Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มารู้จักไม่ดอกไม้ประดับกันเถอะ!!!!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


ความหมายของไม้ดอกไม้ประดับ

ไม้ประดับ หมายถึงพืชที่ปลูกไว้เพื่อความสวยงาม ใช้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนให้เกิดความเจริญตา ส่วนใหญ่ไม้ประดับมักเป็นพืชดอก จึงเรียกรวมกันว่า ไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม้ประดับไม่จำเป็นต้องมีดอกก็ได้ เพียงมีใบที่ดูดีหรือมีสีสันสวยงามก็ใช้ได้ ไม้ประดับมีขนาดเล็กหรือขนาดย่อมพอเหมาะแก่พื้นที่จัดตกแต่ง อาจปลูกไว้ในกระถาง หรือปลูกลงดินไว้ก็ได้
ไม้ดอกไม้ประดับแบ่งออกเป็นกี่ประเภทนะ
1.ไม้ประดับประเภทในร่ม พืชในกลุ่มนี้เหมาะที่จะปลูกในบ้านเรือนหรืออาคารสำนักงานอากาศเย็นสบาย ที่มีแสงน้อย
2.ไม้ประดับประเภทกึ่งร่มกึ่งแดด พืชในกลุ่มนี้เหมาะที่จะปลูกประดับไว้ในห้องหรืออาคารสำนักงานจะต้องตั้งเอาไว้ ใกล้ๆกับหน้าต่างหรือระเบียงบ้านที่แดดส่องถึงบ้างบางเวลา จะทนแสงแดดจัดได้น้อยแต่ก็ขาดแสงไม่ได้
3.ไม้ประดับประเภทกลางแจ้ง พืชในกลุ่มนี้จัดเป็นพืชกลางแจ้งนิยมปลูกไว้นอกตัวอาคารหรือปลูกตามสนามหญ้า ต้องการแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน


ตัวอย่างไม้ประดับประเภทในร่ม

1.1 ยางอินเดีย

ยางอินเดีย เป็นไม้ประดับที่ เจริญเติบโตได้ในสภาพแสงน้อย ปลูกง่ายทนทาน มิหนำซ้ำยังมีคุณสมบัติดีเด่นในการดูดสารพิษและฟอกอากาศจากอากาศภายในอาคารได้ดีเยี่ยม คาความชื้นได้มาก ยางอินเดียมีลำต้นตั้งตรง ลักษณะเด่นอยู่ที่ใบ มีลักษณะกลมรีปลายแหลม ใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั้งภายในอาคาร

1.2 มรกตแดง (Red Emerald Philodendron)
มรกตแดง เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย จึงถูกแนะนำให้นำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร ตามธรรมชาติจะเลื้อยพันต้นไม้ใหญ่ในป่า จึงไม่ชอบแสงแดดจัด แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารก็เป็นไม้ที่แข็งแรง ปลูกเลี้ยงง่ายไม่ค่อยมีปัญหา มรกตแดงมีใบใหญ่ สีเขียวอมแดงเป็นมัน ดูสวยงาม การปลูกภายในอาคารให้ใช้กาบมะพร้าวหุ้มไม้ปักไว้ในกระถางพรมน้ำให้ชื้น เพื่อให้ยึดเกาะ ถ้าต้องการให้แตกกิ่งก้านสาขามากๆ ก็ควรหมั่นเด็ดยอดตั้งแต่ยังเล็กอยู่

1.3 กวักมรกต
กวักมรกตเป็นต้นไม้ที่มีใบสวยเป็นมันเงา นิยมปลูกประดับบ้าน ออฟฟิศ ปลูกได้ในที่ร่ม ลำต้นอยู่ใต้ดิน แตกกอง่าย เป็นไม้ประดับที่ช่วยกรองอากาศและช่วยดูดสารพิษ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อและปักชำ

1.4 เดหลี
เดหลีเป็นไม้ประดับที่ให้ดอกสวยสีขาวคล้ายดอกหน้าวัว สามารถปลูกในที่ร่มอย่างเช่นในอาคาร ในบ้าน ในออฟฟิศได้ เป็นต้นไม้ที่คายความชื้นสูง และความสามารถในการดูดสารพิษได้หลายชนิด การดูแลควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

