Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ช่วงต่อไปของศาสนา ผู้มีศีลเท่านั้นจึงจะอยู่รอด

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เพราะอะไร? จึงว่าเช่นนี้

เพราะผู้มีศีล(ศีล5 เป็นต้นไปและถือด้วยใจจริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่า) ผู้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะเป็นผู้มีตบะ  คือ มีความอดทนอดกลั้นต่อภัยทั้งหลาย

เช่น ยุคข้าวยากหมากแพง  คนมีศีลย่อมอยู่ได้โดยไม่ทุกข์ใจ เพราะพระพุทธเจ้าสอนให้อยู่ง่าย.. กินง่าย(มีอย่างไรก็กินอย่างนั้น มีก็กิน ไม่มีก็ไม่กิน) กินแต่พอดี ไม่อิ่มจนเกินไป เรียกว่า โภชเนมัตตันยุตา..  

คนมีศีลประจำใจจึงเป็นผู้ไม่โลภในอาหาร เพราะเข้าใจในคำสอนที่ว่ากินเพื่อประทังชีวิตให้ตั้งอยู่เพื่อประกอบคุณงามความดีใส่จิตใส่ใจ  และสิ่งที่กินเข้าไปนั้น ไม่ใช่ ของน่าหลงไหล สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ของวิเศษ เป็นแต่เพียง ซากพืช ซากสัตว์ ที่นำมาปรุงรส ตกแต่ง ดับเหม็นเขียว เหม็นคาวแล้ว จึงพอกินได้ .เช่นนี้เป็นต้น..

พระพุทธเจ้าสอนให้ ...
ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง

เมื่อไม่โลภก็ไม่ขวนขวายเกินตัว
เมื่อไม่โกรธ ใจย่อมเป็นสุข ใบหน้าแจ่มใส
เมื่อไม่หลง จึงเดินไปในทางที่ถูกที่ตรง.. จนถึงจุดหมายปลายทาง

ศีล 5 ข้อ ท่านก็มิได้ตั้งขึ้นเอาเอง
แต่นี่คือกฎของจักรวาล
ท่านตรัสรู้ ก็ตรัสรู้ในกฎของจักรวาล

ผู้ประพฤติตาม แม้ไม่ถือเอาศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำใจ  แต่ประพฤติตนไปในทางที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว .. ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ย่อมเป็นผู้รอด เป็นผู้ไปดีในเบื้องหน้า

สาธุค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

annatasia23 20 เม.ย. 58 เวลา 21:15 น. 1

ทั้งหลายเหล่านี้.. คือคำสอนที่เราได้ถูกสอนมา จากพระผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ

หรือที่เรียกว่า.. สุปฏิปันโน สาวก สังโฆ
ที่เราสวดกันอยู่เนืองๆ

สาธุค่ะ

0
annatasia23 20 เม.ย. 58 เวลา 21:41 น. 3-1

สาธุค่ะ

สตินี้เป็นพื้นฐาน
คือรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่

ปัญญา คือ รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่ ดี หรือ ชั่ว

"ศีล สมาธิ ปัญญา" จึงนำพาให้คนพ้นทุกข์ทั้งปวง

0
annatasia23 20 เม.ย. 58 เวลา 21:43 น. 4-1

สาธุนะคะ ที่เข้ามาอ่าน และยังเห็นตาม

เมื่อเรารักษาศีล.. ศีลก็จะรักษาเราค่ะ


สาธุ

0
einherjar 20 เม.ย. 58 เวลา 22:27 น. 5

ขอแย้งครับ ศีลไม่ใช่กฎของจักรวาลหรือของโลก
ศีลเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้ากำหนดขึ้นมาเท่านั้น

ในกาลก่อนตอนพระพุทธเจ้าเผยแพร่ศาสนาได้ไม่นาน ไม่มีบทบัญญัติหรือข้อห้ามใดๆให้แก่เหล่าสาวก แต่มากคนก็มากความ จึงได้มีการบัญญัติสิกขาบทขึ้นมาทีละข้อๆ แล้วแต่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น

และพระพุทธเจ้าเองก็ไม่ใช่ผู้รู้ทุกอย่างในโลก ไม่สามารถรู้อนาคตได้ สิกขาบทบางข้อจึงมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

0
annatasia23 20 เม.ย. 58 เวลา 23:10 น. 6

ศีล คือข้อห้ามที่เมื่อพระองค์ทราบเหตุและผลตามความเป็นจริงของจักรวาล อันจะเป็นโทษ จึงยกขึ้นห้ามให้มนุษย์ไม่กระทำ เช่น
ห้ามว่า อย่าดื่มสุรา โทษของสุราคือทำให้ขาดสติ--บุคคลผู้ดื่มสุรา ก็ไม่ได้ขาดสติเพราะพระองค์เป็นผู้กำหนด  แต่เพราะฤทธิ์ของสุราจึงขาดสติต่างหาก

