Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

10 เครื่องเขียน ที่เด็ก(อยากเรียน)ถาปัตต้องรู้จักพร้อมราคาเบื้องต้น

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีครับบบบ น้องๆเด็กดี มาพบกับพี่อีกแล้ว ใครยังไม่รู้จักพี่ขอแนะนำตัวก่อนนะคร้าบ
พี่ชื่อพี่วิน อยู่สถาปัต ปี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนกระทู้ต่างๆเกี่ยวกับคณะสถาปัตย์ต่างๆมาแล้วหลายกระทู้ ลองเลือกอ่านกันได้นะครับ พี่รวบรวมมาให้น้องๆทุกคนหมดแล้นนนน!
- 10 สิ่งที่ควรรู้ก่อนจีบเด็กถาปัต
http://www.dek-d.com/board/view/3600737/
- ประสบการณ์ เมื่อเกือบได้ F เพราะส่งงานช้า
http://www.dek-d.com/board/view/3606520/
- 10 สไตล์การเรียนแปลกๆของเด็กถาปัต
http://www.dek-d.com/board/view/3614175/
- เจาะลึก ‘เด็กถาปัต เค้าเรียนอะไรกัน’ กับ 3 ผลงานที่พี่ภูมิใจ
http://www.dek-d.com/board/view/3603349/
- 5 สิ่งที่เด็กม.ปลายเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถาปัตย์ + วิธีการฝึก PAT4 เบื้องต้น http://www.dek-d.com/board/view/3608915/
- เจาะลึก 6 กลุ่มวิชาสุดโหดในสถาปัตย์
http://www.dek-d.com/board/view/3618418/
- จบถาปัตไปทำอะไรได้บ้าง?
http://www.dek-d.com/board/view/3625493/


ลองไปติดตามกันได้ จะได้ทันเพื่อนๆกันนะ
มา... เข้าเรื่องกัน!
สำหรับน้องๆที่อยากเรียนสถาปัตย์ หรือจะเป็นน้องๆม.6 คนที่สอบติดรับตรงแล้ว
(ยินดีด้วยนะคร้าบบบบ! เจอกันตอนรับน้องเย้) แน่นอนนอกจากวิชาความรู้ที่เตรียมตัวอ่านกันมามากมายก่อนสอบ มีอีกเรื่องนึงที่น้องๆทุกคนจะต้องเตรียมตัว



นั่นก็คือ เครื่องเขียนสำหรับสถาปนิกครับ! เอ๊ะ น้องๆบางคนอาจจะงง ว่าทำไมถึงต้องมีการเตรียมตัวเกี่ยวกับเครื่องเขียน พี่จะบอกเลยนะครับว่า เครื่องเขียนที่น้องๆรู้จักในตอนม.ปลายที่ใช้ทำข้อสอบจนผ่านมาได้แล้วเนี่ย มันยังธรรมดาเกินไปสำหรับการเรียนสถาปัตย์นัก สิ่งที่เราต้องทำตอนเรียนนั้นมันค่อนข้างซับซ้อนและยาก ภาษาสถาปัตย์เรียกว่า
‘การเขียนแบบ’ จึงมีเครื่องเขียนมากมายที่มาคอยรองรับลักษณะการเขียนแบบของสถาปนิก เราไปดูกันดีกว่าว่ามันมีอะไรบ้าง มาครับ พี่จะแนะนำน้องๆไปพร้อมๆกัน :)


1. โต๊ะดราฟ(ไฟ)

http://www.sinkardd.com/id-50be65fb9ce62e5009000fc2.html
โต๊ะดราฟคือโต๊ะที่มีเอาไว้รองกระดาษแบบครับ ปกติจะมีขนาดใหญ่มากเพราะการเขียนแบบต้องใช้พื้นที่ทำงานเยอะ ตัวโต๊ะจะสามารถปรับระดับได้หลากหลายเพื่อตอบสนององศาการทำงานที่ไม่เหมือนกัน มีอุปกรณ์ติดคือไม้บรรทัดขนาดยาวเท่าความกว้างโต๊ะ เอาไว้วางไม้สามเหลี่ยมสำหรับสร้างเส้นตั้งฉาก โดยโต๊ะดราฟภายในจะมีไฟนีออนสีขาวเป็นฉากหลัง สามารถเปิดไฟได้ เอาไว้ลอกแบบ โดยปกติจะใช้เทปนิตโต้ติดแบบเอาไว้กับโต๊ะ ส่วนกระดาษที่ใช้จะเป็นกระดาษพิเศษ ที่เรียกว่า กระดาษร่าง ซึ่งจะแนะนำต่อไป

