Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มาทำความรู้จักกับ "เหตุผลวิบัติ" (fallacy)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ในเว็บบอร์ดสาธารณะต่างๆ เมื่อมีคนมาแสดงความเห็นกันเยอะๆ ย่อมต้องเกิดการโต้เถียงกัน บ้างก็โต้กันด้วยเหตุผลดีๆ บ้างก็ใช้อารมณ์ ก่อเกิดเป็นดราม่าให้จ่าเอาไปเขียน(ล้อเล่น!!) แต่บางทีจะมีความเห็นประหลาดๆ ให้คนอ่านอึ้งว่า เฮ้ยคิดได้ไงเนี่ย ตรรกะมั่วสุดๆ มั่วได้อีก หรือที่เรียกกันว่า ดริฟท์จนสีข้างถลอกเลือดซิบๆกันทีเดียว 

เราเลยลองไปรวบรวมตรรกะวิบัติต่างๆ หรือภาษาอังกฤษคือ fallacy มาให้อ่านกัน บางอันก็แปลกๆไม่ค่อยเจอ ส่วนบางอันก็พบได้ทั่วไปตามชีวิตประจำวัน

เอาหล่ะ เริ่มกันเลยยยย

การละทิ้งข้อยกเว้น (Accident)

A dicto simpliciter ad dictum secundum quid คือการวางนัยทั่วไปโดยไม่คำนึงถึงข้อยกเว้น

เช่น ปืนฆ่าคนได้จึงต้องได้รับใบอนุญาติในการพกพา มีดก็ฆ่าคนได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงสมควรต้องทำใบอนุญาติเช่นกัน

ประเด็นคือ มีดสามารถใช้ทำงานได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหารหรือการแกะสลัก นอกจากนี้ มีดมีความรุนแรงไม่เท่ากับปืน

การสรุปเหมารวม (Converse accident/Relative to absolute)

A dicto simpliciter ad dictum secundum quid คือการยกกรณีจำเพาะต่าง ๆ รวมเข้าเป็นกรณีทั่วไป

เช่น สัตว์ที่ปีกทุกตัวที่ฉันพบล้วนบินได้ นกทุกตัวมีปีก ดังนั้นนกทุกตัวจึงบินได้

แต่!! นกบางชนิดก็บินไม่ได้ เช่น นกเพนกวิน นกกระจอกเทศ เป็นต้น


(มีต่อ)

แสดงความคิดเห็น

>

9 ความคิดเห็น

pinno_tea 27 ก.ค. 58 เวลา 17:19 น. 1

(ต่อ)

การสรุปนอกประเด็น (Irrelevant conclusion)

Ignoratio elenchi คือการหันเหความสนใจออกจากข้อเท็จจริงในการโต้แย้งแทนที่จะแก้ปัญหา นำประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาสรุปผลอย่างที่ไม่น่าเกี่ยวข้องกับประเด็นของคำถาม

1. การโจมตีตัวบุคคล (appeal to the person)

Ad hominem คือการโจมตีที่ผู้ตั้งหรือผู้กล่าวประเด็นถกเถียง โดยไม่สนใจเนื้อหาของประเด็นนั้นๆ

นาย ก: เราไม่ควรใช้ของเถื่อนหรือของละเมิดลิขสิทธิ์

นาย ข: แล้วคุณยังใช้ software เถื่อน/โหลดหนัง/โหลดเพลงอยู่หรือเปล่า ม่งั้นอย่ามาพูด

ประเด็นคือ พฤติกรรมของคนพูดไม่มีผลต่อเนื้อหาของประเด็นนั้นๆในทุกกรณี

หรือที่พบบ่อยน่าจะเป็น เมื่อมีคนวิจารณ์หนังหรือดารา ชิบมีคนมาพูดว่า ทำได้อย่างเขาปะ หรือ อิจฉาละสิ

2. การอ้างคนหมู่มาก (appeal to the majority)

Argumentum ad populum คือการใช้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ยืนยันความถูกต้องของประเด็นต่างๆ

การลอกการบ้านไม่ผิด ใครๆก็ทำกันทั้งนั้น

ประเด็นคือ  ความคิดเห็นหรือการกระทำของคนส่วนใหญ่อาจเป็นการกระทำที่ผิดได้ เหมือนกับคำพูดว่า What is right is right even no one do it, wrong is wrongs even everyone do it.

