Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เวลาเปลี่ยน อะไรๆก็เปลี่ยนแม้แต่โรงรับจำนำ!!!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ถ้าเป็นเมื่อก่อน (ย้อนไปสัก 30ปีที่แล้ว) หากต้องเราโรงรับจำนำคงเป็นเรื่องน่าอาย แต่เดี๋ยวนี้ไม่เหมือนแต่ก่อน ด้วยวิสัยที่คนที่เปลี่ยนไป เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง ก็ทำให้หลายอย่างต่างจากเดิม รวมถึงโรงรับจำนำด้วย ล่าสุดที่เราเห็นตอนขับรถผ่านแถวๆ บางนา เราเจอโรงรับจำนำ Easy Money เป็นโรงรับจำนำที่ต่างไปจากเดิมพอดู เพราะมีลักษณะคล้ายกับธนาคารเลยทีเดียว ทำให้มองโรงรับจำนำในรูปแบบใหม่เลยนะ แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่าเมื่อเริ่มแรกโรงรับจำนำเป็นยังไง

เลยไปหามาให้ได้อ่านกันจ้า

การรับจำนำในประเทศไทย

อดีต

 

ปัจจุบัน

มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปรากฏตามหลักฐานในรัชสมัยพระบรมโกษฐ์ กรุงศรีอยุธยา ตามพระราชกำหนดที่ออกในปี พ.ศ. 2234 เรื่องการควบคุมการรับจำนำ กำหนดให้การรับจำนำกระทำในเวลากลางวัน การให้จำนำกันให้แต่คนที่รู้จักกันดี 


ผมเคยได้ข้อมูลมาว่า การจำนำกับคนรู้จักกันในสมัยที่ยังไม่มีโรงรับจำนำ คิดตอกเบี้ย 25 สตางค์ ต่อเงินต้น 1 ตำลึง หรือ 6.25 % (ต่อเดือน) ลองเทียบกับเงินกู้นอกระบบสมัยนี้แล้ว นายทุนเงินกู้สมัยก่อนน่าจะโหดน้อยกว่า

ด้วยจุดอ่อนของการให้กู้เงินที่ต้องปล่อยกู้เฉพาะคนคุ้นเคย และคิดดอกเบี้ยแพง จึงเกิดธุรกิจที่จะทำอย่างไรให้คนที่มีเงินปล่อยกู้กับใครก็ได้ที่มีข้าวของมาเป็นหลักประกัน แถมยังคิดดอกเบี้ยถูกกว่า จึงเป็นที่มาของการตั้งโรงจำนำ

ผู้ตั้งโรงรับจำนำแห่งแรกของไทยเป็นชาวจีน ชื่อ ฮง แซ่เบ๊ ในปี พ.ศ. 2409 ตั้งอยู่ที่ ย่านประตูผี ถนนบำรุงเมือง ชื่อร้านโรงรับจำนำย่องเซี้ยง (หัวมุมตัดกับถนนมหาไชย) ข้างวัดเทพธิดาราม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น “โรงรับจำนำสำราญราษฎร์”

เริ่มแรกคิดดอกเบี้ยเพียง 1 เฟื้อง (12 .5 สตางค์) จากเงินต้น 1 ตำลึง (4 บาท) นี่ถูกกว่าการกู้กับคนกันเอง คิดดอกเบี้ยเพียงครึ่งหนึ่งของท้องตลาด หรือประมาณ 3.12% ต่อเดือน

เมื่อชาวบ้านร้านถิ่นได้ข่าวว่าโรงรับจำนำของจีนฮง ดอกเบี้ยถูกกว่า จึงแห่มาใช้บริการของจีนฮงกันมาก ใครจะเอาอะไรมาก็จำนำได้ ไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อน มีการออกตั๋วให้เป็นหลักฐาน 

ในปี พ.ศ. 2411 มีการตราพระราชบัญญัติ กำหนดไม่ให้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าชั่งละ 1 บาท หรือ 1.25% ต่อเดือน 

เมื่อโรงรับจำนำของจีนฮงได้รับความนิยมมาก จึงมีผู้เปิดโรงรับจำนำตามจีนฮงอีกหลายสิบโรง ธุรกิจโรงรับจำนำจึงบูมมากๆ ในปี พ.ศ. 2433 มีโรงรับจำนำในกรุงเทพ ฯ ถึง 200 โรง การตั้งโรงรับจำนำสมัยนั้น ตั้งได้ง่ายๆ ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับรัฐบาล

