Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เหตุที่ทันตะ ซิ่วไปแพทย์ เพราะกลัวเคสไม่ครบ ไม่จบ 6 ปี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เหตุที่ทันตะปี 1 ซิ่วไปแพทย์ เพราะกลัวทำเคสไม่ครบ กลัวไม่จบ 6 ปี เช่น ตัวอย่างตามลิงค์ข้างล่าง

http://pantip.com/topic/33178184

เพราะนิสิต นักศึกษาทันตะ ต้องหาเคสคนไข้เอง เพื่อมาฝึกปฏิบัติ รักษาฟันให้ครบตามเคสที่กำหนด เช่น รักษารากฟัน ฟันหัก ฟันตาย ฟันเปลียนสี ฟันผุลึกถึงโพรงประสาทฟัน ทุกซี่ ยกเว้นฟันกราม (ฟันกรามหาเคสไม่ยาก ฟันหน้าปัจจุบันหาเคสยากมาก) โดยทำการรักษาในคลินิคการเรียนการสอน อาจารย์ทันตเเพทย์ควบคุม ดูเเลการรักษาในทุกขั้นตอน ใช้เวลารักษามากกว่าปกติ ค่าใช้จ่ายในการรักษาถูกกว่าปกติค่อนข้างมาก มีนิสิต นักศึกษาทันตะบางสถาบันที่มีเคสน้อย และต้องการจบเร็วใน 6 ปี อาจจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่ารักษาแทนให้คนไข้ เพราะคนไข้ไม่มีเงิน และต้องเสียเวลาเดินทาง เมื่อน้องทันตะปี 1 ได้ฟังเรื่องนี้จากรุ่นพี่ ก็กลัว จึงซิ่วใหม่ไปแพทย์ ถ้าสอบไม่ได้ก็เรียนทันตะที่เดิม

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

Denistt 1 ก.พ. 58 เวลา 13:40 น. 2

สาเหตุที่ซิ่วมันมีมากมายล้านแปด แต่ที่ซิ่วไปแพทย์จริงๆก็มีน้อยนิด ส่วนใหญ่ไปสายอื่นเลย ไม่ก็ทนๆเรียนให้จบแล้วไปทำอย่างอื่น

คือ เป็นกระทู้ที่ต้องการสื่ออะไรเหรอ ดูไม่มีที่มาที่ไปและกระทู้ต้นทางของpantip นทพ.เขาก็ไม่ได้มาเขียนว่าสาเหตุที่จะซิ่วคือหาคนไข้ไม่ได้ กระทู้คือต้องการหาคนไข้มาเป็นเคสตัวเองต่างหาก  และที่จริงแล้วก็ไม่น่าจะมีใครเรียนไม่จบเพราะหาคนไข้ไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้เคส แล้วแจ้งอาจารย์ อาจารย์ก็มักจะพยายามไปหาคนไข้จากภาควิชาอื่นๆหรือคลีนิกของพี่ป.โท คลีนิกพิเศษ ที่มีเคสที่นิสิตทำได้ให้คนไข้มาลองทำกับนิสิตดู 

ยังไม่เคยเจอใครซิ่วด้วยเหตุผลว่ากลัวไม่มีเคส ทำให้เรียนไม่จบเลย นี่จขกท.คิดเอาเองเพราะเห็นจากกระทู้นั้นเลยมาตั้งกระทู้นี้เหรอ?

ลองหาข้อมูลให้ละเอียดกว่านี้ก่อนนะคะ อย่ามากล่าวอะไรลอยๆ เดี๋ยวคนอื่นๆเขาจะเข้าใจผิดเอาได้ เพราะที่จริงคนไข้เยอะค่ะ เข้าคิวกันยาวเหยียดเลย แต่แค่วิชารักษารากฟันมันมีข้อจำกัดของเคสที่นิสิตจะรับทำได้มากเท่านั้นเอง
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย คนไข้ต้องจ่ายเองค่ะ แต่บางกรณีสามารถรับเป็นคนไข้ผู้ด้อยโอกาสได้ ทางคณะจะมีงบส่วนนี้ให้ แต่ต้องเป็นเคสที่คณะกรรมการประเมินแล้วว่าสมควรเข้าโครงการค่ะ 


0
กัลย์ 2 ก.พ. 58 เวลา 10:30 น. 3

ความจริงต้องการสื่อให้เห็นว่า นิสิตทันตะไม่น่าจะต้องออกมาหาเคสเอง
มหาลัยควรสนับสนุนเคสให้ พอดีเห็นกระทู้หาคนไข้ในพันทิพย์ ก็เลยยกตัวอย่างให้ดู ประกอบกระทู้ เหตุที่ทันตะ ซิ่วไปแพทย์ เพราะกลัวเคสไม่ครบ ไม่จบ 6 ปี และเคยเห็นประกาศหาคนไข้ทำนองนี้ในเว็บเอกชนเกี่ยวกับมหาลัยในต่างจังหวัดเหมือนกัน

