Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รู้แล้วจะช็อค! ระบบแอดมิชชั่นของประเทศฟินแลนด์! (เวอร์ชั่นแฉแหลกจัดเต็ม) #dek59

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Dek-D ทุกท่านครับ 
  

           ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนเลยว่านี่เป็นกระทู้แรกของผม (ปกติไม่ได้เล่นบอร์ด Dek-D ครับ แต่จะเข้ามาดูบ้างในบางครั้งถ้ามีกระทู้ที่สนใจ) การสมัคร account ใหม่ขึ้นมาก็เพื่อเอาไว้ใช้ตั้งกระทู้นี้โดยเฉพาะ กระทู้ที่ทุกคนกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้ มีเนื้อหาที่ผมคิดว่าวัยรุ่นไทยแทบทุกคนจะต้องสนใจอย่างแน่นอน เพราะมันเกี่ยวกับการสอบแอดมิชชั่น-ปราการด่านสำคัญในชีวิตวัยเรียนที่วัยรุ่นไทยทุกคนต้องเคยผ่าน (หรือกำลังจะผ่าน) กันมาอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต แต่วันนี้ผมไม่ได้กำลังจะพูดถึงระบบการสอบเข้ามหาลัยฯ ของประเทศไทยครับ แต่เป็นของประเทศฟินแลนด์-ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีหนึ่งในระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก พร้อมกันรึยังครับ? ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลยย 
  

กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกของผม ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
 

                                          
 

คำเตือน 
  

• กระทู้นี้ยาวมากครับ ควรมีเวลาว่างพอสมควรถ้าอยากอ่านให้จบในรวดเดียว

• ถึงแม้คุณจะเป็นคนธรรมะธัมโม ดำรงตนอยู่ในครรลองคลองธรรมตั้งแต่วินาทีแรกที่ออกมาจากท้องแม่ ชีวิตนี้ไม่เคยตบยุงซักตัว ฯลฯ แต่ผมรับรองว่ากระทู้นี้อาจทำให้คุณตรอมใจตายด้วยความอิจฉาได้ครับ ดังนั้นกรุณาทำใจดีๆ นะครับ (ถ้าไปนั่งสมาธิก่อนมาอ่านได้นี่จะดีมาก 55555) ให้คิดซะว่ามันเป็นความแตกต่างธรรมดาๆ ระหว่างประเทศโลกที่หนึ่งกับประเทศโลกที่สามของเราละกัน 

• เวลาผมเขียนอะไรยาวๆ แล้วจะมีแนวโน้มนอกเรื่องสูงมากครับ กรุณาอย่าถือสา คุณซะว่าอ่านเอาฮาก็แล้วกันเนอะ 

• ข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในบทความนี้มาจากแหล่งข้อมูลที่สามารถเชื่อถือได้ทั้งสิ้นครับ (ผมจะโพสต์แหล่งอ้างอิงที่ส่วนท้ายของกระทู้) 

 
 

Chapter 1:

แนะนำตัวกันซักเล็กน้อย
 

(ที่แนะนำตัวก็เพื่อสร้างความคุ้นเคยและบอกคร่าวๆ ว่าไปยังไงมายังไงถึงได้มาแลกเปลี่ยนที่นี่ ใครไม่อยากรู้จักผมๆ ก็ไม่ได้ว่าอะไรนะครับ 555 ข้ามไปอ่านส่วนสำคัญได้เลย)

                  

ผมเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่เลือกเดินทางไปยังประเทศฟินแลนด์เพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม (จริงๆ คือไปแรด 555) ในนามขององค์กร YES รุ่นที่ 21/28 ครับ มีเพื่อนร่วมโครงการราวหนึ่งร้อยกว่าชีวิต เกือบทั้งหมดเลือกไปเมกาฯ มีนักเรียนเพียง . . 2 คนเท่านั้น ที่เลือกไปฟินแลนด์ครับ ประเทศอินดี้ก็แบบนี้แหละ

 
เดือนก่อนไปนี่ได้ยินตลอดอะ คำถามพวก 

 
"ไปประเทศอะไรนะ?"

"ฟินแลนด์เหรอมันอยู่ในทวีปอะไรวะอยู่แอฟริกาปะ?" (ไม่ใช่โว้ยยย)

"ไปทำไมฟินแลนด์ เขาใช้ภาษาอังกฤษกันเหรออยู่นั่นหนะ ทำไมไม่ไปเมกา?"

"ไปสวีเดนกลับมาอยู่ลืมของฝากนะ" (...)
 

 

แต่ก็นานๆ ทีก็จะมีคำถามประเทืองปัญญาผ่านเข้ามา

"ไปฟินแลนด์เพราะอะไร?" 

เพราะผู้หญิงครับ 

ผู้หญิงฟินแลนด์ผมบลอนด์ ตาฟ้า หุ่นดีเว่อร์ และที่สำคัญที่สุดคือนมใหญ่มากครับ

จบ.

 

 

 
ล้อเล่นนนนนนนน 

แหม ถ้าจะมาแค่เพราะผู้หญิงนี่ไม่ต้องถ่อมาถึงฟินแลนด์หรอกครับ อยู่ประเทศไทยเหมือนเดิมก็ได้ ผู้หญิงสวยพอๆ กัน  (ยอกันซึ่งๆ หน้าเลยเว้ย 5555555)

       เหตุผลอันดับหนึ่งที่ผมเลือกมาประเทศนี้ก็คือ "ระบบการศึกษา" ของมันนั่นเอง เพื่อนๆ คงจะเคยได้ยินกิตติศัพท์ของมันมาบ้างว่าระบบการศึกษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก พอมีทดสอบวัดระดับทางการศึกษาระดับโลก (อย่างเช่นการสอบ PISAทีไร ฟินแลนด์ก็ติดอันดับต้นๆ ของโลกทุกที เด็กฉลาด คุณครูเอาใจใส่นักเรียน การบ้านน้อย ชั่วโมงเรียนน้อยแต่มีคุณภาพ ใส่ชุดอะไรไปเรียนก็ได้ เด็กมีเวลาว่างเยอะ ฯลฯ คือข้อดีเยอะมากจนมันฟังดูเว่อร์อะครับ ระบบอะไรข้อบกพร่องไม่มีซักอย่างเลย นี่แกเป็นเทวดาใช่มั้ยเนี่ย! (คิดในใจ)

                                  

             




         

            
จนผมได้มีโอกาศมาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนนี่แหละครับ จำได้ว่าตอนกรอกใบสมัครเลือกประเทศ ผมไม่ลังเลเลยที่จะเลือกพิสูจน์สิ่งที่ตนเองสงสัยมานานว่ามันจริงหรือไม่จริง เพราะชีวิตนี้คนเรามีโอกาศเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนได้แค่ครั้งเดียว ถ้าผมเลือกไปประเทศ 
mainstream ที่ใครๆ เขาก็ไปกัน
 
             เช่น USAออสเตรเลีย, อิตาลี, นิวซีแลนด์, แคนาดา, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่นฯลฯ ผมก็คงจะได้ชุดประสมการณ์แบบเดิมๆ ที่คงไม่แตกต่างไปจากคนทั่วไปนัก ถ้างั้น.. ทำไมเราไม่ลองไปประเทศที่ไม่ค่อยมีใครไปดูหละจะได้เห็นในสิ่งที่คนทั่วไปไม่เคยได้เห็นได้พบเจอหรือได้สัมผัสมาก่อน-ตอนนั้นผมคิดแบบนี้แหละ

 

ผมตัดสินใจถูกครับ!