ราคาประมาณ 3000-5000 บาทและแต่คุณภาพครับ


2. เทปนิตโต้


http://thaitechno.net/t1/productdetails.php?id=54212&uid=38708

มันคือเทปมหัศจรรย์พรรค์ลึกมากครับ 555+ พี่ชอบมาก มันมีคุณสมบัติคือสามารถติดแล้วติดใหม่ได้ ใช้ได้ไม่จำกัดครั้ง เอาไว้ติดกระดาษบนโต๊ะดราฟ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียวครับ

ราคา 10-20 บาท


3. กระดาษร่าง(กระดาษไข)


http://www.xn--l3cb3a7br5b7a4el.com/image_products_main/102.jpg


มันคือกระดาษที่โปร่งแสง ที่พวกเราจะใช้ลอกแบบและเพื่อใช้ลอกลายโครงร่างของอาคารครับ เนื่องจากเวลาเราออกแบบอาคารใดใดก็ตาม เราจำเป็นต้องคิดเป็นสามมิติ บางทีเราจึงจำเป็นต้องใช้โครงร่างของแผ่นด้านล่างที่ทำเสร็จแล้ว ในการเขียนแบบชั้นต่อไป ซึ่งโต๊ะดราฟจะมาช่วยพวกเราครับ เนื่องจากมันมีไฟอยู่ด้านหลังตามที่บอกมาแล้ว จึงทำให้เราสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้นครับ

ราคา ขายเป็นแผ่นแล้วแต่ขนาด :) ไม่แพงครับไม่เกิน 10 บาทต่อหน่วย


4. ไม้สามเหลี่ยม

http://www.boatbook.co.th/2013/


ชื่อตรงตัวเลยครับ คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะสามเหลี่ยม มีเอาไว้ทำเส้นตั้งฉากหรือมุมต่างๆตามแต่ต้องการ เอาไว้วางบนไม้บรรทัดบนโต๊ะดราฟ เพื่อสร้างเส้นตั้งฉากในแบบครับ

ราคา ประมาณ 200-500 บาท ถ้ายิ่งปรับมุมได้และต้องการความแม่นยำจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก


5. ไม้สเกล 

http://www.boatbook.co.th/2013/

คือไม้บรรทัดที่เอาไว้เทียบสเกลครับ คำว่าสเกลในแบบหมายถึงมาตราส่วนเทียบระหว่างของจริงกับสิ่งที่อยู่ในแบบ เปรียบเสมือนหน่วยมาตรฐานในการกำหนดขนาดของแบบ ส่วนใหญ้จะมี สามด้าน ทั้งหมดมี หกสเกล ยกตัวอย่างสเกลง่ายๆเช่น สเกล 1:75 คือ 1 ซม. ที่เห็นในแบบ เท่ากับ 75 ซม. ในอาคารจริงครับ

ราคา 100-200 บาท


6. ดินสอดราฟ

http://www.hhkint.com/home.php?page=product&bid=25&gid=97&pid=t203

เป็นดินสอลักษณะพิเศษที่มีไส้หลากหลายแบบ โดยลักษณะของไส้จะหนากว่าดินสอกดทั่วไป เนื่องจากเส้นแบบที่ต้องเขียนมีลักษณะความหนาที่ไม่เท่ากัน ทำให้จำเป็นต้องใช้ไส้ดินสอกับตัวหัวดินสอที่หนาและแข็งแรงครับ
ราคา 200-400 บาท แล้วแต่คุณภาพ


7. ที่เหลาดินสอดราฟ


http://www.smartplus.com/Staedtler/Staedtler-502-Lead-2.0-Leadholder-Sharpener/description.php

สิ่งที่คือสิ่งที่แปลกและแอดวานซ์มากครับน้องๆ มันคือเหลากบที่เอาไว้เหลาไส้ดินสอดราฟ ลักษณะจะเป็นรู เอาไว้ไส้ไส้ดินสอลงไป แล้วเราต้องการจับด้ามดินสอให้มั่น แล้วหมุนด้วยความเมามัน หลังจากนั้นเราจะได้ปลายดินสอที่แหลมคมพร้อมเขียนแบบจ้า
ราคา 150-250 บาท แล้วแต่ยี่ห้อ


8. แผ่นเทมเพลต

http://nuxanime.exteen.com/tag/drawing

คือแผ่นแบบพลาสติก เอาไว้ประหยัดเวลาในการเขียนรูปทรงเรขาคณิตครับ เนื่องจากในการเรียนเราจะมีสัญลักษณ์มากมายที่ต้องมีความสวยงามและเนี๊ยบ และลำพังด้วยมือของเราก็จะไม่สามารถทำได้ขนาดนั้น เราจึงจำเป็นต้องมีแบบพลาสติกช่วย เพื่อทำให้เราสามารถเขียนสัญลักษณ์ได้สวยงาม เหมาะสมกับความเป็นสถาปนิกได้ เราต้องเนี๊ยบนะครับท่องไว้ เราต้องเนี๊ยบ555+

ราคา 100-150 บาท


9. ยางลบไฟฟ้า


http://th.aliexpress.com/promotion/promotion_electric-eraser-refill-promotion.html

