Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คำแนะนำผู้ปกครอง เด็ก ม.4-5 ที่อยากติดแพทย์ กสพท.

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ตอนนี้ พวก ม.6 ได้เลือก 4 อันดับ กสพท.ไปแล้ว และกำลังอยู่ในช่วงอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ความถนัดแพทย์ และ 7 วิชาสามัญ ความถนัดแพทย์คงใช้เวลาอ่านไม่มากนัก ส่วน 7 วิชาต้องใช้เวลาอ่านมาก พออ่านวิชาหลังๆ ก็ลืมวิชาที่อ่านจบไปก่อนแล้ว ต้องทบทวนใหม่อีกรอบ เรียกว่าอ่านหน้า ลืมหลัง อ่านหลัง ลืมหน้า

ช่วงนี้เลยขอแนะนำ ผู้ปกครอง และเด็ก ม.4 และเด็ก ม.5 ที่มีเป้าหมาย ต้องการเป็นแพทย์ มีบางคนต้องการรู้เรื่องการเลือก 4 อันดับแพทย์ กสพท.ก่อน คิดว่าน่าจะเร็วเกินไป เวลาเป็นปี ๆอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ขนาดช่วงระหว่างสมัคร กสพท. วันนี้เลือกไว้แล้ว วันพรุ่งนี้ตื่นขึ้นมา ยังเปลี่ยนเลือกใหม่เลย คือเปลี่ยนไปเรื่อยๆทุกวัน ตราบใดที่ยังไม่จ่ายเงิน บางคนจ่ายเงินแล้ว ยังมีการเปลี่ยนที่เลือกไปแล้วอีก 3 ครั้ง จ่ายเงินใหม่อีก 3 ครั้งก็มี แต่ถ้าสนใจจริงๆ อยากศึกษาวิธีการเลือก ให้ศึกษาตามลิงค์ข้างล่างนี้
คำแนะนำเลือก 4 อันดับ กสพท.http://www.dek-d.com/board/view/3354992

ส่วนเกรดไม่สำคัญมากเท่าไร หลายคนได้เกรด 4 ในโรงเรียนทั่วไป โรงเรียนที่ไม่มีคนแย่งเข้าหรือไม่อยากเข้า ทั้งใน กทม.หรือ ตจว. ยังสอบไม่ติด กสพท.เยอะแยะไป แต่ถ้าอยู่ ม.4-6 ได้เกรด 3.9 และขยันๆ เตรียมตัวดี ก็มีโอกาสลุ้นติด กสพท.มาก และถ้าอยากรู้ว่าตัวเองอยู่ระดับไหน ตอน ม.6 ลองสอบแข่งขันนอกโรงเรียน(ก่อนสอบ กสพท.) มีสนามสอบตรงแพทย์หลายแห่ง เช่น
สนามแรกแพทย์ขอนแก่น
สนามที่สองแพทย์ ม.บูรพา 2 โครงการ
สนามที่สามแพทย์จุฬา 4 โครงการ
ถ้าสอบติดสนามใด สนามหนึ่ง ก็เก่งมากๆ รับรองสอบติด กสพท.อันดับสูงๆแน่นอน
แต่ถ้าไม่ติด เราอยู่ประมาณระดับไหน ต้นๆ กลางๆ ท้ายๆ เราก็จะสามารถประมาณตัวเองได้ ถ้าอยู่ท้ายๆ ก็ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ส่วนการเตรียมตัว ควรเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อใด ผู้ปกครองที่ดูแลลูกดีๆ บางคน อาจจะมีการวางแผนการเรียนลูกตั้งแต่อนุบาลจนถึง ป.4 แล้ว คือ ดูแล ให้คำแนะนำ สอน ตรวจดูการบ้านของลูกทุกวัน เพื่อทราบความเคลื่อนไหวการเรียนของลูกตลอดเวลาหลายปี และมีการทบทวน ติวให้ลูกก่อนสอบที่โรงเรียนด้วย ถ้าลูกหัวดี ลูกจะสอบได้ลำดับที่ดีๆ อันดับที่เลขตัวเดียว สมัยนี้ผู้ปกครองเอาจริง เอาจังมาก แต่พอ ป.5 ป.6 ควรปล่อยให้ลูกรับผิดชอบทำการบ้านเองได้แล้ว ไม่ต้องไปตรวจการบ้านเหมือนเดิมอีกแล้ว แต่อาจจะช่วยติวสอบที่โรงเรียนให้ก็ได้ และเลือกสถาบันกวดวิชาให้ลูก ป.5 ป.6 เรียนพิเศษ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงแห่งใหม่ ที่ไม่ไกลจากบ้านพัก(ไม่เสียเวลาเดินทาง) หรือถ้าพอมีเงิน อาจจะให้นิสิต นักศึกษามาสอนพิเศษบางวิชา เช่น เลข อังกฤษ วิทย์ ที่บ้านก็ดี(เด็กไม่เหนื่อย)

