ เป็นอาจารย์ที่"เฟี้ยว"มาก สไตล์การสอนโดนใจหนุ่มๆ วัยโจ๋จริงๆ ผู้ชายในเอกหลายคนยกย่องให้แกเป็นไอดอลเลยทีเดียว

74. อ.รุจ นะ ใจดีมาก (ในตอนที่แกอารมณ์ดี) มีครั้งนึงเด็กบอกไม่ได้กินข้าวเที่ยงมาเรียน อาจารย์แกเลยโทร1112 สั่งพิซซ่ามาแจกให้เด็กทุกคนในคลาสนั่งล้อมกินกันในคาบเรียน (และไม่ใช่แค่ครั้งเดียวด้วย) อบอุ่นจริงๆ sec นี้

75. ดูท่า อ.แพร น่าจะไม่ชอบทานซุปไก่สกัดเอาเสียมากๆ ลองเรียน Physiological Psy. กับท่านดูแล้วจะรู้ (ท่านจะบอกย้ำ ๆ ๆ ๆ จน น.ศ.ขึ้นใจเลยว่า "ไข่ต้มสองฟองมีประโยชน์กว่าซุปไก่สกัด" 555)

76. อ.อรอนงค์ได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์จิต I/O ที่เข้มที่สุด เป๊ะจริงอะไรจริง

77. อย่า คิดว่าคนเรียนจิตวิทยาการปรึกษาจะต้องพูดเก่งเป็นต่อยหอย เพราะจริง ๆ แล้วหลักการรักษาบำบัดผู้มีปัญหาที่ดีที่สุด คือการให้ผู้ป่วยเล่า(ระบาย)ปัญหานั้น แล้วทำความเข้าใจมันด้วยตัวของเขาเอง ส่วนเราก็แค่ฟัง

78. กิจกรรมรับน้องเอกจิตของ มธ. สร้างสรรค์มาก ขอบอก ใครพลาดแล้วพลาดเลยนะเออ

79. จิตวิทยา ธรรมศาสตร์ ไม่มีระบบ SOTUS เน้นระบบความสมัครใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทุกคนก็เห็นแก่ส่วนรวม และยังให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดีมาก ๆ โดยไม่มีการบังคับจากรุ่นพี่แต่อย่างใด

80. น.ศ.ที่จะเรียนจิตวิทยาตัวบังคับทั้งหลาย อย่าลืมขอโควต้า PY ตัวที่จะลงเรียนด้วยหละ (ถ้ามี)

81. เวลาแนะนำตัวว่าอยู่เอกจิต ถ้าคุณพูดเสียงไม่ดัง ฟังไม่ชัด เขาจะนึกว่าคุณเป็นเด็กเอกจีน = ="

82. เอกที่บังคับฝึกงานคือเอกคลินิก

83. เอกคลินิกเป็นเอกเดียวที่จบไปแล้วสามารถสอบใบประกอบโรคศิลป์เพื่อทำงานในโรงพยาบาลได้

84. ข้อ แตกต่างระหว่าง "นักจิตวิทยาคลินิก VS จิตแพทย์" คือ นักจิตวิทยานั้นเรียนเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิต ซึ่งเราจะเรียนมากกว่าจิตแพทย์ในเรื่องทฤษฎีทางจิตวิทยา แต่เราจะไม่สามารถสั่งยาได้ ส่วนจิตแพทย์จะเรียนทาง Biological มากกว่าจึงสามารถสั่งยาให้กับผู้ป่วยได้

85. เคยมีสมาชิกเอกจิตที่ได้เป็นเดือนคณะศิลปศาสตร์ถึง 4 ปีซ้อน (ท่าจะหล่อจริง)

86. เฟรช ชี่ไม่ต้องแปลกใจ ถ้าในเทอมแรกจะยังไม่ได้เรียนกับเพื่อน ๆ ในเอก แต่พอเทอม 2 ล่ะก็ได้เห็นหน้ากันจนเบื่อแน่ ๆ และจะไปแยกย้ายกันเข้าตามแต่ละสาขาของตัวเองอีกทีก็ตอนปี 3 คราวนี้หละจะคิดถึงกันสุดๆ

87. เป็นปกติที่เกือบทุกรุ่นจะมีจำนวน น.ศ.ชาย ที่น้อยกว่า น.ศ.หญิง แถมผู้ชายที่เป็นผู้ชาย(จริงๆ)ก็หายากยิ่งขึ้นไปอีก แต่เอกจิตมีผู้ชายเยอะ สุดในคณะอยู่ดี

88. มีความเชื่อที่ว่าถ้าเจอตัวเ-้ย อยู่บนบกให้ขอเกรดเอ แล้วจะได้เอ แต่ถ้าเห็นตัวเ-้ยลงน้ำ อย่าหันไปมอง จะได้เอฟ

