Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สอบถามเรื่องการทำ Short Note ค่ะ T^T

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
*ขอคอมเม้นท์เยอะๆน้า*


คือ เรามีปัญหาเรื่องการทำ Short Note อย่างมาก ตรงที่เรื่องแรกเลย
.
เรื่องสีเมจิก
.
เรามีสีทุกสีแหละ แต่ปัญหาของเราคือ เวลาเราเขียนผังไรงี้ เราเขียนไปสีนึง แล้วก็กำลังหาสีมาทำกรอบ เหมือนพวก ผังก้อนเมฆงี้ คิดไม่ออกเลยว่าควรจะเอาสีอะไรมาใช้ร่วมกัน 
.
ยกตัวอย่างนะคะ เขียนสีชมพูเข้ม  เราควรจะเอาสีไรมาทำก้อนเมฆดี จะเอาสีใกล้เคียง กลัวจะไม่น่าจะใจ สีต่างกลัวมันจะทำให้ตาลาย ควรเอาสีเข้มกว่า หรืออ่อนกว่าดีคะ

เพราะเวลาเราอ่านเราเซนซิทีฟกับเรื่องสีมากๆ 5555555 ถ้าสีมากไปเราอ่านไม่เข้าหัวเลยยย (?) เกี่ยวรึเปล่า -- สำหรับหลายๆคนมันไร้สาระเนาะ แต่สำหรับเรา มันงานช้างเลย 

เรื่องต่อมา...

หลายๆคนมีวิธีการ Short Note ยังไงบ้างคะ วิธีที่จะทำให้เราจำง่ายๆอ่า เราเป็นคนจำยากมากๆ อย่างที่บอกไปในเรื่องเลือกสี เราเซนซิทีฟกับหลายๆอย่าง แล้วปัญหาคือเราหาแนวการจำ การทำ Short Note ของตัวเองไม่เจอออ -3- ส่วนมากมันจะเป็น Full Note ซะมากกว่า แบบ หนังสือมายังไง Note เราเป็นยังงั้นนเลย555555 ไม่ Short สักเท่าไหร่  

ใคร Short Note แบบพีคๆ เอามาบอกเราได้เหมือนกันนะ เผื่อเราสายพีค -///-
*ขอคอมเม้นท์เยอะๆน้า*

 

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

Maritian 15 มี.ค. 59 เวลา 18:32 น. 1

เราไม่เคยสนใจเรื่องสีเลยค่ะ หยิบจับอะไรได้ก็ใช้ แต่ถ้าวันไหนมีสติหน่อยจะพยายามเลือกสีที่อ่อนกว่ามาเป็นกรอบ สีเข้มกว่าเป็นตัวหนังสือค่ะ

วิธี short note ของเราก็คือเขียนให้มันห่างๆ กัน ตีกรอบเยอะๆ (คนละสีนะ) แล้วจำว่ากล่องไหนอยู่ตรงไหน จะทำให้จำเนื้อหาในกล่องติดหัวเข้าไปด้วย บางทีก็วาดรูปประกอบตัวเล็กๆ ไว้ เช่น กล่องนี้มีแมวอยู่หนึ่งตัว พอจะจำก็จำว่ากล่องแมวๆ อยู่ในห้องสอบก็จะนึก-แมวที่วาดไว้ได้ก่อน แล้วเนื้อหาจะตามมา ละก็ใช้พวกลูกศร เครื่องหมาย เยอะๆ อะค่ะ เอาให้เพื่อนยืมนี่ประหนึ่งเข้ารหัสไว้

