Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่องจริงของผู้หญิงขายชาติให้กับนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ ๒

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


คำว่า “การให้ความร่วมมือกับศัตรูในแนวนอน” (Collaboration Horizontale) นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกพฤติกรรมของผู้หญิงที่ถูกตราหน้าว่าขายชาติเพราะหลับนอนกับทหารในกองทัพเยอรมันที่เข้ารุกรานและยึดครองประเทศต่างๆในยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
ระหว่างช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพนาซีในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น นั้นมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ได้ทหารเยอรมันเป็นคู่ ครอง ทั้งด้วยความสมัครใจ และด้วยความจำใจ (๑ ผู้หญิงบางคนที่ขาดหัวหน้าครอบครัว ต้องพยายามดิ้นรนหาเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆซึ่งขาดแคลนอย่างหนักในช่วง สงคราม หนึ่งในวิธีที่จะช่วยลดความลำบากแร้นแค้นลงก็คือการได้รับความช่วยเหลือจาก ทหารเยอรมัน, ๒ โสเภณีในสถานบริการจะถูกแบ่งไปสำหรับให้บริการแก่ทหารเยอรมัน จึงต้องให้บริการอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้) 
จึงทำให้เกิดลูกนอกสมรสจากผู้หญิงฝรั่งเศสกับทหารเยอรมันเป็นจำนวนหลักหมื่น แต่เรื่องที่น่าสลดใจก็คือ หลังจากที่เยอรมันพ่ายแพ้และถอนกำลังออกไป ผู้หญิงเหล่านี้ก็ถูกตราหน้าว่าเป็น “ผู้ให้ความร่วมมือกับศัตรูในแนวนอน” หลายคนในจำนวนได้ได้ถูกฝูงชนที่โกรธแค้นคุมตัวออกมาที่ถนน ฉีกเสื้อผ้าออก โกนศีรษะและนำแห่ประจานไปรอบเมือง 
เด็ก ที่เกิดจากทหารเยอรมันจำนวนไม่น้อยถูกสังคมบังคับให้แม่ของเด็กนำไปทิ้งไว้ กับสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า และได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากสังคม เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการรวบรวมเรื่องราวของเด็กเหล่านี้ (ซึ่งในเวลานี้อายุเลยวัยเกษียณแล้ว) ออกตีพิมพ์เป็นหนังสือและบทความ ซึ่งเรื่องราวในอดีตของแต่ละคนนั้นล้วนแต่เศ้ราโศกและน่าสะเทือนใจ
หนึ่ง ในจำนวนนั้นเล่าว่าเขาโตขึ้นภายใต้การเลี้ยงดูของยาย ซึ่งเลี้ยงดูเขาอย่างไม่ใยดีนัก เขาไม่รู้ว่าพ่อของตัวเองคือใคร และเพราะเหตุใดคนในสังคมซึ่งรวมไปถึงคนในครอบครัวของเขาเองจึงได้รังเกียจ ตัวเขา จนเมื่อเขาเริ่มเป็นวัยรุ่น ยายจึงได้เอาจดหมายและรูปถ่ายของแม่และพ่อของเขาซึ่งเก็บซ่อนเอาไว้อย่าง มิดชิดมาตลอดออกมาให้ดู เขาจึงได้รู้ในที่สุดว่าพ่อของเขานั้นคือทหารเยอรมันที่มาประจำอยู่ใน ฝรั่งเศสระหว่างการยึดครอง ต่อมาเขาได้ติดต่อไปยังครอบครัวของพ่อในเยอรมัน และได้รู้ว่าพ่อของเขาซึ่งเสียชีวิตไปในช่วงปีสุดท้ายของสงครามมีลูกและ ครอบครัวที่เยอรมันอยู่แล้ว แต่ครอบครัวของพ่อก็ให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะจากพี่สาวของพ่อ และที่เยอรมันนี้เองที่เขาได้รู้จักกับความรักและความอบอุ่นของครอบครัวเป็น ครั้งแรก 
เรื่องที่หยิบยกมานี้ถือเป็นเคสหนึ่งในจำนวนน้อยที่จบลงด้วยดี นอกเหลือจากจากเคสของเด็กอีกหลายพันหลายหมื่นคนที่ไม่ได้เอ่ย












ส่วนหนึ่งจากแรงบันดาลใจของนิยายเรื่อง





Paris 1942 - เพลิงรัก อินทรีเหล็ก



ที่ใดมีรบ ที่นั่นมีรัก เมื่อทัพนาซีเข้าปกครองฝรั่งเศสที่ยอมจำนนในสงครามโลกครั้งที่ 2 โศกนาฏกรรมรักระหว่างนายทหารเยอรมันผู้ยึดครอง และ หญิงสาวฝรั่งเศส จึงบังเกิดขึ้นในมหานครปารีส



แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

charda 25 ต.ค. 57 เวลา 16:38 น. 1

บางทีน่าจะดูหลักมนุษยชนด้วยเนอะ^^
ถ้ามองในมุมฝรั่งเศษ ผู้หญิงพวกนี้ก็เหลือเกินเนอะ กบฏชัดๆต่อให้เกิดเป็นหญิงก็ใช่ว่าจะไม่รักชาติศาสตร์กษัต
แต่ถ้ามองในมุมมองของหญิงพวกนั้น ก็ต้องเข้าใจส่วนหนึ่งว่าเธอต้องมีความจำเป็น ในเมื่อกลุ่มจำใจก็มี
แต่แปลกนะเดี๋ยวนี้yaoiก็เยอะ ทำไมสมัยนั้นไม่มีผู้ชายให้ความร่วมมือกับศัตรูแนวนอนบ้าง55555ขำๆนะ
ปล.แนวนี่มันคล้าย
โกโบริอังศุมาลิน


0