และสิ่งที่สงสัยมานานตอนนี้ก็ได้รู้แล้ว -เรื่องที่พวกเราเคยได้ยินได้ฟังกันมานั้น

ขอคอนเฟิร์มว่าจริงแทบทุกอย่างครับ

แต่ผมจะไม่ขอลงลึกถึงรายละเอียดนะครับว่ามันดีขนาดไหน เดี๋ยวจะออกทะเลไปมากกว่านี้ เอาเป็นว่าไหนๆ ก็รู้จักกันแล้ว งั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า (เริ่มจริงๆ ละคราวนี้)


(มีต่อในช่องคอมเม้นต์นะครับ) 



แสดงความคิดเห็น

>

168 ความคิดเห็น

BadCitizen 21 มี.ค. 58 เวลา 20:56 น. 1

CHAPTER 2:

ลูกโฮสต์ 
 

         เรามารู้จักกับตัวละครตัวที่สองกันดีกว่า เธอคือลูกโฮสต์ของผมเองครับ เธอมีชื่อว่า Hilda เธอเป็นคนที่ให้ข้อมูลรายละเอียดหลายๆ อย่างเกี่ยวกับระบบแอดมิชชั่น (ต่อไปนี้ผมจะจำลองเหตุการณ์ต่างๆ โดยอาศัย Hilda เป็นตัวละครในแบบจำลองสมมตินะครับ)
 

        เรื่องมันเริ่มมาจากเย็นวันหนึ่ง หลังจากที่ผมทานข้าวเย็นเสร็จ ผมก็คุยกับเธอเรื่องเกี่ยวกับตอนที่เธอไปเที่ยวเอเชีย คุยไปคุยมานึกขึ้นได้ว่ามีอะไร 2-3 อย่างจะถามเธอ (หนึ่งในนั้นก็เกี่ยวกับเรื่องสอบแอดมิชชั่นนี่แหละ)
 

[บทสนทนานี้มีการดัดแปลงเยอะมากเพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่าน]

ปลบทสนทนาคือสีน้ำเงินเข้ม ส่วนข้อความอธิบายเสริมคือสีดำ
 

ผมดีจังเลยเนอะ ลาหยุดไปเที่ยวยาวๆ ก็ได้ เป็นเด็กประเทศนี้นี่มันดีจริงๆ ยูช่วยเล่าตอนที่จะไปให้ฟังหน่อยได้มะ ทำไมทางโรงเรียนถึงให้ยูลาไปเที่ยวระหว่าง period ที่สองได้หละ ถ้าเป็นไอๆ จะไม่ไปเรียนตั้งแต่แรกเลยนะ.. 
 

เอาหละครับ ก่อนที่จะเข้าใจระบบแอดมิดชั่นทั้งหมด เราต้องมาทำความเข้าใจสิ่งพื้นฐานๆ อย่างตารางเรียนและระบบการเรียนของเด็กที่นี่กันคร่าวๆ ก่อน ผมจะเทียบกับระบบของไทยให้ทุกคนเห็นภาพกันชัดๆ นะครับ
 

ระบบไทย
 

• มีสองเทอมใหญ่ สองเทอมใหญ่ถูกแบ่งเป็นสองภาคเรียนย่อยอีกที รวมทั้งหมดในหนึ่งปีการศึกษามี ภาคเรียน ใน เทอม 
 

• พอจบภาคเรียนย่อยที่ 1 และ 3 จะมีสิ่งที่เรียกว่า "การสอบกลางภาค" เกิดขึ้น พอจบภาคเรียนย่อยที่ 2 และ 4 ก็เปลี่ยนจากกลางเป็น "การสอบปลายภาค" 
 

• ในทุกภาคเรียน นักเรียนเรียนทุกวิชาพร้อมกัน (กี่วิชาเอ่ยประมาณ 8-10 ใช่มะ?) และสอบกลางภาค-ปลายภาคทุกวิชาพร้อมกัน เสร็จภายในเวลา 3-5 วัน (ภายใน 3-5 วันนี้คือเด็กมาโรงเรียนเพื่อสอบเท่านั้น ไม่มีเรียนวันนึงอาจจะสอบ 2-4 วิชา แล้วแต่ห้อง แต่อาจจะมีบางวิชาที่สอบนอกตาราง
 

• คะแนนจากชิ้นงานและการสอบของภาคเรียนย่อยที่ 1 และ 2 (เทอมแรกรวมกันออกมาเป็นเกรดของเทอมแรก
 

ผมงั้นระบบที่นี่มันต่างจากของไทยยังไง?
 


 

Hildaมา เดี๋ยวไอจะเล่าให้ฟัง
 
ระบบฟินแลนด์  
 

• มี 5 period ย่อย ไม่มีภาคเรียน 1 2 3 4 ไม่มีเทอมหนึ่งเทอมสอง

• มีการสอบใหญ่ในช่วงปลายของแต่ละ period 

• ในแต่ละภาคเรียนนักเรียนไม่ต้องเรียนทุกวิชาพร้อมกัน โรงเรียนในเมืองใหญ่ๆ ที่เด็กเยอะ จะเปิดให้เด็กสามารถเลือกวิชาเรียนเองได้ 

• แต่ถ้าเป็นโรงเรียนของผม ซึ่งมีจำนวนนักเรียนน้อย ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ก็จะให้เด็กเรียนวิชาที่หมุนเวียนกันไป เช่น (สมมติ) period แรกเรียน คณิต-ศิลปะ period สองเรียน ภาษาอังกฤษ-ปรัชญา period สามเรียน ชีวะ-ภาษาสวีเดน period สี่กลับมาเรียน คณิต-ศิลปะ อีกครั้ง เป็นต้น 
 

• วิธีแบบโรงเรียนของผม ในหนึ่ง period มี 8 วิชา วิชาที่ได้เรียนทุก period คือวิชาพละ อีก 7 วิชาที่เหลือก็จะเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ และใน 7 วิชานี้มี 1-3 วิชาที่เป็นวิชาเลือก กล่าวคือ บางคนที่เรียนวิชาเลือก 2 วิชา จะได้เรียนทั้งหมด 7 วิชาใน period หนึ่งๆ ในขณะที่อีกคนไม่ได้เรียนวิชาเลือกของ period นี้เลยซักวิชาเดียว ก็เรียนแค่ 5 วิชาเท่านั้น แต่ period ถัดไปคนแรกอาจจะเรียน 6 วิชา แต่คนหลังเรียนครบ 8 เลยก็ได้ แล้วแต่ว่าคนไหนจะเลือกวิชาเลือกอะไร เพราะตารางมันหมุนเวียนไปเรื่อยๆ
 

 เราจะไม่ได้เห็นเด็กฟินแลนด์นั่งสอบปลายภาคทุกวิชาภายในเวลา 3 วันรวดแบบเด็กไทย เพราะอาจารย์ที่นี่ไม่ต้องสอนวิชาของตนเองให้เสร็จพร้อมอาจารย์คนอื่น อีกทั้งยังสามารถกำหนดวันสอบใหญ่ของวิชาตนเองได้อย่างอิสระ (บางวิชาสอบใหญ่ก่อนแล้วเรียนต่อไปอีกสองสามคาบก่อนจะปิดคอร์สก็มีจะทับกับวันสอบของอาจารย์คนอื่นก็ได้ ไม่มีปัญหา (ที่จะมีปัญหาอะคือเด็ก เพราะต้องสอบซ้อนสองวิชาในวันเดียว 555) ขอแค่ให้อยู่ทันในเวลาของแต่ละ period ก็พอ
 

• period 1 กับ period 2 ไม่เกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิง เสร็จแล้วเสร็จเลย แบบ.. คะแนนงาน+สอบของวิชาภาษาอังกฤษ 001 ที่ได้เรียนใน period 1 ไม่มีความเกี่ยวข้องใดใดกับคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ 002 ใน period 4 ไม่ต้องเอาคะแนนอังกฤษของทุกภาคเรียนมารวมกันแล้วตัดเฉลี่ยเป็นเกรด ไม่ต้องเอาเกรดเฉลี่ยของทุกวิชามารวมกันแล้วตัดเป็นเกรดประจำเทอม ไม่มีการเอาคะแนนสอบกลางภาคมาบวกกับปลายภาคแล้วตัดเกรดประจำเทอมแบบที่ไทย พูดภาษาชาวบ้าน ที่นี่เรียนแบบเป็นคอร์สอะ จบ.