ม.1-ม.3 เลือกสถาบันกวดวิชาให้ลูกหรือให้ลูกเลือกเรียนพิเศษเอง หรือถ้าพอมีเงิน อาจจะให้นิสิต นักศึกษามาสอนพิเศษบางวิชา เช่น เลข อังกฤษ วิทย์ ที่บ้านก็ดี(ลูกไม่เหนื่อยเดินทาง) เพื่อเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงแห่งใหม่ แต่ถ้าชอบโรงเรียนที่เดิม ก็อยู่ที่เดิม

ข้อสังเกตุ การเตรียมตัวตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึง ม.3 เป็นการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าโรงเรียนใหม่และเป็นการปูพื้นฐานความรู้ ต่อยอดสู่อนาคตเท่านั้น แต่การเตรียมตัวตั้งแต่ชั้น ม.4-ม.6 เป็นการเตรียมตัวเพื่อเลือกอาชีพในอนาคต ซึ่งใช้ประโยชน์ได้จริงๆ

สรุป ถ้าเก่งตอนแรก(อนุบาล-ม.3) แต่ไม่เก่งตอนหลัง(ม.4-ม.6)ไม่ดี ถ้าไม่เก่งตอนแรก แต่เก่งตอนหลังดี(ได้อนาคตดี)

สำหรับการเตรียมตัว ม.4-ม.6 ควรเตรียมตั้งแต่ ม.4 แต่ไม่หนักมาก ควรอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มเกรดตัวเองในโรงเรียน หนังสือที่ควรมี เพิ่มจากหนังสือเนื้อหาของโรงเรียน

1.สรุปย่อทุกวิชา 7 วิชา(แยกวิชา) รวมเล่ม ม.4-6 (ถูกกว่าแยกเล่มชั้น ใช้ได้ 3 ปี)
2.โจทย์ ปัญหา แบบฝึกหัด ข้อสอบเก่าพร้อมเฉลย แยกบท แยกเรื่อง ทุกวิชา 7 วิชา(แยกวิชา) รวมเล่ม ม.4-6 (ถูกกว่าแยกเล่มชั้น ใช้ได้ 3 ปี)
3.หนังสือเนื้อหาวิชา ที่อธิบายเข้าใจดี ทันสมัย ถ้าไม่รู้เล่มไหนดี ดูยอดขายสูงสุด แสดงว่ามีคนสนใจเยอะ หรืออ่านจากกระทู้แนะนำต่างๆ ในเว็บเด็กดี

ส่วนเรียนพิเศษช่วงเปิดเทอม และปิดเทอม เรียนล่วงหน้าตามบทที่โรงเรียนสอน เรียนเฉพาะวิชาที่อ่อน ไม่เข้าใจหรือตก คะแนนไม่ดี เรียนเท่าที่จำเป็น เช่น เลข อังกฤษ เคมี ฟิสิกส์ ชีวะ ส่วนไทย สังคม น่าจะอ่านเองได้ หนังสือเยอะแยะไป

ส่วน ม.5 อ่านและเรียนพิเศษเหมือน ม.4 แต่อาจจะเรียนพิเศษเพิ่ม ล่วงหน้าของ ม.5 ควบ ม.6 บางวิชา เช่น เลข อังกฤษ เคมี ฟิสิกส์ ชีวะในช่วงปิดเทอม ม.5 เทอม1 และเรียนพิเศษเพิ่ม ล่วงหน้าของ ม.5 ควบ ม.6 บางวิชาที่ยังไม่ได้เรียนในช่วงปิดเทอมใหญ่(ม.5 ขึ้น ม.6) คนที่เก่งๆ ส่วนใหญ่อาจจะเรียนครอสเอ็นทรานซ์หลายวิชาแล้ว ช่วงปิดเทอมใหญ่นี้จะเรียนหนักมาก เรียนพิเศษตั้งแต่เช้าจนถึง 2 ทุ่ม 3 ทุ่มเกือบทุกวัน ไม่มีวันหยุดเสาร์ อาทิตย์