1.5 เศรษฐีเรือนใน
เศรษฐีเรือนในลักษณะคล้ายเศรษฐีเรือนนอกเพียงแต่ขอบใบสีเขียวแต่ตรงกลางสีขาว แตกเป็นกอเหมือนกันที่นิยมปลูกประดับในบ้าน ออฟฟิต สำนักงาน ดูดสารพิษได้ดี จำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์ และ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ความต้องการน้ำน้อย ชอบแดดอ่อนเป็นไม้ประดับพุ่มสวยใบแตกเป็นกอ หัวอยู่ใต้ดิน ใบเรียวยาวแตกออกเป็นกอ ขอบขาวตรงกลางสีเขียว
1.6 พลูด่าง

ภาพประกอบที่ 6 ภาพ ต้นพลูด่าง
พลูด่างเป็นไม้เลื้อยปลูกง่าย โตไว ใบเป็นรูปหัวใจเป็นลายขาว-เขียว สามารถปลูกในกระถางใช้ไม้ปักค้ำให้พลูด่างเลื้อยขึ้นมีรากอากาศงอกเกราะตามตามผนังได้ หรือเป็นกระถางแขวน แช่น้ำใส่แจกันก็ได้ สามารถดูดสารพิษความชื้นได้มาก สามารถลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ดีอีกด้วย ขยายพันธุ์ง่ายโดยการปักชำ

1.7 ตีนตุกแกฝรั่ง
ตีนตุ๊กแกฝรั่งหรือต้นไอวี่ เป็นไม้เลื้อยปลูกให้เลื้อยตามกำแพงหรือรั้วได้และสามารถปลูกในที่มีแสงรำไร ปลูกในกระถางแขวนได้ ใบลักษณะคล้ายตีนตุ๊กแกเป็นแฉก 3-5 แฉก ขยายพันธุ์ด้วยการชำกิ่งหรือทับกิ่ง มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก สารเบนซิน

1.8 ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพลใช้ทาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกแผลจะหายไว นอกจากจะเป็นยาสมุนไพลแล้วยังสามารถปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับบ้าน และดูดสารพิษจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์ได้ดีอีกด้วย เป็นกอใบเรียวยาวมีหนาม ปลูกโดยการแยกหน่ออ่อน ปลูกง่ายโตไว ทนแล้ง

1.9 ฟิโลใบหัวใจ
ฟิโลใบหัวใจใบรูปหัวใจสีเขียวสวยงาม สามารถเติบโตในที่ร่มได้ ปลูกในกระถางแขวนเป็นไม้เลื้อยเหมือนพลูด่าง หรือกระถางตั้งในออฟฟิศสำนักงาน สามารถดูดสารพิษในอากาศได้ ขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งปักชำ



ตัวอย่างไม้ประดับประเภทกึ่งร่มกึ่งแดด

2.1 ปาล์มไผ่ ( Bamboo palm (Chamaedorea sefritzii))
ปาล์มไผ่ เป็นปาล์มที่มีขนาดเล็กเจริญเติบโตช้า สูงประมาณ 2 - 3 เมตร แตกกอสวยงาม ดูอ่อนช้อยคล้ายกอไผ่ และเหมาะดีกับการตกแต่งสไตล์โอเรียนทัล รวมทั้งสไตล์ไทย เมื่อปลูกใส่กระถางวางประดับหน้าฝาบ้านสามารถลดความแข็งกระด้างของแผ่นไม้ให้ดูอ่อนช้อยลงได้ทันตา

2.2 สาวน้อยประแป้ง (Dumb Cane)
สาวน้อยประแป้ง เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายนอกและภายในอาคารมานานแล้ว เพราะเลี้ยงง่าย ทน และใบมีลวดลายสวยงาม สามารถดูดสารพิษได้มากชนิดหนึ่ง สาวน้อยประแป้งมีใบใหญ่คล้ายใบพาย มีตั้งแต่สีเขียวอ่อน เขียวแก่ไปจนถึงสีเหลืองอ่อนๆ มีลายแต้มประปรายสีขาวหรือเหลืองอ่อน จึงได้ชื่อว่า สาวน้อยประแป้ง

2.3 เยอบีร่า
เยอบีร่าเป็นไม้ประดับที่ให้ดอกมีหลายสีเช่น แดง ส้ม เหลือง หรือแม้แต่ม่วง ชมพู ขาว และยังสามารถดูดสารพิษภายในอาคารได้มากจำพวก สารเบน ซินเยอบีร่า เป็นไม้พุ่ม มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบและก้านสีเขียว แตกออกจากลำต้นใต้ดิน เป็นไม้ที่ชอบแสงแดด ต้องการน้ำปานกลาง

