Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ขัดขวางปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เขียน โดย กรีนพีซ

คุณอาจจะคิดว่า “มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (ISSF)” กำลังทำงานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทร แต่แท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรมากไปกว่าการเป็นฉากหน้าให้กับเหล่าอุตสาหกรรมปลาทูน่าซึ่งยังกอบโกยสร้างผลกำไรจากการทำลายล้างสิ่งมีชีวิตในทะเลและระบบนิเวศของมหาสมุทรโลก และเอารัดเอาเปรียบแรงงานโดยเฉพาะแรงงานบนเรือประมง

อุตสาหกรรมทูน่ากำลังเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างรวดเร็ว บริษัทที่มีความก้าวหน้า ในตลาดปลาทูน่าหลักๆ ของโลกได้ตอบสนองข้อเรียกร้องว่าการประมงปลาทูน่าจะต้องไม่ทำลายมหาสมุทรและไม่กดขี่ขูดรีดแรงงาน แต่ถึงแม้ว่าจะมีความคืบหน้า แต่บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังคงหาวิธีการในการทำงานแบบเดิมโดยไม่แยแสต่อข้อห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงานของผู้บริโภค

แล้วทำไมบริษัทเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เข้ามาร่วมกับมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (ISSF)?

อุตสาหกรรมปลาทูน่ายักษ์ใหญ่ก่อตั้งและสนับสนุนเงินทุนให้กับมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล(ISSF)

ตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่กรีนพีซและองค์กรสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทำงานรณรงค์ท้าทายให้อุตสาหกรรมปลาทูน่าทำการเปลี่ยนแปลงวิธีการประมงแบบทำลายล้าง โดยสมาชิกทั้ง 8 ผู้ร่วมก่อตั้ง ISFF ล้วนเป็นบริษัทปลาทูน่ายักษ์ใหญ่ของโลกและขณะนั้นเป็นผู้ควบคุมตลาดปลาทูน่ากระป๋องกว่าครึ่งหนึ่งของโลก เงินสนับสนุนมากกว่า 300,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อก่อตั้งมูลนิธิได้มาจากบริษัท ไทยยูเนี่ยน และชิ้คเก็นออฟเดอะซี และมีอีกสองสามบริษัท เช่น บัมเบิลบี ที่สนับสนุนเงินราว 250,000 เหรียญสหรัฐในปี  2555 และยังมีผู้ผลิตอุปกรณ์ประมงของประเทศสเปนที่ผลิตทุ่นติดตามที่ใช้กับอุปกรณ์ล่อปลาที่เรียกว่า Fish Aggregating Devices (FADs) ก็ร่วมเป็นผู้สนับสนุน

การใช้เครื่องมือประมงทำลายล้างอย่าง FADs ร่วมกับอวนล้อมจับนั้นยังไร้กฏหมายควบคุมที่มีประสิทธิภาพดีพอ  จึงเป็นอุปสรรคหลักของการปกป้องมหาสมุทรเนื่องจากอุตสาหกรรมปลาทูน่ายังคงสามารถใช้ช่องว่างนี้ทำลายสิ่งแวดล้อมต่อไป  ซึ่ง ISSF ก็ได้ใช้ช่องว่างนี้ปฏิเสธที่จะควบคุมการใช้อุปกรณ์ล่อปลา FADs  แต่กลับใช้คำเรียกสร้างภาพ “ECO—FADs” หรืออุปกรณ์ล่อปลาที่อ้างว่าแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นไร้ผลและสร้างผลกระทบเช่นกัน จึงแสดงให้เห็นว่า ISSF ยอมก้มหัวให้กับอุตสาหกรรมทูน่ามากกว่าที่จะยอมทำงานเพื่อหาทางออกที่แท้จริงจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม  และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ISSF เชื่อมโยงอยู่กับสมาคมค้าอาหารทะเล

ความเชื่อมโยงระหว่าง ISSF กับสถาบันประมงแห่งชาติ สถาบันประมงแห่งชาติมีบทบาทในการตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมประมง มีการจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ชื่อ Counterpoint Strategies ที่เคยทำงานให้กับสมาพันธ์ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารพิษอันตรายที่ใช้ในการฆ่าเชื้อหรือดองศพ) ในสหรัฐอเมริกา และกลุ่มผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมน้ำมันในช่วงการระเบิดของแท่นขุดเจาะน้ำมันดีพวอเตอร์ฮอไรซัน (Deepwater Horizon blowout) ในอ่าวเม็กซิโก  เมื่อปี 2553-2556   สถาบันประมงแห่งชาติได้จ่ายเงินจ้าง Counterpoint Strategies มากกว่าครึ่งล้านเหรียญสหรัฐ และในประวัติการทำงานของอดีตรองผู้อำนวยการ Counterpoint Strategies ได้เขียนไว้ว่า เธอเคย “ทำงานอย่างใกล้ชิดกับระดับผู้บริหารของแบรนด์ทูน่า 3 ลำดับต้นของโลกเพื่อปกป้องผลประโยชน์จากการประท้วงของนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อม”(National Fisheries Institute: NFI)ในสหรัฐอเมริกา  เป็นเรื่องที่น่าติดตาม สถาบันประมงแห่งชาติได้วิจารณ์กลุ่มคนที่ตั้งคำถามต่ออุตสาหกรรมประมงอย่างดุเดือด ประธานของสถาบันประมงแห่งชาติคนปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลเงินของ ISSF ส่วนประธานคนปัจจุบันของ ISSF เคยเป็นผู้อำนวยการของสถาบันประมงแห่งชาติ  ความเชื่อมโยงนี้มีความสำคัญเพราะจุดยืนของสถาบันประมงแห่งชาติคือสนับสนุนสถานะที่เป็นอยู่ของอุตสาหกรรมประมงอย่างเต็มที่  สถาบันประมงแห่งชาติ และบริษัทที่เป็นสมาชิกของ ISSF บางแห่งได้เป็นผู้สนับสนุน “ทูน่าฟอร์ทูมอโร่ TunaForTomorrow” ที่ทำสื่อประชาสัมพันธ์โจมตีกรีนพีซว่าข้อมูลไม่ถูกต้องและมักจะโจมตีบุคคลากรของกรีนพีซ

