Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[ถาม-ซีเรียส] การเขียนนิยายให้กะทัดรัด..?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เราเป็นคนที่มีปัญหาในการเขียนนิยาย คือ การใช้ภาษา เรามักจะใช้ภาษาที่ดูไปดูมาแล้ว ไม่ต่างอะไรจากประโยคฟุ่มเฟือยเลย แต่ถ้าเราตัดหลายๆคำทิ้ง จนประโยคดูกะทัดรัดในความคิดเราแล้ว มันจะดูห้วนๆ ดูไม่เหมือนการพรรณนานิยายเลย เราเลยขอคำปรึกษาจากนักเขียนทั้งหลายหน่อยค่ะ ว่าจะสามารถแก้ปัญหาแบบนี้ได้ยังไง *ขอบคุณค่ะ* : ขออภัยถ้าอ่านไม่สะดวก เราตั้งกระทู้ผ่านแอพฯ ค่ะ '/|\'

แสดงความคิดเห็น

>

12 ความคิดเห็น

Seesor Vi Malfoy 25 ต.ค. 57 เวลา 02:11 น. 1

เป็นเหมือนกันค่ะ คือไม่ได้พยายามอะไรเลย แต่มันก็ดันห้วนๆ ไปของมันเอง เลยเป็นปัญหาเวลาเขียนฉากพรรณนานิดหน่อย T_T

วิธีของเราคือจำลองฉากในหัวค่ะ เราเห็นอะไรในนั้นบ้าง แล้วพยายามหยิบมันมาอธิบายให้ได้มากที่สุด หาคำมาใส่ มาเชื่อมมันเข้าไป ก็พอถูไถไปได้บ้าง


ขึ้นสวรรค์

0
DaDA 25 ต.ค. 57 เวลา 02:56 น. 3

เป็นเหมือนกันค่ะ

เราแก้โดยการอ่านออกเสียงค่ะ บางคำที่มีความหมายคล้ายกัน พออ่านออกเสียงจะรู้เลยว่ามันฟุ่มเฟือย ก็ลองตัดออกไปบ้างถ้าประโยคที่อ่านยังสื่อความหมายที่ต้องการอยู่ก็เป็นอันใช้ได้แล้วค่ะ

แต่บางประโยคถ้าตัดออกไปแล้วเสียอรรถรส ก็อย่าตัดดีกว่านะคะ 

แต่ไม่รู้วิธีนี้ใช้กับคนอื่นได้ไหม ยังไงก็สู้ๆๆนะนักเขียนทุกท่าน

** รออ่านเคล็ดลับของท่านอื่นด้วยคน**

0
หมีบราวน์ปวดอึ 25 ต.ค. 57 เวลา 07:39 น. 5

ถ้าเป็นอย่างนั้นลองเขียนสองครั้งสิคะ? เขียนรอบแรกแบบปกติของเราไปก่อน รอบสองค่อยมาตรวจดูแล้วบางที่เราอาจจะเพิ่มบางประโยคลงไปด้วย เราก็ใช้วิธีนี้นะ เหมือนตรวจคำผิดพร้อมเรียบเรียงไปในตัวด้วย

0
Ciel En Roseジン 25 ต.ค. 57 เวลา 08:44 น. 7

คำฟุ่มเฟือย เป็นสิ่งที่เราติดอยู่เลยตอนนี้ พยายามแก้โดยอ่านหลายรอบ แล้วตัดคำที่มีความหมายคล้ายหรือเหมือนกัน อะไรที่ดูเวิ้น เยอะ แปลกก็พยายามตัดๆ แต่ไม่รู้ถูกตามหลักรึเปล่า//สู้ๆนะคะ^^