0
BadCitizen 21 มี.ค. 58 เวลา 21:00 น. 2

Hildaเป็นไง ดีใช่มั้ยหละ

ผม: ก็คงงั้น ตอนไปเที่ยวนี่คงสนุกมากสินะ 

Hildaอย่าให้ไอเล่าๆ 55555

ผม: ที่ไทยทำงี้ไม่ได้นะเนี่ย ลาไปเที่ยวตั้งครึ่งปี
 

[นอกเรื่อง] ขอแวะข้างทางแปปนะครัช อยากทำให้คนแถวนี้อิจฉาเล่น 555 (ใครใจไม่ถึงอย่าอ่านเด็ดขาด เราเตือนคุณแล้ว) เมื่อปีที่แล้วนางกับพี่สาวอีกสองคนของนาง ไปตะลุยดินแดนเอเชียตะวันออกมาครับ โดยเริ่มจาก 

1. นั่งรถไฟจากเมือง Helsinki (เมืองหลวงของฟินแลนด์) ไป Moscow (รัสเซีย)

2. นั่งรถไฟสายทรานซ์ไซบีเรียจาก Moscow ไปที่ Ulan Bator (อูลานบาตอร์-เมืองหลวงของมองโกเลีย)
 

สองข้อแรกนี่ยังกะในหนังสารคดีเรื่อง Wish Us Luck ของคุณแวววรรณ-วรรณแวว หงษ์วิวัฒน์เลย หนังเกี่ยวสองแฝดสาวที่เดินทางกลับบ้านจากอังกฤษมาไทยโดยใช้รถไฟล้วนๆ อะ รู้จักกันมั้ยครับ? ถ้าไม่รู้จักไม่เป็นไรนะ ไม่ต้องใส่ใจ 555
 

3. นั่งเครื่องบินจากมองโกเลียไปเที่ยวฟินลิปปินส์

4. เที่ยวจนหนำใจเสร็จก็ไปต่อที่ไต้หวัน 

5. นั่งเครื่องจากไต้หวันมาหาเป้อารักษ์ (เก็ตมั้ยมุขนี้? 55555) 

6. ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าพวกนางจะแว๊บๆ ไปเกาะบาหลีที่อินโดฯ ด้วย 

7. จบทริปด้วยเกาะเต่าอันโด่งดังของไทย แล้วนั่งเครื่องจากกรุงเทพกลับเมือง Helsinki 
 

รวมระยะเวลาทั้งสิ้นครึ่งปี..


 

กะเหรี่ยงโลกที่สามแบบเราๆ ก็คงจะได้แต่มองตาปริบๆ เท่านั้นแหละครับ 

ฝรั่งเวลาเค้าไปเที่ยวกันทีนึงนี่ก็จัดหนักจัดเต็มกันแบบนี้แหละ
 

ที่น่าชื่นชมคือพวกนางสามพี่น้องไปเที่ยวด้วยเงินเก็บจากการทำงานพิเศษช่วงหน้าร้อนของตนเอง! มีพ่อแม่ช่วยสปอนเซอร์นิดๆ หน่อยๆ ค่าตั๋วรถไฟเท่านั้น!

นี่คือหนึ่งในหลายๆ สิ่งที่บ่งชี้ว่าเด็กบ้านเค้ามีคุณภาพมากกว่าบ้านเรา ผมอยากเห็นเด็กบ้านเราเป็นแบบนี้กันเยอะๆ ครับ วัฒนธรรมอันไหนดีๆ ก็ควรจะรับมาปรับใช้
 

กลับเข้าเรื่องของเรากันต่อครับ ฮ่าๆ
 

ผม: งั้นยูก็เรียนไม่จบพร้อมเพื่อนแบบไอเลยสินะ 

Hildaใช่ มันหน้าเศร้าเนอะยูว่ามั้ย
 

ผม: เออยู ไอสงสัยมานานแล้วว่าระบบแอดมิชชั่นของฟินแลนด์นี่มันเป็นยังไงเหรอ อธิบายให้ไอฟังหน่อยสิ ไอจะได้เอามาเทียบกับระบบของไทยได้ว่ามันต่างกันขนาดไหน (คนอ่าน: Yessssss, หลังจากอ่านมาเป็น 10 นาที ในที่สุดมันก็เริ่มพูดเรื่องระบบแอดมิดชั่นแล้วเว้ยยย)
 

Hilda: มา เดี๋ยวไอจะเล่าให้ฟัง
 
 

Chapter 3:

ระบบแอดมิชชั่นฟินแลนด์ In a (big) nutshell

         

         เริ่มแรก เรามาทำความรู้จัก "นิยาม" ของมันก่อนดีกว่าครับ ระบบการสอบ Admission ของฟินแลนด์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า The Finnish Matriculation Examination คำว่า Matriculation แปลว่า "การสอบเข้าเป็นนักศึกษา" Examination คือการสอบ ส่วน Finnish ก็ฟินนิชอะครับ รวมทั้งหมดทั้งมวลแปลเป็นไทยว่า การสอบรับเข้าเป็นนักศึกษาของฟินแลนด์ แต่เนื่องจากว่าชื่อมันย๊าวยาว ฉะนั้นเรียกแอดมิชชั่นแบบเดิมนั่นแหละครับ คนที่ออกข้อสอบนี้คือองค์กรกลางที่มีชื่อว่า YLIOPPILASTUTKINTOLAUTAKUNTA... 
 

คนอ่าน: ชื่อองค์กรอะไรวะเนี่ย?! อ่านไม่ออกโว้ยย 

เอ่อ.. ภาษาฟินนิชก็อ่านยากแบบนี้แหละคุณ อย่าได้ใส่ใจ รู้แค่ว่ามันเป็นองค์กรกลางที่มีหน้าที่ออกข้อสอบก็พอ อารมณ์ประมาณ สทศ. ของไทยนั่นแหละ ต่อไปนี้ผมจะเรียกองค์กรนี้ว่า สทศ. ฟินแลนด์นะครับ (ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะเปรียบเทียบ หรือ discredit สทศ. นะครับ ที่ใช้คำว่า "สทศ. ฟินแลนด์ก็เพียงเพื่อเปรียบเทียบให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าองค์กร YLI มีลักษณะเหมือนกับ สทศ. เท่านั้นเอง)
 

การสอบนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อทดสอบคุณภาพของนักเรียน ม.6 ที่กำลังจะจบการศึกษาระดับ 2 และจะเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยครับ เพื่อเช็คว่าที่เรียนมาทั้งหมด 3 ปีเนี่ยได้อะไรไปมั่ง ความสามารถได้มาตรฐานหรือยัง (การศึกษาระดับ 2 คือ ม.4-ม.6 / ที่นี่การศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนไทยครับ คือ 9 ปี ป.1-ม.3 ถ้าจบ ม.3 แล้วจะไม่เรียนต่อก็ได้) การสอบแอดมิชชั่นนี้เป็น "การสอบครั้งสุดท้าย" (final exam) ด้วย มันถูกจัดขึ้น 2 ครั้งต่อปี คือในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและในช่วงฤดูใบไม้ผลิ มีผู้เข้าสอบมีละประมาณ 35,000 คน แต่มีเพียง 6เท่านั้นที่สอบไม่ผ่าน(เดี๋ยวผมจะขยายความเรื่องเวลาสอบและการสอบผ่าน-ไม่ผ่านอีกทีด้านล่างนะครับ) พูดง่ายๆ มันก็คือการสอบเรียนจบนั่นแหละครับ แต่มันแตกต่างจากของไทยอย่างสิ้นเชิงตรงที่..... (ตามให้ทันนะอย่าพึ่งงง)


 

1. มันคือการสอบที่เป็นเอกเทศจากทุกอย่าง

 
 

