Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

10 อาการทางจิต (mental disorder) ที่พบเห็นได้บ่อยในชีวิตจริงและภาพยนตร์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
1. Synaesthesia

คือโรคที่ประสาทสัมผัสตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมีการรับรู้พร้อมกันนั่นเอง 
เช่น เห็นเลข 1 เป็นสีเขียว สีฟ้า สีแดง อะไรก็แล้วแต่ หรือมองเห็นกลิ่น มองเห็นรูปร่างของรสชาติ แบบ รสเค็มเป็นสี่เหลี่ยม


2. Depersonalization (โรคนี้มีในหนังและซีรีย์หลายเรื่องนะ)

บุคลิกวิปลาส เป็นภาวะที่เกิดตัวตนและบุคคลิกขึ้นในจิตใจของบุคคล ทั้งๆที่มีตัวตนและบุคลิกภาพของตัวเองอยู่แล้ว โดยสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเป็นกระบวนการรู้จำซึ่งทำหน้าที่เป็นอิสระและแปลกแยกจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว บุคคลผู้นั้นจึงประหนึ่งนั่งมองการกระทำของตน แต่ไม่สามารถควบคุมการกระทำนั้นได้ รู้สึกว่าไม่ใช่การกระทำของตนแน่นอน แต่เป็นของใครก็ไม่รู้ พูดไม่ออกบอกไม่ถูก และจำไม่ได้ เป็นต้น สภาวะนี้สามารถรักษาหาย อาจเป็นชั่วคราว หรือเรื้อรังไปจนตาย

โรคในกลุ่มนี้ไก้แก่

1. Depersonalization disorder คือผู้ป่วยมีช่วงเวลาที่รู้สึกแยกออกจากร่างกายตนเองหรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งมักรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง

2. Dissociative amnesia คือภาวะที่ความจำบกพร่องอันเนื่องจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์อย่างรุนแรง
3. Dissociative fugue คือผู้ป่วยละทิ้งสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่คุ้นเคย รวมทั้งจำอดีตของตนเองไม่ได้ ภาวะนี้อาจเกิดการสับสนระหว่างเอกลักษณ์จริงๆ ของตนกับเอกลักษณ์ใหม่ได้
4. Dissociative identity disorder คือผู้ป่วยมีบุคลิกภาพแตกต่างกันตั้งแต่ 2 บุคลิกขึ้นไปสลับเปลี่ยนกันมีบทบาทต่อพฤติกรรม โดยจะจำลักษณะข้อมูลสำคัญหรือการกระทำของอีกบุคลิกหนึ่งไม่ได้ มักจะเคยเจอเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง จนจิตใต้สำนึกสร้างอีกบุคลิกหนึ่งขึ้นมาแทนเพื่อหนีจากความเจ็บปวดนั้นๆ

(มีต่อที่ความเห็น 1 กับ 2 ค่ะ)

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

pinno_tea 3 ต.ค. 58 เวลา 15:27 น. 1

(ต่อๆ)
3. Nymphomania

อาการของโรคนี้คือ ขาดผู้ชายไม่ได้ (บ้าผู้ชายนั่นแหละ) มีความต้องการทางเพศสูงเกินธรรมดาจนถึงขั้นควบคุมไม่ได้ หลายคนชอบจำโรคนี้สลับกับ Hysteria ซึ่งขอบอกว่า ผิด!!! มันเป็นคนละโรคคนละอาการกันเลย


4. Hysteria
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

1. บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย ซึ่งอาจพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย คนพวกนี้จะเป็นคนที่มีลีลา ท่าทางและมีการแสดงออกมากจนเหมือนเล่นละคร อาจมีทีท่าชายหูชายตา เชิญชวนรวยจริตและยั่วยวน เป็นลักษณะที่แสดงออกมาเพื่อดึงดูดความสนใจ เหมือนจะเชิญชวนทอดสะพาน ให้เพศตรงข้าม 
2. โรคประสาทฮิสทีเรีย  
            แบบแรก เรียกว่า คอนเวอร์ชัน รีแอคชั่น (conversion reaction) คนที่เป็นเวลามีความเครียด กังวลใจ หรือเกิดความขัดแย้งในจิตใจมากๆ จะเกิดอาการผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหวหรือการรับรู้ เช่น เป็นอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง ชาที่แขนและขา พูดไม่มีเสียง พูดไม่ได้ ตามองไม่เห็น กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ซึ่งเป็นอาการที่ตรวจไม่พบความผิดปกติทางร่างกาย หรือทางระบบประสาทแต่อย่างใด 
            แบบที่สอง เรียกว่า ดีสโซซิเอทีฟ (dissociative type) เช่น สูญเสียความจำในบางเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจจนไม่ต้องการรับรู้ จำชื่อตัวเองไม่ได้ จำเวลา สถานที่ บุคคลไม่ได้ โดยไม่ได้เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง หรือมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิม 

