Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ข้อมูลเกี่ยวกับคอนแทคเลนส์ UT

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
บุคคลแรกที่นาเสนอเรื่องคอนแทคเลนส์ เป็นบุคคลที่เป็นทั้งนักวาดภาพ ประติมากร วิศวกร และ สถาปนิกที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เขาคนนั้นก็คือ ลีโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) นั่นเอง จากหนังสือ Codex of the Eye, Manual D ของเขาที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 16 เขาได้พูดถึงการแก้ไขปัญหาสายตาสั้น โดยใช้หลอดสั้นๆบรรจุน้าและปิดปลายด้านหนึ่งด้วยเลนส์แผ่นเรียบ ส่วนปลายอีกด้านปล่อยไว้ให้แนบกับตา น้าจะสัมผัสกับนัยน์ตาและช่วยหักเหแสง กล่าวได้ว่า มันทาหน้าที่เหมือนเลนส์โค้งนั่นเอง ซึ่งวิธีของดาวินชีนี้เป็นหลักการเดียวกับที่ใช้ทาคอนแทคเลนส์ในปัจจุบัน อย่างที่เรารู้กันว่านัยน์ตาของมนุษย์นั้นบอบบางมาก วัตถุที่จะมาสัมผัสได้จะต้องมีความเรียบอย่างยิ่ง
เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1887 Adolf Fick ได้ผลิตคอนแทคเลนส์สาเร็จเป็นครั้งแรก โดยมันถูกทามาจากกระจกสีน้าตาล ซึ่งเขาเองก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับดวงตาส่วนคลอเนียมาจากหนังสือ Codex of the Eye, Manual D ของ ลีโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1508 ส่วนความรู้เกี่ยวกับกระจกที่ของเหลวสามารถซึมเข้าไปได้และไปติดอยู่ที่คลอเนียได้ René Descartes ใช้กระจกใส แต่ความคิดนี้ก็ไม่ประสบผลสาเร็จ ดังนั้นในช่วงหลายศตวรรษที่ยังใช้กระจกมาทาเป็นเลนส์ จึงมีปัญหาเรื่องความระคายเคืองอยู่มาก เพราะถึงแม้จะฝนกระจกให้เรียบที่สุดแล้วมันก็ยังคงมีความหยาบอยู่นั่นเอง คอนแทคเลนส์ที่ใช้การได้ดีถูกพัฒนาขึ้นโดยด็อกเตอร์ เอ อี ฟิค (ชาวสวิส) ซึ่งเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (Hard Lens) แน่นอนว่ามันยังคงมีความหนาและไม่สบายตา กระจกที่ใช้ทาคอนแทคเลนส์มีทั้งแบบที่เป่าขึ้น และ แบบหลอมให้มีผิวเรียบและความโค้งตามต้องการ แล้วจึงตัดให้มีขนาดพอดีกับตา คอนแทคเลนส์ในสมัยนั้นไม่ได้ใส่ไว้แค่บริเวณตาดาแต่มันจะคลุมทั้งลูกนัยน์ตา เลนส์ของเขาช่วยให้เห็นภาพได้ชัดสมบูรณ์แบบและผู้สวมใส่ต้องฝึกความอดทนแต่สถานเดียว
ถึงอย่างไรก็ตาม กระจกยังคงเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ทาคอนแทคเลนส์อยู่จนถึงปี ค.ศ. 1936 ในปีนั้นบริษัทไอ จี ฟาร์เบน ของเยอรมนี ได้ผลิตเพลกซิกลาสซึ่งเป็นเลนส์พลาสติกแบบแข็งออกมา และ ได้กลายเป็นวัตถุดิบใหม่ที่ได้รับการยอมรับในหมู่ผู้ผลิต จนช่วงกลางทศวรรษ Sir John Herschel ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับคอนแทคเลนส์ออกมา 2 แบบ คือ เรื่องเกี่ยวรูปร่างของคอนแทคเลนส์ ซึ่งควรมีลักษณะเป็นวงกลม และ ควรจะมีลักษณะเหมือนเจล มีความโปร่งใสในระดับปานกลาง แต่วิธีนี้ก็ไม่ได้ผลนัก เนื่องจากเลนส์มักจะหลุดออกจากตาอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม จากแนวความคิดทั้งสองนี้ทาให้ในปี ค.ศ. 1929 Hungarian Dr. Dallos สามารถหาวิธีที่ดีที่สุดในการผลิตคอนแทคเลนส์ได้ ซึ่งเขาเป็นคนแรกที่สามารถผลิตคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสาหรับใช้กับดวงตาได้ คือ เลนส์ขนาดเล็กพอดีกับตาดาอย่างทุกวันนี้ จากนั้นจึงได้มีการออกแบบเลนส์แบบต่างๆเรื่อยมา