เช่นนี้จะถือได้ว่าพระองค์กำหนดเอง ตั้งขึ้นมาเองได้อย่างไร

ธรรมะ แปลว่า ความจริง

พระพุทธเจ้า เป็นผู้กำหนดหรือว่า 
ถ้าเธอทำดี เธอจะได้ดี
ถ้าเธอทำชั่ว เธอจะได้ชั่ว
" เปล่าเลย.. มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง "

เธอหว่านข้าว  ย่อมได้ข้าว..
พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดเลย
" สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นเอง ให้ผลเอง "

ทำเหตุอย่างไร  ผลก็เป็นอย่างนั้น


3
einherjar 20 เม.ย. 58 เวลา 23:30 น. 6-1

ศีลของคฤหัสถ์กับศีลของสงฆ์ไม่เหมือนกัน

ศีลของสงฆ์คือข้อห้าม
ศีลของคฤหัสถ์คือข้องดเว้น

พระพุทธเจ้า เป็นผู้กำหนดหรือว่า
ถ้าเธอทำดี เธอจะได้ดี
ถ้าเธอทำชั่ว เธอจะได้ชั่ว
" เปล่าเลย.. มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง "

เธอหว่านข้าว ย่อมได้ข้าว..
พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดเลย
" สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นเอง ให้ผลเอง "


ขอถามนะครับ คุณกำลังคุยเรื่องศีลอยู่หรือเปล่า?

ถ้าคุณคิดว่ากำลังคุยเรื่องศีลอยู่ ถ้าอย่างนั้นผมขอให้คุณอธิบายเรื่องศีลให้ผม 1 ข้อ
ข้อเดียว ข้อ1 ปาณาฏิปาตา เวรมณี สิกขาปทัง สัมมาธิ ยามิ

โทษของการฆ่าสัตว์คือ? แล้วการฆ่าสัตว์อื่นผิดกฎข้อไหนของจักรวาล?
ถ้าเช่นนั้นทำไมสมัยที่พระพุทธเจ้ายังอยู่ถึงไม่ห้ามการฆ่าสัตว์อย่างเด็ดขาด?

หรือถ้าตอบไม่ได้ เอาข้อนี้ก็ได้ "ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่บัญญัติสิกขาบทตั้งแต่เริ่มเผยแพร่คำสอน"
ทำไมจึงปล่อยให้มีการทำสิ่งที่ผิดแล้วจึงบัญญัติกฎภายหลัง?

หรือถ้าตอบทั้งสองข้อก็จะดีมากเลยครับ

0
annatasia23 21 เม.ย. 58 เวลา 00:16 น. 6-2

ใช่ค่ะ ศีลค่ะ
พระพุทธเจ้าสอนให้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม
ทำชีวิตผู้อื่นตกล่วง ผลก็ย้อนกลับมาหาผู้กระทำตามนั้น
อยู่ที่ว่าจะช้า หรือเร็ว

คุณเอาประโยคนี้ไปคิดนะคะ แล้วขยายตวามเอาเอง
"ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้ทาง"

พระองค์สอน เฉพาะผู้มาให้สอน และควรแก่การสอน
ผู้มืดบอด สอนแล้วจะไม่เกิดผล พระองค์ก็ปล่อยวาง

"ดอกบัวสี่เหล่าค่ะ"

ข้อข้างล่างตอบไปก่อนหน้านี้แล้วนะคะ
ถ้ายังเห็นแย้ง ก็ขอแนะนำไปบวชปฏิบัติค่ะ
ธรรมะ มีหลายชั้น ธรรมะอันเดียวกัน แต่ความหมายอาจต่างกันได้ตามความเพียร และสติปัญญาของแต่ละบุคคลจะพิจารณา

ธรรมะเกิดจากการปฏิบัตินะคะ
ไม่ใช่นั่งนึกนั่งคิดเอา

พระองค์ตรัสรู้เพราะปฏิบัติ ไม่ใช่เรียนจากตำรา

ถ้าอยากเข้าใจแจ่มแจ้ง ให้ปฏิบัติเอาเองค่ะ
ธรรมะ เป็น "ปัจจัตตัง - ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ถ้าเรากินข้าวอิ่ม แล้วบอกคุณว่าเราอิ่ม
คุณจะรู้สึกอิ่มตามเรามั้ยคะ...

