Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โทษของบุหรี่และการป้องกัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
  1. โรคหัวใจ

        การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ที่สูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราการเกิดโรหัวใจ 5 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีระดับไขมัน HDL-Cholesterol(ไขมันซึ่งป้องกันหลอกเลือดแดงตีบ)ต่ำ และยังกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติทำให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดโรค ยิ่งสูบมากยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมาก โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้ชายที่สูบบุหรี่เนื่องจาการสูบบุหรี่มีผลต่อระดับฮอร์โมน estrogen มีรายงานว่าผู้ที่สูบุหรี่มือสองเมื่ออยู่ในห้องที่สูบบุหรี่เพียงครึ่งชั่วโมงระดับของสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดเช่นวิตามิน ซีจะมีระดับลดลง

  1. โรคมะเร็ง 

        ร้อยละ30ของผู้ป่วยมะเร็งจะสูบบุหรี่ ผู้ป่วยมะเร็งปอดจะสูบุหรี่ร้อยละ85 ผู้ที่สูบบุหรี่มือสองจะมีการเพิ่มขึ้นของมะเร็งปอดร้อยละ 25 ผู้ที่สูบุหรี่ที่มีไส้กรองจะมีอุบัติการณ์ของมะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma สูงเนื่องจากผู้ป่วยจะสูดเข้าแรงมากทำให้สารก่อมะเร็งเข้าสู่ปอด ผู้ที่สูบบุหรี่ที่ใส่ menthol ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูง นอกจากมะเร็งปอดแล้วบุหรี่ยังก่อให้เกิดมะเร็งที่คอ ปาก หลอดอาหาร ไตกระเพาะปัสสาวะ มดลูก

  1. โรคอัมพาตและสมองเสื่อม

        ผู้ที่สูบบุหรี่วันละซองจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคอัมพาต2เท่าครึ่งเมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบ และยังพบว่าปัจจัยเสี่ยงยังคงมีอยู่หลังหยุดสูบบุหรี่ 14 ปี นอกจากนั้นยังพบโรคสมองเสื่อมเพิ่มในผู้ที่สูบบุหรี่

  1. โรคปอด

        ปีหนึ่งจะมีผู้ที่สูบบุหรี่เสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง ปอดบวม หลอดลมอักเสบเป็นจำนวนมาก

  1. การสูบบุหรี่กับสุขภาพช่องปาก

        การสูบบุหรี่สามารถทำให้โรคมะเร็งในช่องปากและโรคเหงือก โดยควันบุหรี่จะทำลายเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างเหงือกและฟันทำให้เหงือกร่น ทำให้ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นจะเสียว เกิดฟันผุ ทำให้แผลหายช้า มีกลิ่นปาก มีคราบบุหรี่ติดที่เหงือกและฟัน

  1. การสูบบุหรี่กับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ

        โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ผู้ที่สูบจะมีอายุสั้นกว่าผู้ที่ไม่สูบประมาณ 7-10ปี บุหรี่นอกจากจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดยังก่อให้เกิดโรคข้อและกระดูกดังนี้

  • โรคกระดูกพรุน การสูบบุหรี่จะลดเลือดที่ไปเลี้ยงกระดูก นิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ยังลดการสร้างกระดูกและลดการดูดซึมแคลเซียมทำให้ผู้ที่สูบมีโรคกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย
  • การสูบบุหรี่ทำให้กระดูกสะโพกหักง่ายเนื่องจากกระดูกพรุน
  • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบของข้อและกระดูกจากการออกกำลังได้ง่าย มีการฉีกของเอ็นและกล้ามเนื้อ
  • การสูบบุหรี่ทำให้กระดูกที่หักต่อติดกันได้ยากและทำให้แผลหายช้า
  • การสูบบุหรี่ทำให้ประสิทธิภาพของนักกีฬาลดลงเนื่องจากการทำงานของปอดสู้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ไม่ได้ ผู้ที่สูบบุหรี่จะหายใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่มีโรคปวดหลังมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

โรคตับ

        ตับมีหน้าที่กำจัดของเสียออกจากร่างกาย มีหลักฐานว่าการสูบบุหรี่จะทำให้ความสามารถในการกำจัดของเสียลดลง