ทั้งนี้คอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัส เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวิวัฒนาการของการคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาการที่ต้องสวมใส่แว่นตาสาหรับผู้ที่มีปัญหาสายตา และเพื่อให้เกิดความสะดวกและประโยชน์สาหรับ ผู้ที่มีสายตาผิดปกติที่ไม่สามารถใช้แว่นตาได้ เช่น สายตาสั้นมาก หรือใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับตาหรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น ในปัจจุบันได้มีกระแสแฟชั่นใส่คอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัสเพื่อความสวยงามที่ทาให้มองเห็นตากลมโตแบบดาราเกาหลีหรือญี่ปุ่นระบาดเข้ามาสู่วัยรุ่นไทยโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหญิง โดยคอนแทคเลนส์ประเภทนี้เหมือนกับคอนแทคเลนส์แฟชั่นที่มีหลายสีให้เลือก แต่บริเวณตรงกลางมีลักษณะเป็นเลนส์ใสและบริเวณขอบเลนส์มีสีดาหรือสีเข้มต่างๆ ที่จะทาให้มองเห็นว่าผู้ใส่มีตาดาขยายใหญ่และกลมโตกว่าปกติรวมทั้งสามารถหาซื้อได้ง่าย มีวางจาหน่ายตามร้านค้าแผงลอยทั่วไป ซึ่งการใส่คอนแทคเลนส์อย่างไม่ถูกวิธีนั้นอาจทาให้เกิดการติดเชื้อที่ดวงตากระจกตาเป็นแผล และอาจทำให้ตาบอดได้
จากผลการศึกษาของภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาล435 ราย ปรากฏว่ามีจานวนร้อยละ 18.6 (81 ราย) ที่ใช้คอนแทคเลนส์ โดยพบว่าร้อยละ 34 ของผู้ใส่คอนแทคเลนส์มีการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่ถูกต้อง และร้อยละ 67 ไม่ได้ถอดคอนแทคเลนส์ออกขณะนอนหลับในตอนกลางคืน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ใส่คอนแทคเลนส์ร้อยละ 72 (42 ราย จาก 58 ราย) มีการติดเชื้อที่กระจกตาซึ่งบางรายมีอาการลุกลามจนต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาใหม่
การติดเชื้อที่กระจกตายังเป็นปัญหาในประเทศไทย การใส่คอนแทคเลนส์ และการใส่คอนแทคเลนส์นอนตลอดทั้งคืนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสาคัญ และถึงแม้ว่าการรักษาด้วยยาจะได้ผลดี แต่ภาวะการติดเชื้อที่กระจกตาอาจทาให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นตามมาได้ ดังนั้น จักษุแพทย์ควรแจ้งให้ผู้ใส่คอนแทคเลนส์ตระหนักถึงอันตรายเหล่านั้น และควรให้คาแนะนาแก่ผู้ใช้ในการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ด้วย
เลนส์สัมผัส หรือ Contact Lens หรือ คอนแทคเลนส์ เป็นเลนส์ที่ใช้แก้ไขความผิดปกติของสายตาลักษณะเป็นรูปพลาสติกทรงกลมวางอยู่บนกระจกตา สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1. Hard Contact Lenses (เลนส์สัมผัสชนิดแข็ง) ทาจากพลาสติกกลุ่มโพลีแมดทิลแมดทาซิเลท (Polymethyl Methacrylate) ซึ่งอ๊อกซิเจนและน้าไม่สามารถซึมผ่านได้ จึงไม่สามารถใช้ติดต่อกันได้นาน ๆ ลักษณะเลนส์พวกนี้จะแข็ง การใส่ในระยะแรกจะเคืองตามาก ประมาณ 1-3 อาทิตย์ แต่สามารถแก้ไขภาวะสายตาเอียงได้ดี และอายุการใช้งานทนทาน ไม่ค่อยมีอาการแพ้ หรือติดเชื้อในเลนส์ประเภทนี้ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว
