Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สมุนไพรความงาม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

บทคัดย่อ

ชื่อผลงานเชิงวิชาการ  สมุนไพรกับความงาม

คณะผู้จัดทำ  สุทธินันท์ สุขสบาย  กาญจนา ทองสุภา  สุวนันท์ บุญเกียรติ

ในการศึกษาเรื่อง สมุนไพรกับความงาม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหมายของสมุนไพร เพื่อศึกษาประเภทของสมุนไพร เพื่อศึกษาว่าสมุนไพรชนิดใดที่ช่วยเสริมสร้างความงามและเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องสำอางสมุนไพร จากผลการศึกษาพบว่า

สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2514  หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่อง   ยาสมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะสุขภาพ อันหมายถึง ทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า  ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ  ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆแต่ในทางการค้าสมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่างๆหรือพืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆนี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา ในพระราชบัญญัติยา ฉบับที่ 3  ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น  2 ประเภท คือ ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศหรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณหรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน  ตำรับยาเป็นยาแผนโบราณและยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์และแร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วยโดยสมุนไพรนั้นยังมีสรรพคุณที่ช่วยเสริมสร้างความงาม ไม่ว่าจะเป็นความงามบนใบหน้า ผิวพรรณ เส้นผม หรือ ส่วนต่างๆของร่างกาย โดยสมุนไพรนั้นสามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้และยังนำมาบำรุงร่างกายและผิวพรรณได้ในหลายรูปแบบทั้งมีผลิตเป็นส่วนประกอบเวชสำอางต่างๆและนำมาเป็นส่วนผสมของสูตรบำรุงผิวต่างๆ สมุนไพรที่มีสรรพคุณเสริมสร้างความงาม เช่น ว่านห่างจระเข้ ช่วยให้ผิวพรรณผุดผ่อง สดชื่น มีน้ำมีนวล ยังสามารถขจัดสิวและลบรอยจุดด่างดำ  มะขาม ช่วยให้ผิวหนังที่เป็นรอยดำจางลงทำให้ผิวขาวนุ่มนวลขึ้น  หญ้าแพรี่ ช่วยให้ผิว  เก็บกักน้ำได้ดีขึ้น ผิวพรรณจึงชุ่มชื้น เปล่งปลั่งเต่งตึง ใบบัวบก ช่วยลดเลือนรอยย่นบนใบหน้า บำรุงผิวหน้าให้เต่งตึงไร้ริ้วรอย ดอกคูณทำให้ผิวหน้าจะคงความชุ่มชื้น นวลเนียนดูอ่อนกว่าวัยและขมิ้น  ใช้ทาผิวเพื่อให้มีสีเหลืองทองใช้บำรุงผิว เป็นต้น  ประสิทธิภาพของเครื่องสำอางสมุนไพร จากการนักวิชาการตลาดพบว่าจะมีการเติบโตถึง 25% ต่อปี ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความมั่นใจถึงความปลอดภัยและประโยชน์ที่จะได้รับจากพืชสมุนไพรมากกว่าที่จะใช้ส่วนผสมที่สกัดได้จากสัตว์ สมุนไพรมีมาตรฐานเป็นที่เชื่อถือมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอย่างแท้จริง ปลอดภัยและราคาถูก รัฐบาลได้กำหนดเป็นนโยบายของชาติให้มีการเร่งรัดการพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังให้ความสำคัญกับสมุนไพรและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้ตั้งคณะทำงานเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสมุนไพร  ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ..2525-2528) ดังนั้นสารสกัดที่ได้จากสัตว์จะมีการลดความนิยมใช้ลง พืชสมุนไพรชนิดต่างๆรวมทั้งสารสกัดจากส่วนต่างๆของพืชสมุนไพรจึงได้รับ ความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นทางเลือกของการดูแลสุขภาพที่แลดูน่าจะได้ประโยชน์และปลอดภัย สิ่งที่ผู้บริโภคควรคำนึงถึงอย่างมากคือ สมุนไพรจากเครื่องสำอางมักจะมีปัญหาหลายหลาก คือปัญหาความคงตัวของสารสกัดสมุนไพรและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต ความเป็นกรด-ด่างและอุณหภูมิที่แตกต่างกันความเข้มข้นของสารสกัดหากความเข้มข้นต่ำเปอร์เซ็นต์  เราจะพบว่าการเลือกซื้อสินค้ากลุ่มนี้จำเป็นต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ ดังนั้นสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการ เสริมสร้างความงามทั้งภายในและภายนอกอีกทั้งยังปลอดภัยและประหยัดค่าใช่จ่ายอีกด้วย

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

>