จำที่ผมเล่าให้ฟังได้มั้ยครับ เรื่อง period อะ ที่ในหนึ่งปีการศึกษามี 5 period แต่ละอันเป็นเอกเทศจากกัน ไม่มีการเอาคะแนนของ period 1 2 3 มาเฉลี่ยรวม แล้วตัดเป็นเกรดแบบไทย มีแต่เกรดเฉพาะของแต่ละ period จบแล้วจบเลย การสอบครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันครับ มันไม่ได้ยึดโยงกับอะไรเลย กล่าวคือ เกรดที่เคยทำไว้ตอน ม.4 หรือ ม.5 ไม่มีผลใดใดทั้งสิ้น ถ้าคุณอยากจบ ม.6 สิ่งที่คุณต้องทำก็มีแค่ทำข้อสอบไฟนอลนี้ให้ผ่านเท่านั้นเอง ข้อแม้มีเพียงอย่างเดียวคือ ต้องเรียนให้ครบทุกคอร์ส (ต้องมีเวลาเรียนเต็มจำนวน) และคะแนนของทุกคอร์ต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ถึงจะมีสิทธิ์สอบ (เพื่อนผมบอกว่าไม่ผ่านบางคอร์สก็ไม่เป็นไร เขาอนุโลมให้ 2-3 คอร์สจากทั้งหมดเท่าไหร่ไม่รู้-รู้แต่ว่าน่าจะเยอะกว่าสิบมั้ง) ซึ่งเด็ก(ผู้ชาย)ส่วนใหญ่ที่นี่ก็จะถือคติ "พอผ่านๆนี่แหละ เขาก็เลยดูไม่ซีเรียสกับเรื่องเรียนมาก รักษาคะแนนให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจได้ก็พอแล้ว
 

กลับกันถ้าเป็นที่ไทย คะแนนผ่านเกณฑ์บ้านเราคือเกรด 1 ใช่มั้ยครับ? ถามว่ามีนักเรียนคนไหนเรียนชิลด์ๆ พอผ่านๆ มักน้อยขอแค่เกรด 1 พอ มีมั้ย? ไม่มี๊~ ทุกคนมุ่งหน้าสู่เลข 4 กันอย่างเดียว ก็เพราะระบบมันบังคับเราตั้งแต่ต้นแล้วไงครับว่ายิ่งสะสม 4 ได้เยอะเท่าไหร่ยิ่งดี มีเกรด 4 เยอะสามารถเอาไปถัวเฉลี่ยกับเกรดวิชาอื่นที่อาจจะไม่ดีนักให้เกรดเฉลี่ยรวมทุกวิชาดูดีขึ้นมาได้
 

Meanwhile in Finland, เด็กที่นี่สนใจทำเกรดแค่เฉพาะวิชาที่ตัวเองถนัดให้ออกมาดีเท่านั้น เพราะไม่มีการเอาเกรดของทุกวิชามาเฉลี่ยรวมกันเป็นค่า GPAX สำหรับยื่นประกอบใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัยดังเช่นที่ไทยครับ มีบางโรงเรียนเท่านั้นที่อาจจะเอาบุญเก่า (เกรด) ที่เคยทำไว้ตั้งแต่ตอน ม.4 ม.5 มาเฉลี่ยรวมกับผลสอบแอดมิชชั่นก่อนตัดเป็นคะแนน แต่ก็เป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมากๆ ครับ เรียกได้ว่าเกรดเก่าแทบจะไม่มีผลอะไรเลยต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย


0
BadCitizen 21 มี.ค. 58 เวลา 21:06 น. 3

2. Matriculation examination เป็นได้ทั้งการสอบจบ ม.6 และการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
 

พอสอบเสร็จ แล้วอยากเรียนต่อมหาลัย ก็เอาคะแนนสอบนี้ไปยื่นให้ทางมหาลัยครับ ถ้าเป็นมหาลัยทั่วๆ ไป ก็จะจัดให้มีการสอบอีกรอบหนึ่งซึ่งคราวนี้มหาลัยเป็นคนออกข้อสอบเองครับ จุดประสงค์เพื่อคัดกรองนักศึกษาก่อนที่จะรับเข้าไปเรียนในมหาลัย สุดท้าย ก็เอาคะแนนสอบเก่ามา + คะแนนสอบมหาลัย ได้เป็นคะแนนสุดท้ายที่ใช้ตัดสินว่าใครจะอยู่ใครจะไป ใครจะได้เรียนหรือไม่ได้เรียน แต่ครับแต่ กฎทุกอย่างมักมีข้อยกเว้นเสมอ มหาวิทยาลัยบางแห่งไม่มีการสอบคัดกรองคนอีกรอบครับ นั่นแปลว่า แค่สอบแอดมิดชั่นรอบเดียวได้คะแนนมาเสร็จก็เอายื่นให้ทางมหาวิทยาลัยพิจารณาได้เลย! ไม่ต้องสอบหลายครั้งให้วุ่นวายปวดหัวแบบที่ไทย 
 


 

3. ทำคะแนนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
 

อันนี้จะคล้ายๆ กับการขยันทำเกรดตั้งแต่ ม.4-.5 ให้ดีๆ เข้าไว้ของคนไทยครับ ต่างกันตรงที่เด็กฟินแลนด์ไม่ต้องตรากตรำขนาดนั้น พวกเขาแค่ทำคะแนนข้อสอบ admission ให้ดีก็พอ เพราะถึงคราวต้องทำข้อสอบของมหาวิทยาลัยอีกครั้ง ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปกังวลเรื่องที่ต้องแข่งขันกับอื่นเลย จะกังวลไปทำไมในเมื่อคะแนนเก่าของตัวเองมันดีอยู่แล้ว? ทำข้อสอบไปด้วยนั่งเล่น HoN ไปด้วยยังได้เลย (อันนี้ล้อเล่นนะ 555) กลับกัน คนที่ทำได้ไม่ดีมากในการสอบแอดมิดชั่น ก็ต้องจริงจังขึ้นอีกหน่อยกับการสอบของมหาวิทยาลัย
  

4. ข้อยกเว้นอีกแล้ว
 

บางมหาวิทยาลัยไม่ต้องใช้คะแนนแอดมิดชั่นในการยื่นใบสมัครครับ ..เอ้า เฮ้ย! มันจะเป็นไปได้ไงวะ! ..เป็นไปได้ครับ สำหรับเด็กที่เรียนสายอาชีพ.. เออใช่! ผมลืมเล่าอะไรไปอย่างนึง หลังจากเด็กฟินแลนด์เรียนจบ ม.3 (การศึกษาขั้นพื้นฐาน) มีอยู่สามอย่างที่พวกเขาทำได้ครับ คือ
 

1. เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนมัธยปลายทั่วไป 

 

2. เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนสายอาชีพ (vocational school) 

ก็เหมือนเรียนอาชีวะบ้านเรานั่นแหละครับ

 
3. บ้านรวยมาก ไม่จำเป็นต้องเรียนต่อก็มีกินมีใช้ เลยนอนตีพุงเล่นอยู่บ้าน (ล้อเล่นครับ 555-ความจริงคือกลุ่มไม่เรียนต่อแต่ออกมาทำงาน
 

ตัดกลุ่มที่สามออกไปครับ เหลือสองกลุ่มที่ผมจะพูดถึงคือ 1 และ 2

นี่คือเส้นทางจาก ม.ปลายสู่มหาลัยที่เป็นไปได้ของเด็กทั้งสองกลุ่มครับ
 

กลุ่มที่หนึ่งเรียนต่อ ม.4 โรงเรียนมัธยปลายทั่วไป (กรณีปกติ)
 

HS ——————>  AD  ——————>  U

 
กลุ่มนี้ทำข้อสอบแอดมิชชั่น ทำข้อสอบที่ทางมหาลัยออกเอง เอาคะแนนของทั้งสองมาบวกกัน
 

กลุ่มที่สอง: เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนสายอาชีพ
 

VS ———————————————>  U

 
กลุ่มที่เรียนสายอาชีพไม่ต้องสอบแอดมิชชั่นแบบเด็กกลุ่มที่หนึ่งครับ เรียนจบจากโรงเรียนอาชีวะแล้วไปสอบข้อสอบที่มหาวิทยาลัยออกเองได้เลย

 

เพื่อนๆ เห็นความแตกต่างใช่มั้ยครับ กลุ่มแรกต้องผ่านด่านแอดมิชชั่นก่อน ส่วยกลุ่มที่สองไม่ต้อง อย่างไรก็ตาม มันมีกรณีพิเศษที่ 3 ด้วยครับ นั่นคือ
 

กลุ่มที่สาม: เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนมัธยปลายทั่วไป (กรณีไม่ปกติ)
 

HS ———————————————>  U

                                                 
มันมีบางคณะในบางมหาวิทยาลัยครับที่ไม่ต้องการคะแนนแอดมิดชั่นครับ!
 