2. GAS Permeable Contact Lenses (เลนส์กึ่งแข็งกึ่งนิ่ม) มีคุณสมบัติระหว่างเลนส์ชนิดแข็งและชนิดนิ่ม เลนส์พวกนี้สามารถให้อ๊อกซิเจนซึมผ่านเข้าไปเลี้ยงกระจกตาได้ ทาให้สามารถใส่ในตาได้นานกว่า และสามารถแก้ไขภาวะสายตาเอียงได้ดีกว่าซอฟท์เลนส์ อย่างไรก็ดีตัวเลนส์สามารถมีโปรตีนมาเกาะ อายุการใช้งานคือประมาณ 5 ปี
3. Soft Contact Lenses (เลนส์สัมผัสชนิดนิ่ม) มีส่วนประกอบของน้าในเนื้อเลนส์ด้วย ทาให้อ๊อกซิเจนซึมผ่านได้ดี สามารถใส่ได้นานและไม่ค่อยมีอาการเคืองตา ข้อเสียคือ มีอาการติดเชื้อและแพ้ได้บ่อยกว่า อายุการใช้งานสั้นกว่า และมีโปรตีนประกอบติดได้ง่าย สามารถแก้สายตาเอียงได้น้อย เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เพราะสามารถใส่ได้ง่ายและไม่ค่อยมีอาการระคายเคืองเหมือนเลนส์สัมผัส 2 ชนิดแรก
คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มมีหลากหลายชนิดปัจจุบันมีทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ชนิดที่ใช้แล้วทิ้ง (Disposable Contact Lenses) ชนิดที่ระบุระยะเวลาการใช้ เมื่อครบกาหนดต้องเปลี่ยนใหม่เช่น ชนิด Daily หมายถึง การสวมใส่ได้ในแต่ละวันหรือไม่เกิน 12 ชั่วโมง และชนิด Extended สามารถสวมใส่ได้ติดต่อกันตามระยะเวลาที่ระบุ เช่น 7 วันถึง 30 วัน แล้วทิ้ง แต่ไม่แนะนาให้ใส่ในขณะนอนหลับเด็ดขาด
การผลิตคอนแทคเลนส์ทุกวันนี้ยังคงยึดหลักการที่ว่า คอนแทคเลนส์ที่ดีจะต้องอุ้มน้าได้มาก โดยเฉพาะเลนส์ที่อุ้มน้าได้ถึงร้อยละ 80 ด้วยเชื่อว่าน้าจะช่วยให้เราไม่เคืองตาและถือเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้เยื่อตา ทั้งที่ความจริงแล้วเลนส์ที่มีน้าน้อยจะให้ภาพที่ชัดและถูกต้องกว่า




ข้อดีของคอนแทคเลนส์
1.มีมุมมองภาพกว้างกว่าแว่นตา
2.ขนาดของวัตถุที่มองเห็นผ่านคอนแทคเลนส์จะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่าแว่นตา โดนคอนแทคเลนส์จะมีการขยายและย่อภาพน้อยกว่าแว่นตา
3.เพิ่มความสวยงาม
4.สามารถใส่เล่นกีฬาได้สะดวก และปลอดภัยมากกว่าแว่น
5.ไม่มีเงาสะท้อนเหมือนแว่นตา
6.ไม่มีรอยกดทับบนใบหน้าเหมือนแว่นตา เช่นรอยคล้ำที่จมูก หรือเป็นแผลตรงขมับ
7.สามารถใส่แว่นกันแดดได้ตามความเหมาะสม
8.ใช้ได้ดีกับคนไข้ที่เป็น "ลูกตาสั้น" (Nystagmus) ทำให้แสงตกถึงจอประสาทตาก่อนรวมเป็นจุดเดียว ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดทั้งใกล้และไกล คอนแทคเลนส์จะช่วยปรับเปลี่ยนแนวทางของแสงให้โค้งเข้าสู่ดวงตาได้ถูกต้อง
9.คนไข้สามารถมองเห็นภาพที่เป็นจุดกึ่งกลางของเลนส์อยู่ตลอดเวลา
10. คล่องตัวมากกว่า โดยเฉพาะผู้ที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายมาก เช่น นักกีฬา นักเต้นรำ ฯลฯ
11. สวยงามกว่า เพราะไม่มีกรอบหรือก้านแว่นมาเกะกะบริเวณหน้า เหมาะและจำเป็นสำหรับบางอาชีพ
12. มองเห็นได้กว้างกว่า เพราะไม่มีก้านแว่นหรือโครงของกรอบแว่นมาปิดบังลานสายตา