2.4 วาสนาราชินี และวาสนาอธิษฐาน
ต้นวาสนาราชินี ลำต้นตรง สูง 4-10 เมตร ต้องการแสงแดดและน้ำพอสมควร สามารถปลูกทั้งในในอาคารและนอกอาคาร ประสิทธิภาพดูดสารฟอร์มัลดีไฮด์ และไตรคลอโร แถมยังเป็นไม้มงคลอีกด้วยจะทำให้มีโชคลาภวาสนาส่วนวาสนาอธิษฐาน ลำต้นตรง ดอกเป็นช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมและใบใหญ่นิยมนำมาปลูกภายในอาคาร สามารถตัดแต่งรูปทรงต้นได้ง่าย ต้องการน้ำมาก ปลูกได้ในที่ร่ม และยังสามารถดูดสารพิษฟอร์มัลดิไฮด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย เป็นไม้มงคลโบราณเชื่อว่าปลูกไว้ในบ้านจะทำให้เกิดความสุข สมหวังในชีวิต





ตัวอย่างไม้ประดับประเภทกลางแจ้ง

3.1 หมากเหลือง หรือ ปาล์มไผ่
หมากเหลือง หรือ ปาล์มไผ่ ลักษณะเป็นก่อแตกหน่อ ไม่ต้องการน้ำและแดดมาก เป็นต้นไม้อีกชนิดที่นิยมปลูกประดับบริเวณบ้านเรือน หรือนอกอาคาร ความสูงประมาณ 1.8 เมตรโตช้า คายความชื้นให้แก่อากาศในห้องเป็นจำนวนมาก แต่สามารถดูดมลพิษหลายชนิด และป้องกันฝุ่นละอองได้ดีโดยเฉพาะสารพิษพวกฟอร์มัลดีไฮด์

3.2 ปาล์มสิบสองปันนา
ปาล์มสิบสองปันนามีลำต้นตรงเดียว ใบเป็นก้านแตกออกเป็นแฉกโค้งลงคล้ายขนนก สามารถโตได้ทั้งกลางแจ้ง และในร่ม ต้องการน้ำปานกลาง ยังความสามารถในการดูดสารพิษชนิดไซรีนได้ดี และคายความชื้นได้ดี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือแยกหน่อ





ปัจจัยที่ฉันจะเจริญเติบโต

1.อุณหภูมิ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิหรือความร้อนในอากาศยิ่งสูงขึ้นมากเท่าไหร่ พืชก็จะคายน้ำมาขึ้นเท่านั้น รวมไปถึงการระเหยของน้ำที่อยู่รอบๆ บริเวณต้นพืชด้วย อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช คืออุณหภูมิที่อยู่ในช่วง 15-40 c.
2.น้ำและความชื้น พืชมีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำในขบวนการสังเคราะห์แสงหล่อเลี้ยงเซลล์และยังเป็นตัวละลายแร่ธาตุต่างๆ ก่อนที่จะลำเลียงเข้าสู่ต้นพืชอีกด้วย
สำหรับความชื้นในอากาศนั้นถือว่าเป็นปัจจัยทางอ้อม ที่มีผลต่อปริมาณความต้องการน้ำของพืช คือถ้าความชื่นอยู่ได้แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ความชื้นในอากาศลดลงพืชก็จะคายน้ำมากขึ้นและนั้นก็แน่นอนว่าพืชจะต้องการน้ำเพื่อมาชดเชยปริมาณน้ำ ที่สูญเสียไปมากขึ้นเช่นกัน
3.อากาศ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งโดยพืชจะหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปทางใบ เพื่อใช้ในขบวนการต่างๆ การหายใจของพืชเกิดขึ้นที่ใบและที่รากของพืชนั้นๆ
4.ปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยธรรมชาติแล้วพืชจะได้รับธาตุอาหารต่างๆ จากดินแต่บางครั้งธาตุอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นก็หาได้มีเพียงพอกับความต้องการของพืชไม่ จึงจำเป็นที่ผู้ปลูกเลี้ยงจะต้องเพิ่มธาตุอาหารลงไปในดิน ธาตุอาหารหรือปุ๋ยที่เราเติมลงไปในดินให้กับพืชนั้น มีอยู่ 2 ชนิด คือ 4.1ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่เกิดจากซากพืชและซากสัตว์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยเทศบาล เป็นต้ 2. 4.2ปุ๋ยนินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่เกิดจากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ปุ๋ย ยูเรีย ไนเตรทร๊อ ฟอสเฟต
5. ดิน คือสิ่งที่พืชใช้ยึดเกาะเพื่อการทรงตัวและใช้รากชอนไชหาอาหาร จึงถือได้ว่าดินนั้นคือแหล่งกำเนิดอาหารขอพืช ดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกพืชจะต้องเป็นดินที่มีความ อุดมสมบูรณ์สูง คือจะต้องมีธาตุอาหารที่พืชต้องการอยู่อย่างครบถ้วนหรือเกือบจะครบ