เคยสงสัย และได้สอบถามนิสิตทันตะหลายสถาบันในต่างจังหวัด ที่สอบติดแพทย์และไม่ติดแพทย์ว่า เรียนทันตะแล้ว ทำไมซิ่วไปแพทย์อีก ต้องเสียเวลา 1 ปี เค้าตอบโดยให้เหตุผลว่า เพราะกลัวเคสไม่ครบ ไม่จบใน 6 ปี เรียนแพทย์ไม่ต้องกังวลเรื่องเคสปฏิบัติ

จึงสงสัย อยากรู้รายละเอียดมากๆ ก็เลยสอบถามเพื่อน ที่เป็นพ่อแม่ เป็นข้าราชการ ที่มีลูกจบทันตะแล้ว กำลังทำงานใช้ทุนใกล้ครบ 3 ปีแล้ว เล่าให้ฟังว่า ลูกเค้าก็กลัวไม่จบใน 6 ปี พ่อแม่จึงต้องช่วยหาคนไข้ทำฟันเพื่อเป็นเคสให้ลูกด้วย โดยในวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ พ่อแม่ต้องขับรถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปที่ในตัวเมืองของจังหวัดที่เรียน เพื่อตระเวณสอบถามเด็กปั๊ม พ่อค้า แม่ค้า คนขายของในตลาด คนงาน กรรมกร คนทั่วไป เพื่อหาคนไข้รักษารากฟันหน้า ซึ่งหายากมาก เพราะปัจจุบันคนส่วนใหญ่รักษาฟันหน้าได้ดี จึงมีเคสน้อย ถ้าเจอเคสแล้ว ถ้าไม่ออกเงินค่าใช้จ่ายเดินทาง ค่ารักษาให้ เค้าก็ไม่ไป เพราะเสียเวลาและไม่มีเงิน และต้องเดินทางจากในเมือง ไปสถาบันที่เรียน ไกลประมาณ 20 ก.ม.กว่า ๆ รอรถประจำทางนาน รถก็ไม่ค่อยมี ต้องไปหลายครั้ง ต้องค่าใช้จ่ายสูงมาก พ่อแม่จึงจำเป็นต้องออกเงินค่าเดินทางและค่ารักษาให้คนไข้ ถ้าไม่ออกเงินให้ ก็ไม่ได้เคส ไม่จบแน่นอน ต้องรอสะสมเคสไปปีหน้า รุ่นลูกเค้าตอนปี 6 มีนิสิตทันตะประมาณ 90 คน จบเพียง 19 คน เพราะเคสไม่ครบ และถ้าออกเงินให้แทนคนไข้แล้ว ก็อย่าให้อาจารย์รู้ว่า นิสิตทันตะเป็นคนจ่ายเงินให้แทนคนไข้ จะผิดระเบียบฯ อาจารย์ส่วนใหญ่ก็รู้ แต่ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น

มีหลายครั้ง ที่พาญาติจาก กทม.เดินทางโดยเครื่องบิน ไปรักษาที่สถาบัน เพื่อให้ได้เคสตามที่กำหนด ค่าใช้จ่ายพ่อแม่ก็ต้องออก ถ้าเดินทางโดยรถทัวร์ ใครจะไป
นี่คือเรื่องจริง ควรพิจารณาก่อนเชื่อ เชื่อไม่เชื่อ ก็แล้วแต่ ไม่ได้บังคับให้เชื่อ เพียงแต่เอาข้อมูลจริงๆมาพูด

เด็กทันตะถ้าจะซิ่ว ก็กลัวเรื่องนี้ เรื่องเดียว เรื่องอื่นๆ ไม่เท่าไหร่ และส่วนใหญ่จะซิ่วไปแพทย์ ซิ่วไปสายอื่นน้อยมาก ถือว่าเป็นการลดระดับ

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
Denistt 3 ก.พ. 58 เวลา 22:03 น. 4

จริงๆมหาลัย อาจารย์สนับสนุนเคสให้นะคะ ไม่รู้ว่ามหาลัยที่ท่านว่าเค้ามีเทรนยังไงถึงเป็นงั้น แต่ของเราถ้าแจ้งอาจารย์ อาจารย์ก็จะพยายามหาเคสให้ แต่ก็มีเพื่อนที่หาเองเหมือนกัน เพราะไม่แจ้งอาจารย์ แต่สุดท้ายไงๆก็จบแหละค่ะ ทางคณะและอาจารย์คงไม่เอาเด็กตกเพราะความโชคร้ายจากการหาเคสได้ช้าหรอก