0
pinno_tea 27 ก.ค. 58 เวลา 17:23 น. 2

(ต่อ)

3. การอ้างอำนาจ (appeal to force)

Argumentum ad baculum เป็นการใช้อำนาจหรือกำลังที่มีอยู่ ข่มขู่คุกคามให้ประเด็นดังกล่าวอ่อนลงไป

นาย ก: สิ่งที่คุณพูดมันผิด มันไม่ถูก มันไม่มีหลักฐาน

นาย ข: ถ้าคุณพูดอีก ฉันจะฟ้องร้องคุณ หรือ รู้ไหมฉันเป็นใคร!!

ประเด็นคือ การประทุษร้ายไม่มีผลกับตัวประเด็นในทุกกรณี เนื่องจากมันไม่ใช่เหตุผล

4. การอ้างปฐมาจารย์ (appeal to authority) Argumentum ad verecundiam

เช่น ต้องเชื่อว่านรกมีจริง เพราะพ่อแม่ครูอาจารย์ศาสนาสอนไว้เช่นนั้น

ประเด็นคือ การที่พ่อแม่บอกหรือได้รับการสอนมาไม่ได้แปลว่ามันจะต้องจริง

5. การขอความเห็นใจ (appeal to pity)

Argumentum ad misericordiam คือการสร้างความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเพื่อสนับสนุนประเด็นของตัวเอง

เช่น คนที่โหลดหนังโหลด bit หรือใช้ของเทียมไม่ผิด ก็เขาไม่มีเงินพอที่จะซื้อของแท้ (อันนี้พบมากตอนที่ประกาศปราบปรามเว็ปดูหนังเถื่อนใหม่ๆ เมื่อนานมานี้)

ประเด็นคือ การใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์ยังไงก็ผิด ไม่ว่าจะอ้างว่าไม่มีเงินก็ตาม

0
pinno_tea 27 ก.ค. 58 เวลา 17:24 น. 3

(ต่อ)

6. การอ้างความไม่รู้ (appeal to ignorance)

Argumentum ad ignorantiam คือการด่วนสรุปประเด็นเพราะยังไม่มีหลักฐานหรือพยานยืนยัน เช่น

เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันว่าพระเจ้ามีจริง ดังนั้นพระเจ้าจึงไม่มีจริง

ประเด็นคือ เมื่อยังไม่สามารถหาหลักฐานหรือพยานได้ จึงยังไม่สามารถยืนยันแน่นอนว่าพระเจ้าไม่มีจริง

7. อ้างเจตนา (Intentional)

การให้เหตุผลกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์หนึ่งๆว่ามีความชอบธรรมเพราะมีเจตนาดี

เช่น ในนิทานเรื่องโรบินฮู้ด ที่ขโมยของคนรวยมาช่วยคนจน แม้มีเจตนาดี แต่การขโมยก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผิด หรือการให้เพื่อนลอกข้อสอบ อาจจะอ้างว่าอยาดช่วยเหลือเพื่อนเพราะเพื่อนทำไม่ได้ อย่างไรก็ตามการกระทำนี้ก็ผิดอยู่ดี

0
pinno_tea 27 ก.ค. 58 เวลา 17:25 น. 4

(ต่อ)

การยืนยันผลและการปฏิเสธเหตุ (Affirming the consequent/denying the antecedent)

คือการสรุปสมมติฐานโดยปราศจากเงื่อนไขสำคัญหรือเพียงพอมารองรับ

ตัวอย่างเช่น

การยืนยันผล

เช่น เมื่อมรน้ำมูกคือเป็นหวัด ดังนั้นนายเอมีน้ำมูกจึงต้องเป็นหวัด

ประเด็นคือ  อาการอื่นเช่นโรคหืดก็สามารถทำให้เกิดการไอได้ มิได้หมายความว่าคนที่ไอต้องเป็นหวัดเสมอไป

การปฏิเสธเหตุ

เช่น ถ้าฝนกำลังตก ท้องฟ้าจะมีเมฆมาก ขณะนี้ฝนไม่ตก ดังนั้นท้องฟ้าจึงไม่มีเมฆ

แต่ความจริงคือ ฝนตกเป็นแค่ปัจจัยหนึ่งที่มีเมฆบนท้องฟ้ามาก แต่ไม่ได้หมายความว่าฝนไม่ตกแล้วท้องฟ้าจะไม่มีเมฆ

 

การทวนคำถาม (Begging the question)

Petitio principii คือการสรุปโดยใช้ใจความของสมมติฐานมาเป็นคำตอบ

ตัวอย่างเช่น

ถามว่าทำไมลูกต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ตอบกลับว่าเพราะเป็นหน้าที่ของลูก

