Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คปภ.จับมือภาคธุรกิจ ประกันภัย จัดระเบียบรถตู้สาธารณะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ผู้ประกอบการรถตู้มักแจ้งทำ ประกันภัยรถยนต์ เป็นประเภทส่วนบุคคล ถือเป็นการใช้งานที่ผิดประเภท

เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายจัดระเบียบรถตู้โดยสาร ป้ายดำ/น้ำเงิน ซึ่งจดทะเบียนเป็นรถตู้โดยสารส่วนบุคคล แต่ดำเนินการวิ่งรับส่งผู้โดยสาร ทั้งในเส้นทางกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก จัดระเบียบการให้บริการของรถตู้โดยสารสาธารณะ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนให้ได้รับความสะดวก ปลอดภัย โดยได้เปิดให้ผู้ประกอบการรถตู้ ลงทะเบียนขอความช่วยเหลือในการรับสิทธิ์ จดทะเบียนเป็นรถโดยสารสาธารณะ (ป้ายเหลือง) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจัดให้มีการตรวจสภาพรถ เพื่อรับสติ๊กเกอร์อนุญาตให้บริการ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 รวมถึงสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ได้เข้าร่วมอำนวยความสะดวกด้านการ ประกันภัย ในการจัดระเบียบดังกล่าวด้วย


เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า การดำเนินงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย และบริษัท ประกันภัย ในการออกบูธให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรถตู้ รวมถึงบริการรับทำ ประกันภัย รถตู้ ให้เป็นประเภทการใช้รับจ้างสาธารณะ เนื่องจากเดิมเมื่อผู้ประกอบการรถตู้ นำรถไปจดทะเบียนเป็นรถส่วนบุคคล ก็มักแจ้งทำ ประกันภัย เป็นประเภทการใช้ส่วนบุคคล ซึ่งถือเป็นลักษณะการใช้งานที่ผิดประเภท ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบก กำหนดให้รถโดยสารสาธารณะ (ป้ายเหลือง) ต้องทำ ประกันภัย ตามที่กำหนด

ประกอบด้วยการ ประกันภัยรถยนต์ ตาม พ.ร.บ. และการ ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 3 เป็นขั้นต่ำ โดยจำนวนความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับผู้ให้สัมปทานเส้นทางการเดินรถ คือ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ทั้งนี้จากการประเมินความคุ้มครองตามที่หน่วยงานทั้ง 2 แห่งกำหนด สำนักงาน คปภ. และสมาคมประกันวินาศภัยไทยจึงได้จัดแพคเก็จความคุ้มครอง ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของหน่วยงานดังกล่าว รวมถึงเพิ่มวงเงินคุ้มครองให้สูงมากขึ้น ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ จากจำนวน 30,000 บาท เป็น 50,000 บาท แต่คิดค่าเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ในอัตราพิเศษ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1.     คุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ของบุคคลภายนอก จำนวน 300,000 บาท/คน (ส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ.)
  2.     คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก จำนวน 600,000 บาท/ครั้ง
  3.     คุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จำนวน 100,000 บาท/คน สำหรับผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร
  4.     คุ้มครองกรณีทุพพลภาพชั่วคราว สำหรับผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร จำนวน 1,000 บาท/คน/สัปดาห์
  5.     คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล จำนวน 50,000 บาท/คน

แสดงความคิดเห็น

>