0
Day(พั้นช์) 25 ต.ค. 57 เวลา 10:49 น. 8

คำฟุ่มเฟือย. บางครั้งเทคนิคนี้นักเขียนก็ใช้เป็นเคล็ดลับในการพิมพ์ให้ยืดเยื้อแบบไม่ต้องรีไรท์แล้วหยุดลงนิยายให้สาเหตุว่าถึงตอนที่กำหนดแล้วลงไม่ได้แล้วทั้งๆที่เนื้อหาดำเนินไปไม่ถึงที่กำหนดว่าอาจลงให้ 50% 40% หากเพราะในหนังสือจริงของบางท่านจะใส่ภาษาที่กะทัดรัดได้ใจความเพื่อกระชับเนื้อหาและราคาที่อาจพุ่งสูงจนไม่มีใครซื้อ. แต่ย้ำว่า "บางท่าน" ค่ะ

0
ฮันเตอร์สายลม (วิลวี่) 25 ต.ค. 57 เวลา 10:50 น. 9

อา ไม่เคยมีปัญหาใช้คำฟุ่มเฟือยอะไรแบบนี้แฮะ เพราะเรื่องที่แต่งมันไม่ต้องใช้ความขลังหรืออะไรมาก ..ส่วนตัวเวลาซื้อหนังสือก็ไม่ค่อยชอบเรื่องที่บรรยายเวิ้นเว้อหนักๆซะด้วย
แต่บางทีก็ออกมาสั้นเกิ๊น.....

0
peiNing Zheng 25 ต.ค. 57 เวลา 13:34 น. 10

เขียนให้กะทัดรัด แบ่งได้อยู่ 2 กรณีขอรับ

1. ข้อมูลที่ปล่อยหลวม (แบบนิยาย แต่ถ้าข้อมูลกระชับ จะออกมาในรูปแบบเรื่องสั้น)

2. ภาษาที่เยิ่นเย้อ

ในกรณีที่ท่านกล่าวถึงคงจะเป็นข้อ 2 ซึ่งข้าน้อยมองว่า การอ่านและเสพหนังสือที่ใช้ภาษาได้ concise ก็จะช่วยให้ท่าานพัฒนาไปในทางที่ท่านต้องการ โดยส่วนตัวข้าน้อยแนะนำงานเขียนของคุณลวิตร์ขอรับ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ท่านเขียน มันก่อมาเกิดจากประสบการณ์ที่ท่านอ่านมาก่อนหน้านี้ และภาษามันจะหลอมรวมเป็นตัวของท่านเองในเวลาต่อมา

สำหรับข้าน้อย ถ้าใช้ภาษาที่ concise ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ในขณะเดียวกัน ข้าน้อยกลับไม่ซีเรียสกับมันสักเท่าไร เพราะสุดท้าย ข้าน้อยก็ถือว่ามันเป็น Signature ของท่านน่ะนะ

0
Silver (โลกสีเงิน) 25 ต.ค. 57 เวลา 15:56 น. 11

กะทัดรัด สำหรับผม ก็คือการตัดอะไรที่ไม่จำเป็นออก...

อย่าง ได้พรรณนาถึงความสูงไปแล้ว ก็ไม่ต้องต่อความยาว ว่าสูงเหมือนอะไร สูงจนตัวเองต้องเงยหน้ามอง สูงจนทำให้คนข้างๆถึงกับคอเคล็ดเวลาต้องคุยด้วย สูงขนาดเสาไฟฟ้ายังเรียกเพื่อน - - ไม่ต้องต่ออะไรแล้ว แค่สูงและเพิ่มพรรณาอีกนิดหน่อยก็พอ

พรรณนาว่าสวยไปแล้ว ก็ไม่ต้องต่อเติมเพิ่มซ้ำความเดิมไปอีก

ผมเป็นคนหนึ่งที่เขียนนิยายห้วนๆ บรรยายแค่นิดเดียว ไม่รู้ว่าสิ่งที่บอกไปจะถูกหรือเปล่า...