พ.ศ. 2438 (ร.ศ.114) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโรงรับจำนำรัตนโกสินทร์ศก 114 ขึ้นและโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2438 เป็นต้นไป
กำหนดให้ผู้ที่จะตั้งโรงรับจำนำต้องขออนุญาต มีการกำหนดค่าธรรมเนียม และระยะเวลาการใช้ใบอนุญาตกำหนดเวลาจำนำและไถ่ถอนกำหนดให้จัดทำตั๋วจำนำ และบัญชีไว้เป็นหลักฐาน และกำหนดอัตราดอกเบี้ยจำนำ 
เงินต้นไม่เกิน 1 บาท ให้คิดดอกเบี้ย 3 อัฐ ต่อ 1 เดือน 
ถ้าเงินต้นเกิน 50 บาทแต่ไม่เกิน 400 บาท ให้คิดดอกเบี้ยได้บาทละ 2 อัฐต่อ 1 เดือน การไถ่ของกำหนดไว้ภายใน 3 เดือน หากเทียบอัตรา 64 อัฐเป็น 1 บาท ดังนั้น 3 อัฐ เท่ากับ 1.56 % 

โรงรับจำนำแห่งแรกของประเทศไทยที่ตั้งขึ้นถูกต้องตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ร.ศ.114 ชื่อ “ฮั้วเส็ง“ ก่อตั้งโดยนายเล็ก โทณวนิก

ทางการได้ยกเลิกพระราชบัญญัติ ร.ศ. 114 และตราพระราชบัญญัติใหม่ ให้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2481 เป็นต้นมา 
โดยพระราชบัญญัติใหม่นี้ มีหลักการสำคัญ คือ ใช้วิธีประมูลการตั้งโรงรับจำนำทุกๆ ระยะ 5 ปี เพราะไม่ต้องการให้มีมากจนเกินไป ลดการแข่งขันกันเอง ต่อมาสภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมของเราได้เปลี่ยนไปมาก 

รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติ โรงรับจำนำฉบับใหม่ในปีพ.ศ. 2505 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พุทธศักราช 2481 ได้ออกใช้เป็นเวลานานมาแล้ว การกำหนดจำนวนเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย การอนุญาต คุณสมบัติของผู้รับอนุญาต และบทกำหนดโทษยังไม่เหมาะสมแก่กาลสมัยในขณะนี้ จึงสมควรปรับปรุงแก้ไข ให้เป็นการเหมาะสม

ต่อมาในพ.ศ. 2517 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติ โรงรับจำนำใหม่ โดยแก้ไขเพิ่มเติม จากพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 เพื่อมีบทบัญญัติที่รัดกุม เน้นที่การลงหลักฐานของผู้จำนำ ป้องกันการจำนำทรัพย์ที่ได้มาโดยทุจริต

ใน พ.ศ. 2526 มีการออกพระราชบัญญัติโรงรับจำนำอีกครั้ง โดยมุ่งหวังจะช่วยเหลือประชาชนที่นำทรัพย์มาจำนำ แล้วหลุดจำนำโดยเจ้าของไม่ตั้งใจ อาจเป็นเพราะหาเงินมาไถ่ไม่ทัน หรือขาดการส่งดอกเบี้ย จึงขยายเวลา หรือหลักเกณฑ์ให้อะลุ้มอล่วยกับผู้อยากไร้มากขึ้น ซึ่งใช้บังคับมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน 

ผู้ใช้บริการและข้าวของที่มาจำนำ 
ผู้จำนำแบ่งเป็นอาชีพ 5 อันดับแรก

1. รับจ้าง

2. พ่อบ้าน แม่บ้าน

3. ค้าขาย

4. ข้าราชการ

5. นิสิต นักศึกษา


ส่วนประเภททรัพย์สินที่มีการนำมาจำนำมากที่สุด

1. ทอง นาก เพชร

2. กล้องถ่ายรูป

3. นาฬิกาข้อมือ

4. โทรทัศน์


แถมเดี๋ยวนี้นักศึกษาจบใหม่ชอบเอาใบปริญญาบัตรมาจำนำ ไม่ใช่ในไทยหรอกครับ ที่ประเทศเวียตนามโน่น แปลกดีจริงๆ แต่ถ้าเป็นที่ไทยเราเคยเห็นแปลกๆ ก็มีเงินพดด้วงเนี่ยล่ะที่ว่าแปลก เจอที่ Easy Money เนี่ยล่ะ

แสดงความคิดเห็น

>