Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

“Earthquake” มหันตภัยทำลายโลก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

“Earthquake” มหันตภัยทำลายโลก

ความหมายของแผ่นดินไหว 

แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้น

สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว

1. แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง

โดยส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่

2. แผ่นดินไหวจากกการกระทำของมนุษย์

2.1. การตัดไม้ทำลายป่า 

2.2. การเกษตรกรรม 

          2.3. การชลประทาน

          2.4. การทำเหมืองแร่ ต้องมีการขุดเจาะสำรวจหา แร่ แหล่งเชื้อเพลิง พื้นที่บริเวณดังกล่าวจะเกิดการเปลี่ยนแปลง

          2.5. การทำอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง มีการขุดเจาะหน้าดินเพื่อวางรากฐานการก่อสร้างมีการระเบิดภูเขา เพื่อนำหินมาใช้ในการก่อสร้าง มีการปรับพื้นที่ในการก่อสร้างโรงงาน
 

ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

 การเกิดแผ่นดินไหวนั้น  ส่วนใหญ่จำกักอยู่เฉพาะที่ชั้นของเปลือกโลก  โดยที่เปลือกโลกไม่ได้เป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมดเนื่องจากว่าเมื่อของเหลวที่ร้อนจัดปะทะชั้นแผ่นเปลือกโลก   ก็จะดันตัวออกมา  แนวรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นแนวที่เปราะบางและเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดมาก  จากการบันทึกประวัติปรากฏการณ์แผ่นดินไหว  ทำให้สามารถประมาณการแบ่งของแผ่นเปลือกโลกได้เป็น  15  แผ่น  คือ 

-แผ่นยูเรเชีย -แผ่นแปซิฟิก -แผ่นออสเตรเลีย -แผ่นฟิลิปปินส์ -แผ่นอเมริกาเหนือ -แผ่นอเมริกาใต้ -แผ่นสโกเชีย -แผ่นแอฟริกา -แผ่นแอนตาร์กติก -แผ่นนัซกา -แผ่นโคโคส -แผ่นแคริบเบียน -แผ่นอินเดีย -แผ่นฮวนเดฟูกา -แผ่นอาหรับ

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามรอยต่อของแผ่นต่างๆโดยสรุปแล้ว  การเคลื่อนไหวระหว่างกันของเปลือกโลก  3  ลักษณะ  ได้แก่

1. บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกแยกออกจากกัน (Divergence Zone

2. บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกชนกัน (Convergence  Zone) เ

3. บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่พาดผ่านกัน

คลื่นแผ่นดินไหว             

คลื่นแผ่นดินไหว มี 2  ประเภท  คือ         

 ประเภทแรก  เป็นคลื่นที่เกิดจากการอัดตัวที่เรียกว่า  คลื่นอัดตัว  (compressional  wave)   หรือ  คลื่นปฐมภูมิ  (Primry  wave: P-Wave) หากเรามองที่อนุภาคของดิน  ณ  จุดใดจุดหนึ่ง เมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เกิดแรงอัดขึ้น  ทำให้อนุภาคของดินถูกอัดเข้าหากันอย่างรวดเร็วของอนุภาคดินก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยานี้จะทำให้ดินขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว  ผ่านจุดที่เป็นสภาวะเดิม  

ประเภท ที่  เป็นคลื่นที่เกิดจาการเปลี่ยนรูปร่างของอนุภาคแบบเฉือน เรียกว่า

 คลื่นเฉือน  (shear  wave  หรือ คลื่นทุติยภูมิ   secondary  wave  :  S-Wave)  เช่นเดียวกับแรงอัดเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่นอกจากแรงอัดแล้วยังเกิดแรงที่ทำให้อนุภาคของดินเปลี่ยนรูปร่าง 

นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวจึงสามารถคำนวณหาระยะทางถึงจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวได้โดยเวลาที่คลื่นเฉือนมาถึง  ลบด้วยเวลาที่คลื่นอัดตัวมาถึง  (เวลาเป็นวินาที) คูณด้วยแฟกเตอร์   จะได้ระยะทางโดยประมาณเป็นกิโลเมตร (S-P)x8

คือ   เวลาที่คลื่นเฉือนเคลื่อนที่มาถึง

คือ  เวลาที่คลื่นอัดตัวเคลื่อนที่มาถึง 

ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว

 1. ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ประชาชนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเศษสิ่งปรักหักพังและการล้มทับของสิ่งก่อสร้างต่างที่อยู่อาศัยพังเสียหายไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้ ทำให้ไร้ที่อยู่อาศัยระบบสาธารณูปโภคได้รับความเสียหาย อาจเกิดการระบาดของโรคต่างๆเกิดเหตุอัคคีภัยหรือไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ประชาชนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตสุขภาพจิตของผู้ประสบภัยเสื่อมลง

2. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
        .ระบบธุรกิจหยุดชะงักรัฐต้องใช้งบประมาณในการดูแลสุขภาพการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัย พืชผลทางการเกษตรเสียหาย

 

  

การป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว

1. ควรจัดทำแผนป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว 

2. ควรกำหนดมาตรการทางกฎหมาย ควบคุมการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ การกำหนดเขต ความเสี่ยงแผ่นดินไหว 

3. ควรจัดทำประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่อาจเกิดแผ่นดินไหว  

4. ควรจัดตั้งสถานีตรวจแผ่นดินไหวขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 

5. ควรจัดหน่วยงานรับผิดชอบในการช่วยเหลือและประสานการปฏิบัติงาน กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวแล้ว 
ที่มา : 
http://www.ipesp.ac.th/learning/supitcha/html/F5-5-2.html

        http://sura-knowledge
          http://www.wikwpedai.com
             http://www.dmr.go.th/main.php

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น