ส่วน ม.6 เพิ่มหนังสือ ข้อสอบเก่าเอ็นทรานซ์/แอดมิชชั่น/7วิชาสามัญ/ความถนัดแพทย์ /GATไทย/GATอังกฤษ พร้อมเฉลยดีๆ รวมหลาย พ.ศ.หรือ 15 พ.ศ.เพื่อฝึกทำโจทย์ คละบทให้คล่อง เพิ่มความเร็ว
พอเปิดเทอม ม.6 เทอม 1 เรียนพิเศษครอสเอ็นฯ บางวิชาที่ยังไม่ได้เรียน และฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่า
ปิดเทอม ม.6 เทอม 1 (ตุลา) ไม่มีเรียนพิเศษแล้ว ฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่าอย่างเดียว ฝึกทำข้อสอบความถนัดแพทย์(ถ้ามีของเตรียมอุดมฯยิ่งดี) เพราะรุ่นพี่แต่ละรุ่นได้จำข้อสอบจริงคนละ 2 ข้อเอาออกมาเฉลย รวมข้อสอบจริงส่งมอบให้รุ่นน้องเตรียมสอบต่อๆกันไป ช่วงนี้อาจจะต้องเตรียมตัวสอบหลายแห่ง ที่ไหนมีสอบวิชา ไทย สังคม ก็ฝึกทำข้อสอบเก่าไว้บ้างตอนใกล้สอบ ควรใช้เวลาน้อยกว่าวิชาอื่นๆ
พอเปิดเทอม ม.6 เทอม 2 ไม่มีเรียนพิเศษแล้ว ฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่าอย่างเดียว พร้อมตระเวณสอบไปเรื่อยๆ ที่เปิดรับตรง
ความจริงมีรายละเอียดกว่านี้มาก ขอให้คำแนะนำคร่าวๆ สรุปให้เข้าใจแค่นี้ก่อน

สรุป ถ้าจะสอบให้ติด กสพท.จริงๆ ก็ควรเตรียมตัวตั้งแต่ ม.4 คิดว่าน่าจะดีที่สุด
คำแนะนำทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัว

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

แสดงความคิดเห็น

>

24 ความคิดเห็น

กัลย์ 20 ก.ย. 57 เวลา 10:26 น. 2

ความเห็นส่วนตัว เห็นว่าควรเดินสายกลาง เรียนพิเศษบ้าง แต่ไม่มาก เลือกเรียนเท่าที่จำเป็น
เคยได้ยินเรื่อง พ่อเป็นผู้พิพากษา มีลูกชายคนเดียวไม่ชอบเรียนพิเศษ และพ่อก็ไม่สนับสนุนเรียนพิเศษ ผลเรียนรามฯ นิติศาสตร์
อีกคนหนึ่ง พ่อ แม่ เป็นหมอฟัน มีลูกสาว 2 คน เห็นว่า การเรียนที่โรงเรียนในวันธรรมดา วันจันทร์-ศุกร์ คือไปร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆที่โรงเรียน
ส่วนการพิเศษวันเสาร์-อาทิตย์ตั้งแต่เด็กประถมฯ คือ การไปเรียนหนังสือจริงๆ ได้ความรู้จริงๆ ผลลูกติดแพทย์ศิริราช กับแพทย์จุฬาฯ
และผู้ปกครองอีกคน มีหลานอยู่ ป.6 เรียนพิเศษมากถึง 7 แห่ง แต่ละแห่งดังที่สุดในเมืองไทย เพื่อสอบเข้าสตรีวิทย์แต่สอบไม่ได้ ผลตอนนี้ซิ่วอยู่เอแบค

นี่คือเรื่องจริง ตัวอย่างจริง จึงมีความเห็น ควรเดินสายกลาง ไม่ตามกระแส
ยังมีเคสจริงๆอีกมาก แต่ขอเล่าเพียงเท่านีี้

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
ก็ลองสอบดู 20 ก.ย. 57 เวลา 13:41 น. 3

อยากจะบอกว่า กสพท.ถ้าดูจากข้อมูลสถิติย้อนหลัง ท้ายสุด เด็กที่สามารถสอบติดได้
หนีไม่พ้นเด็กที่เก่งจริง แต่ส่วนมากทั้งที่รู้ตัวเองยังไงก็ไม่ได้ สู้เพื่อนตัวเองยังไม่ได้เลย
แต่ก็สมัครกันทั้งนั้น เด็กเก่งบางคนยิ่งเก่งยิ่งเรียนกวด พวกที่โอกาสพลาดน้อยหวังได้ถึงท๊อป3ด้วย ส่วนเก่งรองๆไป ก็เรียนกวดวิชาหลักๆนะครับที่ติด สนามกสพท.ของจริงไม่มีดวงแน่นอน อย่าปีนี้ สมัครมากถึง 37000 คน รับได้แค่1487คนเท่านั้น คัดทิ้งถึง
35000คน แค่พวกเก่งๆทั่วประเทศ ต้องลงสนามแข่งกันเอง ยังตายเป็นเบือเลย และถ้าเราไม่เก่งจริงจะไปยืนแลกหมัดกับเขาไหวหรือตกใจ