เคยมีรุ่นพี่ที่ต้องทำฟันปลอมทั้งปากให้คนไข้ ซึ่งสเต็ปขั้นตอนการทำงานนาน ใช้เวลานัดคนไข้หลายครั้งมากๆ แต่ปรากฏว่าคนไข้เสียชีวิต ตอนเหลือเวลา 1 เดือนจะจบคลีนิก อ.ก็รีบหาเคสใหม่ให้ รีบให้พี่เค้าทำงาน ช่วยเต็มที่เข็นจนเสร็จได้อ่ะ

และที่บอกว่าเด็กทันตะจะซิ่วก็ซิ่วเพราะเรื่องนี้เรื่องเดียวนั้น ผิดถนัดเลยค่ะ เพราะในช่วงแรกที่เข้าคณะมา ต่อให้รุ่นพี่บ่นๆให้ฟัง ก็มักจะนึกภาพกันไม่ออกหรอกว่าชีวิตคลีนิกมันกดดันยังไง คนไข้เบี้ยวนัด อาจารย์โหด แล้วมันยังไง หาเคสยาก หาไม่ได้ อ้าว เอาพ่อแม่พี่น้องมาทำก็ได้มั้ง(ณ ตอนนั้นจะไปเข้าใจได้ไงว่าcriteriaมันเยอะ) ยิ่งปี1ยิ่งไม่รู้หรอก ที่ซิ่วกันเพราะตั้งใจอยากได้แพทย์แต่ไม่ติดตั้งแต่แรกแล้วต่างหาก ไม่ใช่ด้วยเรื่องกลัวไม่จบถ้าเรียนทันตะ(ก็เปอร์เซนต์เรียนไม่จบมันน้อยกว่ามากมาย มหาลัยตจว.ที่ท่านว่าเราไม่รู้ระบบเค้าเป็นยังไง แต่ถ้าจะลงข้อมูลควรอิงจากมหาลัยหลักๆส่วนใหญ่รึเปล่า?) เพื่อนในกลุ่มเราที่ซิ่ว ก็ไม่ได้ซิ่วไปแพทย์นะ แต่ไปบัญชี ซึ่งสุดท้ายก็กลับมาทันตะเหมือนเดิม (คณะไม่ให้ออก ให้ดรอปเรียนก่อนเลยกลับมาเรียนกับรุ่นน้องได้)

คนที่เริ่มเครียดเริ่มรู้ตัวว่ามาเรียนสายนี้ไม่รอด ไม่ชอบจริงๆจะมาจิตตกกันจริงๆตรงนรกงานแลปนี่ล่ะค่ะ เพราะพอทำไม่ได้ เจออาจารย์เนี้ยบทุกสเต็ปขั้นตอน โดนโขกสับด่าว่าให้เสียใจ นั่นล่ะ ใครทนไม่ได้มันจะมาออกกันตอนนี้ล่ะ เพราะช่วงปี2-3 ยังพอซิ่วไหว พอเลยจุดๆนี้ไป แต่ละคนก็จะกัดฟันสู้ต่อค่ะ ทีนี้พอมาปี4 ถ้าถึงจุดๆนี้ เริ่มมีทำคนไข้ มุมมองจะเริ่มเปลี่ยน ดราม่าจะเปลี่ยนเป็นอีกแนว ส่วนใหญ่ซิ่วไม่ไหวละ ก็จะทนๆ ท่องไว้ว่าเรียนมาตั้ง 4 ปีแล้ว อีกนิดเดียวจะจบ ต้องจบให้ได้! แต่คนที่ไม่ชอบแล้วซิ่วก็มีนะ เพื่อนเรากะจะเอาให้จบปี4 ขอวุฒิวิทยาศาสตร์บัณฑิตแล้วไปต่อบริหารของ MBA (มีรุ่นพี่เรียนไม่จบ ออกไปขายประกันก็มีนะ =.,=) อีกคนจะไปหาธุรกิจส่วนตัวทำ แต่น่าเสียดาย ม.เรายังไม่ให้ระบบนี้เหมือนทางจุฬา มหิดล เลยอดไป กลับมาสู้เรียนต่อเอาปริญญาให้ได้ เพราะอุส่าห์เรียนมา 4 ปีแล้ว ซึ่งรุ่นเรา 4 คน ซิ่วไปหมอจริงๆคนเดียว(นางอยากได้หมออยู่แล้ว ซิ่วมาหลายรอบแล้วด้วยค่ะ) อีก 3 ถ้าซิ่วก็ไม่ใช่หมอเลย และสาเหตุก็ไม่ใช่จากคนไข้เสียทีเดียว แต่เป็นความกดดัน และรู้สึกว่ามันไม่ใช่สายที่ตัวเองถนัดจริงๆ ไม่ชอบชีวิตแบบนี้ ทำงานฝีมือไม่ไหว

