Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หญ้าหวาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ใบหญ้าหวาน


ทำไมถึงเรียกว่าหญ้าหวาน? นั่นเป็นเพราะว่าในส่วนของใบหญ้าหวานนั้นมีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่เป็นความหวานที่ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และที่สำคัญก็คือสารสกัดที่ได้จากหญ้าหวานที่มีชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (Stevioside) นั้นเป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า ! และด้วยความที่มันมีคุณสมบัติพิเศษอย่างนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้รักสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยได้มีการนำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างเครื่องดื่ม ยาสมุนไพร และในด้านการแพทย์หญ้าหวาน ภาษาอังกฤษ Stevia (สตีเวียหญ้าหวาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Stevia rebaudiana Bertoni อยู่ในวงศ์ ASTERACEAE เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบราซิลและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้

ซึ่งแน่นอนว่า ชาวพื้นเมืองในประเทศปารากวัยก็รู้จักนำหญ้าหวานมาสกัดเพื่อใช้ในการบริโภคหลายศตวรรษแล้ว โดยนำมาใช้ผสมในเครื่องดื่ม ชงกับชา ฯลฯ และสำหรับต่างประเทศ อย่างประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการใช้สารสกัดดังกล่าวมานานมากเป็นสิบๆ ปีแล้ว โดยนำไปใช้ผสมกับผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว ผักดอง เนื้อปลาบด เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทย หญ้าหวานได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในภายหลัง และได้มีการนำเข้ามาปลูกในช่วงปี พ.ศ.2518 โดยได้มีการนำมาเพาะปลูกในภาคเหนือ ซึ่งจะเพราะปลูกกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และลำพูน เนื่องจากพืชนิดนี้จะชอบอากาศค่อนข้างหน้าเย็น ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และพืชชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีเมื่อเพาะปลูกในพื้นที่สูง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600-700 เมตร

ลักษณะของหญ้าหวาน

  • ต้นหญ้าหวาน เป็นพืชล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีลำต้นแข็งและกลม ลักษณะทั่วไปคล้ายต้นโหระพา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้กิ่งชำปลูก

  • ใบหญ้าหวาน ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหัวกลับ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย มีรสหวานมากใช้แทนน้ำตาลได้

  • ดอกหญ้าหวาน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาว ดอกเล็ก กลีบเป็นรูปไข่สีขาวเล็กมาก มีเกสรีตัวผู้เป็นสีขาวงอไปมา ยื่นออกมาเล็กน้อย

สรรพคุณของหญ้าหวาน

  1. สมุนไพรหญ้าหวาน ช่วยเพิ่มกำลังวังชา
  2. ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
  3. ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  4. สรรพคุณหญ้าหวานช่วยลดไขมันในเส้นเลือดสูง
  5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัว ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
  6. หญ้าหวาน สรรพคุณช่วยบำรุงตับ
  7. หญ้าหวาน สรรพคุณทางยาช่วยสมานแผลทั้งภายและภายนอก

คณะจัดทำ: นายถิรเมธ   ทองอยู่ เลขที่7
นางสาวชิดชนก อุควงศ์เสรี เลขที่12
นางสาวนฤภร เวตวิวัฒน์ เลขที่13
นางสาวอุดมศรี ทองแท้ เลขที่15
นางสาวกฤติยา โอโกเย เลขที่22
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/2

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น