0
เด็กกสพท.57 20 ก.ย. 57 เวลา 21:23 น. 5

ความเห็นส่วนตัวนะครับ ถ้าการศักษาไทยไม่ได้แย่อย่างที่เป็นอยู่ กวดวิชาไม่มีทางเกิดได้หรอกครับ การศึกษาไทยทำลายตัวเองทั้งนั้น

0
Shooter 20 ก.ย. 57 เวลา 21:58 น. 7

กวดวิชาเรียนหรือไม่เรียนอันนี้ขึ้นอยู่กับ ความต้องการและงบ
แต่ใช่ว่า ยิ่งเรียนที่เยอะๆ ดังๆ ยิ่งเก่ง
อยู่กับ ความขยันหมั่นเพียรด้วย
ดังนั้น อันดับแรก ความขยัน อันดับสอง ก็ ความรู้
อันดับสาม เกรด-_- เกรดไม่ได้วัดว่าใครเ่ก่งไม่เก่ง
แค่วัดว่าเราเก็บแต้มไปเท่าไรและเราเสียจุดไหนเท่านั้น
เศร้าจัง
เรียนห้องสายวิทย์แต่เกรดแบบ ใช่เหรอ T_T

0
กัลย์ 20 ก.ย. 57 เวลา 21:58 น. 8

ถ้าคิดว่าระบบมาตรฐานการศึกษาของไทยดี มีคุณภาพ และอยากให้คนไทยเชื่อมั่นว่า เด็กไทยไม่จำเป็นต้องเรียนพิเศษ ก็ควรออกประกาศ หรือออกกฎหมาย ห้ามมิให้ลูกผู้บริหารการศึกษาของไทยทุกคน ตั้งแต่รัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้อำนวยการ อาจารย์โรงเรียนหรือมหาลัย ไปเรียนพิเศษ เรียนกวดวิชา แต่ความจริงคือ ลูกผู้บริหารการศึกษาไทย ลูกข้าราชการ ได้เรียนพิเศษมากกว่า เอาเปรียบลูกชาวบ้านที่ไม่มีเงินค่าเรียนพิเศษ
อังกฤษมีรัฐบาลพรรคแรงงาน ห้ามลูกรัฐมนตรี ผู้บริหารการศึกษา เรียนพิเศษหรือจ้างครูสอนพิเศษที่บ้าน และต้องเรียนในโรงเรียนของรัฐเท่านั้น ห้ามเรียนโรงเรียนเอกชนด้วย เพื่อให้คนอังกฤษเชื่อถือในมาตรฐานการศึกษาของรัฐ

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
.... 20 ก.ย. 57 เวลา 22:00 น. 9

ผมติดแพทย์ก็เพราะกวดวิชานะ
การศึกษาลงเหวมาขนาดนี้แล้ว
ถ้าไม่กวดวิชาก็ต้องอ่านเองแบบทุ่มสุดตัวอ่ะครับ
ป.ล. 3-1 นี่ปุน RA ป้ะ ?

0
โอตioo 20 ก.ย. 57 เวลา 22:42 น. 10

มีตังก็กวดไปเถอะครับ วิชา กวดมันก็ได้ความรู้มาก ยิ่งขยันอยู่แล้ว ยิ่งกวด โอ้ย ไปกันใหญ่เลยครับความฉลาด ถ้าไม่ชอบอ่านเองก็กวด บางทีให้คนอื่นเกร็งข้อสอบให้ก็ดี เจอจุดจี้ไว ตลกจัง

ผมชอบกวดวิชา ได้ความรู้จากที่กวดและ เคล็ดลับจากเพื่อนในที่เรียน

0
Siri_JU 21 ก.ย. 57 เวลา 00:32 น. 11

ความเห็นส่วนตัวนะคะ อย่าคิดมาก ><
คือชอบนะคะ การแนะนำทำนองนี้

ประเด็นหลักๆ ที่จะพูดคือ 
..กวดวิชา.. ไม่ดีต่อความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนามนุษย์ คือแปรตามรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหา'ลัย เอาให้ลูกค้าสอบติดเป็นพอ
..มาตรฐานการศึกษา.. ทำลายความน่าเชื่อถือทั้งภาพลักษณ์และคุณภาพแรงงานของประเทศ

