Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ค่านิยมสถาบันดังๆนี่มีเฉพาะคนไทยชาติเดียวในโลกหรอ?? สถาบันดังมันมีอะไรดี?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สืบจากกระทู้เรียนที่ไหนก็เหมือนกันเห็นหลายคนโจมตีเหลือเกินว่าคนไทยบ้าสถาบันมีชื่อบ้าสถาบันดัง เลยอยากรู้ว่าไอค่านิยมเเบบนี้มันมีเฉพาะสังคมไทยหรอครับ? ต่างประเทศมีไหมครับ

ชื่อเสียงเเต่ละสถาบันเกิดขึ้นได้ยังไงครับ??

แสดงความคิดเห็น

>

53 ความคิดเห็น

ทำใจครับ 9 ธ.ค. 57 เวลา 11:05 น. 1

จีน ญ๊่ปุ่ณ เกาหลี เขาสอบเข้าหนักกว่าเราเยอะ ค่านิยมในสถาบันเขามากกว่าเรามากครับ ลองไปศึกษาได้ครับ

ขอพูดตรงๆนะ อาจจะไม่ถูกใจใครด้วยแหละ คนที่เขาบอกว่าค่านิยมสถาบันนี่มีเฉพาะไทย พวกนี้คือพูดปลอบใจตัวเองทั้งนั้น ทุกประเทศในโลกมันก็มีค่านิยมที่ว่าใครสอบเข้ามหาลัยชื่อดัง สังคมเขาก็ต้องมองว่าเป็นคนเก่ง ซึ่งมันก็ถูกต้องแล้วเพราะกว่าจะเข้ามหาลัยดังๆได้มันยากมาก

อย่าไปฟังใครเขาครับ เอาเป็นว่าคุณสอบเขามหาลัยมีชื่อเสียงได้ไหม ถามตัวเองก่อน ถ้าสอบเข้าไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความคุณโง่ แต่เชื่อเถอะว่าทัศคติคุณจะเปลี่ยนไปโดยเห็นได้จากการมองมหาลัยที่ตัวเองสอบไม่ติดหรือไม่มีคะแนนถึงไปในแง่ลบ ซึ่งคนส่วนมาก เอาเป็นว่าเยอะเลยแหละที่เป็นแบบนี้

0
Aeeee 9 ธ.ค. 57 เวลา 11:09 น. 2

มันมีทุกที่แหละการสอบแข่งขันก็มาพร้อมกับคุณภาพมหาล้ย แล้วก็วัดคุณภาพนิสิตนักศึกษาด้วย ไม่งั้นถ้าทุกมหาลัยเท่ากัน จะจัดสอบทำไมใครอยากเข้าที่ไหนก็เข้า ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นคำปลอบใจตัวเองมากกว่าที่บอกเรียนไหนก็เหมือนกัน อันนี้ขอไม่โลกสวยนะเพราะคิดว่ามันจริง

0
Cardio 9 ธ.ค. 57 เวลา 11:17 น. 3

จริงๆมีทุกประเทศแหละครับ เรื่องชื่อเสียงกับความนิยมมันไม่เข้าใครออกใครครับ อย่างอังกฤษก็ต้อง Oxford Cambridge สหรัฐฯก็ Harvard Columbia ฯลฯ (แม้จะมีหลายแห่งแต่ถ้าจัดประเภทดีๆก็จะพบว่าเป็นมหาลัยดังของรัฐต่างๆนั่นแหละครับคล้ายไทยที่มีสถาบันภูมิภาคที่มีชื่อเสียงครับ) รัสเซียก็ต้องที่ Moscow ไม่ก็ St Petersburg ยิ่งจีนญี่ปุ่นเกาหลีนี่ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ การแข่งขันเข้าสถาบันดังๆนั้นสูงมากแถมสอบได้ครั้งเดียวถ้าไม่ได้ก็ต้องซิ่ว สังเกตว่านักศึกษาในประเทศเอเชียพวกนี้นี่ส่วนใหญ่เป็นเด็กซิ่วทั้งนั้นครับ เพื่อให้ได้สถาบันชั้นนำที่มีชื่อเสียง

ปัญหาของไทยคือเราพัฒนาผิดทางมาตลอดครับ คือพยายามให้เท่าเทียมกันทุกอย่าง(คาร์ล มาร์กอมยิ้มเลยทีเดียว) ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ แต่ต่างประเทศนั้นเขาทำมาตรฐานขึ้นมาครับทุกที่ต้องได้ตามมาตรฐานนั้นแล้วใครจะต่อยอดให้โดดเด่นด้านไหนให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะก็ทำไป ประกอบกับวิทยาศาสตร์เขาเจริญมากครับ รากฐานก็ดีแถมพัฒนาต่อยอดตลอดเวลา

