Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

10 อันดับเครื่องบินที่มีสถิติอัตราการเกิดอุบัติเหตุต่อเที่ยวต่ำที่สุดในโลก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
จากข่าว เครื่องบิน Airbus 320-200 ของสายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบิน QZ8501 เรามาดูกันดีกว่าว่า 10 อันดับเครื่องบินที่มีสถิติอัตราการเกิดอุบัติเหตุต่อเที่ยวต่ำที่สุดในโลกมีอะไรกันบ้าง 

 

อันดับที่ 10 
Boeing MD80/90 series 


MD80 เป็นเครื่องบิน Jet เชิงพานิชแบบลำคัวแคบ ทางเดินเดี่ยว สองเครื่องยนต์ติดตั้งด้านท้ายของลำตัวเครื่อง แพนหางรูปตัว T ขนาด 130 ถึง 172 ที่นั่ง ออกแบบโดยบริษัทแม็กดอแนลดักกลาสและผลิตต่อโดยบริษัทโบอิ้งเริ่มบินครั้งแรกในปี 1980 โดยสายการบินสวิสแอร์ สายการบินในประเทศไทยที่ใช้เครื่อง MD82 คือสายการบิน One-To-Go และประสพอุบัติเหตุตกขณะพยายามลงจอดที่สนามบินภูเก็ตเกิดปะทะเข้ากับกระแสลมพัดเฉือน (windshear) แล้วเกิดความผิดพลาดขณะที่นักบินกำลังจะพาเครื่องไปต่อ (go around) เป็นเหตุให้ผู้โดยสาร 89 จากทั้งหมด 130 คน เสียชีวิต Boeing MD80/90 series มีสถิติอัตราการเกิดอุบัติเหตุอยู่ที่ 0.24 ครั้งต่อการขึ้นทำการบินหนึ่งล้านเที่ยวบินและขึ้นบินมาทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 41.83 ล้านเที่ยวบิน 


 

อันดับที่ 9 
Fokker 70/100 series 


ฟลอกเกอร์ 100 เป็นเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก 100 ที่นั่ง ทางเดินเดี่ยว บินระยะใกล้ ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ Jet สองเครื่อง ติดตั้งด้านท้ายลำตัว แพนหางรูปตัว T ผลิตโดยบริษัทฟลอกเกอร์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เริ่มผลิตในปี 1980 และยุติการผลิตในปี 1997 ด้วยจำนวนการผลิต 283 ลำ ฟลอกเกอร์ซีรี่ส์ 70 และ 100 มีใช้อยู่ใน 47 สายการบินทั่วโลก ในเดือนตุลาคมปี 1996 เครื่องฟลอกเกอร์ 100 ของสายการบิน TAM ประสบอุบัติเหตุตกที่สนามบิน ซานโต๊ส เมือง ริโอ เดอ จาเนโร่ หลังจากวิ่งขึ้นจากสนามบินได้ไม่นานระบบ thrust reverser ของเครื่องยนต์ที่สอง (เครื่องยนต์ด้านขวา) ได้เกิดทำงานขึ้นด้วยตัวเอง (คล้ายกับกรณีเครื่อง 767 ของสายการบินเลาด้าแอร์ที่ตกที่กาญจนบุรี) เป็นเหตุให้เครื่องบินเสียการทรงตัวหมุนไปทางด้านขวาก่อนตกลงมาชนเข้ากับอาคารบ้านเรือน ทำให้ผู้โดยสารทั้ง 96 คนเสียชีวิตทั้งหมด และผู้อยู่อาศัยในอาคารอีก 3คน รวมเสียชีวิต 99 คน ฟลอกเกอร์ 100 มีสถิติอัตตราการเกิดอุบัติเหตุอยู่ที่ 0.20ครั้งต่อหนึ่งล้านเที่ยวบินและมีเที่ยวบินมาแล้วรวมไม่ต่ำกว่า 9.38 ล้านเที่ยวบิน 


 