  ชนิดของบุหรี่มี 2 ชนิด เช่น
        บุหรี่ที่มวนเอง และบุหรี่ที่ผลิต  โดยเครื่องจักร บุหรี่ที่มวนเอง ทำ  โดยใช้ใบตองแห้ง ใบบัว หรือ  กระดาษ ที่ใช้มวนห่อใบยาสูบ บุหรี่  ชนิดนี้จะดับง่าย เนื่องจากไม่มีการ  ปรุงแต่งสารเคมี ที่ช่วยให้ไฟติดทน    สำหรับบุหรี่ที่ผลิตโดยเครื่องจักรมี 2  ชนิด คือ บุหรี่ที่ไม่มีก้นกรอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ราคาถูก และบุหรี่ที่มีก้นกรอง นอกจากนี้ บริษัทบุหรี่ยังผลิตบุหรี่ ชนิดที่เรียกว่า “ไลต์” และ “ไมลด์”โดยระบุไว้ว่า เป็นบุหรี่ชนิดรสอ่อน ที่มีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา แต่จากการวิจัยพบว่า บุหรี่ทั้ง 2 ชนิด มิได้มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาแต่อย่างใด เพียงแต่ต่างกันที่รสชาติเท่านั้น และบุหรี่ชนิดที่มีก้นกรอง จะสามารถกรองละอองสาร ที่มีขนาดใหญ่ได้บางชนิดเท่านั้น โดยสารทาร์และนิโคติน ซึ่งมีขนาดเล็กยังคงผ่านเข้าไปได้ ในปริมาณเดียวกับการสูบบุรี่ ที่ไม่มีก้นกรอง

สำหรับแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้วัยรุ่นคิดลองหรือสูบ บุหรี่ พ่อแม่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

          1.พ่อแม่ช่วยให้ลูกปลอดภัยอยู่ห่างไกลจากภัยยาเสพติดได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก โดยการปลูกฝังถึงทัศนคติและอุปนิสัยที่ก่อตัวขึ้นในเด็กวัยนี้ แม้เด็กก็ยังไม่พร้อมที่จะรับรู้ข้อเท็จจริงที่สลับซับซ้อนมากเกินไปเกี่ยว กับสารเสพติดชนิดต่างๆ เพียงแต่ให้เขารับรู้ว่า สิ่งใดที่เข้าสู่ร่างกายเป็นสิ่งที่ "ดีหรือไม่ดี" "ควรหรือไม่ควร" "มีประโยชน์หรือไม่มี" สร้างสายใยแห่งความรักความไว้วางใจ และการเป็นแบบอย่างที่ดี

          2.เมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียน (อายุ 6-11 ปี) มีความเข้าใจ สนใจโลกภายนอกมากขึ้น พ่อแม่อาจเริ่มอธิบายให้เด็กทราบว่าสารเสพติดคืออะไร การติดยา (บุหรี่) หมายถึงอะไร โทษของสารเสพติด (บุหรี่) เป็นอย่างไร และมีผลต่อชีวิตและสุขภาพอย่างไร โดยยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม

          3.เมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น (อายุ 12-21 ปี) เป็นช่วงวัยรุ่นอยากลอง เช่น สุรา บุหรี่ ยาบ้า เป็นต้น ซึ่งพ่อแม่ควรเน้นถึงการสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อร่างกายตนเองอย่างไร เช่น ทำให้ปากเหม็น ฟันเป็นคราบ มีกลิ่นติดตัวและเสื้อผ้า เป็นต้น และพูดถึงการเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง การติดยา ความคิด การตัดสินใจบกพร่อง รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อการวางเป้าหมายการทำงาน บุคลิกภาพต่อไปในอนาคต ส่วนอิทธิพลของเพื่อนที่ชักชวนให้สูบบุหรี่ก็ควรสอนลูกให้รู้จักการปฏิเสธ
  

และอีก2วิธีในการเลิกบุหรี่สำหรับคนที่อยากเลิก#แบบย่อนะ

 จัดการดูแลตัวเอง
          ในระยะแรก ๆ ที่เลิกสูบใหม่ ๆ มักจะเกิดอาการอยากบุหรี่อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งถือเป็นอาการที่ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะเป็นการเสพติดมาจากพฤติกรรมการสูบเดิม ดังนั้นหากมีอาการอยากสูบบุหรี่ล่ะก็ ขอแนะนำให้หาหมากฝรั่ง ลูกอม หรือดมยาดมแทนซะ เพื่อให้ติดเป็นนิสัยใหม่แทนการสูบบุหรี่
 
 ทำจิตใจให้เข้มแข็ง
          หลังจากที่ได้เลิกสูบบุหรี่มาอย่างน้อย 2-3 อาทิตย์ การเสพติดบุหรี่ในร่างกายจะเริ่มทำงานอีกครั้ง ไม่ว่าจะความเคยชินในเรื่องของเวลาที่เคยสูบอยู่เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งกลิ่นของบุหรี่เพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดอาการอยากบุหรี่ขึ้นมาได้ ทางที่ดีที่สุด ขอให้ทำจิตใจให้เข้มแข็ง เชื่อมั่นในตัวเองว่าสามารถเลิกสูบได้ 
 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://health.kapook.com/view26275.html
http://www.manarom.com/article-detail.php?id=72
http://www.siamhealth.net/public_html/Health/smoking/bad_effect.htm#.Va-xw_ntmkp
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=28&chap=6&page=t28-6-infodetail03.html

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

KONGLA123 22 ก.ค. 58 เวลา 22:37 น. 1

เนื้องด้วยผมเป็นมือใหม่หัดตั้งกระทู้หากมีตรงไหนผิดพลาดก็ขออภัยด้วยนะครับ#มือใหม่

0