อาจจะบอกกันว่าทั้งหมดนั้นทำเพื่ออนาคตของลูกหลาน  แต่ในมุมมองของเรา มันเห็นแก่ตัวเกินไป แข่งขันกันในประเทศโดยเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน คือการสอบเข้ามหา'ลัยดัง ไม่ได้ก็ยัดเงินทอง ไม่ก็ซิ่วรอสอบใหม่ เหมือนกับคลื่นคน ที่รู้จักเพียงการทำตามกระแส  เด็กเก่งคือเด็กที่กวดวิชา หรือคนที่ได้เกรดดีมากๆ  ไม่คำนึงถึงคุณลักษณะที่แตกต่างของมนุษย์

มีคนเป็นล้านคน ...ก็มีรูปแบบที่แตกต่างล้านรูปแบบ แล้วนับประสาอะไรกับประสิทธิภาพด้านการเรียนรู้ล่ะ จะให้แรงงานในประเทศออกมาเป็นพิมพ์เดียวกันหมด ชาติคงไม่อาจพัฒนาต่อไปได้แน่

คือว่าเด็กเค้ามีความเก่งในแบบของเขารึเปล่าอ่ะคะ จะให้เด็กหัวศิลปะไปเก่งคำนวณ ให้เด็กที่เก่งการใช้มือ ใช้ร่างกาย ไปนั่งอ่านหนังสือหัวฟูรึคะ  เหมือนกับเราไปจำกัด บ่อนทำลายประสิทธิภาพของเยาวชนแล้วก็บ่นโทษเพราะการศึกษา เพราะ รร. เพราะหลักสูตร

....ถ้าพ่อแม่ไม่เริ่มก่อน มันก็ไม่วุ่นวายแบบนี้ =_=  จากที่เห็นมาเยอะมากๆๆ พ่อแม่หัวสมัยใหม่ พาลูกเข้าเรียนเตรียมอนุบาล เรียนดนตรี เรียนว่ายนํ้า พาเข้าฟิตเนส พาไปแคมป์พัฒนาความเป็นอัจฉริยะ จบด้วยกวดวิชาวาดภาพระบายสี ...บ้างก็ถ่ายรูป  อัดวิดีโอโชว์ว่าลูกทำนู่นนี่ได้ พ่อแม่คนอื่นเห็นตามว่าดีก็เอาบ้าง กลายเป็นกระแสเด็กอัจฉริยะ

พอผู้ปกครองเห็นว่าดีตามนั้น หลักสูตรก็ตามนั้น ไม่เปลี่ยนหรอกให้วุ่นวาย เหมือนเป็น demand-supply ถ้าจะเปลี่ยนก็เอาให้แหกคอก แปลกออกมาจากความ 'เคยชิน' ...ทีนี้คนทั้งประเทศก็มาด่าๆๆ บ่นๆๆ จะเอาเหมือนเดิม แล้วยังจะเรียกร้องให้ปรับปรุงระบบการศึกษาอยู่ทำไมล่ะคะ 

ที่การศึกษาดิ่งลงเหว พวกที่พาดิ่งก็มาจากเด็กที่ถูกปลูกฝังจากสังคมภายในประเทศ สภาพแวดล้อมอ่ะเปลี่ยนคนดีเป็นคนชั่วได้ง่ายๆ เลยนะคะ ไม่ใช่ธรรมดา รึไม่ ถึงจะเป็นคนดี เก่ง ฉลาด แต่ถ้ากระแสคนกระแสสังคมยัง 'เคยชิน' กับการศึกษาแบบเก่า (เก่าอะไรยังไง คงร่ายไม่หมด นี่ก็เยอะละ) จะไปสู้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ก็อาจโดนเด้งเอาได้ง่ายๆ

เป็น CIRCLE ของแท้ค่ะ ถ้ามัวแต่ประนามการศึกษา รอให้คนใหญ่โตเป็นฝ่ายเริ่มเปลี่ยนแปลงคงไม่ไหว  ที่สำคัญคือ 'ทีม' คนทั้งชาตินั่นแหละค่ะ ที่ต้องช่วยกันเปลี่ยน...อ่ะนะ

0
จูกัดหลง 21 ก.ย. 57 เวลา 07:05 น. 12

ระบบทุนนิยม ใครใคร่เรียน เรียน ใครใคร่กวด กวด ใครใคร่อยู่บ้าน อยู่

อีกไม่เกิน 100 ปี เป็นโครงกระดูกหมดทุกคน มีชีวิตอยู่ไม่สร้างความเดือดร้อนในสังคมพอ

ที่เหลือเป็นแค่ละครฉากหนึ่งก่อนเป็นโครงกระดูก

0
ผู้ปกครอง 21 ก.ย. 57 เวลา 08:42 น. 13

ชื่อกระทู้คำแนะนำ ผปค ม4-5 เลยแอบงง

เวปเด็กดี แต่แนะนำ ผปค และลองดู..

