Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากเรียนคณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์!!!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
#Dek61

ตามหัวข้อกระทู้เลย อยากเรียน

มีเป้าหมายว่าอยากทำงานที่กรมอุตุหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์

แต่พอลองไปถามหลายๆคน แทบไม่มีใครสนับสนุนเลย ส่วนมากจะบอกเสียงเดียวกันว่าไปเรียนวิศวะดีกว่า เพราะเรื่องงานที่ทำหลังจบออกมา แต่เราไม่ชอบแนวการทำงานของวิศวะมากเท่าไหร่ไง

ก็ไม่อยากให้ครอบครัวเป็นห่วงนะ ที่บ้านก็พูดเหมือนกันว่าเรียนแล้วจบมาจะทำอะไร จะลำบากมั้ย

ถ้าเลือกเพราะความชอบอย่างเดียวจะไปรอดเหรอ??

จบมาจะทำอะไร??


ตอนนี้ค่อนข้างคิดหนัก เพราะถึงเวลาต้องเตรียมตัวแล้ว T__T และนอกจากคณะนี้ก็ยังไม่ได้คิดคณะสำรองเลยด้วย

ยังไงก็มีชี้แนะหรือแสดงความคิดเห็นกันได้นะ เป็นประโยชน์กับเราแล้วก็คนอื่นที่แวะผ่านมาดูกระทู้นี้ด้วย 5555

♥ขอบคุณค่ะ♥

Q1. เพียวฟิสิกส์กับฟิสิกส์ประยุกต์แตกต่างกันมากไหม ตั้งแต่การเรียน จนถึงสายการทำงาน
Q2. ใครมีวิธีการเตรียมตัวสอบเข้าคณะ ว่าต้องเน้นอะไร ตรงไหน แปะไว้ได้นะ ((:

 

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

BookReviewer 3 มี.ค. 59 เวลา 17:24 น. 1

ตอบ...... ก่อนอื่นให้นักเรียนเข้าไปอ่านที่นี่เลย http://www.vcharkarn.com/varticle/500113 แล้วจะรู้ว่าฟิสิกส์ดีกว่าที่คิด

ต่อมา ผู้เขียนจะพูดให้เข้าใจง่ายๆดังนี้ ฟิสิกส์สามารถทำงานในบริษัทน้ำมันได้ เช่น ปตท. ซึ่งเงินเดือนคงไม่ต้องพูดถึงมากอยู่แล้ว และนอกจากนี้ในปัจจุบัน ปตท.ให้ทุนนักศึกษาที่จบฟิสิกส์(วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์) เพื่อต่อ ป.โท ในด้านีท่เกี่ยวกับน้ำมัน เกี่ยวกับปิโตรเลียม พอจบมา ก็ได้ทำงานกับ ปตท. นั่นเอง ซึ่งการทำงานกับ ปตท. อย่างที่ทุกคนรู้ว่าไม่ได้สมัครกันง่ายๆ เพราะเงินเดือนสูง การแข่งขันก็สูงตามไปด้วย แต่หากเรียนฟิสิกส์โอกาสก็จะมากขึ้นนั่นเอง และนอกจากนี้ บ.น้ำมันหลายๆที่นอกจาก ปตท. ก็รับเด็กจบสายนี้

ดังนั้น ผู้จบสาขาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ สามารถ ทำงานได้ดังนี้
1. นักวิจัย อาจารย์มหาวิทยาลัย 
2.ครูสอนฟิสิกส์ (บางที่อาจใช้ กว. นักเรียนก็ไปดำเนินการเพื่อให้ได้ กว. มาตามข้อบังคับ ) หรือบางที่ก็ไม่ต้องใช้ กว. 
3.ทำงานใน บริษัทน้ำมัน หลายๆที่ ซึ่งเงินเดือนสูงมาก ดังนั้นคนจบฟิสิกส์ ไม่ได้ไม่ดี ขอบบอกว่าดีกว่าที่คิดด้วยยซ้ำ

0
BookReviewer 3 มี.ค. 59 เวลา 17:30 น. 2

สำหรับคนที่อยากรู้ทุนของ ปตท. ให้เข้าไปที่ http://www.pttplc.com/th/Career/Career-at-PTT/Pages/Career-at-PTT.aspx#Scholarship

