Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Present like a ghost story - เล่าเรื่องให้เหมือนนิยายผีสิง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
How to be a professional duck ?: Present like a ghost story

เล่าเรื่องให้เหมือนนิยายผีสิง
เพราะงานดีไซน์ยังไม่กลายเป็นสามัญสำนึกของคนทั่วไป สามัญสำนึในแบบที่ใครๆก็รู้ว่าโลกกลม งานดีไซน์ส่วนนึงยังคงเป็นโลกลึกลับของนักคณิตศาสตร์ นักธุรกิจ นักบัญชี และอีกหลายๆ อาชีพ ดังนั้นการเล่าเรื่องและการสื่อสารด้วยภาพจึงเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการเรียนที่โครงการ DBTM เพื่อให้ชาว DBTMer สามารถฝึกบอกเล่าไอเดียของเราได้ดียิ่งขึ้น เมื่อไอเดียของเราถูกสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไอเดียนั้นจะไม่ถูกจำกัดวงแค่ในวงการดีไซน์ แต่แผ่ขยายจนกลายเป็นเรื่องที่นักลงทุน หรือแม้แต่นักธุรกิจที่เก่งในการมองกราฟยังเข้าใจได้ เมื่อนั้น จะทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมา

ก่อนอื่นมาเข้าใจเกี่ยวกับการเล่าเรื่องก่อนดีกว่า การเล่าเรื่อง หรือ Storytelling นิยามจากพจนานุกรม คือ ศิลปะในการสื่อสารเรื่องราว แยกได้อีกเป็นสองคำ คือคำว่า "เล่า (Tell)" และคำว่า "เรื่อง (Story)" ในสองคำนี้คำไหนน่าจะสำคัญกว่ากัน?

การเล่าเรื่องที่สุดยอดในโลกส่วนใหญ่มาจากเรื่องที่ดี หรือเรื่องที่น่าสนใจ แต่นักพูดที่เล่าเรื่องเก่ง ไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ออกไปทำอะไรสักอย่าง จากเรื่องที่ไม่มีสาระได้ คนดูอาจจะชอบแต่ก็ไม่ทำให้เกิดอะไรขึ้น มันก็เลยสามารถอนุมานได้ว่า เรื่องราว สำคัญกว่าวิธีการสื่อสาร ซึ่งเรื่องราวที่ดีมาจากการหา คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหากับการหาเรื่องราวหรือไอเดียมาสื่อสาร มาพูด แต่ที่คนส่วนใหญ่มีปัญหาคือวิธีในการสื่อสารนี่สิ แล้วเราจะปรับวิธีการสื่อสารของเราให้ดีได้ยังไง

บางทีวิทยาศาสตร์อาจช่วยคุณได้
ลองมาดูผลการวิจัยเกี่ยวกับสมอง เรามักจะเคยได้ยินว่าสมองเราที่เก็บความทรงจำมีลักษณะคล้ายๆ ลิ้นชักหลายๆ อัน ที่สามารถเก็บข้อมูลได้หลายอย่าง เช่น รหัส Facebook ลักษณะของสุนัข ชื่อแฟนสาวคนแรก เป็นต้น การที่จะจดจำได้ดีต้องเปรียบเหมือนลิ้นชักที่ต้องเปิดใช้บ่อยๆ อันไหนที่ไม่ค่อยได้เปิดเราจะนึกมันไม่ค่อยออก

แต่ความจริงแล้วมันไม่ถูกทั้งหมด

เพราะความจริง ถ้าจะพูดลึกลงไปอีก สมองส่วนที่ทำหน้าที่เก็บความทรงจำมันคล้ายๆ กับ ตะขอสามแฉกหลายๆ อันต่างหาก ลองนึกภาพตามนะ เมื่อเรามองเข้าไปในสมอง ที่เต็มไปด้วยรอยหยัก ในส่วนที่เก็บความทรงจำ มันจะมีสายอะไรไม่รู้ห้อยลงมาเต็มไปหมด เมื่อมองใกล้เราจะเห็นเป็นตะขอหลายอันเต็มไปหมด บางอันเป็นตะขอปลายสามแฉก บางอันเป็นตะขอปลายสี่แฉก บางอันนี่มีหกปลายแฉกเลย โดยความทรงจำที่เราจำได้ดีที่สุด จะอยู่ในตะขออันใหญ่ที่มีหลายๆ แฉก มันทำงานอย่างนี้