ผปค อยากให้ลูกเป็นหมอ ต้องเตรียมลูกตั้งแต่เกิดมา
ตั้งใจให้เกิด เป็นอันดับแรก
ก่อนประถม เช้าค่ำพร่ำสอน ปลูกฝัง EQ/IQ
ให้เป็นคนช่างสังเกต วิเคราะห์ มีเหตุผล
และคิดเป็น เช่น
นิทานก่อนนอน สิ่งของ ธรรมชาติรอบตัว คือ 40%

สอนให้รู้จักวิธีการเรียนแต่ละวิชา ใกล้ชิด มีระเบียบวินัยการเรียน ตอนประถม คืออีก 30%

ม ต้น เข้มข้นวิชาการ หาข้อมูล หาของ(??) ลองสนาม คือ 20%

ม ปลาย
ลูกรู้วิธีเรียนเอง
ผปค เป็นกองบำรุงกำลัง กองพลาธิการ
ดูแลไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง คืออีก 10% สุดท้าย
คิดเป็นหมอตอน ม4-ม5 นั้น
หากไม่ทำอะไรมาก่อนถือว่าสายเกินไป


0
กัลย์ 21 ก.ย. 57 เวลา 12:57 น. 14

ขอยกตัวอย่างอีกเคสหนึ่ง
ลูกชาย จนท.ระดับเล็กๆ ศาล จว.สุรินทร์ เรียนดี ได้ที่ 1 ตลอด ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้น ม.6 ไม่เคยเรียนพิเศษเลย มีเรียนพิเศษ ครอสเอ็นทรานซ์เพียงครอสเดียว รวมหลายวิชา สมัยนั้นเกือบ 10 ปีแล้ว(ยังไม่แยกเก็บเงินรายวิชาเหมือนสมัยนี้) เรียนพิเศษตอนจบ ม.6 ปิดเทอมใหญ่แล้ว ต้องเดินทางจาก จว.สุรินทร์ มาเรียนที่เดอะเบรน จว.นครราชสีมา เรียนพิเศษน้อยมาก สอบติดแพทย์ศิริราช เรียกว่าเป็นช้างเผือกจาก ตจว.
ส่วนลูกหมอฟันที่ยกตัวอย่างไปแล้ว ขอเล่ารายละเอียดเพิ่มอีกนิดหนึ่ง ซึ่งคุณแม่หมอฟันเอาจริง เอาจังมาก ดูแลเรื่องการศึกษาลูกตั้งแต่เล็กๆ ใกล้ชิดตลอดเวลา เช้าส่งลูกสาว 2 คนไปโรงเรียนใกล้บ้าน ช่วงเลิกเรียนก็รอรับลูก พอลูกเลิกเรียนลงมา ก็เตรียมอาหารการกินที่โต๊ะนัดพบ กินเสร็จ ทำการบ้านของโรงเรียน การบ้านโรงเรียนเสร็จ ก็ทำการบ้านพิเศษของคุณแม่ เป็นแบบฝึกหัดเลขคณิตคิดเร็ว ทำเสร็จค่อยได้ไปเล่น ทำแบบนี้ทุกวันที่เรียน เป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึง ป.6 ได้ที่ 1 ตลอด จนสอบเข้า ม.1 สาธิตปทุมวันได้ และ ม.4 เข้าเตรียมอุดมฯได้ ตอนนี้คนโตเรียนแพทย์ศิริราชปี 6 อีกคนเรียนแพทย์จุฬาฯปี 5 ซึ่งคุณแม่เด็กมีแนวความคิดว่า เรียนที่โรงเรียนจันทร์-ศุกร์คือไปทำกิจกรรม เรียนพิเศษเสาร์-อาทิตย์คือเรียนจริงๆ เท่าที่สังเกต น่าจะเป็นเด็กเก่งอยู่แล้ว ถ้าเป็นเด็กธรรมดาอาจจะให้ทำการบ้านพิเศษยากมาก เด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ขอให้พิจารณาด้วย

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
varismano 22 ก.ย. 57 เวลา 11:27 น. 15