5. Hoarding disorder

คนที่เป็นโรคประเภทนี้จะชอบเก็บสิ่งที่ทุกคนเรียกว่าเป็น”ขยะ” ไมม่ยอมนำไปทิ้งสักที เห็นว่าสิ่งของพวกนี้มีค่ามาก เก็บไปเรื่อยๆไม่มีอะไรพิเศษ เพราะคิดว่ามันจะต้องมีสักวันที่จำเป็นต้องใช้ (ซึ่งวันนั้นก็ไม่มาสักที) พวกนี้มักจะลงเอยด้วยการมีขยะเต็มบ้าน ตัวเองอาจไม่เดือดร้อน แต่เพื่อนบ้านสิต้องรับเคราะห์ด้วย

0
pinno_tea 3 ต.ค. 58 เวลา 15:45 น. 2

ต่อ (ขออภัย ยาวไปหน่อย)

6. PTSD (Post-traumatic stress disorder)

เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์รุนแรง เช่น อยู่ในเหตุการณ์วินาศกรรม จลาจล ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ เห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ฯลฯ หรือบางคนอาจจะไม่ได้ประสบด้วยตัวเอง แต่อาจได้ยินจากข่าวหรือได้ฟังคำบอกเล่ามาแล้วรู้สึกตื่นกลัวตามไปด้วย

แสดงอาการออกมาได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 

1. เหตุการณ์ตามมาหลอกหลอน (re-experiencing)

2. อาการตื่นตัวมากเกินไป (hyperarousal)

3. คอยหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเตือนให้นึกถึงเหตุการณ์ (avoidance) หรือมีอารมณ์เฉื่อยชา (emotional numbing)

7. Congenital analgesia
ภาวะไร้ความรู้สึกเจ็บปวด ผู้ป่วยจะไม่สามารถรู้สึกถึงความเจ็บปวดทางร่างกายได้ เช่น โดนแทง แขนขาหัก โดนน้ำร้อนลวก พวกเขาจะไม่รู้สึกอะไรเลย ซึ่งโรคนี้เป็นอันตรายมากสำหรับเด็กเล็กๆ เคยอ่านเจอมาว่ามีเด็กคนนึงขาหักมาสองวันยังไม่รู้ตัว สุดท้ายพ่อแม่เห็นแปลกๆเลยรีบพาไปโรงพยาบาล

8. Prosopagnosia
ภาวะเสียการระลึกรู้ใบหน้า (จำหน้าคนไม่ได้) ผู้ป่วยต้องอาศัยการจดจำอย่างอื่น เช่น เสียง ท่าเดิน เสื้อผ้า แทน

9. Persecutory delusion/Paranoia
โรคที่พบได้บ่อยสุดของอาการหลงผิด เรียกง่ายๆว่าโรคหวาดระแวง ผู้ป่วยจะระแวงว่าจะมีคนมาทำร้าย คิอว่ามีคนคอยสะกดรอยตามตลอดเวลา คิดในแง่ร้ายเสมอ เช่น สมมติว่าปกติเกิดอุบัติเหตุ คนทั่วไปก็มองเป็นแค่เรื่องบังเอิญ แต่คนเป็น paranoia จะคิดว่าเป็นการวางแผนเพื่อทำร้ายตัวเอง ประมาณนี้

10. OCD (Obsessive-compulsive disorder)
โรคย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยจะทำซ้ำๆ คิดวนเวียนแต่อะไรซ้ำๆ โรคนี้ต่างจากการเป็นคนรอบคอบหรือคิดมากนะ เพราะพวกเขาควบคุมความคิดของตัวเองไม่ได้ บางทีคิดไม่ดีกับพ่อแม่ หลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือคิดอะไรที่ไม่ถูกศีลธรรม โดยที่ไม่สามารถห้ามตัวเองได้ ที่เห็นบ่อยๆคือ คนที่คิดว่ามือสกปรกตลอดเวลา เลยล้างมือบ่อยมาก เรียกได้ว่าแทบทุกนาที 

++++++
นี่คือที่เคยรวบรวมหาข้อมูลไว้หลังจากการดูหนังหรือซีรีย์ คิดว่าน่าสนใจดีเลยเอามาแบ่งปันค่ะ 
0
รอยยิ้มสีเทา 25 ก.ค. 60 เวลา 18:32 น. 3

ข้อ8. Prosopagnosia

ภาวะเสียการระลึกรู้ใบหน้า (จำหน้าคนไม่ได้) ผู้ป่วยต้องอาศัยการจดจำอย่างอื่น เช่น เสียง ท่าเดิน เสื้อผ้า แทน

ใช่เลยยยย เราจำหน้าคนอื่นไม่ค่อยได้ถ้าจำได้จะต้องเป็นคนที่อยู่ด้วยกันซักเดือนสองเดือนถึงจะเริ่มจำหน้าได้ ส่วนใหญ่จำได้แต่ชื่อ รูปร่าง ทรงผม เสียง ท่าทาง เสื้อผ้าที่ใส่ นึกภาพคนๆนั้นออกแค่ทรงผม ส่วนใบหน้าว่างเปล่า คอเรื่อยลงมาถึงเท้า

รวมถึงมีอาการอื่นด้วย

เยอะแยะเลย!!!

1
Megan Ignacia 26 ก.ค. 60 เวลา 23:57 น. 3-1

โหหห เพิ่งเคยเจอคนที่มีอาการนี้นะคะเนี่ย ปกติเห็นแต่ในภาพยนตร์ 55

0