2

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

Iris1929 15 มี.ค. 59 เวลา 18:58 น. 2

สวัสดีค่าาา
เรื่องสี จริงๆเราหยิบอะไรได้ก็ใช้เลย55555555 แต่ที่ชอบทำสุดคือ กรอบนึงเอาสีโทนเดียวกันมาใช้ แบบสมมุติว่าจะทำเป็นมายแมพ หัวข้อใหญ่สุดของเราจะเป็นสีดำ แล้วถ้าแตกย่อยไปอีก 3 หัวข้อ เราก็จะใช้ โทนชมพู โทนฟ้า โทนเขียว ไปอย่างละหัวข้อเลย
ถ้าในแต่ละหัวข้อยังมีย่อยอีก เราจะพยายามใช้สีของโทนนั้นๆ เวลาดูภาพรวมมันจะได้มองง่ายๆค่ะ
ส่วนเรื่องการทำช็อตโน้ต อาจจะเสียเวลาหน่อยน้า แต่อยากให้อ่านทำความเข้าใจไปก่อนรอบนึง แล้วจดประเด็นสำคัญไว้ในกระดาษอีกแผ่น ตรงนี้จดยังไงก็ได้ เอาให้เราเข้าใจ แล้วค่อยมาทำเป็นมายแมพน้าาา ช่วงแรกๆอาจจะยังไม่คล่อง แต่อยากให้ลองทำไปเรื่อยๆ เราก็ช่วยแนะนำได้เท่านี้แหละะ
ปอปลาลอลิง. อย่าคิดว่าตัวเองทำไม่ได้นะ แบบนั้นมันจะทำให้หมดกำลังใจ ไม่อยากสู้ต่อ เราอยากให้เธอลองคิดว่าตัวเองทำได้ ทำได้จริงหรือไม่จริง ไม่รู้ แต่คิดว่าทำได้ไว้ก่อน ถ้ามีความมั่นใจอะไรๆมันก็ดีขึ้นแล้วล่ะ :)

2
Iris1929 15 มี.ค. 59 เวลา 18:59 น. 2-1

ขอโทษนะ555555 ยาวไปหน่อย เราพิมพ์ในโทรศัพท์ เลยจัดข้อความไม่ค่อยถนัด อ่านยากหน่อยนะ5555555

0
ผีเสื้อน้ำแข็ง[Ice Butterfly] 15 มี.ค. 59 เวลา 19:26 น. 3

แล้วแต่ที่ท่านสบายใจเลยค่ะ//โดนตบผัวะ! อันที่จริงเราไม่จริงจังนะ แต่ปกติเราจะใช้สีโทนอ่อนกว่า(รู้สึกว่ามาตั้งผิดหมวดรึเปล่า? หรือเราคิดมากไปเอง)

1
Nann mie 15 มี.ค. 59 เวลา 19:41 น. 3-1

ใช่ๆ เราก็ว่าเราตั้งผิดหมวดด เราควรกลับไปหมวดไหนบอกเราที555555 //ขอบคุณค่าเยี่ยม

0
meijiong 15 มี.ค. 59 เวลา 21:26 น. 4

เห่นโหล่วววว นูน่าา 
อยากมีสีเยอะเอง เลยใช้ไม่ถูกไง55555
จีริชอยากแนะนำให้คุมโทนค่ะ ตัวนส.สีฟ้า กรอบสีน้ำเงินงี้ ตัวนส.เขียวอ่อน กรอบก็เขียวเข้มซะ!!
//วิ่งไปหลบหลังเสา
วิธีการทำช็อตโน้ตนะคะ ก็คือ.....
ทำไปเถอะค่ะ.....//ผัวะ!
ย้อเย่น555555  สรุปไง555555555 พูดเหมือนง่ายมาก แต่ทำจริงๆยาก5555555 เอาเป็นว่าแนะนำได้เท่านี้ มีปัญหาอะไรเพิ่มเติม ทักมาคุยได้เสมอขร่าาา //จบ

4
meijiong 15 มี.ค. 59 เวลา 21:32 น. 4-2

โหดรั่ยยยยย จีริชอุตส่าห์มาช่วยแนะนำ55555555555555
ฮือฮือ

0
Green Tree 15 มี.ค. 59 เวลา 23:24 น. 5

เราเคยเป็นเหมือนกันจากshort note กลายเป็น full note วิธีแก้ก็คือ  เราจะพยายามอ่านเนื้อหาที่ต้องการจะ short note ให้เข้าใจก่อน  แล้วต่อมาก็เขียนสรุปทุกอย่างที่อยู่ในหัวลงไป  บางทีอาจจะมีเปิดหนังสือประกอบเล็กน้อยเพื่อให้เขียนได้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น