อันดับที่ 8 
Saab 340 


ผลิตในประเทศสวีเดน ซ๊าบ 340 เป็นเครื่องบินพานิชแบบ turboprop สองเครื่องยนต์ ติดตั้งด้านบนปีกทั้งสองข้าง แพนหางแบบ Conventional tail ขึ้นบินครั้งแรกในปี 1983 และยุติการผลิตในปี 1998 ซ๊าบ 340 เป็นเครื่องบินโดยสารขนาดเล็กพิสัยทำการใกล้ ขนาด 37 ที่นั่ง ความเร็วเดินทางสูงสุด 522 km/h สายการบินในประเทศไทยที่ใช้ซ๊าบ 340 ให้บริการมีทั้งหมดสองสายการบินคือ SGA Airlines และ Happy Air ส่วนกองทัพอากาศใช้เครื่องซ๊าบ 340 เป็นเครื่องควบคุมการยุทธทางอากาศ ตั้งแต่เริ่มทำการบินเชิงพานิชในปี 1983จนถึงปัจจุบัน ซ๊าบ 340 มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุอยู่ที่ 0.19 ครั้งต่อการทำการบินหนึ่งล้านเที่ยว และมีเที่ยวบินรวมมากกว่า 11.2ล้านเที่ยวบิน 


 

อันดับที่ 7 
Embarer 170/190 E-Jet family 


เอ็มแบร์ อี-เจ็ท เป็นเครื่องบินพานิชลำตัวแคบ ทางเดินเดี่ยว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบ turbofan สองเครื่องยนต์ติดตั้งใต้ปีกทั้งสองข้าง พิสัยบินปานกลาง ผลิตโดยบริษัทเอ็มแบร์ประเทศบราซิล เริ่มบินไฟลท์แรกในปี 2002 จนถึงปัจจุบันผลิตออกมาแล้วทั้งหมด 671 ลำ และคาดว่าจะถึง 1,100 ลำ ในปี 2016 เครื่อง ERJ-190 ของไหหนานแอร์ไลน์ประสบอุบัติเหตุตกขณะทำการลงจอดที่สนามบิน ยี่ชุน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน โดยขณะลงจอดสภาพอากาศมีหมอกหนาทึบทำให้นักบินบังคับเครื่องลงเกือบกลางทางวิ่งแล้วเบรกไม่อยู่ เครื่องทะลุทางวิ่งลงไประเบิดเป็นเหตุให้ผู้โดยสาร 43 คนจาก 91 คน เสียชีวิต เอ็มแบร์ อี เจ็ท มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุอยู่ที่ 0.17 ครั้งต่อการทำการบินหนึ่งล้านเที่ยว จนถึงปัจจุบันเครื่องทำการบินมาแล้วมากกว่า 2.63 ล้านเที่ยวบิน 


 

อันดับที่ 6 
Boeing 737 Classic (series 300,400,500) 


โบอิ้ง 737 เป็นเครื่องบินพานิชพิสัยการบินใกล้ถึงปานกลาง ลำตัวแคบ ทางเดินเดี่ยว ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ turbofan สองเครื่องยนต์ ติดตั้งใต้ปีกทั้งสองข้าง แพนหางแบบ Conventional tail โบอิ้งพัฒนาเครื่อง 737 ต่อมาจากรุ่น 707 และ 727 โบอิ้ง 737 เริ่มบินครั้งแรกในปี 1968 นอกจากนี้ 737 ยังครองตำแหน่งเครื่องบินพานิชที่มียอดจำหน่ายสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 6,348 ลำ และมีอัตราการบินขึ้นลงในปัจจุบันอยู่ที่ 1 เที่ยวบินในทุกๆ 5 วินาที ทั่วโลก สายการบินในประเทศไทยทีใช้เครื่อง 737 คือ การบินไทยและนกแอร์ อุบัติเหตุที่เกิดกับเครื่อง 737-400 ของสายการบินไทยขณะจอดอยู่ที่สนามบินดอนเมืองในปี 2001 ยังคงหาสาเหตุไม่ได้ ผลการสอบสวนออกมาว่าเกิดการระเบิดที่ถังน้ำมันกลางลำตัวเครื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคน แต่มีรายงานว่าเคยเกิดเหตุลักษณะเดียวกันนี้กับเครื่อง 737-300 ของสายการบินฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ในปี 1990 โบอิ้ง 737 คลาสสิกมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุอยู่ที่ 0.16 ครั้งต่อการทำการบินหนึ่งล้านเที่ยวและเป็นเครื่องที่ขึ้นบินมาแล้วมากที่สุดในบรรดาเครื่องบินพานิชทุกแบบทุกรุ่น โดยมีเที่ยวบินรวมมากกว่า 62.96 ล้านเที่ยวบินและยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 