ตัดจบก่อนจะบานปลายละกัน 555

0
เลิกเถอะ!! 9 ธ.ค. 57 เวลา 11:17 น. 4

จบเถอะกระทู้พวกนี้!! มันรู้อยู่แก่ใจกันทุกคน ถ้าคะแนนถึงใครๆก็เลือกกันทั้งนั้น มหาลัยดังๆอย่างน้อยที่สุดคะแนนก็เป็นตัววัดมาตรฐานใช้คัดกรองเด็กที่เข้าเรียนได้ในระดับนึงอยู่แล้ว... ส่วนพอเข้าไปแล้วก็ขึ้นอยู่กับตัวของแต่ละคน...

0
เรียนบางคาบ 9 ธ.ค. 57 เวลา 11:21 น. 5

เป็นค่านิยมครับ เขาบอกมาว่าให้เข้ามหาลัยดีๆเวลา"หางาน"เค้าจะดูจากชื่อมหาลัยก่อน ก็มีแค่นี้เเหละครับ แต่ปัจจุบันนี่่ ไม่รู้ว่าคำที่ว่า รับเข้างานจากชื่อมหาลัยอำดับแรก ยังจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่านะ

สู้สู้

0
อิอิ 9 ธ.ค. 57 เวลา 11:31 น. 7

เห็นด้วยครับ ผมคิดว่าพวกที่บอกมหาลัย ดังๆ ไม่ดีงั้นงี้ มันคือคนโง่ ปลอบใจตัวเองมากกว่า เชื่อเถอะ ถ้าถามว่า -คนนั้น สามารถติดมหาลัยดังๆได้มันจะเรียนไหม ผมตอบได้เลยมันเอาแน่นอน 5555

0
อืมนะ 9 ธ.ค. 57 เวลา 12:14 น. 8

ไม่อ่ะ ยังมีคนโลกสวยไม่ยอมรับความจริงอีกเยอะบางครั้งเราก็ต้องเเสดงออกให้เขาเห็นความจริงบ้าง


ผมว่ากระทู้เเบบนี้เป็นกระบอกเสียงให้พวกโลกสวยจำนวนมากได้ดีเลยเเหละ

0
จิตวิญญาณ 1234 9 ธ.ค. 57 เวลา 12:45 น. 9
มีทั่วโลก เเถมต่างประเทศจะยิ่งกว่าไทยอีก

บรรยาหาศการสอบเเอดมิชชั่นเกาหลี







จีน



ไทย



การได้เข้าเรียนในสถาบันดีดีเป็นค่านิยมที่มีทั่วโลก

ต่างประเทศหนักกว่าไทยอีก 





ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยเเต่ละที่ไม่ใช่ว่าตั้งมาปุ๊ปจะดังปั๊บนะคะ

ที่เขามีชื่อเสียงเพราะศิษย์เก่าเขามีคุณภาพ สร้างชื่อเสียงต่อกันมารุ่นต่อรุ่นจนสังคมให้การยอมรับ ส่งผลให้เขามีชื่อเสียง เเละจากการยอมรับนี่เเหละที่ทำให้เกิดค่านิยม   เด็กเก่งๆก็เลือกเรียน ก็กลับเข้าวนลูปเดิม ได้เด็กเก่งไป จบไปก็เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ทำงานสร้างชื่อให้สถาบัน เด็กเก่งรุ่นต่อๆไปก็เลือก เป็นวัฏจักร




0
nananano 9 ธ.ค. 57 เวลา 12:48 น. 10

ไม่ใช่ค่านิยมอะไรแบบนั้นหรอกผมว่า

จบจากมหาลัยดังได้ก็แปลว่าต้องมีความสามารถอยู่พอตัว กว่าจะสอบเข้ากว่าจะเรียนจบมันต่างกันมากอยู่แล้ว

เรียนมหาลัยดังกว่าก็ต้องยากเพราะมีแต่คนเก่งๆมาเป็นคู่แข่งแถมหลักสูตรก็จะยากตามตัวนักศึกษาในขณะที่มหาลัยอื่นต้องปรับหลักสูตรให้ง่ายขึ้นให้เหมาะกับนักศึกษาส่วนใหญ่