ส่วนเรื่องสี... ตั้งแต่short note มา ใช้อยู่สามอย่างปากกาแดง น้ำเงิน  ดินสอ...  เราเป็นพวกขี้เกียจหยิบสีสลับไปมา  รู้สึกรำคาญ  มีบางทีที่เนื้อหาเยอะอาจจะเอาปากกาไฮไลท์มาขีดหัวข้อหน่อย  ให้มันเด่นๆ  ส่วนสีมันก็มีความสำคัญของมันนะ  อย่างของเราก็จะกำหนดให้สีน้ำเงินคือเนื้อหารวมๆ  การอธิบายอะไรต่างๆ(งงไหม ฮ่าๆ)  สีแดงคือส่วนที่จะเน้นเป็นพิเศษ  สำคัญ ส่วนดินสอจะเป็นพวกความรู้เสริม  กับขยายความสีน้ำเงิน  

เราทำแบบนี้แล้วจำได้  แต่มันก็แล้วแต่คนนะ  ลองเอาไว้พิจารณาดู

1
Nann mie 16 มี.ค. 59 เวลา 00:50 น. 5-1

อ๋อออ แบบนี้เราทำให้ในห้องเรียนนน ละก้อดีนะ เข้าใจที่ทำ แต่ไม่ได้เรียนเลออว์ -3- 5555 ขอบคุณน้าค้ารักเลย

0
Ginkgochan 15 มี.ค. 59 เวลา 23:51 น. 6

หยิบสีไหนก็ใช้ๆไปเถอะค่ะเดี๋ยวมันก็สวยเอง ที่สำคัญต้องทำความเข้าใจกับมันและหมั่นทบทวนสม่ำเสมอ
ถ้าทำไปแล้วไม่ได้อ่านก็ไม่ได้ช่วยอะไรนะ ^ ^

1
chirimoya 16 มี.ค. 59 เวลา 02:01 น. 7

เรื่องสีเราคงตอบจขกท.ไม่ได้เพราะเราตกศิลปะ และไม่เคยใช้เยอะขนาดนั้น มากที่สุดที่เคยใช้คือประมาณห้าสี ไม่นับดินสอตอนทำโน้ตย่อญี่ปุ่น


ปกติเราใช้แค่ปากกาน้ำเงิน แดง แล้วก็ดินสอค่ะ สีเยอะมากเกินไปมันดึงสายตากับสมาธิไปที่สีมากกว่าเนื้อหาค่ะ

สีน้ำเงินใช้เขียนหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย เช่น สมมติวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป

สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่14

- การเมือง

- เศรษฐกิจ

- สังคม


สีแดง ใช้เน้นคีย์เวิร์ดที่สำคัญมากๆ คือพอคิดถึงคำนี้ปุ๊บรายละเอียดมันจะตามออกมาเลยน่ะค่ะ ถ้าสำคัญสุดๆ ห้ามลืมเด็ดขาดอาจใช้ขนาดตัวอักษรโตๆ ล้อมกรอบ หรือเขียนดอกจันไว้

ดินสอ ใช้เขียนเนื้อหาในหัวข้อต่างๆ (มันลบง่ายดีค่ะเผื่อเราเขียนผิดจะได้ไม่ต้องขีดฆ่าทิ้งเหมือนเวลาเขียนด้วยปากกาหรือใช้ลิควิดลบก็ต้องรอมันแห้งอีก เสียเวลา)

เราไม่เคยเรียน mind map เวลาเราจะทำโน้ตย่อเราจะอ่านทวนเนื้อหาทั้งหมดก่อนรอบสองรอบแล้วแต่เวลาจะอำนวยให้เห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน ถ้าเราเข้าใจภาพรวมทั้งหมดแล้วเราก็จะเข้าใจมากขึ้นว่าในแต่ละหัวข้ออะไรคือสาระสำคัญ อะไรที่ไม่ใช่ที่เราสามารถตัดทอนออกไปได้


ปล. ส่วนตัวแล้วเราว่าการเปลี่ยนปากกาเวลาจดโน้ตย่อนั้นเสียเวลามาก เขียนๆไปต้องมาเปลี่ยนสีปากกา กว่าจะถอดปลอก เขียนเสร็จ ปิดปลอก เอื้อมไปหยิบอีกแท่ง... วิชานึงต้องเปลี่ยนปากกาไม่รู้กี่รอบ //กรูจะอ่านไม่ทันแหล่ววววว