มาขอ comment นะครับ

- เรียนเท่าที่จำเป็นก็พอครับ เรียนเยอะเกินไป ก็เหนี่อยครับ ไม่มีเวลาทบทวนครับคนที่เรียนแบบนี้ผมว่าทำส่วนใหญ่ข้อสอบไม่ได้ เพราะมัวแต่อัดความรู้ ไม่เคยได้เอาความรู้มาฝึกคิดให้เป็น...
- การเรียนพิเศษผมมองว่าเป็นการมองหาเทคนิคในการเรียนเพิ่มเติมในรายวิชาที่จะเรียนวิชานั้นๆ เพื่อทำให้เข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายยึ่งขึ้น ไม่ได้หมายความว่าพอเรียนพิเศษแล้วจะไม่ต้องเรียนหนังสือที่โรงเรียน ผมว่าควรเอาความรู้ทั้ง 2 ที่มาผสมผสานกันมากกว่า
- กวดแค่วิชาที่ไม่ถนัดก็เพียงพอแล้ว เพื่อที่จะหาเทคนิคเพิ่มเติมในวิชานั้นๅ ส่วนวิชาที่ถนัดอยู่แล้วผมว่าอ่านเองหรือเรียนจากในโรงเรียนก็เพียงพอแล้วนะ (อาจจะเสริมประสบการณ์โดยไปทำโจทย์หรือหาหนังสือเพิ่มเติม)


อยากทิ้งท้ายว่า

เรียนให้ตาย แต่ถ้าคิดไม่เป็น ก็สอบไม่ติดหรอกครับ...

0
กัลย์ 23 ก.ย. 57 เวลา 22:59 น. 16

คำแนะนำดังกล่าว ได้ปรับมาจากผู้ปกครองที่มีแนวคิดว่า ไม่จำเป็นต้องเรียนกวดวิชา หรือเรียนพิเศษน้อย ไม่ตามกระแส ลูกคนแรกติดแพทย์นเรศวร ลูกคนที่สองติดแพทย์แม่ฟ้าหลวง
ขอเล่าการเรียนลูกแรกก่อน ตั้งแต่อนุบาลถึง ม.3 ได้เกรด 4 ตลอด ได้อันดับที่ เลขตัวเดียวของห้อง เก่งปานกลาง ไม่เคยได้ที่ 1 เลย ตอน ม.4-6 ได้เกรด 3.88 โรงเรียนรัฐสตรีล้วน ไม่ดังมาก อยู่ในซอยสุขุมวิท 22 ตอนอยู่ ม.6 เทอม 2 ได้เรียนพิเศษสำนักติวแถวบางนา ไม่ดัง เรียนทุกวิชาทั้งครอส ม.6 เทอม2 และครอสเอ็นฯ รวม 2 ครอส เหมาจ่ายค่าเรียน 5,000 บาท ไม่เคยเรียนโรงเรียนกวดวิชาดังๆ เช่น อ.อุ๊ อ.สมศรี เอ็นคอนเซ็บ แอ็บพลายฟิสิกส์ ซุบเค ฯลฯ
ไปลองสอบแพทย์ขอนแก่น ไม่ติด กลับมาทำให้รู้ว่า ยังอ่านหนังสือน้อยไป ถ้าอยากติดแพทย์ กสพท. ต้องขยันอ่านมากขึ้น ลองทำข้อสอบเก่า 15 พ.ศ.ก็ทำไม่ค่อยได้ เพราะเป็นแบบฝึกหัดคละบท ทำให้รู้ว่าพื้นฐานยังไม่แน่น เวลาอ่านหนังสือก็เหลือน้อยแล้ว จึงต้องซื้อหนังสือพวกสรุปย่อแต่ละวิชามาอ่าน และทำแบบฝึกท้ายบท เช่น มินิคัมภีร์ต่างๆ เมื่ออ่านจบวิชาหนึ่ง ก็ทำข้อสอบเก่า 15 พ.ศ. ผลปรากฏว่า พอเข้าใจทำข้อสอบเก่าได้ดีกว่าเดิม ไปสอบความถนัดแพทย์ได้ 19 กว่าๆ สอบเอเน็ตได้ 35 กว่า รวม 54 กว่า ติดแพทย์นเรศวร ปี 52
ความเห็นส่วนตัว เห็นว่าถ้าผู้ปกครองส่งเสริมการเรียนพิเศษมากกว่านี้ ไม่ประหยัดเกินไป อาจจะได้คะแนนมากกว่านี้

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
Siri_JU 24 ก.ย. 57 เวลา 14:15 น. 17

จริงๆ มันอยู่ที่วินัยเด็กเองด้วยนะคะ เบื้องหน้าอาจมองว่ามีเด็กทยอยไปติวที่สำนักไม่ว่าจะดังไม่ดัง จนรถราติดขัดเกิดความคิดและกระแสว่าคงเก่งกันหน้าดู แต่เบื้องลึก เบื้องหลัง การหมั่นทบทวนที่เรียนมา การพึ่งพาตัวเองมันก็คือปัจจัยหลักๆๆๆ ที่ทำให้ได้คะแนนดีค่ะ เด็กที่ไม่เคยเรียน หรือเรียนน้อย เค้าพึ่งตัวเอง หากอ่อนก็หมั่นฝึก ก็ทำคะแนนได้ดีมากก็เห็นมีตัวอย่างอยู่ถมไป แต่ไม่เคยมีผู้ปกครองท่านใดมองเห็นมุมนี้ค่ะ (พวกซุ่มนั่นเอง *0*)