ที่ทำงานส่วนใหญ่คงคิดกันแบบนี้มากกว่า


0
ครับบย 9 ธ.ค. 57 เวลา 12:59 น. 11

คนที่เป็นอาจารย์จะรู้เนื้อหาหลักสูตรเเละความยากข้อสอบต้องตามสมองเด็ก

ลองเอาตำราจุฬา หรือ มหิดลไปสอนเด็กราชภัฎเเล้วข้อสอบเหมือนกันเป๊ะๆรับรองราชภัฎตายยกมหาลัย ที่ผมกล้าพูดตรงๆเพราะสมัยนี้ข้อสอบเก่าเเต่ละที่สามารถหาดูได้ ซึ่งข้อสอบราชภัฎง่ายจริงๆเเละคะเเนนช่วยเยอะมาก จบมาเกรดสวยๆเเต่ภาษาอังกฤษง่ายๆยังพูดไม่ได้เเปลไม่ถูกบางทีtense12ชนิดยังไม่รู้ด้วยซ้ำน่าอนาถมาก แต่มหาลัยอย่างจุฬา มหิดล ธรรมศาสตร์เเค่2.5ผมก็ถือว่าเก่งเเล้วครับ

0
จริน 9 ธ.ค. 57 เวลา 14:18 น. 12

แม่นเลย เห็นด้วยอย่างแรง มันไม่เหมือนกันหรอก คนเก่ง เขามีความมุ่งมั่นมากกว่า เวลาสอบคะแนนจึงสูงอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ก็เลยไหลไปเรียนอยู่ด้วยกัน
ปลอบใจตนเองก็ดีแล้ว รับความจริงในไอคิวของตัวเองดีที่สุด แล้วตั้งใจเรียน ให้อยู่หัวแถวเข้าไว้ โอกาสยังมีไม่อยากให้คิดฟุ้งซ่าน เดี๋ยวติดโปร โดนรีไทร์ได้ง่ายๆนะ
ตกใจ

0
..ก.. 9 ธ.ค. 57 เวลา 15:49 น. 14

แต่มันก็มีน่ะค่ะ พวกที่เก่งแต่ก็ไม่ได้พยายามเข้าไปอยู่ในสถาบันที่ดังกว่าที่ตัวเองอยู่ในตอนนี้
เรื่องยังเคยเกิดกับเราเลยที่สอบติดแล้วสละสิทธิ ไปเรียนที่อื่อนที่หลายคนมองว่ามันแย่กว่า ไม่ดีเท่าไร แต่กลายเป็นว่าเราถูกเหมารวมเป็นคนโง่แบบที่คนตอบกระทู้คนแรกพูด เราก็รู้สึกแย่น่ะ

เราเข้าใจที่พวกคุณเข้าใจว่ามันเป็นหาคำปลอบใจตัวเอง เพราะตอนเด็กๆเราก็คิดว่าคงเป็นอย่างนั้นแต่พอโต รู้มองข้อดีข้อเสีย "ความคิดเด็กๆ" มันก็หายไป

ก็แค่อยากจะให้ทุกคนมองคนให้มันหลายด้านไม่ใช่ เหมารวม บางที่ไม่ใช่ว่าไม่มีปญญาทำแต่อาจจะมีจากหลายปัจจัยมากกว่าแค่ "ทำได้ไม่ได้ สอบติดไม่ติด" หวังว่าพอจะเข้าากันบ้างน่ะ

0
ไม่โลกสวย 9 ธ.ค. 57 เวลา 17:20 น. 15

โลกสวยเกินไปหนะ แรกๆก็คิดแบบเธอ แต่พอเห็นเพื่อนเก่งๆค่อยๆหายไป แต่เรากลับต้องอยู่ที่เดิม มันแซดมาก ขึ้นม.1 เพื่อนๆไป สวนกุหลาบ บดินทร1 มศว ปทุมวัน พอขึ้นม.4 ก็มีไปเตรียม มหิดลวิทย์ พอเวลานี่เตรีมเรียนมหาลัย
พวกนี้ก็เลือกสอบ แต่หมอ ทันตะ วิศวะจุฬา เป็นหลัก ส่วนตัวเรา ขอแค่สังคมสงเคราะห์ มธ.ที่มีแต่เด็กไม่เก่ง มาแข่งกันเอง ยังหวังยากเลย เหมือนกับโง่แล้วโง่เลย เศร้าจัง