89. เอกจิตมีกิจกรรมประกวดแข่งขันร้องเพลงด้วย ประชันกันสุดฤทธิ์ โดยมีชื่องานว่า The Voice Psychologyจัดครั้งแรกในปี 2556

90. กิจกรรม "เก้าส้อม" คือ กิจกรรมของการพบปะนักศึกษาทั้ง 9 มหาลัยที่เปิดสอนจิตวิทยา มีทั้งวิ่งแข่ง แสดงละคร และของที่ระลึก ห้ามพลาดเด็ดขาด! โดยเจ้าภาพผู้จัดก็ไล่ลำดับมหาลัยไปแต่ละปี

91. สามส้อมแรก คือ มธ มศว มก

92. จิตวิทยา ม.เชียงใหม่ ปฎิเสธการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ไม่งั้นก็จะกลายเป็นสิบส้อมไปละ 555

93. อาจารย์ สิริอรช่างยิ้ม สอนก็ยิ้ม ดุก็ยิ้ม น่ารักมาก แถมยังชอบเล่าประวัติมหา'ลัย รวมถึงเรื่องราวในเอกที่น.ศ.หลายคนฟังแล้วต้องอ้าปากค้าง เพราะท่านเป็นผู้มีบทบาทในการก่อตั้ง จิต IO ด้วย ถ้าเพิ่งเคยเรียนคุณจะมองว่าเป็นผู้ใหญ่อารมณ์ดี แต่ทว่าเกรดของคุณจะดีตามหรือเปล่า ตัวใครตัวมัน หึๆๆๆ

94. วลีฮิตติดปากที่ว่า "ถ้ามีเวลา" (เช่น ลองไปเที่ยวนิวยอร์กนะ..ถ้ามีเวลา) นั้น เป็นคำล้อเลียนมาจากอ.อุบลวรรณา

95. มีนักศึกษาตั้งข้อสังเกตว่า อ.ภุมิรัตน์ หรือ อ.บ๊วย โปรดปรานชุดดำเป็นพิเศษ

96. ถ้ามีใครในเอกพูดว่า "อาจารย์คิตตี้" จงรู้ไว้ว่า หมายถึง หัวหน้าภาคฯ ฮ่าๆๆ

97. อ.เกียรติศักดิ์ ชอบลงท้ายด้วย "นะครับนะ" ทุก ๆ ประโยค ที่แกพูด

98. แต่ก่อนเคยมีหนังสือพิมพ์เอกจิต ชื่อ "Psycho Gossip" เขียนและจัดพิมพ์ขายโดยนักศึกษาจิตวิทยารุ่น 40เป็นผู้ผลิต มีเนื้อหาเกี่ยวกับจิตวิทยาทีน่าสนใจ และเรื่องราวบันเทิงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเอก-คณะ จำหน่ายในราคาย่อมเยา (เอาเงินมาเข้าบำรุงเอก) ปัจจุบันไม่มีคนสานต่อ เอ้า ใครสามารถก็ช่วยกันหน่อยย

99. วิชาที่ใครๆ แนะนำว่าเป็นตัวช่วยเก็บเกรด อาจจะกลายเป็นวิชาฉุดเกรดสำหรับเราก็ได้ เพราะฉะนั้นอย่าหลงเชื่อคนอื่นมากเกินไป เรียนในสิ่งที่เราอยากเรียนจริงๆ ดีกว่า : )

100. ถ้าอยากจบด้วยเกรดหรู ๆ แนะนำให้ตั้งใจเรียนในช่วง ปี 1 - 2 มาก ๆ เก็บเอให้ได้ เพราะเนื้อหาวิชาง่าย แต่หลายคนพลาดเพราะแบ่งเวลาไม่ถูก ทุ่มเทกับกิจรรม หรือประมาทในเนื้อหามากเกินไป พี่จะบอกให้ว่าพอมาอยู่ปีสูง ๆ เกรดมันจะทรงตัว อัพยากแล้วหละ

101. วิชา PY216 เป็นวิชาเดียวในภาควิชาจิตวิทยาที่อาจารย์ให้นักศึกษาต้องสวดมนต์และนั่งสมาธิก่อนเรียน !

102. น.ศ.จิตวิทยา เลือกวิชาโทได้อย่างอิสระ จะเป็นรหัสนอกคณะอย่าง JC, HO, MK, EG หรือจะโทจิตก็ได้ แต่ต้องเป็นสาขาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สาขาเอกที่เลือกไว้

103. จิตวิทยา ที่นี่จะไม่ค่อยเน้นจิตวิทยาตะวันออกหรือจิตแนวพุทธมากนัก เพราะรากฐานวิชาของเราได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเต็มๆ จึงทำให้เป็นจิตวิทยาสายตะวันตกแห่งแรกในไทย แต่ถ้าใครอยากเรียนจิตวิทยาสายตะวันออกจริง ๆ แนะนำว่าต้องไปเรียนต่อโทที่รัสเซีย (สำนักรัสปูติน) หรือที่อเมริกา ซึ่งจะมีสถาบันที่เน้นสอนในเชิงสะกดจิต ระลึกชาติ รู้ใจคน ตามแนวทางของจิตวิทยาตะวันออก (หากเป็นจิตวิทยาตะวันตก จะเน้นการทดลอง และความเป็นวิทยาศาสตร์เป็นหลัก)