นี่จึงเป็นสาเหตุหลักๆที่เด็กทันตะซิ่วค่ะ ^^

0
อยากรู้ 7 ก.พ. 58 เวลา 21:46 น. 5

ดีครับ ที่ได้รับฟัง ข้อมูล มากๆขี้น เป็นประโยชน์ อยากได้รับฟังความเห็น หลากหลาย จาก ทุกๆ มหาฯ ที่มีคณะทันตะ ทั้ง ในกทม.+ ตจว. เชื่อว่า แต่ละที่ ไม่เหมือนกัน แน่นอน
โดยเฉพาะ ถ้าเป็นคณะทันตะ ของเอกชน จะเป็นอย่างไร ใครทราบของ เอกชน ช่วยเติมเต็มด้วยครับ
และ ขอบคุณ เจ้าของกระทู้ และ ผู้ เข้ามาร่วมให้ความรู้ด้วยครับที่ยกประเด็นที่ น้อยๆ คน จะทราบ

0
Denistt 7 ก.พ. 58 เวลา 22:33 น. 6

ลองเข้าไปหาข้อมูลในเฟสบุ๊คเพจ "born to be ทันตะ" ได้ค่ะ ที่นั่นมีรุ่นพี่จากหลากหลายมหาลัยทั้งรัฐบาลและเอกชน อยากทราบข้อมูลมหาลัยไหนก็เข้าไปถามได้เลยค่ะ

แนะนำจริงๆว่าให้หาข้อมูลดีๆก่อนเลือกคณะนี้ ถ้าฟังๆแล้วคิดว่าไม่ใช่ ก็ตัดออกจากตัวเลือกเลยค่ะ เห็นมาหลายคนแล้วที่เรียนแล้วทุกข์มาก

จริงๆแล้วเรียนอะไรก็จบมาประสบความสำเร็จได้ทั้งนั้นค่ะ ขอแค่เรามุ่งมั่น ตั้งใจ ขยัน และดวงเฮง

2
Denistt 2 พ.ค. 60 เวลา 22:10 น. 6-2

?? หืมมมม

ใครคือผู้อาวุโสในที่นี้บ้างคะ?


จขกท. เหรอคะ เราไม่ค่อยแน่ใจนะ ในโลกออนไลน์ มันระบุยากมาก จึงใช้คำแทนตัวกลางๆไป คำว่า "เรา" ก็ไม่ได้หยาบคายหรือไม่เหมาะสมตรงไหน เพราะเราก็อายุไม่น้อยแล้ว (เลยเบญจเพศไปนานนนนนนนนน แล้ว)


จะใช้หนู ก็ดูกระแดะ ใช้ ดิฉัน... ก็ไม่ถนัด ดูเว่อร์เกิน ผู้ชายใช้ ผม ก็จบแล้ว แต่ผู้หญิงมันมีคำให้เยอะ ใช้ เค้า.. ยิ่งไม่สุภาพใหญ่ ส่วนใหญ่เขาก็ใช้ "เรา" นี่เเหละค่ะ


แล้วคุณล่ะ เป็นพี่เราแน่เรอะ? มาเรียกว่า nung แบบนี้ คิดว่าตัวเองใช้คำได้เหมาะสมนักเหรอคะ

0
Preeda 11 ธ.ค. 61 เวลา 13:14 น. 7

.ก็ทำให้ระบบการนัดหมายทำฟันในคณะหรือในส่วนราชการมันง่ายชิวๆเหมือนคนเดินไปคลินิกสิครับ ปัญหาในเคณะ ก็คือหมอล้นคนไข้ไม่มีให้ทำ

แต่พอมาดูในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งคนไข้ล้นหมอทำไม่ทัน ที่สองที่ มันทำไมถึงต่างกันจากหน้ามือเป็นหลังมือเอาไปคิดเอาเอง

1
ขอเสริม 14 ก.ค. 62 เวลา 15:15 น. 7-1

ปัญหาทำฟันโดยนร.ในคณะ ไม่ใช่เรื่องของระบบการนัดหมายหรอกครับ มันเป็นขั้นตอนในระหว่างการทำงานของเด็กนร.ที่จะต้องมีอาจารย์คุมและตรวจทุกขั้นตอนกว่าจะได้งานจบ 1 งาน คนไข้จะต้องใช้เวลาในส่วนนี้เยอะเมื่อเทียบกับเวลาที่ไปหาในส่วนของหมอที่จบแล้ว แม้ว่าค่าทำฟันจะถูกกว่า คนไข้ที่จะทำกับนร.ต้องมีจิตใจที่เสียสละมากๆ ถึงยอมจะให้นร.ใช้เรียนและทำงานจนจบได้ เพราะด้วยความที่นร.ยังไม่มีประสบการณ์จึงต้องมีอาจารย์คุมเข้ม

0