0
Arion 24 ก.ย. 57 เวลา 19:19 น. 18

ประถมฯ ยังไม่ต้องเรียนก็ได้มั้งครับ -__- เอาเวลาไปวิ่งเล่นดีกว่า เสียดายชีวิตวัยเด็ก

0
กัลย์ 25 ก.ย. 57 เวลา 07:31 น. 19

ขอเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับลูกคนแรกนิดหน่อย เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นเคสกรณีศึกษา คือ ม.1-3 เรียนหลักสูตร 2 ภาษา รุ่นแรกของโรงเรียน เรียนกับครูต่างชาติ ทั้งยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย แต่ตอนหลังมี ครูอินเดียสอนเลขเก่ง แต่สำเนียงภาษาอังกฤษแปลกๆ เด็กจึงมีพื้นฐานภาษาอังกฤษดี ดูหนังสือเตรียมสอบเอเน็ต จึงไม่ต้องเตรียมตัววิชาภาษาอังกฤษเลย ใช้ความรู้เก่าล้วนๆ คือ อ่านเนื้อเรื่องบทความเข้าใจ ก็สามารถทำข้อสอบได้ พวกสอบติดแพทย์เด็กส่วนใหญ่จบมาจากโรงเรียนดังๆ และเรียนพิเศษแต่ละวิชา จากสำนักติวที่มีชื่อเสียงอันดับ 1 ของเมืองไทยทั้งนั้น เมื่อเวลาเพื่อนๆ แม้เป็นเด็ก ตจว.ก็เรียนพิเศษหนักเหมือนกัน คุยเรื่องเรียนพิเศษสำนักโน้น สำนักนี้ เด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษก็คุยกับเค้าไม่รู้เรื่อง บางครั้งถูกเพื่อนถามว่า เรียนพิเศษที่ไหน เด็กบอกชื่อสำนักติวไป เพื่อนบอกว่าโนเนมไม่รู้จัก เรียกว่าเข้าสังคมเรื่องนี้ไม่ได้ คุยกันไม่รู้เรื่อง

ส่วนลูกคนที่สอง ได้เรียนพิเศษมากกว่าคนแรก จะขอเล่าข้อมูลในโอกาสต่อไป

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
อาชีพอื่น 25 ก.ย. 57 เวลา 09:29 น. 20

คนเรียนเก่ง ทำยังไงก็เก่ง เพราะใฝ่รู้
สังคมเราคนเก่งต้องเรียนแพทย์ เราปลูกฝังกันมาอย่างนี้
เราเตรียมคน เตรียมเด็กของเราดีมาก ถึงมากที่สุด
โดยยกย่อง อาชีพแพทย์ กวาดต้อนคนเก่งมาเกือบหมด

แต่การเรียนแพทย์ ของไทย ยังแพ้สิงคโปร์ และต่อมาก็แพ้มาเลเซีย
เพราะระดับรัฐบาลประเทศเขา ส่งเสริม ช่วยดัน โดยเอาโรงเรียนแพทย์เก่งๆ มาเปิดในประเทศ
ถ้ารัฐบาลไทยเดินตามสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย เชื่อว่าไทย จะสู้สองประเทศข้างต้นได้
เพราะเราได้ปลูกฝังค่านิยมเรียนแพทย์ ให้กับผู้ปกครอง และไปสู่เด็กเก่ง แล้ว
คนของประเทศเรามากกว่าทั้งสองประเทศนั้น

ประเทศของเราเป็นประเทศประชาธิปไตย ใครอยากจะเรียนอะไรก็ได้
อาชีพบริหาร วิศว บัญชี เศรษฐศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่พลาดจากสอบแพทย์
เราไม่ค่อยยกย่อง รัฐไม่ได้ให้งานรองรับ เหมือนอาชีพแพทย์


ที่ผมเขียนมานี่ อยากจะให้รัฐ ส่งเสริมสนับสนุนอาชีพอื่น เพื่อให้ประเทศเรา เจริญในทุกๆด้าน
เลิกบังคับให้นักเรียนแพทย์ต้องใช้ทุน ใครอยากทำงานในโรงพยาบาลของรัฐก็มาสอบเข้า
เหมือนอาชีพอื่นๆ













0