สุดท้าย.. พระพุทธเจ้าสอนว่า
เมื่อฟังธรรม จงตั้งใจฟังด้วยจิตที่เป็นกุศลค่ะ

สาธุ

0
einherjar 21 เม.ย. 58 เวลา 00:30 น. 6-3

ครับๆๆ ผมบวชมาแล้วครับ ศึกษามาอย่างดี ปฏิบัติมาดีเท่าที่จะดีได้แล้วด้วยครับ
แค่นี้พอให้ผมสามารถพูดแย้งในสิ่งที่คุณว่ามาได้หรือยังครับ?

หรือต้องให้ดูสำเนาบัตรฯด้วย?

อย่าพยายามเบี่ยงประเด็นเรื่องอื่นมาครับ คุณตอบไม่ตรงคำถามเลย

ปล. ผมยังเห็นว่าคุณกำลังสับสนระหว่าง "ศีล" กับ "ธรรม" อยู่เลยนะ

0
annatasia23 20 เม.ย. 58 เวลา 23:47 น. 7

พระองค์เป็นผู้ชี้ทาง.. ไม่ใช่ผู้กำหนด

เคยได้ยินมั้ยคะ..
โลกะวิทู -- เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

ข้อห้าม หรือเสขิยวัตรที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ ก็เพราะพระองค์เล็งเห็นอนาคตมิใช่หรือว่า ประเพณีของมนุษย์ ยุคสมัย เป็นของไม่เที่ยง ทั้งหลายทั้งปวงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แม้กระทั่งจิตใจที่ใฝ่บุญของมนุษย์ก็เสื่อมถอยลงไปตามยุคกาล 

พระองค์จึงอนุญาตล่วงหน้าให้ยกเลิกบางอย่างเมื่อไม่จำเป็นตามสติปัญญาของผู้ปฏิบัติ อนุญาตให้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย

ป่วยการจะมานั่งสาธยายว่าอะไรควร อะไรไม่ควร พระองค์ทรงบอกใจความสำคัญให้  เนื้อหาย่อยๆผู้ปฏิบัติตามก็ฝึกใช้สติปัญญาพิจารณาตามเป็นจริง
ในกรอบของคำสอน..
หนึ่ง  ให้ทำความดี
สอง  ละเว้นความชั่ว
สาม  ทำจิตใจให้ผ่องใส

พระองค์สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึก

บุรุษผู้สมควรฝึก ย่อมหมายถึงผู้มีปัญญา 
มีปัญญาที่จะพิจารณาว่าอะไรคือดี อะไรคือชั่วได้เอง โดยที่พระองค์ไม่ต้องมานั่งสอนแบบละเอียดเกินพอดี

ป่วยการจะมานั่งห้ามในสิ่งที่ยังไม่ทันได้เกิดขึ้นเพราะเป็นการมากความอย่างที่คุณว่า  แต่พระองค์ทราบมั้ยว่าจะเกิดสิ่งนี้ๆ ก็ทรงทราบอยู่แล้ว 

ปัญญาของปุถุชน กับ
ปัญญาของพระพุทธเจ้าต่างกันยิ่งนัก
ด้วยว่าพระองค์สร้างบารมีมามหาศาล

ขออย่ากล่าวถึงพระพุทธเจ้าเช่นนั้นเลย

สาธุค่ะ

0
annatasia23 20 เม.ย. 58 เวลา 23:55 น. 8
"โลกเขาเกิด เขาเป็นของเขาอย่างนั้นเอง"
ส่วนพระองค์นั้นเป็นผู้รู้โลก
พระองค์ไม่ได้ตรัสว่า  พระองค์เป็นผู้กำหนดโลก หรือสร้างโลก  
หากแต่ว่าพระองค์รู้จักโลกตามความเป็นจริง ตามธรรมชาติของโลก "อย่างแจ่มแจ้ง" แล้วจึงได้นำมาสอนมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้อย่างเป็นเลิศ
สาธุค่ะ
0
einherjar 20 เม.ย. 58 เวลา 23:59 น. 9

1. ถ้าพระพุทธเจ้ารู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่แล้ว ก็คงไม่ปฏิเสธคำขอบวชของพระนางมหาปชาโคตมีตั้งแต่แรก 

2. พระพุทธเจ้าเคยเปลี่ยนข้อบัญญัติ"ด้วยตัวเอง"

3. จากข้อ1. จากประโยคของคุณที่ว่า

ปัญญาของปุถุชน กับ
ปัญญาของพระพุทธเจ้าต่างกันยิ่งนัก
ด้วยว่าพระองค์สร้างบารมีมามหาศาล