ปัญหาคือ สมมติฐานและข้อสรุปมีใจความอย่าง ไม่ได้ให้คำตอบ พูดง่ายๆคือตอบไปก็เหมือนไม่ตอบ

0
pinno_tea 27 ก.ค. 58 เวลา 17:25 น. 5

(ต่อ)

การยกเหตุผลผิด (False cause)

Non sequitur คือการสมมติอย่างผิด ๆ ว่าสิ่งหนึ่งทำให้เกิดสิ่งอื่น

ตัวอย่างเช่น ข้างนอกฝนตก เพราะฉะนั้นรถจะติด

การสรุปนี้อาจผิดเพราะเมื่อฝนรถอาจไม่ติดก็ได้ (ซึ่งน่าจะหาได้ยากได้กรุงเทพ TT)

1. เกิดหลังสิ่งนี้ จึงเป็นเพราะสิ่งนี้ 

post hoc ergo propter hoc คือการเชื่อว่าเหตุการณ์ก่อนหน้าทำให้เกิดเหตุการณ์ภายหลัง

ตัวอย่างเช่น เคยมีข่าวแฟน Game of thrones แล้วออกไปฆ่าคน เพราะฉะนั้น Series นี้ทำให้เกิดการฆาตกรรม

ความจริงคือ อาจจะเกี่ยวแต่สรุปไม่ได้เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ เราก็ดูแต่ไม่มีความรู้สึกอยากจะออกไปฆ่าใคร

2. เกิดพร้อมสิ่งนี้ จึงเป็นเพราะสิ่งนี้

Cum hoc ergo propter hoc คือการเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน เหตุการณ์หนึ่งทำให้เกิดอีกเหตุการณ์หนึ่ง

เช่น วัวตายเป็นจำนวนมากในฤดูร้อน และไอศกรีมก็นิยมบริโภคมากในฤดูร้อน ดังนั้นการบริโภคไอศกรีมในฤดูร้อนเป็นการฆ่าวัว

คือ ไม่มีหลักฐานที่บอกว่าการบริโภคไอศกรีมทำให้วัวตาย ที่วัวตายอาจเป็นร้อนตายไปเอง

0
pinno_tea 27 ก.ค. 58 เวลา 17:27 น. 6

(ต่อ)

การตั้งประเด็นซ้อน (Complex question)

Plurium interrogationum คือการตั้งประเด็นคำถามหลายอย่างลงในคำถามเดียว ซึ่งลวงให้ผู้ตอบตอบอย่างไม่ระมัดระวัง

ตัวอย่างเช่น

คุณเลิกทำร้ายขโมยของยัง ไม่ว่าผู้ตอบจะตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ ก็จะนำไปสู่การยอมรับผิดว่าเคยขโมยเหมือนกัน เพราะงั้นควรตอบว่า ฉันไม่เคยทำ

 

การทับถมจุดอ่อน (straw man)

การเบี่ยงประเด็นแนวคิดของคู่กรณีไปสู่การโต้แย้งที่ง่ายกว่า คือสิ่งที่มีจุดอ่อนหรือช่องโหว่มากกว่ามากกว่า หรือเป็นประเด็นที่อ่อนไหวมากกว่า

ตัวอย่างเช่น

นส เอ: เราควรสอนเรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกต้องให้กับวัยรุ่นโรงเรียน

นส บี: นี่ๆ เธอสนับสนุนให้วัยรุ่นมีอะไรกันในวันเรียนหรอ

นางสาวเอไม่ได้สนับสนุนให้เสียตัว แค่บอกว่าควรรู้วิธีป้องกันเฉยๆ ซึ่งแบบนางสาวบีนี่พบเยอะมากในไทย ทำให้ในโรงเรียนแทบไม่ได้สอนเรื่องเพศศึกษา วัยรุ่นไทยจึงไม่ค่อยจะรู้เรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกต้องเท่าไร (เห็นได้จากหลายๆกระทู้อ่ะนะ)

 

ทางเลือกลวง (False dilemma)

ผู้ให้เหตุผลสร้างทางเลิอกขึ้นมา 2 ทางและบังคับให้เลือกทางใดทางหนึ่งเท่านั้นสำหรับการแก้ปัญหา และเนื่องจากทางเลือกหนึ่งในนั้นไม่เป็นี่น่าปรารถนา จึงเป็นการบีบบังคับโดยกลายๆให้อีกฝ่ายเลือกทางที่ตัวเองต้องการ ทั้งที่ในความจริงแล้ว ตัวเลือกอาจมีมากกว่า 2 ทาง