เมื่อเราเห็นนกตัวหนึ่ง เรามองมัน สมองเราจะจำอย่างนี้ สมองจะจำนกเป็นตะขออันนึง ซึ่งปลายตะขอด้านนึง (A) จะเก็บข้อมูลว่านกมันตาสีฟ้า ปลายตะขออีกด้านนึง (B) เก็บข้อมูลว่า มันมีขนสีดำ ปลายตะขออีกอัน (C) เก็บข้อมูลว่า มันมีจงงอยปากสีเหลือง และจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย (D,E,F) หากเรามองเห็นเป็นรายละเอียด และสุดท้ายยิ่งสมองเรามีปลายตะขอในหนึ่งตะขอ ที่เยอะมากเท่าไหร่ สมองจะจดสิ่งนั้นได้ดีมากขึ้น โดยทุกรายละเอียดของแต่ละปลายตะขอ เมื่อสมองจะนึกถึงนกอีกที สมองจะเอาปลายตะขอแต่ละแฉกมาประกอบรวมกันเป็นภาพ ยิ่งมีรายละเอียดมาก ยิ่งเห็นภาพชัดมากขึ้น

ใช่แล้ว! สมองจำทุกอย่างในลักษณะเป็นภาพ เรื่องแบบนี้เกิดมาตั้งแต่สมัยยุคดึกดำบรรพ์ สิ่งที่สำคัญไม่ใช่การจำยังไงให้เป็นภาพ แต่คือการทำยังไงก็ได้ ให้สมองรวมชิ้นเล็กชิ้นน้อยของข้อมูลให้มากที่สุด จากนั้นสมองจะประกอบเป็นภาพเองดูเป็นความรู้ที่น่าสนใจใช่มั้ย

มีคนเอาความรู้นี้ไปใช้นานมากแล้ว คนที่เราเล่าเรื่องผี หรือคนที่เคยฟังเรื่องผีทางวิทยุ จะรู้ดี คนพูดมักจะบรรยายถึงเรื่องราวในเหตุการณ์อย่างละเอียด เพื่อเพิ่มปลายตะขอให้มากขึ้น ชัดขึ้นๆ เช่น จะพูดว่าชายคนนึงเดินไปในถนน เขามักจะเพิ่มรายละเอียด เวลาที่เดิน บรรยากาศ สภาวะแวดล้อมรอบข้าง พื้นถนนเป็นอย่างไร อากาศร้อนหรือหนาว และอื่นๆอีกมากมาย นี่คือเทคนิคนึงที่ดีมากๆ
การเล่าเรื่องให้มีรายละเอียด หรือเรียกว่า เล่าเรื่องให้เป็นภาพนั่นเอง

ในการสื่อสาร การใช้ภาพ อาจจะเป็น powerpoint เป็นเรื่องที่ดี แต่นักบริหาร หรือ CEO ในช่วงชีวิตคงเห็นกราฟมาเยอะมากจนจำไม่ได้ ถ้าเราเปลี่ยนวิธี เราเล่าเรื่องให้เขาฟัง แล้วปล่อยให้ไปสร้างภาพขึ้นเองอีกทีในสมองเขาล่ะจะเป็นยังไง?

ลองเอากลับไปใช้ดู และติดตามเรื่องสนุกๆ ของพวกเราเพิ่มเติมได้เช่นเดิมที่ www.facebook.com/DBTMprogram นะครับ !

แสดงความคิดเห็น

>