0
OFFooVEEOSS 9 ธ.ค. 57 เวลา 20:17 น. 16

ไม่อยากให้เหมารวมเลยครับ ผมคนนึงล่ะที่ไปมหาลัยดังๆได้แล้วไม่ไป เพราะชอบวิชาในคณะของอีกมหาวิทยาลัยนึงมากกว่าตั้งใจ

0
ขอองคฺพระเอื้ออา 9 ธ.ค. 57 เวลา 21:40 น. 17

ใช่ ตั้งกระทู้ไม่คิด ฆ่าตัวเองมาก รู้แก่ใจ คนอื่นก็รู้ ใครจาไปเข้าพวก
จุฬา เราฝันอยากเข้าตั้งแต่เด็ก รอสมัครรับตรงอยู่ช็อค

0
ชวิน 9 ธ.ค. 57 เวลา 21:55 น. 18

อย่าว่าแต่ราชภัฎ ที่อื่นก็น่าจะตายหมดแหละ ลองเอาแคลไปลองสอบดู เพื่อนที่ไปเรียนวิศวะจุฬา เป็นเด็กเก่งพอตัว 3.7-3.8 หลายคน ไปเจอ เลขแคล ฟิสิกเข้าให้ เละเป็นโจ๊กเลย เหลือเวลานี้ 2.0-2.5 เอง บางคนถึงกับออกอาการขอบาย ซิ่ว หมออีกที แต่พวกเทพ เขาเก่งจริงๆยากแค่ไหนเขาก็ทำได้นะ

0
Nuckaunn 9 ธ.ค. 57 เวลา 22:03 น. 19

ชื่อเสียงสถาบัน ค่านิยมเกิดจากอะไร?

ศิษย์เก่าสร้างชื่อเสียง มีความสามารถ ทำให้สังคมยอมรับ

>>ศิษย์เก่าเป็นที่ต้องการในวงการทำงาน

>>คนเริ่มมองว่า มหาลัยเหล่านี้มักจะสร้างคนที่มีคุณภาพ

>>ใครๆก็ต้องการคนจากสถาบันเหล่านี้

>>คนที่จบจากสถาบันนี้มีโอกาสได้งานสูงกว่าชาวบ้าน

>>พ่อแม่ต้องการให้ลูกเข้าเรียนที่นี่ เพื่อโอกาสในหน้าที่การงาน 

>>เด็กก็เริ่มสนใจ หันมาเข้าที่นี่มากขึ้น

>>เกิดการแข่งขันสูงเพื่อสอบเข้า

>>มหาลัยได้เด็กที่มีความสามารถสูงมาเรียน

>>สามารถให้ความรู้ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกลัวว่าเด็กจะรับไม่ได้

>>ยิ่งยาก เด็กยิ่งต้องกระตือรือร้น พัฒนาตัวเองยิ่งๆขึ้นไป

>>คนจบมามีคุณภาพมาก วงการงานต้องการตัว

>>สังคมยิ่งยอมรับ จนเกิดเป็นค่านิยม

0
---------- 9 ธ.ค. 57 เวลา 22:30 น. 20

ร้อยทั้งร้อย ถ้าเลือกได้ใครๆ ก็ต้องเลือกที่ดังๆ อยู่แล้ว เข้าก็ยาก จบก็ยาก แถมพอจบมาดูดีกว่า มีชื่อมากกว่า ใครๆ ก็ต้องการตัวมากกว่า แล้วแบบนี้ยังจะมานั่งโลกสวย ปลอบใจตัวเองไปวันๆ อีกหรอ หัดยอมรับความจริงซะบ้างว่าจบสถาบันดังมันต้องดีกว่าอยู่แล้ว และที่เค้าดังขึ้นมาได้ก็เพราะคุณภาพ ศิษย์เก่าเก่งๆ กันทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าจู่ๆ จะดังขึ้นมาเฉยๆ ซะเมื่อไหร่ มันเหมือนเป็นการการันตีได้อย่างหนึ่งอะว่าจบที่ดังๆ มาก็ต้องมีฝีมือพอตัวล่ะถึงสอบเข้าได้
แทนที่จะหาอะไรทำเพื่อเพิ่มสกิลให้ตัวเอง กลับมาเสียเวลาโทษนู่นโทษนี่โทษสังคม มโนบิดเบือนความเป็นจริง สร้างโลกในฝันขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองสบายใจ เพราะมันง่ายกว่าการยอมรับว่าตัวเองพลาด สอบเข้าไม่ได้ใช่มั๊ยล่ะ

0