13. ขนาดภาพที่เห็นเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า เพราะเลนส์แว่นตาสำหรับสายตาสั้นจะทำให้ภาพที่เห็นมีขนาดเล็กลง ถ้าสายตาสั้นมากจะเห็นภาพเล็กลงกว่าขนาดจริงมาก จึงแลดูเหมือนภาพอยู่ไกล ส่วนเลนส์แว่นสายตายาว ภาพที่เห็นจะมีขนาดใหญ่และอยู่ใกล้กว่าความเป็นจริงมาก ส่วนคอนแทคเลนส์จะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดน้อยกว่ามาก
14. ไม่มีปัญหาของภาพที่เกิดบริเวณจอตาที่มีสายตาแตกต่างกันระหว่างตา 2 ข้าง ขณะที่ถ้าใช้แว่นตาอาจทำให้สมองมึนงงในภาพที่เห็น จนใส่แว่นไม่ได้
ข้อเสีย ของคอนแทคเลนส์
1.ผู้ใส่ที่ไม่รักษาความสะอาด หรือทำความสะอาดไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดตาอักเสบเกิดการติดเชื้อได้(ข้อนี้ที่ร้านเราเจอบ่อยมากครับ)
2.สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เช่น ค่าน้ำยาแช่เลนส์ ยาหลอดกันตาแห้ง
3.ต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับสายตา
4.ไมสามารถใช้ได้ในคนไช้ที่เป็นปริซึม
5.สำหรับคอนแทคเลนส์ 2 ชั้น ต้องใช้เวลานานในการฝึกใช้และปรับสายตา
6.ฉีกขาดง่าย ถ้าไม่ระวัง
7.ความคมชัดของภาพน้อยกว่าแว่น โดยเฉพาะถ้ามีสายตาเอียง
8.มีโอกาสแพ้น้ำยาและแพ้เลนส์ได้ ในกรณีคนที่ไม่เคยใช้มาก่อน
9.ใช้เวลาในการใส่ โดนเฉพาะในช่วงแรกของการใช้งาน
10. ราคาแพงกว่า
11. ใช้ยากกว่า จึงต้องฝึกการใช้ ทั้งวิธีถอด วิธีใส่
12. ต้องรักษาความสะอาด มีขั้นตอนในการดูแลมากกว่าแว่นตา
13. ต้องมีอุปกรณ์ในการเช็ดล้างทำความสะอาด ซึ่งต้องเสียเงินและเสียเวลา
14. เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากกว่า โดยเฉพาะหากรักษาความสะอาดได้ไม่ดี
15. บางคนอาจใช้ไม่ได้ เช่น บุคคลที่มีโรคเปลือกตาหรือเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง ตาแห้งมาก กระจกตาขรุขระ กระจกตาที่โค้งหรือแบนมากเกินไปจนคอนแทคเลนส์ไม่ติดตา ตาโปนมาก เป็นต้น

วิธีการใส่และถอดคอนแทคเลนส์
การเตรียมเลนส์ก่อนใส่
1.ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนจับเลนส์ (ควรเช็ดด้วยทิชชู่เพราะถ้าเป็นผ้าจะมีขนติดที่มือ)
2.ล้างเลนส์ให้สะอาดตามขั้นตอน
3.วางเลนส์บนนิ้วมือที่ถนัด ตรวงดูรูปทรง
- ถ้าเลนส์กลับด้านขอบเลนส์จะบานออก เป็นรูปถ้วย
- เลนส์ควรมีรูปเหมือนชามโค้ง
*ถ้าใส่เลนส์กลับด้าน
- จะระคายเคืองตา
- เลนส์ไม่เกาะตาดำหรือพับได้
ขั้นตอนการใส่คอนแทคเลนส์ควรเริ่มจากข้างขวาก่อนเสมอ
1.ล้างมือให้สะอาดเช็ดให้แห้ง
2.นำเลนส์ที่ล้างสะอาดแล้ว วางบนนิ้วชี้ข้างที่ถนัด
3.ใช้นิ้วกลางมือข้างที่ถือเลนส์ดึงเปลือกตาล่างลง
4.แล้วใช้นิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งดึงเปลือกตาบนขึ้น
5.วางเลนส์กลางตาดำ
6.เหลือบมองด้านล่าง และปล่อยเปลือกตาล่างก่อน
7.หลับตาใช้นิ้วคลึงเปลือกตาเบาๆ
ขั้นตอนการถอดคอนแทคเลนส์
1.ล้างมือให้สะอาดเช็ดให้แห้ง
2.เหลือบขึ้นบน ใช้นิ้วกลางดึงเปลือกตาล่างลง
3.เลื่อนเลนส์ลงมาด้านล่าง
4.ค่อยๆหยิบเลนส์โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
5.ถอดเลนส์ออกล้างทำความสะอาด

แสดงความคิดเห็น

>