ทำแค่ข้อสอบของมหาวิทยาลัยอย่างเดียวจบ (แต่คนที่จะมีสิทธิ์สอบต้องจบ ม.6 ก่อนนะ คือยังไงเด็กที่เรียนต่อโรงเรียน ม.ปลายธรรมดานี่ก็ต้องสอบเรียนจบการศึกษากันทุกคนแหละ) อนึ่ง ผมไม่สามารถขยายความกรณีนี้ได้มากนัก เพราะตอนที่ถาม Hilda นางบอกว่ากรณีนี้ค่อนข้างซับซ้อนทีจะอธิบาย เพราะมันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ม. หรืออะไรซักอย่างนี่แหละครับ ผมจำไม่ได้ เอาเป็นว่ามันมีกลุ่มนี้อยู่ก็แล้วกัน..

0
BadCitizen 21 มี.ค. 58 เวลา 21:20 น. 4

5. เวลา สนามสอบ และสุดยอดตารางสอบ
 
ภาพเหล่านี้คงจะคุ้นตาใครหลายๆ คนใช่มั้ยฮะ?
 


 

เครดิตภาพ: http://bit.ly/1ByVs2E

พวกเราเห็นภาพพวกนี้กันอยู่บ่อยๆ 
 


 
เครดิตภาพ: http://bit.ly/1BVMr8F

บางคนก็เคยไปนั่งตรงนั้นมาแล้ว 
 

เครดิตภาพ: http://bit.ly/1B139yC

เรามาดูเวอร์ชั่นฟินแลนด์กันมั่งดีกว่า

ก็คล้ายๆ ของไทยนะครับ แต่โต๊ะเก้าอี้ดีกว่า ไม่นั่งอัดกันด้วย


ใส่เสื้อผ้า(สุภาพ)อะไรก็ได้มาสอบ

ถ้าเป็นโรงเรียนใหญ่ๆ เด็กเยอะ ก็จะจัดให้มีการสอบในโรงยิม



 
 

แต่ถ้าเป็นโรงเรียนเล็กๆ ชนบทๆ แบบโรงเรียนผม

ก็ใช้ห้องเรียนซักห้องในโรงเรียนนั่นแหละเป็นสนามสอบ

การสอบจะถูกจัดขึ้นสองครั้งต่อปีครับ คือในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (กุมภาพันธ์-มีนาคม) และในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมไปจนถึงกันยายน)

เรามาดูตารางสอบกันมั่งดีกว่า
 


 

นี่เป็นแค่ภาพส่วนหนึ่งที่ crop มาจากเว็บ สทศ. ฟินแลนด์ครับ ใครอยากดูแบบเต็มๆ สามารถดูได้ที่นี่ http://bit.ly/1ExxoSo

เอ๊ะ…


ทำไมมันสอบหลายวันจังเลยวะ!?

แล้วทำไมสอบวันเว้นสองวัน!?

ทำไมไม่สอบรวดเดียวเสร็จไปเลยหละ?

นี่คือปฎิทินของไทย (เครดิต: http://bit.ly/195eEOI)

แบบเต็มๆ มีกำหนดการมากมายเหลือเกิน


เด็กไทยมีสารพัดด่านที่ต้องฝ่าฟันไปให้ได้ครับ ก็อย่างที่เห็นในภาพ

ถึงแม้จะมีการสอบคนละเดือนกัน แต่ทุกการสอบล้วนเสร็จภายใน 2-4 วันกันทั้งนั้น เลย เรามาเปรียบเทียบให้เห็นภาพกันชัดๆ ดีกว่า 
 

ระบบแอดมิชชั่นฟินแลนด์:
 

- มีการสอบอยู่อันเดียวเท่านั้นคือ Matriculation examination
- การสอบจะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
- สอบแบบวันเว้น 2-3 วัน (เผื่อเวลาให้เด็กพักผ่อนและอ่านหนังสือ)
- ในตารางจะเห็นว่าบางวันมีวิชาที่ต้องสอบมากถึง 5 วิชา บางวันมีแค่สองวิชาเท่านั้น ..จริงๆ แล้วนักเรียนทุกคนไม่ต้องทำข้อสอบของทุกวิชาหรอกครับ เดี๋ยวผมจะขยายความในภายหลังว่าระบบนี้มันโคตรจะ amazing ยังไง อดใจรอกันอีกซักนิดนึงนะครับ อิอิ
- รวมระยะของวันสอบทั้งหมด = 13 วัน (ในภาพตัวอย่างมีแค่ 8 จริงๆ มี 13)
- มีการสอบสองครั้งต่อปีใช่มั้ยครับ? ฤดูใบไม้ร่วงกับฤดูใบไม้ผลิ
 

ดังนั้นก็คูณสองเข้าไปซะ รวมทั้งหมดทั้งสิ้นประมาณ 26 วัน
 


 

แอดมิชชั่นไทยแลนด์
 

- GAT/PAT 1, 7 วิชาสามัญ, ONET, GAT/PAT 2
- การสอบถูกจัดขึ้นตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนไปจนถึงมีนาคม
- การสอบแต่ละครั้งสอบรวดเดียวเสร็จทุกครั้ง ไม่เว้นวัน
- รวมระยะเวลาสอบทั้งหมด = 12 วัน

 


 
Hildaเป็นไง อึ้งหละดิ เห็นความแตกต่างกันแล้วใช่มะ? ก่อนที่จะขึ้นเรื่องใหม่ ไอขอคลายข้อสงสัยของบางก่อนก็แล้วกันนะ ไอเชื่อว่าต้องมีหลายคนแน่ๆ ที่สงสัยว่า "เฮ้ยมันจะมีการสอบสองครั้งต่อปีไปทำไมวะยู?" คืองี้ค่ะคืองี้ ถ้าไอบอกแล้วพวกยูอย่าช็อคกันนะ..  
 

ผมเดี๋ยวๆๆ ยูหายไปไหนมา ทำไมพึ่งโผล่มา

Hildaไม่ได้หายไปไหนซักหน่อย ก็เล่าเรื่องอยู่ตลอด

ผม: ใครกันแน่วะที่เล่า..

Hildaเออ เอาน่า มันก็เหมือนๆ กันนั่นแหละ 555

Hildaโอเค ต่อๆ ถ้าไอบอกแล้วพวกยูอย่าช็อคกันนะ
(มีเรื่องให้ช็อครออยู่อีกเพียบข้างล่างนี่)

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

BadCitizen 21 มี.ค. 58 เวลา 21:59 น. 7

"ผู้เข้าสอบทุกคนต้องสอบทุกวิชาให้เสร็จ ภายในเวลาไม่เกิน 3 ฤดูกาลสอบ แต่ถ้าใครรีบ ใจร้อน อยากสอบทุกวิชาให้เสร็จภายในฤดูกาลเดียวก็ไม่มีใครว่า"

 

ข้อความนี้หมายความว่าไง?

หมายความว่า

 

      สมมติไอเริ่มเข้าสอบในฤดูใบไม้ผลิปี 2015 แล้วไอเกิดสอบตกในวิชาใดวิชาหนึ่ง ไอมีสิทธิ์สอบแก้ตัวภายในระยะเวลาไม่เกินสองฤดูการสอบที่เหลือ (ใบไม้ร่วง 2015, ใบไม้ผลิ 2016) ค่ะ

 

ผม: ห๊ะ!!?

 

อะไรนะ?

สอบแก้ตัวได้ด้วยเหรออออออออออ!?

 

 


  

Hildaใช่แล้ว มีสอบแก้ตัวด้วย..