0
Z.WA 19 มี.ค. 59 เวลา 08:47 น. 8

ใช่ครับ ถ้าสีมากไปมันจะทำให้น้องมึน
เพราะว่าเราใช้ Text color มากไป แบบนี้



การย้ำเยอะๆโดยใช้สีเยอะๆ กลายเป็นการที่สมองต้องจำแนกข้อมูลเพิ่มมากขึ้น
แทนที่มันจะแยกออกได้เป็นกลุ่มเดียว หรือสอง-สามกลุ่ม
มันกลับต้องแยกมากขึ้น จำมากขึ้น ทำให้สุดท้ายคือลืม


เพราะปกติสมองจำได้ข้อมูลมากๆไม่ได้เยอะ
ส่วนมากมันจำเป็นภาพ มากกว่าข้อความหรือเลข
จะเห็นได้ว่า จำหน้าคนได้ แต่จำชื่อไม่ได้
ส่วนมากเขาถึงให้จดกัน เพื่อเป็นการ Sharing ข้อมูลบันทึกในส่วนอื่น
เมื่อบันทึกในส่วนอื่น สมองจะมีพื้นที่การจดจำมากขึ้น
ทำให้มันสามารถรับอะไรเข้ามาได้อีก

แต่สุดท้ายมันก็จะลืมอยู่ดี (อย่างที่เห็นว่าพอสอบจบ ส่วนมากจะลืมกันหมด)




------ ยกตัวอย่างการจดจำ ----------

mmmmmmmmmmmmnmm
mmnmmmmmmmmnmmm
mmmmmmmnmmmmmmm
mmmmmmmmmmmmmmm



mmmmmmmmmmmmnmm
mmnmmmmmmmmnmmm
mmmmmmmnmmmmmmm
mmmmmmmmmmmmmmm


เวลาพี่ไปสอบ บางครั้งพี่ดึงข้อมูลความจำแบบภาพมา
คือดึงมาทั้งหน้ากระดาษ (มันจะจำเลือนๆแหละไม่ได้หมด)
แต่พี่จะรู้ว่า เออ คำตอบมันอยู่ในหน้านี้นะ มันอยู่แถบๆนี้
แล้วพยายามดึงว่าข้อมูลมันเขียนว่าอะไร
ลองฝึกแบบนี้ดู ใช้ได้ดีและเร็วเวลาทำข้อสอบ
(พี่เลยดูเหมือนพวกงึมงำๆ พึ่งไสยศาสตย์เวลาสอบ 555)

ใช้จินตนาการไง
เหมือนที่ไอสไตน์คิดเรื่องสูตรหรือทฤษฏี
เขาก็ใช้ภาพเหมือนกัน เพราะสมัยนั้นการจะทดลองเลย
มันก็ยากเอาการ แถมใช้งบสูง บวกกับวิทยาการไม่ล้ำสมัย

แต่ความจริงแทบไม่ต้องจำเลย
ถ้าเราเข้าใจ มันจะเชื่อมโยงกันเอง
เช่นถ้าพี่เล่าว่า

พี่เดินไปที่ตลาด อยู่ๆก็มีน้องคนหนึ่งเล่นลูกแก้วอยู่ พี่ไม่ทันเห็นเลยเหยียบลูกแก้ว พี่ก็ลื่นล้มหัวฝาดพื้น

สรุปเป็น



แต่คนเรามีวิธีการของตัวเอง
บางอย่างก็ใช้ด้วยกันไม่ได้
แต่พี่แค่ลองแชร์ความคิดพี่ดู ^^
ความจริงแล้วก็มีอีกหลายวิธี เพราะคนเรามีทัศนคติความคิดไม่เหมือนกัน
วิธีการจำก็ย่อมแตกต่างกันไป
ลองดูจากหลายๆคนแล้วปรับใช้ หรือดูว่าอันไหนเข้ากับเราดีกว่า :)
สุดท้ายยังไงทุกคนก็มีความเป็นตัวของตัวเองเสมอครับ

0