หรือสามารถโทรสอบถามโดยตรง โดยเฉพาะคนจบฟิสิกส์สมัยนี้สามารถรับทุน ปตท. แล้วจบมาก็ทำงาน ปตท. เงินเดือนสูงก้าวหน้า อีกไกล ดังนั้น ฟิสิกส์ ไม่ได้แย่นะจะบอกให้ แค่ทุกคนอาจไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร จบมาทำอะไรแค่นั้เอง

0
BookReviewer 3 มี.ค. 59 เวลา 17:37 น. 3

การจะเข้าวิทยาศาตร์สาขาฟิสิกส์ ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับ การเข้าวิทยาศาสตร์ทุกสาขา คือใช้ 

1. GPAX 20 %
2. O-NET 30 %
3. GAT 10 %
4. PAT
4.1 PAT 1 10 %
4.2 PAT 2 30 %

เน้น O-NET กับ PAT 2 เพราะให้ค่าคะแนนถึง 30 % ทั้งคู่ พูดง่ายๆคือ ได้ O-NET เยอะ ได้ PAT2 เยอะ และได้เกรดดีๆ ก็พอมีลุ้นแล้ว เพราะหลายๆมหาวิทยาลัยก็เปิดสาขาฟิสิกส์ คะแนนมหาวิทยาลัยหลายๆที่จะไม่สูงหนัก 

แต่หากจะเข้ามหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ก็ควรได้คะแนนสูงพอสมควร นั่นเอง ส่วนเกณฑ์แต่ล่ะวิชา ก็ให้ค่าน้ำหนักเหมือนๆกัน ทุกๆมหาลัยจร้า...
1
BookReviewer 3 มี.ค. 59 เวลา 17:47 น. 3-1

สาขาฟิสิกส์ เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ดังนั้นวิชาที่เน้น ก็คือ O-NET กับ PAT 2 วิทยาศาสตร์นั่นเอง ส่วน GAT กับ PAT1 จะให้เกณฑ์แค่ 10% เท่านั้น

ดังนั้นก่อนจะสอบหรือเลือกคณะไหน นักเรียนควรเชคว่า คณะนั้นๆ ให้น้ำหนักของวิชาอะไรมากที่สุด เราจะได้อ่านหนังสือถูก เพราะเด็กบางคนอาจจะคิดว่า GAT ใช้เยอะ แต่จริงๆแล้วบางคณะใช้ GAT น้อยมากๆ

นักเรียนสามารถเชคค่าน้ำหนักได้จาก http://www.cuas.or.th/document/brochouradm59.pdf
เพื่อดูว่า ในแต่ล่ะสาขา หรือแต่ล่ะคณะ ที่เราจะสอบเข้านั้น ให้ค่าน้ำหนักของ O-NET GPAX GAT PAT มากน้อยขนาดไหน จะได้เตรียมตัวอ่านหนังสือถูก เพราะแต่ละคณะให้ค่าของแต่ล่ะวิชาไม่เหมือนกันนั่นเอง

แต่หากนักเรียนสังเกตดีๆ จะพบว่าเกือบทุกคณะให้ค่า O-NET ประมาณ 30 % ซึ่งถือว่ามากที่สุดเลยก็ว่าได้ ดังนั้นนักเรียนเกือบทุกคณะควรเน้น O-NET พอสมควร อนึ่ง O-NET สอบได้ครั้งเดียวไม่มีโอกาสแก้ตัว แต่ GAT PAT สอบได้หลายครั้ง แลชะค่าน้ำหนักก็ต่ำกว่า O-NET ด้วย

ดังนั้นอันดับแรก ควรเน้น O-NET มากที่สุด รองลงมาก็ PAT ที่จำเป็นของแต่ล่ะสาขา นั่นเอง

0
BookReviewer 3 มี.ค. 59 เวลา 18:08 น. 4-1

เห็นด้วยอย่างยิ่งเลย เข้าไม่ยาก แต่จบยาก ฟิสิกส์เรียนหนัก แต่จบมาก็มีงานแน่นอน ไม่ตกงานหรอก คณะที่จบยาก งานก็จะได้ดีๆเช่นกัน

0
BookReviewer 3 มี.ค. 59 เวลา 21:31 น. 4-3

ชีววิทยาก็ดีเหมือนกัน เดี๋ยวพรุ่งนี้จะมาต่อ 555 และบางทีอาจจะมีนักชีววิทยามาตอบคำถามแทนผู้เขียนแล้วก็ได้ แต่ถ้ายังไม่มีใครตอบ เดี๋ยวผู้เขียนจะมาตอบให้เอง