คนอ่าน: อืม มีก็มี (พูดด้วยน้ำเสียงปลงๆ) แล้วเด็กฟินแลนด์เขาทำอะไรกันมั่งหละระหว่างที่รอสอบแก้ตัวอีกครั้ง? ฤดูใบไม้ผลิกับฤดูใบไม้ร่วงมันห่างกันนานอยู่นะ (ฤดูใบไม้ผลิเดือนมีนา ฤดูใบไม้ร่วงกันยายน ระยะเวลาห่างกัน 6 เดือน)

 

Hildaออกไปหางานทำฆ่าเวลา เก็บตังค์ไปเที่ยวต่างประเทศ ระหว่างนั้นก็อ่านหนังสือทบทวนบทเรียนไปด้วย อะไรประมาณนั้นแหละ ที่นี่หางานพิเศษทำได้ไม่ยากมาก คนในสังคมฟินแลนด์ถือคติว่าอาชีพทุกอาชีพมีคุณค่าเท่ากัน ไม่มีงานใดแย่กว่างานใด ที่แย่คือไม่มีงานทำ (ไทยน่าเอาเยี่ยงอย่างมาก)

 

คนอ่าน: อ๋อ.. เก็ตแล้วยู เล่าต่อได้

0
BadCitizen 21 มี.ค. 58 เวลา 22:05 น. 8

Chapter 4:

วิชามหาสนุก 

 

ก่อนจะเจาะลึกถึงวิชาแต่ละวิชาที่เด็กฟินแลนด์ต้องสอบ ผมอยากให้ทุกคนอ่านการ์ตูน meme ขำๆ คลายเครียดข้างล่างนี่ก่อนครับ

 

...

เป็นไงครับ หายเครียดรึยัง? 555555555

(คนอ่าน: โอ้ยยยยย เครียดหนักกว่าเดิมอีกโว้ยยยย

ต่อนะครับ

วิชาที่เด็กฟินแลนด์ต้องสอบให้ผ่านมีทั้งหมด 4 วิชาด้วยกัน

 
4 วิชาที่ว่าคือ
 

1. Mother tongue (ภาษาแม่)

 

วิชานี้เป็นวิชาบังคับ เด็กทุกคนต้องสอบเหมือนกันหมด แต่เนื่องจากว่าฟินแลนด์เป็น Bilangual country (ประเทศที่คนพูดสองภาษา) ประชากรราว 94% พูดภาษา Finnish เป็นภาษาแม่ ส่วนอีก 5% ที่เหลือพูดภาษา Swedish เป็นภาษาแม่ ส่วนอีก 1% ที่เหลือคือชาว Saami ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของฟินแลนด์ เขาก็มีภาษาถิ่นของเขาเหมือนกัน (อารมณ์ประมาณชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยนั่นแหละครับ) เมื่อคนทั้งประเทศไม่ได้พูดภาษาเดียวกันหมด ดังนั้น องค์กร สทศ. ฟินแลนด์จึงได้ออกข้อสอบภาษาแม่มา 3 ชุด ชุดละภาษา สำหรับคนสามกลุ่มครับ

ข้อสอบภาษาแม่ Finnish กับ Swedish ประกอบไปด้วย 2 part คือ 1. Textual skill (ทดสอบความสามารถด้านการวิเคราะห์และการบรรยายความคิด) 2. Essay ,ส่วนภาษา Saami มีแค่เขียน essay เท่านั้น

 

2. ภาษาที่สอง (second domestic language) หรือ ภาษาต่างประเทศ (foreign language)

 

เด็กฟินแลนด์สามารถเลือกได้ครับว่าจะสอบภาษาอะไรระหว่างภาษาที่สอง หรือภาษาต่างประเทศ ภาษาที่สองของเด็กประเทศนี้คือ ภาษาฟินแลนด์และภาษาสวีเดนครับ (เด็กที่พูดภาษาฟินแลนด์เป็นภาษาแม่มีภาษาที่สองเป็นภาษาสวีเดน ส่วนเด็กที่พูดสวีเดนเป็นภาษาแม่ก็มักจะมีภาษาฟินแลนด์เป็นภาษาที่สอง)
 

สำหรับภาษาต่างประเทศนั้น เด็กส่วนใหญ่นิยมเลือก ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส และเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีภาษาอื่นๆ อยูอีก ไม่ว่าจะเป็น ภาษารัสเซีย, อิตาลี, สเปน, โปรตุเกส, ละติน, Inari Sámi และ Northern Sámi ครับ (สองภาษาหลังเป็นภาษาของชาว Saami-คนกลุ่มน้อยอะ)
 

จากทั้งหมด 12 ภาษาที่กล่าวมาข้างต้น เด็กฟินแลนด์ต้องเลือกภาษาที่ตัวเองคิดว่าถนัดที่สุดมา 1 ภาษา แล้วก็สอบภาษาที่เลือกมาครับ แวรี่ซิมเปิ้ล.

แต่สิ่งที่ต้องสอบไม่ซิมเปิ้ลเลย เพราะมีทั้ง Listening, Reading comprehension, Grammar และเขียน Essay ครับ ข้อสอบฟัง อ่าน เขียนมาเต็ม (ถ้าในอนาคตจะมีสอบพูดเพิ่มเข้ามาด้วยก็ไม่ใช่เรื่องแปลก)

0
Darinn Fai 21 มี.ค. 58 เวลา 22:08 น. 9

อห. ยอมรับค่ะว่าอ่านไม่จบ 5555 #ปักไว้ก่อนนะ แต่จะบอกว่าเป็นกระทู้ที่ดีนะ ใส่รายละเอียดเยอะแต่ไม่น่าเบื่อ น่าสนใจค่ะ

0
BadCitizen 21 มี.ค. 58 เวลา 22:19 น. 10
3. MATH (Mental Abuse to Humanity AKA คณิตศาสตร์)

 

ก็ไม่มีอะไรมากครับสำหรับคณิตศาสตร์ มีโจทย์ 15 ข้อ (ผมไม่รู้นะว่าใน 15 ข้อนี้มีข้อย่อยอะไรมั้ย) มาให้เด็กเลือกทำข้อไหนก็ได้ 10 จากใน 15 ข้อนั้น สำหรับโจทย์บางข้อ ผู้คุมสอบอาจอนุญาตให้เด็กใช้เครื่องคิดเลขหรือตารางสูตร (เช่นตารางค่า Sine, Cos, Tan ในเรื่องตรีโกณมิติ) ช่วยในการคำนวนได้ 

 

  

ก่อนจะไปข้อ 4 เรามารู้จักกฎพีคๆ เกี่ยวกับการเลือกสอบวิชาภาษาและคณิตศาสตร์กันเถอะ คือนอกจากจะเลือกภาษาที่สอบได้แล้ว

 
ยังเลือกระดับความยากง่ายของข้อสอบได้ด้วย
!!
 

วิชาภาษาต่างประเทศกับวิชาคณิตศาสตร์ถูกแบ่งความยากง่ายของข้อสอบเป็นสองแบบครับ
 

  1. แบบ Advance
  2. แบบ Basic
 

ส่วนวิชาภาษาที่สองถูกแบ่งความยากง่ายเป็นสองแบบเช่นกันคือ
 

  1. แบบ Advance
  2. แบบ Intermediate (ปานกลาง)
 

วิธีการเลือกระดับความยากง่ายก็สุดแสนจะเบสิคครับ
 

"ต้องมีวิชาใดวิชานึงเป็นแบบ Advance"
 

ยกตัวอย่าง Hilda ของเราอ่อนคณิตศาสตร์มากถึงมากที่สุด แต่นางสามารถใช้ภาษาสวีเดนได้อย่างคล่องปรื๋อ นางจึงเลือกสอบ
 

คณิตศาสตร์ Basic และ ภาษาสวีเดน Advance
 

กลับกันถ้าใครเก่งคณิตศาสตร์ก็จะ Advance math แต่เลือก Basic หรือ Intemediate language แทน 
 

ง่ายๆ แค่นี้แหละครับ

0
BadCitizen 21 มี.ค. 58 เวลา 22:58 น. 11
4. วิชาอื่นๆ
  

มี 13 วิชาดังนี้ฮะ 

1. Evangelical Lutheran religion (วิชาศาสนาคริสต์นิกายลูเธอร์, นิกายที่มีผู้คนนับถือเป็นจำนวนมากในแถบประเทศสแกนดิเนเวีย)
2. Orthodox religion (วิชาศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์, นิกายที่มีผู้นิยมนับถือในประเทศแถบยุโรปตะวันออกเช่น รัสเซีย)
3. จริยศาสตร์ (ethics)
4. ปรัชญา
5. จิตวิทยา
6. ประวัติศาสตร์
7. สังคมศึกษา
8. ฟิสิกส์
9. เคมี
 