0
PeaceMotion 25 ต.ค. 57 เวลา 19:48 น. 12

อืมมมมมม....
ผมก็ไม่ค่อยเก่งมากนะครับ
คือผมเป็นพวกลูกผสม 555+
ผสมระหว่างความสวยงามแบบโบราณกับโมเดริน
ผมชอบภาษาโบราณ ฟังแล้วมันชวนให้ลื่นหู แม้จะใช้คำมากมาย
ส่วนโมเดรินก็คือทันสมัยขึ้นมาหน่อย ก็ดีครับ
แต่โดยส่วนตัว ผมชอบคำโบราณมากๆ

ผมว่าไม่ว่าจะสมัยไหน ก็มีคำฟุ่มเฟือยมากมาย
โดยเฉพาะของคนไทย เพราะว่าชาติเรา
เรียกว่าภาษาดิ้นได้ไม่สิ้น ก็ยังได้เลยครับ
เรารับมาเกือบทุกวัฒนธรรม ภาษามากมายไปหมด
นี่ยังไม่รวมที่ใช้กันเอง ตีพิมพ์(แซว)กันขึ้นมาเองอีกนะ
ทั้งแสลงแคลงใจ งงงวย ภาษาสก็อยมากมี (แซว) 555+

ผมว่าใช้ฟุ่มไม่ฟุ่มเนี่ย น่าจะดูที่ความสวยงามครับ
ถ้าใช้ฟุ่มแล้วสวย ภาษาลื่น มันก็น่าใช้
แต่ถ้าใช้แล้วมันเหมือนกัน มันก็จะทำให้น่าเบื่อครับ

เช่น เจ้าช่างสวยงดงามวิไลเฉิดฉาย
คือมันก็จะดูโอเว่อร์ใช่ไหมครับ

แต่ถ้าเราเขียนว่า
เจ้าช่างสวยและเจิดจรัสยิ่งกว่าดวงดาวในท้องฟ้าสักร้อยสักพันดวงก็ไม่อาจเทียบได้
คือมันก็จะดูว่า เรามีจุดหมายนะ ในการชมเขาว่าสวย
คือเราชมเขาว่าสวย สวยในระดับไหน สวยขนาดไหน เปรียบกับอะไร คือไม่ใช่ชมเขาสวยอย่างเดียว แต่ชมเขาในระดับไหน อะไรแบบนั้นครับ

ในความจริง เราใช้ภาษาฟุ่มเฟือยจะตายไป 555+
แล้วดูเหมือนคนจะชอบด้วย
เช่น อืม ใช่ มั้ง ไม่ รู้ ไม่รู้
กับ ใช่ๆๆๆๆ เออๆๆๆๆ ไม่รู้ดิว่ะ งั้นมั้ง
อะไรแนวๆนั้นอ่ะครับ

ผมว่าฟุ่มไม่ฟุ่มเนี่ย ดูกันดีกว่าว่า ภาษาสวยไหม
เขียนแล้วลื่นไหม สื่อความหมายได้ดีไหม
ไม่น่าเบื่อเกินไป ไม่ใช้เยอะเกินไป
และมีจุดหมาย และการบรรยายนั้นเข้าถึงจุดหมายได้ดี

ผมว่าคนเราชอบไม่เหมือนกัน
แต่น่าจะมีความเข้าใจในความสุนทรีย์เหมือนกัน
อยู่ที่ใครจะเข้าใจพื้นๆหรือเข้าใจแบบลึกล้ำลงไปนะครับ
เพราะงั้นเราก็เขียนไป ปรับไปเรื่อยๆก็ได้

วิชาที่ดีที่สุด หาได้ในเน็ตและนิยาย
นั่นคือครูที่ดีที่สุด
ส่วนท่านผู้อ่าน ก็คืองานวิจัยชั้นเยี่ยมที่สุด
อย่าไปสนยอดวิวหรือแฟนคลับ
เพราะว่าเป็นตัวเลขไม่แน่นอน
แต่คอมเม้นนั้นแน่นอนครับ
ดูที่คอมเม้น ดูที่ผลตอบรับ ดูที่เขาเขียนแสดงความเห็น
ถ้าเจอคนที่ชอบเม้น แบบอ่านละเอียด ก็จะโชคดีมากๆครับ ^^

สู้ๆนะคับบบ

0