 

อันดับที่ 5 
Boeing 737 NG (next generation) series 600,700,800,900
 

โบอิ้ง 737 รุ่นก้าวหน้าเป็นชื่อเรียกขานของเครื่อง 737 ในซีรี่ส์ตั้งแต่ 600 - 900 เป็นเครื่องบินแบบพิสัยการบินใกล้ถึงปานกลาง ลำตัวแคบ ทางเดินเดี่ยว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบ turbofan สองเครื่องยนต์ติดตั้งใต้ปีก หน้าจอแสดงผลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมการบินแบบ fly-by-wire เครื่อง 737 เอ็นจี มีเพียงลำเดียวในประเทศไทยเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือ วิหคตอง 5 ทะเบียน HS-TYS อุบัติเหตุครั้งสำคัญของเครื่องรุ่นนี้เกิดขึ้นกับสายการบินไชน่าแอร์ไลน์ ขณะทำการวิ่งเข้าหลุมจอดที่สนามบินเทาหยวนบนเกาะไต้หวัน เกิดไฟลุกไหม้เครื่องยนต์ที่หนึ่ง (เครื่องยนต์ด้านซ้ายเมื่อหันหน้าไปทางหัวเครื่อง) ก่อนจะลุกลามเข้าถังน้ำมันกลางลำตัวและเกิดระเบิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว อัตราการเกิดอุบัติเหตุของเครื่อง 737 เอ็นจี อยู่ที่ 0.14 ครั้งต่อหนึ่งล้านเที่ยวบินและบินมาแล้วทั้งหมดไม่น้อยกว่า 28.57 ล้านเที่ยวบิน 


 

อันดับที่ 4 
Airbus A320 family (A318,A319,A320,A321) 


เอ320 เป็นเครื่องบินพานิชแบบลำตัวแคบทางเดินเดี่ยว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ turbofan สองเครื่องยนต์ ติดตั้งใต้ปีกทั้งสองข้าง พิสัยการบินใกล้ถึงปานกลาง ผลิดโดยบริษัทแอร์บัสซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท EADS (European Aeronautic Defence and Space Company) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกันระว่างบริษัทจากประเทศ ฝรั่งเศส,เยอรมันนี,สเปน เครื่องบินตระกูล เอ320 เป็นเครื่องบินพานิชแบบแรกของโลกที่ใช้ระบบควบคุมการบินแบบ fly-by-wire with side joystick ยอดการผลิตเครื่องตระกูล เอ320 อยู่ที่ 4,453 ลำ และ เอ320 ยังครองตำแหน่งเครื่องบินโดยสารที่ขายดีที่สุดในโลกตั้งแต่ปี 2005 -2007 อีกด้วย สายการบินในประเทศไทยที่ใช้เครื่องรุ่นนี้มีสองสายการบินคือ ไทยแอร์เอเชียและบางกอกแอร์เวย์ รวมถึงเครื่องของสำนักนายกรัฐมนตรีด้วย อุบัติเหตุครั้งสำคัญที่ทำให้เครื่อง เอ320 เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกคืออุบัติเหตุที่แม่น้ำฮัดสัน ระหว่างที่เครื่อง เอ320ของสายการบิน ยูเอสแอร์เวย์ทำการบินขึ้นจากสนามบินลาการ์เดียร์ในมหานครนิวยอร์ค ได้ประสบอุบัติเหตุชนเข้ากับห่านป่าฝูงใหญ่เป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับทั้งสองเครื่องที่ความสูงเพียงสามพันฟิต นักบินต้องตัดสินใจเลี้ยวซ้ายเพื่อบังคับเครื่องลงจอดกลางแม่น้ำฮัดสันได้สำเร็จ ผู้โดยสารทั้ง 155 คนปลอดภัย สถิติการเกิดอุบัติเหตุของเครื่อง เอ320 อยู่ที่ 0.12 ครั้งต่อการทำการขึ้นบินหนึ่งล้านเที่ยวบินกับจำนวนเที่ยวบินรวมมากกว่า 47.06 ล้านเที่ยวบิน 