อันนี้พี่ว่าทุกคนคงพอจะรู้จักนะครับ เนื่องจากการเขียนแบบมันเต็มไปด้วยเส้นเยอะแยะมากมาย ย่อมสามารถเกิดการเขียนผิดได้ แต่กาจะใช้ยางลบขนาดใหญ่มากลบ มันจะหายไปเป็นปื้ดเลยครับ ซึ่งเราก็คงไม่อยากเขียนทุกอย่างใหม่ ยางลบไฟฟ้าจึงจำเป็นในการแก้ไขงานอย่างมีประสิทธิภาพ เอาไว้ลบแบบบางส่วนที่เขียนผิดกันนะครับ

ราคา 60 บาทที่ไดโซะ55 หรือถ้าร้านทั่วไปราว 200-300 บาท


10. ไม้ปัดขี้ยางลบ

http://www.aliexpress.com/item-img/STAEDTLER-100-horse-hair-dusting-brush-for-drafting-and-architectural-layouts-drawing-powerders/32236939966.html

พอมียางลบ ก็ย่อมมีขี้ยางลบ อันนี้เข้าใจง่าย คืออุปกรณ์ที่ช่วยปัดกวาดความรกของโต๊ะดราฟทั้งหมด ซึ่งจำเป็นต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อยหลังจากเขียนแบบเสร็จ โดยเวลาเสร็จแล้วเราจำเป็นต้องจัดการกับคราบมันโดยการใช้น้ำมันรอนสันราด แล้วใช้ผ้าธรรมดาเช็ด เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ พร้อมเขียนแบบต่อได้เล้ยยยย
ราคา 100-200 บาทแล้วแต่วัสดุ


หมดแล้วครับอุปกรณ์ที่น้องๆควรจะรู้เพื่อเตรียมตัวในการเรียนสถาปัต

ที่พี่เลือกมา 10 อย่างเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อน้องๆทุกคนนะครับ
แต่มีอยู่อย่างนึงที่น้องๆต้องพึงระวัง หากได้เข้ามาเรียนในคณะแล้ว ห้ามทิ้งเครื่องเขียนดังกล่าวเอาไว้สุ่มสี่สุ่มห้านะครับ เพราะจะโดนจิ๊กไปโดยไม่ทันรู้ตัว ไม่ใช่โจรที่ไหนหรอกนะครับ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆเราเองนี่แหละ555+



สำหรับใครที่มีปัญหาหรืออยากสอบถามวิธีการใช้/ ต้องการสอบถามเกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนถาปัต สามารถแอดพี่มาได้นะครับ พี่จะคอยตอบอยู่เรื่อยๆ แต่อาจตอบช้าหน่อย555+ เพราะหลังๆน้องๆถามกันมาเยอะมากเลยครัช ติดตามกันได้คราวหน้านะครับ ไปละบัยย์ ไปปั่นโปรเจกต์ต่อ!!!
Facebook : Kavin Cherdchanyapong
Facebook Page : https://www.facebook.com/TohDraftStudio/
Line : Kavin.cherd
IG : Winnerc

แสดงความคิดเห็น

>

17 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

BaekOne 6 เม.ย. 59 เวลา 02:37 น. 3-1

ออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ประมาณนี้แหละค่ะ ^^ อุปกรณ์ที่พี่เค้าบอกเป็นอุปกรณ์พื้นฐานของวิชาเขียนแบบ แต่เขียนแบบ product กับเขียนแบบถาปัตย์ก็ไม่เหมือนกันนะคะ 5555 ถ้าเป็นเขียนแบบมือ จะใช้พวกเพลตซ่ะเยอะ ^^

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

sanooker1526 6 เม.ย. 59 เวลา 12:30 น. 8

แล้วห้องของพวกคุณจะมีแต่เศษกระดาษเต็มไปหมด5555
#จากประสบการณ์ของตัวเองรกมาก5555

0
ฉันเอง 6 เม.ย. 59 เวลา 13:47 น. 9

นิตโต้แนะนำให้ซื้อร้านขายวัสดุก่อสร้างค่ะ จะราคา20บาท ถูกที่สุดแล้วค่ะตั้งแต่ซื้อมา

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

pimp 14 เม.ย. 59 เวลา 00:55 น. 13

แล้วพวกสี ล่ะครับ จำเป็นไหม สีโคปิด หรือ สีไม้ไรอย่างงี้อ่ะครับ จำเป็นต้องมีหรือป่าว

1
นุงัย 15 เม.ย. 59 เวลา 20:25 น. 13-1

แทบไม่ได้ใช้ อันนั้นเป็นดีเทลของงานมากกว่า ไม่ได้ใช้เขียนแบบหลัก ๆ จ้า พวกสีจะใช้ทำเพลตพรีเซนต์งานมากกว่า

0