ทำไมพระพุทธเจ้าที่มีปัญญาเหนือพระอานนท์จึงไม่สามารถกล่าวแย้งเรื่องที่พระอานนท์หลอกล่อให้พระพุทธเจ้าอนญาตให้พระนางปชาบดีฯบวชได้

4. ป่วยการจะมานั่งห้ามในสิ่งที่ยังไม่ทันได้เกิดขึ้นเพราะเป็นการมากความอย่างที่คุณว่า  แต่พระองค์ทราบมั้ยว่าจะเกิดสิ่งนี้ๆ ก็ทรงทราบอยู่แล้ว 

หมายความว่าพระพุทธเจ้ารู้ว่าจะมีการทำความผิดเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ห้ามปราม ไม่ทักท้วง รอให้ปัญหาเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงแก้ไขภายหลังหรือ?

5. ขออย่ากล่าวถึงพระพุทธเจ้าเช่นนั้นเลย

ทำไมถึงไม่สามารถสงสัยในตัวพระพุทธเจ้าหรือคำสอนได้ครับ?

6. คุณไม่ตอบคำถามของผมเลยแม้แต่ข้อเดียว

3
Dorafukung 30 เม.ย. 58 เวลา 22:22 น. 9-1

อยากทราบเรื่องราวการบวชของพระนางปชาบดีโคตมีเถรี โดยละเอียดค่ะ
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธพระนางปชาบดีในตอนแรกเนื่องจากอะไรคะ ?
แล้วพระอานนท์พูดอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงยอมคะ ?

0
einherjar 1 พ.ค. 58 เวลา 01:25 น. 9-2

อันนี้เป็นคำตอบจากความทรงจำล้วนๆเลยนะครับ ผมเคยอ่านผ่านตาอยู่ครั้งนึงในพระไตรปฏิฎก แต่รายละเอียดปลีกย่อยก็ค่อนข้างจะหมดไปจากความทรงจำแล้ว
คร่าวๆคือพระนางฯ(ขอย่อนะ)ศรัทธาในศาสนาพุทธมาก จึงมาขอบวชกับพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง
แต่พระพุทธเจ้าปฏิเสธไปถึง3ครั้ง พระนางจึงไปขอให้พระอานนท์ช่วยขอให้
พระอานนท์จึงเข้าไปถามพระพุทธเจ้าเรื่องให้พระนางฯบวช แต่ก็ถูกปฏิเสธไป3ครั้งเช่นกัน
พระอานนท์จึงถามว่า
"บุรุษและสตรีสามารถเข้าถึงธรรมได้เหมือนกันหรือไม่"
พระพุทธเจ้าตอบว่า
"ไม่ว่าบุรุษหรือสตรีย่อมสามารถเข้าถึงธรรมได้ไม่ต่างกัน"
พระอานนท์จึงถามต่อว่า
"บุรุษและสตรีสามารถบรรลุอรหันต์ได้เหมือนกันหรือไม่"
พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า
"ทั้งบุรุษและสตรีสามารถบรรลุอรหันต์ได้เหมือนกัน"
พระอานนท์เลยถามว่า
"เช่นนั้นแล้วทำไมท่านจึงปฏิเสธมิให้พระนางฯบวชเล่า"

พระพุทธเจ้าเลยไม่สามารถปฏิเสธเรื่องที่พระนางฯจะบวชได้อีก(เพราะยอมรับไปแล้วว่าหญิงชายไม่มีความแตกต่างในด้านธรรม) แต่ก็อธิบายเหตุผลให้พระอานนท์ฟังประมาณว่าผู้หญิงมีความยุ่งยากและไม่สะดวกในหลายๆเรื่อง จึงเป็นการลำบากที่จะให้เข้ามาบวชและครองตนให้ดีได้

แต่สุดท้ายก็ยอมให้บวชนะครับ โดยรับคุรุธรรม8ประการจากพระพุทธเจ้า

0
einherjar 22 เม.ย. 58 เวลา 10:13 น. 10-1

ถ้ารู้ว่ามีคนเข้าใจผิด แล้วไม่พยายามทำให้เขาเข้าใจถูก จะมีความรู้ไว้ทำไมครับ?

หรือจะบอกว่าเขาจะผิดจะถูกก็ไม่ต้องไปสน?

0
เทพแว่น_nena 28 เม.ย. 58 เวลา 01:50 น. 10-2

อันนี้ก็แล้วแต่จะชอบนะ แต่ถ้ามันจะทำให้ยิ่งขัดแย้งกันเข้าไปอีก ถ้าเป็นเราก็คงไม่ต่อความยาวสาวความยืดอะไรอ่ะ คือถ้าคิดอีกแง่ก็ ความไม่เข้าใจกันก็เป็นเรื่องธรรมดานั่นเอง

0