Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หอมแดง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

 หอมแดง  เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ของประเทศในถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยส่งออกหอมแดงไปยังประเทศมาเลเซียเป็นจำนวนมาก การซื้อขายส่วนใหญ่เป็นหัวๆ ชั่งขายเป็นกิโลกรัม และมัดขายเป็นกำๆ แต่ก็ขายตามน้ำหนัก เช่นเดียวกัน
 

ชื่อวิทยาศาสตร์          Allium cepa linn .cv group Aggregatum

ชื่อวงศ์ :                       Ascalonicum auct . non linn .

ชื่ออื่นๆ :                        ปะเซอก้อ ปะเซะส่า หอมแดง หอมไทย หอมบัว หอมเล็ก หอมหัว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ไม้ล้มลุก สูง 20-30 ซม. มีหัวใต้ดิน เกิดจากใบเกร็ด เรียงซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่กว้าง 1-3.5 ซม ยาว 1.5-4 ซม. มีหลายหัวเกาะกลุ่มด้วยกัน เปลือกหกุ้มสีม่วงหรือสีน้ำตาล ใบเดี่ยว เกิดจากรากเรียงช้อนกัน รูปแถบ กว้าง 3-10 มม. ยาว 10-35 ซม. ดอกช่อซี่ร่ม รูปทรงกลม เกิดจากหัวใต้ดิน ดอกรูประฆังหรือคนโท กลีบรวม 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง สีเขียวถึงขาว ผลแห้งแตกได้ เป็น 3 ภู เมล็ดแบนสีดำ

สรรพคุณทางยา:

หัว ขับลมในลำไส้ แก้หวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้อันบังเกิดแก่จักษุ แก้ไข้อันบังเกิดแก่ทรวงแก้โรคตาขับเสมหะ แก้โรกในปาก บำรุงเส้นผมแก้ลมพรรดึก เจริญไฟธาตุ กแก้กำเดา แก้อาการเมาค้างจากเหล้า แก้สะอึกแก้ท้องเสียเป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน ขับปัสาวะ บำรุงโลหิต

ใบ :  แก้ท้องผูกแก้ลม เจริญอาหาร แก้กำเดา แก้หวัด แก้ฟกช้ำ

เมล็ด : แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ แก้อาเจียนเป็นเลือด

วิธีใช้และการรักษา : นำหอมกินกับข้าว เพื่อขับลม

ข้อดีของสมุนไพร :  ใช้เป็นยารักษาโรค

ข้อเสียของสมุนไพร :กลิ่นฉุน

 

ถิ่นที่อยู่คนโบราณนิยมปลูกไว้ในสวนหลังบ้าน หรือปลูกในกระถาง ปลูกได้ดีในดินร่วนปัจจุบันนี้บางบ้านยังปลูกไว้ใช้ประโยชน์บ้าง และที่สำคัญ คือ ปลูกเพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้รู้จัก

การใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร

คนไทยนิยมนำหอมแดง มาเป็นส่วนประกอบเครื่องแกงเผ็ด เป็นส่วนประกอบของไข่เจียวหมูสับ ซุปหางวัว รับประทานสดโดยฝานเป็นแว่นบางๆรับประทานร่วมกับแหนมสด เมี่ยงคำ ปลาเค็มทอดบีบมะนาว หอมแดงซอย กับพริกขี้หนูสวนหั่นฝอย เป็นส่วนประกอบของน้ำพริกกะปิ หอมแดงเผาตำผสมกับน้ำพริกปลาร้า และเป็นส่วนประกอบของหลนทุกอย่าง เป็นส่วนประกอบของขนมหวาน เช่น หอมแดงซอยเจียวใส่ในข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง ขนมหม้อแกงถั่ว และไข่ลูกเขย ( อาหารคาวหวาน ) ฯลฯ

คุณค่าทางอาหาร

คุณค่าทางอาหารของหอมแดง ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม คือ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 88 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม ไขมัน 0.3 กรัมคาร์โบไฮเดรต 9 กรัม ใยอาหาร 0.7 กรัม เถ้า ( ash ) 0.6 กรัม แคลเซี่ยม 36 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัมวิตามินเอ 5 หน่วยสากล ( I.U. ) วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินซี 2 มิลลิกรัม พลังงาน 160 Kj คุณภาพของหอมแดงขึ้นอยู่กับของแข็ง( Solids ) ที่ละลายน้ำได้ และให้กลิ่นหอม เมื่อนำไปทอด หอมแดงจะมี soluble solid อยู่ระหว่าง 15-20 Brix เป็นส่วนประกอบของกรดแอมิโน S-allkyl cysteine sulphoxides ที่ให้ทั้งรสชาติ และกลิ่นฉุนของหอม

หอมแดงเป็นพืชสมุนไพรที่เป็นยารักษาโรค

หอมแดงมีคุณสมบัติ เป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้และรักษาแผลได้ โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่นๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือดแล้วนำมาพอกแผล นอกจากนั้นหอมแดง ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง

การปลูกด้วยหัว

หัวหอมแดงจะฟักตัว และพร้อมปลูก ได้ประมาณ 4 เดือนล่วงไปแล้ว การเตรียมดินทำในลักษณะเดียวกันกับแปลงเพาะกล้าใช้หัวพันธุ์มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 4-5 กรัม ให้ระยะปลูกระหว่างหัว 10 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างแถว 20 เซนติเมตร อย่าให้หัวจมดินจนมิดปิดคลุมดินภายหลังปลูกด้วยฟาง หอมแดงปลูกด้วยหัว อาจปลูกได้ 2 ครั้ง ครั้งแรกปลูกต้นเดือนพฤษภาคมและเก็บหัวได้ราวปลายเดือนกรกฎาคม ครั้งที่สองปลูกต้นเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวปลายเดือนธันวาคม เราอาจเก็บเกี่ยวภายใน 55-60 วันหลังจากปลูกก็ได้ แต่หัวหอมยังแก่ไม่เต็มที่ น้ำหนักหัว หรือผลผลิตอาจต่ำกว่าปกติ

คณะจัดทำ:

นายถิรเมธ   ทองอยู่ เลขที่7

นางสาวชิดชนก   อุควงศ์เสรี เลขที่12
นางสาวนฤภร   เสวตวิวัฒน์ เลขที่13
นางสาวอุดมศรี   ทองแท้ เลขที่15
นางสาวกฤติยา   โอโกเย เลขที่22
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/2

แสดงความคิดเห็น

>