0
Leaderreader 4 มี.ค. 59 เวลา 10:31 น. 4-5

นี่เอกไบโอนะคะแต่สาขาสัตววิทยา จริงๆไบโอจบมาก็ทำงานได้ค่อนข้างกว้างมากๆ งานรองรับเยอะ ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากทำอะไรค่ะ ถ้าใจเราชอบก็ไม่ต้องกังวลน้าว่าจะไม่มีงาน แค่เรารู้ว่าเราชอบอะไร อยากไปทางไหน สู้ๆนะคะ !! ไบโอก็เรียนยากเหมือนกันนะจริงๆแล้ว //เราก็เคยลงสาขาฟิสิกส์ไว้เหมือนกัน อีกเสี้ยวของความฝัน 5555
เยี่ยม

0
BookReviewer 4 มี.ค. 59 เวลา 11:29 น. 4-6

มาตอบให้แล้ววจร้า....

ผูู้จบสาขาชีววิทยา

สามารถทำงานเป็นครู อาจารย์ และนักวิจัยในสถาบันภาครัฐ เช่น สวนพฤกษศาสตร์ กรมประมง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย ห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลต่างๆ องค์การเภสัชกรรม สถาบันวิจัยทางการแพทย์ สถาบันวิจัยทางสิ่งแวดล้อม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม เครื่องสำอาง อาหารและยา เป็นต้น

0
BookReviewer 4 มี.ค. 59 เวลา 11:30 น. 4-7

ขอบพระคุณสำหรับรุ่นพี่ไบโอ ที่มาให้คำตอบเช่นกัน ขอบพระคุณมากๆๆ ที่มาแชร์ความคิดเห็นดีๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับนักเรียนในอนาคต แน่นอน

0
safet 4 มี.ค. 59 เวลา 20:44 น. 4-8
รักเลยอร๊ายยยน่าหนุก จะตั้งใจเรียนนะฮับ เผื่อวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าบ้าง
0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

BookReviewer 3 มี.ค. 59 เวลา 21:27 น. 5-1

ขอบพระคุณมากๆๆ เยี่ยมเลย มาแชร์ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียนสุดๆๆ นักเรียนทุกคนดูตัวอย่างจากรุ่นพี่ the rope ได้เลย อันนั้นตัวจริงเสียงจริงมาเอง หลักฐานเพียบ ดังนั้นใครอยากเรียนฟิสิกส์คงได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น จากสาขาฟิสกส์ มาเอง

ส่วนจบไปทำไร ผู้เขียนได้เขียนไปแล้ว ส่วนคุณ the rope ก็มายืนยันเพิ่มอีกหลายๆอย่าง ก็คงจะครบถ้วนแล้วสำหรับกระทู้นี้ ขอบพระคุณสุดๆๆตั้งใจ

0
The Rope 3 มี.ค. 59 เวลา 21:34 น. 5-2

โรพก็ดีใจค่ะที่คุณบุ๊คBookReviewerช่วยกันหาข้อมูลให้น้องๆ กระทู้ที่จะบอกละเอียดแบบนี้หายากค่ะ เพราะโรพรู้สึกแค่ว่าตอนโรพเข้าไปเรียน โรพรู้แค่เปลือก ไม่รู้เลยว่าเรียนอะไร พอถึงเวลานี้โรพบอกได้โรพก็ต้องการจะบอก เพราะบางทีการที่เราไม่รู้อะไรคือการพลาดโอกาสสำคัญไปหลายอย่างเหมือนกัน

0
BookReviewer 3 มี.ค. 59 เวลา 21:39 น. 5-3

แน่นอนที่สุด การแชร์ความคิดดีๆ เรื่องๆดีๆ เป็นสิ่งที่ไม่ผิดอยุ่แล้ว ตรงไหนที่มีคนตอบมาผิด ผู้เขียนคิดว่า เราไม่ควรไปด่า เพราะทุกคนก็อยากแชร์ความคิด เพื่อประโยชน์ของน้องๆกันทั้งนั้น ตรงไหนที่คิดว่า มีคนตอบผิด ผู้รู้ก็เข้ามาช่วยกันอัพเดท ช่วยกันแก้ไขข้อมูล ให้ถูกมากยิ่งขึ้น มันจะเป็นการดีกว่า มานั่งจับผิด หรือคอยไล่ด่ากระทู้ผู้อื่น เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งที่ดี และเป็นประโยชนืแก่นักเรียนเลย