10. ชีวะวิทยา
 
11. ภูมิศาสตร์
 
12. สุขศึกษา 
 
จะมีวิชาที่เด็กไทยไม่คุ้นให้เห็นอยู่ 3 วิชา คือ จริยศาสตร์ปรัชญา และจิตวิทยา วิชาเหล่านี้หลบซ่อนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย มากกว่าจะออกมาเดินเพ่นพ่านตามโรงเรียนมัธยม ผมไม่เคยเห็นวิชาเหล่านี้ในตารางเรียนของเด็ก ม.ปลาย เลยนะ (หรือว่าจริงๆ แล้วมีสอนอยู่? ถ้าวิชานี้มีในตารางเรียนของใครช่วยบอกผมหน่อยนะ อยากรู้เฉยๆ) จะมีใกล้เคียงกับของไทยหน่อยก็จริยศาสตร์ แต่จริยศาสตร์บ้านเรามักเป็นส่วนหนึ่งของวิชาพระพุทธศาสนา ของที่นี่ดูเหมือนจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาไหนเป็นพิเศษ
 
ข้อดีของการสอบใน Category นี้ก็คือ จะเลือกสอบกี่วิชาก็ได้ครับ ไม่มีจำกัดจำนวน ใครมั่นใจว่าตัวเองเก่งประวัติศาสตร์สุดๆ (สมมติ) ก็ทำแต่ข้อสอบประวัติศาสตร์วิชาเดียวไปเลย แต่ถ้าใครยังลังเล ไม่มั่นใจฝีมือของตัวเอง หรือยังไม่ชัวร์ว่าจะต่อคณะไหนในมหาลัยดี (คณะแต่ละคณะต้องการเกรดจากการสอบในวิชาที่ต่างกัน) ก็สามารถทำเผื่อไว้ซัก 2-4 วิชาได้ ค่อยมาเลือกทีหลังว่าตัวเองจะยื่นเกรดวิชาอะไรไปยื่นกับคณะดี เป็นต้น
 
แต่เพื่อไม่ให้อะไรมันง่ายเกินไปนัก สทศ. ฟินแลนด์จึงจัดให้วิชาที่มีความใกล้เคียงกันอย่าง เคมีกับฟิสิกส์, ประวัติศาสตร์กับสังคมศึกษา ฯลฯ มีตารางสอบชนกัน และอนุญาตให้เด็กเลือกได้เพียงวิชาเดียวว่าจะสอบอะไร (เทียบกับอุปสรรคในระบบแอดมิชชั่นของไทยแล้ว นี่เป็นเรื่องขี้ประติ๋วมากเลย 555)
 

พอคุยกันถึงตรงนี้ จู่ๆ Hilda ก็พูดแทงใจดำขึ้นมาซะงั้น

Hilda: ไอว่ามีแต่ crazy people เท่านั้นแหละที่สอบ 3-4 วิชาในฤดูกาลสอบเดียว แค่ 2 วิชาก็จะตายแล้วยูเอ้ยยย การดันทุรังอ่านหนังสือสอบเยอะๆ เป็นอะไรที่ค่อนข้างสูญเปล่าในความคิดของไอนะ เพราะหนึ่งยูพยายามอ่านหนังสือเตรียมสอบหลายวิชาในเวลาเดียวกัน ไม่มีอะไรมารับประกันว่ายูจะจำได้ทั้งหมด และจำได้แบบไม่ลืม และสองคือสมองต้องการสมาธิในการจดจ่ออยู่กับอะไรเป็นอย่างๆ ไป multitasking is no good, ยูโนว์?
 
ผมตอบเธอกลับไปว่า
 
ผม: ยูรู้มั้ยว่าเด็กไทยสอบกันอย่างต่ำ 8 วิชาในหนึ่งฤดูกาลสอบ?
 

Hilda:
 

 

ก็นั่นแหละฮะท่านผู้ชม..
 
ขอทิ้งท้าย Chapter นี้ด้วยการ์ตูน meme สั้นๆ อีกอัน
 


 
แซวเล่นเฉยๆ นะครับ
Don't take it serious 5555555

0
BadCitizen 21 มี.ค. 58 เวลา 23:22 น. 12

Chapter 5:
Score system &; ระบบคะแนนและ.. 
 

การต้องเขียนถึงระบบคะแนนของแอดฯ ฟินแลนด์ ทำให้ผมสงสัยระบบการคำนวนคะแนน Admission ของไทยนี่เปนยังไง (อนึ่ง ผมอยู่ ม.5 กำลังจะขึ้น ม.6 ครับ ก็เลยไม่รู้) ลองไปเสิร์ชหาใน Google ดู ก็เจอกับเว็บนี้เข้าครับ

http://campus.sanook.com/exam/calculator/

ผมยังไม่ได้สอบแอดฯ ก็เลยไม่สามารถกรอกอะไรลงไปได้ แต่ดูเหมือนจะซับซ้อนนิดๆ นะครับถ้ามองจากภายนอก โชคร้ายหรือโชคดีก็ไม่รู้ที่เด็กฟินแลนด์ไม่ต้องใช้โปรแกรมนี้ เพราะหลังจากที่สอบเสร็จ สทช. ฟินแลนด์จะคำนวนคะแนนเกรดออกมาให้เด็กเรียบร้อยเลยครับ ก็มีแค่ 4 วิชาอะ แถมมีการสอบอยู่แบบเดียว ก็เลยคำนวนง่ายหน่อย

 
เนื่องจากคะแนนเต็มของแต่ละวิชามันไม่เท่ากัน คณิตศาสตร์อาจจะเต็ม 144 คะแนน, สุขศึกษา 69 คะแนน, ประวัติศาสตร์ 80 คะแนน, ฯลฯ ก็เลยมีการปันส่วนเกรดให้ออกมาอยู่ในรูปของตัวอักษรภาษาละติน วิธีคือคำนวนคะแนนที่ได้ต่อคะแนนเต็มของวิชานั้นๆ แล้วเฉลี่ยออกมาเป็นเปอร์เซ็น ช่องว่างระหว่างเปอร์เซ็นต์หนึ่งๆ ถึงเปอร์เซ็นต์หนึ่งๆ จะถูกแทนด้วยตัวอักษรภาษาละติน 1 ตัวครับ (เช่น คะแนน 86-94% ถูกแทนด้วยตัวอักษร E) งงกันมั้ยเนี่ย?
  

เกรดมีด้วยกันทั้งหมด 7 ตัวอักษรโรมันด้วยกันครับ เรียงลำดับจากเกรดต่ำสุดไปสูงสุดพร้อมคำแปลชื่อเกรดเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
   

improbatur (I)

"ไม่อนุมัติ"

approbatur (A)

"อนมัติ"

lubenter approbatur (B)

"อนุมัติด้วยความยินดียิ่ง"

cum laude approbatur (C)

"อนุมัติพร้อมยกย่องสรรเสริญ"

magna cum laude approbatur (M)

"อนุมัติพร้อมพาไปเลี้ยงโต๊ะจีนฉลอง"

eximia cum laude approbatur (E)

"อนุมัติพร้อมสร้างอนุสาวรีย์ให้"

and laudatur (L)

"อนุมัติพร้อมให้รางวัลโนเบล + พาไปเที่ยวนอกโลก"

 

...

(สามอันหลังนี่เว่อร์ละ)
 

วิชาที่เด็กต้องสอบให้ผ่านมีอยู่ 4 วิชาใช่มั้ยครับ? ถ้าเด็กสอบไม่ผ่าน (ได้ I) ก็จะถือว่าการสอบครั้งนั้นล่มทันที ต้องแก้ตัวใหม่ฤดูกาลหน้า 


แต่ครับแต่.. 

  

คนอ่าน: โอ้ยยย ยังจะมามีต่งมีแต่อะไรอีก พอทีเถอะ!
 

การสอบตก "แค่" วิชาเดียวอาจจะไม่ทำให้งานล่มก็ได้

เพราะ.. เพราะ..

0
BadCitizen 22 มี.ค. 58 เวลา 00:27 น. 16

เพราะ..
มันมีระบบชดเชยเกรดครับคุณเอ้ยยย
!! 
 