 

อันดับที่ 3 
Boeing 717 


โบอิ้ง 717 เป็นเครื่องบินพานิชแบบลำตัวแคบ ทางเดินเดี่ยว ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แบบ turbofan สองเครื่องยนต์ติดตั้งด้านท้ายลำตัว แพนหางรูปตัว T โบอิ้งพัฒนาเครื่อง 717 ขึ้นเพื่อเจาะตลาดเครื่องขนาดเล็กระดับ 100 ที่นั่ง โดยใช้พื้นฐานและรูปแบบจากเครื่อง MD-95 ของบริษัทแม็กดอแนลดักกลาสซึ่งถูกโบอิ้งเข้าควบรวมกิจการในปี 1997 โบอิ้ง 717 ลำแรกขึ้นบินในปี 1999 และยุติสายการผลิตในปี 2006 รวมผลิตทั้งหมด 156 ลำ สายการบินบางกอกแอร์เวย์เคยให้บริการผู้โดยสารด้วยเครื่อง 717 ก่อนจะขายออกไป โบอิ้ง 717 ไม่มีประวัติการประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนทำให้มีผู้เสียชีวิต อัตราการเกิดอุบัติเหตุจึงอยู่ที่ 0.00 ครั้ง ส่วนจำนวนเที่ยวบินไม่มีข้อมูล 


 

อันดับที่ 2 
Airbus A340 (series200,300,500,600) 


เอ 340 เป็นเครื่องบินพานิชขนาดใหญ่ลำตัวกว้าง ทางเดินคู่ในห้องโดยสาร ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ turbofan สี่เครื่องยนต์ ติดตั้งใต้ปีกข้างละสองเครื่องยนต์ พิสัยทำการบิน 12,408 กิโลเมตรถึง 16,668 กิโลเมตร ความจุโดยประมาณ 375 - 440 ที่นั่งแล้วแต่รุ่น มากกว่า 370 ลำของ เอ340 ถูกใช้บินอยู่ในขณะนี้ สายการบินในประเทศไทยที่ให้บริการด้วยเครื่อง เอ340คือสายการบินไทย เอ 340 ยังไม่มีประวัติการประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนทำให้มีผู้เสียชีวิต อัตราการเกิดอุบัติเหตุจึงอยู่ที่ 0.00 ครั้งในจำนวนเที่ยวบินถึงปัจจุบันที่มากกว่า 2.10 ล้านเที่ยวบิน 


 

อันดับที่ 1 
Boeing 777 (series200,300,300ER) 


โบอิ้งตองเจ็ดเป็นเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ ลำตัวกว้าง ทางเดินคู่ภายในห้องโดยสาร พิสัยการบินไกลแบบสองเครื่องยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีนามเรียกขานในวงการการบินว่า “Triple Seaven” จุผู้โดยสารได้มากกว่า 300 ที่นั่ง 777 ถูกผลิตออกมาเพื่อทดแทน 767 และ 747 กลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ที่สายการบินหลักๆของโลก 777 ยังเป็นเครื่องบินรุ่นแรกของโบอิ้งที่ใช้ระบบควบคุมการบินแบบ fly-by-wire เครื่อง 777 เกิดอุบัติเหตุตกหนึ่งครั้งแต่ไม่มีผู้เสียชีวิต 777 ของสายการบินบริติชแอร์เวย์ ตกก่อนจะถึงทางวิ่งราว 1000 ฟิต ผลการสอบสวนออกมาว่าเกิดเกล็ดน้ำแข็งขึ้นในระบบเชื้อเพลิงทำให้เครื่องยนต์สูญเสียแรงขับและตกลง สายการบินไทยเป็นสายการบินเดียวในประเทศไทยที่ให้บริการด้วยเครื่องโบอิ้ง 777 สถิติการเกิดอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิตของเครื่อง 777 อยู่ที่ 0.00 ครั้งต่อหนึ่งล้านเที่ยวและบินมาแล้วมากกว่า 4.76 ล้านเที่ยวบิน 


R I P QZ8501

Cr.http://www.ilovetogo.com/Mobile/Article/29/1942/

แสดงความคิดเห็น

>