ผู้เขียนขอบคุณคุณ โรพอีกครั้ง ที่มาแชร์ความเห็นดีๆ บนกระทู้ของน้องๆ เพราะความเห็นหลายๆอย่างจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนไม่มากก็น้อย อย่างแน่นอน ขอบพระคุณมากจริงๆ

ที่ผู้เขียนตอบกระทู้ผู้อื่น ก้เพื่อสิ่งนี้ เพราะในบางครั้งเด็กๆอาจจะได้แนวคิดเพิ่มเติม และเพื่อนๆ รุ่นพี่ในบอร์ด เก่งๆอีกหลายคน ก็จะได้มาช่วยแชร์ข้อมูลดีๆ สุ่กันฟัง นั่นเป็นสิ่งที่ดีเสมอ

0
Assistคนเดิม 7 มี.ค. 59 เวลา 18:39 น. 5-4

แค่Derivedสมการฟิสิกส์ธรรมดาๆ มันพิเศษยังไงอะ เฮาะ?? อวยเข้าปะๆ

0
BookReviewer 7 มี.ค. 59 เวลา 20:35 น. 5-5

เลิกแล้วต่อกันเนอะ อะไรที่เป็นกระทู้ของผู้เขียน คุณ assist ก้ไม่ต้องไล่กระทู้เนอะ จบๆกันไป เพราะกระทู้ของคุณ assist ผู้เขียนก็ไม่ได้ไปยุ่งอะไรเลย ผู้เขียนไม่ได้ทำไรเลย แต่ถ้าคุณ assist ไม่ชอบ ก็ขอให้จบๆ ถ้าไม่ชอบกระทู้ของผู้เขียน คุณก้ไม่ต้องมาคอเม้น เลิกแล้วต่อกันเถอะ ๆๆ กระทู้ของคุณ assist ก็เขียนไป ผู้เขียนไม่ได้ไปยุ่งเลย ส่วนกระทู้ของผุ้เขียน ถือว่าผู้เขียนขอรอ้ง หากไม่ชอบก็ไม่ต้องยุ่งกัน จบกันนะ ไปแล้วขอให้ไปจริง แต่คุณ assist กลับมาตลอดเลย จบๆกันเถอะ

0
BookReviewer 4 มี.ค. 59 เวลา 11:34 น. 6

ส่วนสาขาอื่นๆ มาดูกัน ผู้เขียนหาข้อมูลมาให้ ดังนี้ ...

คณิตศาสตร์

           สามารถทำงานได้ทั้งหน่วยงานของราชการและเอกชน  โดยประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น ครู อาจารย์  ในสถาบันการศึกษา  นักวิจัย โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์วางแผนระบบงาน  เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ  นักการธนาคาร  นักคณิตศาสตร์  ประกันภัย เป็นต้น หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ

สถิติ

         สามารถประกอบได้หลังจากสำเร็จการศึกษา ประกอบอาชีพในองค์กรหรือหน่วยงาน   ทั้งภาครัฐ
และเอกชนดังนี้ นักวิชาการสถิติ นักสถิติ นักสถิติเศรษฐสังคม นักควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิต
เชิงอุตสาหกรรม นักการประกันภัย นักวิจัยในสาขาต่าง ๆ นักวิเคราะห์แผนและนโยบาย นักวิชาการศึกษา ครูคณิตศาสตร์และสถิติ และอาชีพอิสระอื่น ๆ 

เคมี 

        ปัจจุบันตลาดแรงงานเปิดกว้าง  ในส่วนราชการได้แก่ กรมทรัพยากรธรณี  กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กองทัพและกองพิสูจน์หลักฐาน  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ ภาคเอกชน 
เช่น โรงงานปิโตรเคมี  บริษัทน้ำมัน  สิ่งทอ  พลาสติก  ยาง ปูนซีเมนต์  เครื่องดื่ม  อาหาร  บริษัทเคมีภัณฑ์ หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ

ฟิสิกส์

         สามารถทำงานในส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงอุตสาหกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิต  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถาบันวิจัย ห้องวิจัยเอกชนและบริษัทต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ


วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์

         สามารถเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ผู้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์วิจัยวัสดุและเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC)  กรมศุลกากร สถาบันวิจัยยาง โรงพิมพ์ ธนาคารแห่งชาติ ส่วนเอกชนได้แก่ ผู้ดูแลการผลิตและควบคุมคุณภาพ
วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ โรงงานชิ้นส่วนรถยนต์และจักรยานยนต์ โรงงานผลิตถุงมือยางและลูกโป่ง โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก PVC PP PE โรงงานผลิตเส้นใยสังเคราะห์ โรงงานผลิตสีทาบ้าน หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ

วัสดุศาสตร์

         สามารถทำงานในหน่วยงานอุตสาหกรรมทุกหน่วยงาน อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือ โรงงานทำแก้ว โรงเหล็ก บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานเกี่ยวกับยางและ
พลาสติก ห้องวิจัยเอกชนและบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ เป็นต้น ในส่วนราชการ ได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ศูนย์วิจัยวัสดุและเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC) หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ

วิทยาการคอมพิวเตอร์ 

         สามารถทำงานเป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักวิชาการวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ โปรแกรมเมอร์ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ ผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ นักวิชาชีพในสถานประกอบการ
ที่มีการใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์ 

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

          นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ วิศวกรสารสนเทศ วิศวกรระบบคอมพิวเตอร์ 
วิศวกรด้านเทคนิค นักออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล ผู้บริหารฐานข้อมูล ผู้บริหารเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ และดูแลระบบคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ นักพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์และภาพเคลื่อนไหว อาจารย์ นักวิชาการ ประกอบธุรกิจส่วนตัว และอื่นๆ

ชีววิทยา

          สามารถทำงานเป็นครู อาจารย์ และนักวิจัยในสถาบันภาครัฐ เช่น สวนพฤกษศาสตร์  กรมประมง  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กรมอนามัย  ห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลต่างๆ  องค์การเภสัชกรรม  สถาบันวิจัยทางการแพทย์  สถาบันวิจัยทางสิ่งแวดล้อม  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม  เครื่องสำอาง อาหารและยา เป็นต้น 

จุลชีววิทยา

           สามารถประกอบอาชีพในภาคเอกชน เช่น อุตสาหกรรมอาหาร- เครื่องดื่ม  อุตสาหกรรมเกษตร  เภสัชกรรม เครื่องสำอางหรือในส่วนของการเกษตรและการจัดการสิ่งแวดล้อม  หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง 
เช่น หน่วยงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข โรงพยาบาล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครู อาจารย์ นักวิจัย ในสถาบันการศึกษาเป็นต้น หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระ 

เทคโนโลยีชีวภาพ

           เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสหศาสตร์ ผู้ที่เรียนศาสตร์นี้ จะมีความรู้หลายด้าน ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม
เกษตร การอาหาร ทางด้านการแพทย์ แต่เน้นไปทางด้านชีวโมเลกุล ซึ่งผู้ที่จบการศึกษาในสาขาวิชานี้ สามารถประกอบอาชีพทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ภาครัฐบาล ได้แก่ สถาบันวิจัยต่าง ๆ ที่วิเคราะห์
ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านชีววิทยาโมเลกุล ด้านจุลชีววิทยา ด้านการเกษตร  โรงพยาบาล 
มหาวิทยาลัย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในส่วนของภาคเอกชน ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร เภสัชกรรมซึ่งจะอยู่ในส่วนของฝ่ายวิเคราะห์ เป็นต้น 

เคมี-ชีววิทยา

             สามารถทำงานได้ทั้งหน่วยงานของราชการและเอกชน  เช่นนักวิทยาศาสตร์  ครู  อาจารย์  นักวิจัยในสถาบันภาครัฐ โรงงานปิโตรเคมี บริษัทน้ำมัน  ทำงานในห้องปฏิบัติการบริษัทเคมีภัณฑ์ สิ่งทอ  พลาสติก  ยาง ปูนซีเมนต์  เครื่องดื่ม อาหาร กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น หรือ สามารถประกอบอาชีพอิสระ

ที่มาข้อมูล: http://www.sc.psu.ac.th/regis/end.html

0
brownquartz 4 มี.ค. 59 เวลา 14:15 น. 7

ขอบคุณพี่ๆทุกคนที่เข้ามาตอบแสดงความคิดเห็นนะคะ ได้ความรู้มากๆเลย  

 ขอบคุณมากจริงๆค่ะ 

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น