พบมากในการเมืองไทย ถ้าไม่เห็นด้วยกับเสื้อแดงคือเป็นเสื้อเหลือง ไม่เห็นด้วยกับเสื่อเหลืองคือเป็นเสื้อแดง

คือ คนเรานี่เป็นกลางกันไม่ได้เลยใช่ไหมมมม

0
pinno_tea 27 ก.ค. 58 เวลา 17:28 น. 7

(ต่อ)

Slippery slope

ผู้พูดนำผู้ฟังไปสู่ชุดของเหตุและผลจำนวนมาก และสรุปไปสู่ผลลัพท์สุดท้ายที่แย่ที่สุด ซึ่งเมื่อเปรียยบเทียบเอาจริงแล้ว เหตุการณ์สุดท้ายไม่จำเป็นต้องเกิดจากเหตุการณ์แรกสุด

เช่น ถ้านักเรียนมาสาย แปลว่าไม่เคารพกฎ เมื่อไม่เคารพกฎ ต่อไปก็จะไปประกอบอาชญากรรมในที่สุด

ประเด็นคือ การที่นักเรียนมาสายไม่ได้เป็นเหตุผลและไม่ได้เกี่ยวข้องในการประกอบอาชญากรรม

 

การเปรียบเทียบอย่างไม่เหมาะสม (Questionable analogy)

เมื่อสิ่งหนึ่งเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งก็นำไปเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกันได้ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนได้ข้อสรุปที่ไม่เหมาะสมในที่สุด

ตัวอย่างเช่น

กลุ่มต่อต้านรักร่วมเพศได้กล่าวว่า หากเรายอมให้กฎหมายรองรับการแต่งงานของพวกรักร่วมเพศผ่านมติ ต่อไปเราคงต้องยอมให้มีกฎหมายคยแต่งงานกับสัตว์ด้วย

ปัญหาที่เกิด: ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับคนและสัตว์

 

สองมาตรฐาน (Double standard)

การใช้มาตรฐานการตัดสินหรือการปฎิบัติต่างกันในสถานการณ์ที่เหมือนกัน ทั้งๆที่ในสถานการณ์นั้นไม่มีเหตุผลที่สมควรที่จะทำให้มีการใช้มาตรฐานต่างกันเลย

ที่พบบ่อยๆ เช่น อีกฝ่ายอายุมากกว่า อีกฝ่ายเป็นเพศหญิง (อันนี้เจอบ่อยสุด) อีกฝ่ายอยู่ในบอร์ดมานานกว่า

0
pinno_tea 27 ก.ค. 58 เวลา 17:29 น. 8

Cr:
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/06/X7930761/X7930761.html
http://www.nobeliefs.com/fallacies.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4

0
Wn_. 27 ก.ค. 58 เวลา 22:07 น. 9

ความเชื่อ :   กินเมล็ดฝรั่งแล้วทำให้เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบได้
ความจริง :   กินเมล็ดผลไม้อย่างอื่นก็ทำให้เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบได้

ผมเคยเจอข้อความทำนองนี้มานานแล้ว ที่บอกว่า ความเชื่อแรกไม่จริง ด้วยเหตุผลตามความจริงที่บอกมา

ซึ่งผมคิดว่า ตรรกะนี้ไม่ถูกต้อง
ถ้าจะโต้แย้งว่า ความเชื่อแรกว่าไม่ถูกต้อง
ก็ต้องหาความจริงมาค้านว่า
กินเมล็ดฝรั่งไม่ได้เป็นเหตุทำให้เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ  T -> F  
ไม่ใช่คัดค้านว่า กินอย่างอื่นก็ทำให้เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบได้


เช่นเดียวกับข้อความ ถ้ากินยาพิษนี้แล้ว จะตายภายใน 3 ชั่วโมง
การคัดค้านว่าข้อความนี้ไม่จริง ก็ต้องค้านว่า กินยาพิษนี้แล้วไม่ตายภายใน 3 ชั่วโมง

ไม่ใช่ คัดค้านว่า ถ้าโดนปืนยิงก็ตาย , รถชนก็ตาย , จมน้ำก็ตาย ภายใน 3 ชั่วโมง 
ซึ่งไม่ได้แสดงว่า ข้อความที่ว่า ถ้ากินยาพิษนี้แล้วตายภายใน 3 ชั่วโมง เป็นเท็จ 




1
Wn_. 27 ก.ค. 58 เวลา 22:09 น. 9-1

สรุปว่า ความเชื่อที่ว่า "กินเมล็ดฝรั่งแล้วทำให้เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบได้" เป็นความจริงหรือไม่ ?

0