 

อย่างที่ผมเคยบอกไปครับว่าถ้าสอบตกวิชานึง เด็กมีโอกาศแก้ตัวอีก 2 ครั้งในสองฤดูกาลสอบถัดไป (ผมว่าส่วนใหญ่เค้าก็คงแก้เกรดกันนั่นแหละ) แต่ถ้ามีเด็กบางคนเห็นโรงเรียนเป็นเรือนจำ (มีด้วยเหรอ?) รู้สึกไม่ชอบที่นี่อยากแรงเลยนิ อยากออกไปจากระบบนี้ไวไว ก็สามารถทำได้ครับ ด้วยความช่วยเหลือของระบบชดเชยเกรด
 

หลักการการทำงานของระบบชดเชยเกรดคือ เกรดทั้งหมดจะถูกนำมาคำนวนและนำไปเทียบกับเกรดของวิชาที่สอบตก นักเรียนคนนั้นต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมจากวิชาอื่นมากเพียงพอที่จะเอามาชดเชยกับวิชาที่ตนเองสอบตกได้
 

Hilda: สมมติว่าไอสอบตก ได้เกรด I มาตัวนึง เกรด I ตัวนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 คลาสด้วยกัน คือ (เรียงจากดีสุดไปแย่สุด) 
 

I+

I

I-

และ I=
 

โดยที่ I แต่ละคลาสจะมีจำนวนคะแนนที่ตัวมันเองต้องการจากวิชาอื่น เพื่อเอามาชดเชยส่วนที่ขาดหายไปกำกับไว้ ตามนี้
 

I+ ต้องการคะแนนชดเชย 12 คะแนน

I ต้องการ 14 คะแนน

I- ต้องการ 16 คะแนน

และ I= ต้องการถึง 18 คะแนน
 

ส่วนเกรดจากวิชาที่สอบผ่านแล้ว

สามารถเอาชดเชยส่วนที่ขาดหายไปได้ตามนี้
 

L ชดเชยได้ 7 คะแนน

E ชดเชยได้ 6 คะแนน

M ชดเชยได้ 5 คะแนน

C ชดเชยได้ 4 คะแนน

B ชดเชยได้ 3 คะแนน

และ A ชดเชยได้ 2 คะแนน
 

Hilda: พูดไปอาจจะเห็นภาพไม่ชัดนัก มาดูตัวอย่างกัน

สมมติว่าไอไปสอบแล้วได้เกรดดังนี้
 

L, M, C และ I-
 

ไอต้องการคะแนน 16 คะแนนมาชดเชยเกรด I- ของไอ

ซึ่ง เกรดจากวิชาที่ไอสอบผ่านทั้งสามมีค่าตามนี้ L = 7, M = 5, C = 4

รวมทั้งสิ้น 7+5+4 = 16 คะแนน

ชดเชยได้พอดีเป๊ะเลย เท่านี้ก็แปลว่าไอสอบผ่านแล้ว

ง่ายมั้ยหละ?
 

ผม: ทำไมมันง่ายจังเลยวะยู?

Hilda:
 


 

0
BadCitizen 22 มี.ค. 58 เวลา 02:21 น. 18

ผมจะขยายความในส่วนที่เคยพูดถึงไปแล้ว-การสอบแก้ตัวใหม่ นะครับ หากเด็กที่นี่สอบตก เขาหรือเธอสามารถสอบแก้ตัวได้อีก 2 ครั้งใน 2 ฤดูกาลสอบครั้งถัดไป ซึ่ง ถ้าหากเขาหรือเธอคิดว่าวิชาที่ตัวเองกำลังทำอยู่มันยากเกินไป การเปลี่ยนระดับความยากง่ายของข้อสอบแก้ตัวเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น
 

Hilda เป็นเด็กที่เก่งวิชาคณิตศาสตร์มาก เธอจึงเลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ Advance และภาษาเยอรมัน Intermediate อยู่มาวันหนึ่งเธอถูกดักตีหัวเอาเงิน (ตัวอย่างชั่วมาก 555) เธอหมดสติไป ตื่นขึ้นมาอีกที เธอพบว่าความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเธอหายไป เธอไม่สามารถทำโจทย์ของเด็ก ป.2 ได้ เพราะโจรใช้ไม้ตีเข้าไปที่สมองส่วนการคิดคำนวนของเธอพอดี แต่หลังจากการฟื้นคืนสติ เธอกลับพูดภาษาได้คล่องปรื๋อเหมือนเจ้าของภาษาซะงั้น เธอจึงตัดสินใจที่จะเปลี่ยนไปทำข้อสอบ คณิต Very basic กับ เยอรมัน Advance แทน
 

แก้ความยากง่ายของข้อสอบแก้ตัวได้นี่ไม่เท่าไหร่ครับ..
เพราะ.. 

 
แก้เกรดวิชาที่สอบผ่านไปแล้วได้ด้วยครับพี่น้องงง!




 

เฮ้ย ผมพูดจริงนะ เด็กฟินแลนด์สามารถแก้เกรดวิชาที่ตัวเองทำผ่านไปแล้วได้แบบไม่จำกัดจำนวนครั้งจนกว่าจะได้ใบประกาศนียบัตร (ก็แก้ได้สองครั้งนั่นแหละครับ) ซึ่ง ถ้าครั้งไหนทำเกรดได้ดีที่สุด เกรดจากการสอบครั้งนั้นก็จะถูกบรรจุลงในใบประกาศนียบัตร

 

ต่อครับ เด็กนักเรียนคนไหนก็ตามที่สอบแอดมิชชั่นทั้ง 4 วิชาผ่านแล้ว เขาหรือเธอสามารถกลับมานั่งทำข้อสอบ "เพิ่มเติม" จากของเดิมได้ครับ โดยวิชาที่สอบเพิ่มเติมได้นั้นจะต้องเป็นวิชาที่เด็กคนนั้นยังไม่เคยสอบมาก่อน หรือเป็นวิชาที่เคยสอบมาแล้วแต่อยากอัพระดับขั้นของความยากง่ายของมันขึ้น (เช่นตอนสอบๆ วิชาคณิต Basic มาคราวนี้อยากอัพเกรดให้มันเป็น Advance) หากสอบผ่าน ก็จะได้ใบ certificate ของวิชาแยกกับใบ certificate ของ 4 วิชาแรกครับ

0
BadCitizen 22 มี.ค. 58 เวลา 02:26 น. 19

Hilda: หากสอบแอดฯ ผ่าน ผู้เข้าสอบจะได้รับหมวกกัปตันใบนี้
 


 

เพื่อเป็นเครื่องหมายการันตีว่าพวกเธอสอบผ่านแล้วนะจ๊ะ 
 


 

พิธีจบการศึกษา
 


  

ไอเคยเห็นพิธีจบฯ ของไทย อลังการกว่านี้ประมาณ 3 ร้อยเท่า 555
 


 

Hilda: หมดหน้าที่ของไอตรงนี้แล้ว ขอตัวก่อนนะพวกยู บาย

0
BadCitizen 22 มี.ค. 58 เวลา 05:56 น. 20
ขอบคุณมากครับที่อ่านมาถึงตรงนี้

รู้สึกยังไงกันบ้างครับ? ถ้าหากใครมีข้อสงสัยประการใดที่อยู่นอกเหนือจากสิ่งที่อยู่ในกระทู้ สามารถโพสต์ถามผมได้ในช่องคอมเม้นต์เลยนะครับ ผมจะพยายามตอบคำถามให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะได้ครับ หากใครมีข้อติติง อยากวิจารณ์ (ด่าเลยก็ได้ ไม่ว่ากัน 55) หรืออยากเสนอแนะอะไรเพิ่มเติม ก็สามารถโพสต์ถามได้ในช่องคอมเม้นต์เช่นกันนะครับ 

 

 
แหล่งอ้างอิง:
 
- Wikipedia: Matriculation examination (Finland)
http://bit.ly/1DJ5SUl

THE FINNISH MATRICULATION EXAMINATION
http://bit.ly/1BjPTVS
 
The Finnish matriculation examination (ppt)
http://bit.ly/1LGQhJe
 
- คำบอกเล่าจากปากของอาจารย์และเด็กนักเรียนฟินแลนด์หลายคน


0