ดังนั้น เราจะเชื่อ ISSF ในการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างไรในขณะที่ ISSF มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสมาคมการค้าอย่างสถาบันประมงแห่งชาติที่จ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ที่คอยปกป้องพฤติกรรมทำลายล้างและตักตวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางทะเลของอุตสาหกรรมประมง

มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล(ISSF) และยุทธศาสตร์ที่เอากำไรอยู่เหนืออาหารทะเลที่ยั่งยืน

ภาพที่จัดทำโดยอดีตผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Counterpoint Strategies แสดงถึงมุมมองของบริษัทประชาสัมพันธ์และลูกค้าอย่างสถาบันประมงแห่งชาติ ต่อบทบาทของตนและบทบาทของ ISSF ซึ่งมีความชัดเจนว่า ISSF และสถาบันประมงแห่งชาติทำหน้าที่ปกป้องแบรนด์อาหารทะเลของสหรัฐอเมริกาจากกลุ่มรณรงค์สิ่งแวดล้อม

ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า ISSF เป็นกันชนระหว่างแบรนด์ทูน่ากับองค์การจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMOs: Regional Fisheries Management Organizations) ซึ่งรับผิดชอบในการออกกฏเกณฑ์การทำประมงปลาทูน่าและป้องกันการทำประมงเกินขนาด

อีกภาพหนึ่งจัดทำโดยอดีตผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Counterpoint Strategies แสดงอย่างชัดเจนโดยตรงว่าสถาบันประมงแห่งชาติและบริษัทที่ร่วมกับ ISSF ทำหน้าที่กีดกันกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการจูงใจให้ผู้ค้าปลีกหยิบยกปัญหาการประมงปลาทูน่าอย่างไร

มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล(ISSF): อาหารทะเลที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงหรือเกราะกำบังที่เบี่ยงเบนการวิพากษ์วิจารณ์

การขึ้นต่อเงินทุนจากอุตสาหกรรมของมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (ISSF) ความสัมพันธ์กับสถาบันประมงแห่งชาติ และการพึ่งพาบริษัทประชาสัมพันธ์ที่มีชื่อเสียงในแง่ไม่ดีนักอาจพอเข้าใจได้หาก ISSF สนับสนุนเรื่องความยั่งยืนและผลักดันบริษัทที่เป็นสมาชิกของตนทำให้ห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลปราศจากการทำลายล้างมหาสมุทร ในทางตรงกันข้าม บริษัทอุตสาหกรรมปลาทูน่าใช้สถานะการเป็นสมาชิกของ ISFF เพื่อหลบเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์

ในขณะที่ผู้เล่นอื่นๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมนี้กำลังหาทางแก้ปัญหา   แต่สิ่งที่ ISSF อ้างว่าข้อกำหนดต่างๆเป็นข้อริเริ่มด้านความยั่งยืนส่วนใหญ่นั้นเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่มีอยู่แล้ว  บริษัทต่างๆ ที่ตระหนักถึงความยั่งยืนกำลังหาแหล่งสินค้าปลาทูน่าที่มาจากการประมงที่ไม่ใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FADs) บริษัทเหล่านี้ยังยืนยันไม่ไห้มีการกดขี่ขูดรีดแรงงานในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลของตน ซึ่ง ISFF ไม่สนใจเลย

หลายปีก่อน มูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล(ISSF) ขอให้กรีนพีซเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสิ่งแวดล้อม และกรีนพีซก็ได้ปฏิเสธอย่างสุภาพ เนื่องจากเรารู้และตระหนักว่าผลลัพธ์ทั้งหมดที่ออกมาและสิ่งที่ ISSF เลือกจะไม่สนใจนั้นจะถูกกำหนดจากการที่ต้องพึ่งพาเงินสนับสนุนจากอุตสาหกรรม บ่อยครั้ง เราพบว่าบทบาทของISSF คือการเบี่ยงแบนความสนใจจากปัญหาที่แท้จริงและประวิงเวลาในการรับรองถึงทางออกของปัญหา

การที่ ISSF พยายามสร้างภาพว่าเป็น “อีโค” หรือทำเพื่อสิ่งแวดล้อม และการเพิกเฉยต่อประเด็นการทารุณแรงงานและการประมงเบ็ดราว ทำให้ ISSF กลายเป็นเพียงฉากบังหน้าที่คอยปกป้องสมาชิกของตน ซึ่งนั่นห่างไกลจากการเป็นอุตสาหกรรมทูน่าที่ยั่งยืนแท้จริง เมื่อสิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นคำถาม ISSF และเหล่าสมาชิกจึงไม่สามารถอ้างสิทธิอ้างเสียงที่จะบอกว่ากำลังทำงานเพื่อปกป้องอนาคตของมหาสมุทรและรับผิดชอบต่อผู้บริโภคปลาทูน่ากระป๋องได้ เราสนับสนุนเรียกร้องให้บริษัทปลาทูน่าแบรนด์ ต่างๆ รวมถึงผู้ให้เงินทุนกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลงทุนลงแรงไปยังโครงการอื่นๆ แทนที่จะเป็น ISSF 


ที่มา: Greenpeace Thailand

แสดงความคิดเห็น

>