104. นักศึกษาสายคลินิก ในบางเทอมจะต้องเรียนหนักถึง 2 ทุ่ม! และยังไม่พอ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ วันเสาร์-อาทิตย์ของเด็กเอกคลินิกจะไม่เหมือนวันหยุดเท่าไหร่ เพราะจะต้องเดินทางไปเรียนเสริมกับอาจารย์จิตแพทย์นอกสถานที่ ไม่พักไม่ผ่อนกันเลยทีเดียว

105. เรียนจิตวิทยาที่นี่ สามารถจบด้วยสาขา Genaral Psy. ด้วยนะ ก็คือ ไม่ฝักใฝ่สายไหน พวกนี้ตอนเรียนจะได้รู้จักทั้งสายคลินิก สายไอโอ และสายปรึกษา (รู้ครอบคลุม แต่ไม่รู้ลึก)

106. นักศึกษาสายไอโอส่วนใหญ่ จบไปก็มักลงเอยด้วยการเป็น HR (คือ ฝ่ายจัดการทรัพยากรบุคคล) ส่วนเด็กคลินิกส่วนใหญ่ จบไปทำงานตาม ร.พ. ในแผนกจิตเวช

107. เด็กเอกจิตสนับสนุนให้เด็กเอกจิต เป็นแฟนกัน เหตุเพราะพวกนี้สามารถจับไต๋กันเองได้ 555

108. เอกจิต แต่ละรุ่นจะมีกลุ่มที่เรียกว่า "กลุ่มดาว" ...ทว่าไม่ใช่ดาวรุ่งพุ่งแรงในเอกนะ แต่เขาหมายถึง "Down"ก็คือใช้เรียกพวกที่ติดเอฟวิชาตัวบังคับ แล้วต้องไปลงเรียนใหม่กับรุ่นน้องนั่นเอง

109. เอกจิตมีเสื้อเอกขาย ด้วย (สำหรับใส่ไปรับน้อง) แต่ลายและโลโก้จะเปลี่ยนแบบไปทุก ๆ ปี โดยเป็นหน้าที่ของปี 3 จะเป็นคนออกแบบมาให้พวกเราได้เจียดตังค์ในกระเป๋าไปซื้อมาใส่

110. อาจารย์ธีระศักดิ์ (ศิษย์เก่ารุ่น 5) เล่าว่ารุ่นแต่ก่อนนั้น นักศึกษาต้องเดินทางไปเรียนกันตามโรงพยาบาล ยังไม่มีอาจารย์ประจำเหมือนสมัยหลังๆ สมัยก่อน ไปเรียนกัน 4 - 5 คนที่โรงพยาบาล พออาจารย์ที่เป็นจิตแพทย์เขาว่างจากการทำงาน หรือทำ case ดูแลผู้ป่วย ก็จะมาสอนนักศึกษา สมัยนั้นเป็นอะไรที่ต้องขวนขวายหาความรู้ด้วยตนเองอย่างมาก แต่ก็เป็นการเรียนที่ได้พบกับลักษณะอาการทางจิตจากประสบการณ์ในการเรียนที่ได้เห็นได้สัมผัสจริงๆ บางครั้งก็ต้องไปนั่งเฝ้า นั่งฟังคนไข้พูดระบายแทนหมอด้วย

111. เด็กจิตวิทยาบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า จิตวิทยา ธรรมศาสตร์ มีบรรยากาศน่าเรียนและอบอุ่น (warm welcome) มากจริงๆ เพราะฉะนั้นคนที่แอดติดเข้ามาได้ ก็จงพยายามตั้งใจเรียนให้ดี อย่าลืมว่ายังมีเพื่อนๆ อีกหลายคนที่เขาอยากเข้ามาเรียน แต่ไม่มีโอกาสดีดีเหมือนกับที่เราได้รับ ^_^

ตั้งใจ

credit = http://psychology50th.jimdo.com/

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

PSYTU 19 ส.ค. 57 เวลา 11:50 น. 1

เพิ่มได้ไหมอ่ะ

112. น.ศ.เอกจิตคนแรกที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น แม่ทัพเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ตำแหน่งใหญ่ในงานบอลจุฬา-ธรรมศาสตร์) คือ ตู้ รุ่น 46
113. น.ศ.ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดแข่งขันร้องเพลง The Voice Psychology ครั้งแรก คือ ฟิวส์ แกนเอก รุ่น 47

ถูกต้อง

0