สร้างลูกสร้างหลาน

มีวิธีการที่นิยมปฏิบัติโดยทั่วไป ได้แก่

1.การตอนกิ่ง คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง
2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออ
3. นำตุ้มตอน (คุ่ยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล
4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้
5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป

2.การทาบกิ่ง คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์เพศปราศจากโรคและแมลง
2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1 - 2 นิ้ว
3. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลาม
4. ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดีพันพลาสติกให้แน่นแล้วมัดต้นตอกับกิ่งพันธุ์ด้วยเชือก
5. ประมาณ 6 - 7 สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงจะตัดได้
6. นำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลังค้ำยัน ต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม

3.การติดตา คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทำ 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้ และแบบไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในทีนี้จะแนะนำเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้
1. เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล แล้วกรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอยห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร
2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่าง ตัดเปลือก ที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
3. เฉือนแผ่นตายาวประมาณ 7 - 10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออกแล้วตัดแผ่นตา ด้านล่างทิ้ง
4. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
5. ประมาณ 7 - 10 วัน จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ ออกมา ทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก

4.การเสียบยอด คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโต เป็นต้นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. ตัดยอดต้นตอให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลำต้นของ ต้นตอให้ลึกประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
2. เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
3. เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบน และล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น 4. คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติก หรือนำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติก
5. ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์ รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรง เรือนเพื่อรอการปลูกต่อไป

5.การตัดชำ คือ การนำส่วนต่างๆ ของพืชพันธุ์ดีเช่น ใบ และ ราก มาตัดและปักชำในวัสดุเพาะชำเพื่อให้ได้พืชต้นใหม่จากสวนที่นำมาตัดชำแต่ในที่นี้จะขอแนะนำขั้นตอนการตัดชำกิ่งซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. ตัดโคนกิ่งให้ชิดข้อยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร โดยตัดเฉียงเป็นรูปปากฉลาม และตัดปลายบนให้เหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตร
2. ใช้มีดปลายแหลมกรีดบริเวณรอบโคนยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร ประมาณ 2 - 3 รอย
3. ปักกิ่งชำลงในวัสดุเพาะชำ ลึกประมาณ 2.5 - 5 เซนติเมตร
4. นำเข้าโรงอบพลาสติก หรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่
5. ประมาณ 25 - 30 วัน กิ่งตัดชำจะแตกยอกอ่อนพร้อมออกรากเมื่อมีจำนวนมากพอจึงย้ายปลูต่อไป



ประโยชน์มากกว่าที่คิด

1.สามารถทำเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ สามารถทำ
เป็นอาชีพของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตปีละจำนวนมาก ๆ
2. ทำให้สภาพแวดล้อมเกิดความร่มรื่นสวยงาม การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ช่วยสร้างความร่มรื่นสวยงามให้แก่สถานที่ต่าง ๆ ให้น่าอยู่น่าอาศัย สร้างความเพลอดเพลิน
3. เป็นแหล่งวัตถุดิบทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตน้ำหอม เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมด้านยารักษาโรค ตลอดจนอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น
4. ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เมื่อมีการรวมตัวกันผลิตไม้ดอกไม้ประดับจำนวนมาก ทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและส่วนรวมอีกทางหนึ่งด้วย
5. ไม้ประดับสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สร้างรายได้เป็นมูลค่านับพันล้านบาทต่อปี เช่น การส่งออกกล้วยไม้ทั้งต้นและดอกไปขายยังต่างประเทศ เป็นต้น
6. ใช้เป็นแหล่งทดลองทางวิทยาศาสตร์การเกษตร ทำให้เกิดความเจริญด้านเทคโนโลยีการเกษตรมากยิ่งขึ้น

แสดงความคิดเห็น

>