Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิธีการดูแลผู้ป่วย ‘โรคภูมิแพ้จมูก’

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

วิธีการดูแลผู้ป่วย ‘โรคภูมิแพ้จมูก’

 

โรคภูมิแพ้จมูก หรือการอักเสบของจมูกนั้น คือการที่สารก่อภูมิแพ้เข้าสัมผัสภายในร่างกาย โดยจะมีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่สร้างภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง เรียกว่า IgE 

          ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้และเข้าจับกับภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดขาวแตกออกและปล่อยสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฮิสตามีน (Histamine) ออกมา ส่งผลให้เยื่อบุจมูกเกิดการอักเสบ เกิดการบวม และสร้างเมือกออกมามากกว่าปกติ โรคภูมิแพ้นั้นโดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ร่วมด้วย หากบิดามารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ ก็จะมีอัตราเสี่ยงที่จะถ่ายทอดให้บุตรสาวมากกว่าคนธรรมดาทั่วไป 1 เท่า

          ดังนั้นการเกิดโรคภูมิแพ้จึงนับได้ว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมอย่างหนึ่งเช่นกัน โดยการรักษาโรคภูมิแพ้จมูกในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีนซึ่งสั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนานนั้น ได้อาศัยการรักษาในรูปแบบบำรุงป้องกัน การครอบแก้ว การทำกวาซา การใช้อาหารเป็นยารักษา การทำรมยา ยาจีน เป็นต้น ในการร่วมกันรักษาฟื้นฟูที่ต้นเหตุและรักษาที่ปลายเหตุไปพร้อมกัน มุ่งเน้นไปที่ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถควบคุมกลไกการเกิดของโรคภูมิแพ้ได้

          วิธีการดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูกมีดังต่อไปนี้

1.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย เช่น ฝุ่นละออง ควันรถยนต์ สารเคมีต่างๆ เกสรดอกไม้ เชื้อรา เชื้อไวรัส อาหารที่ผู้ป่วยแพ้ง่าย ไรฝุ่น เป็นต้น

          1) ป้องกันไรฝุ่น : ตัวไรฝุ่นนั้นมีขนาดที่เล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า โดยส่วนมากจะอาศัยอยู่ใต้ผ้ารองเตียง พรมเช็ดเท้า และของเล่นต่างๆ ที่ทำจากขนสัตว์ และอาศัยหนังกำพร้า รังแคของผู้ป่วยเป็นอาหาร โดยตัวไรฝุ่นจะไม่ทำร้ายผู้ป่วยโดยตรง และไม่แพร่เชื้อให้กับผู้ป่วย แต่เป็นตัวก่อภูมิแพ้ให้กับผู้ป่วย วิธีการจัดการกับไรฝุ่นนั้น ควรทำความสะอาดชุดเครื่องนอนต่างๆ รวมไปถึงผ้าขนหนู พรมต่างๆ ด้วยน้ำร้อน (อุณหภูมิมากกว่า 55 °C) ในทุกๆ สัปดาห์ รวมทั้งอบด้วยความร้อนให้แห้ง หรือตากแดดในช่วงที่แดดแรงร่วมด้วย

          2) พยายามหลีกเลี่ยงหรืองดการใช้สเปรย์ฆ่าแมลงชนิดต่างๆ เครื่องสำอาง น้ำหอม แป้งฝุ่น แชมพูสระผมที่มีส่วนผสมของ Flaxseed Oil แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ 100%

          3) หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างไกลจากฝุ่นละออง ควันรถยนต์ในชั้นบรรยากาศ ควันก๊าซจากโรงงาน หรือสิ่งกระตุ้นอื่นๆ เช่น ควันบุหรี่ เป็นต้น

          4) พยายามหลีกเลี่ยงเกสรดอกไม้ เชื้อรา ขนสัตว์ต่างๆ เป็นต้น

          5) หมั่นระวังอาหารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้ง่าย เช่น กุ้ง ปู หอยทะเลต่างๆ เป็นต้น

          6) หากอาหารหรือเครื่องสำอางชนิดใดที่ยังไม่เคยรับประทานหรือใช้มาก่อน ควรจะลองรับประทานหรือใช้ในปริมาณน้อย เพื่อป้องกันอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น

         7) ห้ามรับประทานอาหารค้างคืน อาหารที่ไม่สดใหม่ อาหารที่วางทิ้งข้ามคืนไม่ได้แช่ตู้เย็น

2.ด้านโภชนาการ พยายามปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงหรืองดการรับประทานของเย็น ไอศกรีม เป็นต้น และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักกาดขาว มัสตาร์ด มังคุดแตงโม 
แคนตาลูป เป็นต้น

3.การนอนหลับพักผ่อน ไม่ควรเข้านอนดึกจนเกินไป เพราะในช่วงหลังจาก 5 ทุ่มเป็นต้นไป จะเป็นช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการซ่อมแซมและฟื้นฟูปรับสมดุล การนอนดึกจะไปทำลายระบบการฟื้นฟูของภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดภูมิแพ้ขึ้น

4.ป้องกันความเย็น รักษาความอุ่น ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิที่ต่ำเกินไปควรใส่เสื้อนอนที่มิดชิดเพื่อป้องกันความเย็นที่อาจกระทบต่อร่างกายได้ มีการทดสอบกับผู้ป่วยในหลายราย พบว่าสามารถค่อยๆ ลดอาการจาม น้ำมูกไหลได้

5.รักษาความอบอุ่นบริเวณแผ่นหลัง ผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้จมูกมักจะมีอาการเย็นบริเวณแผ่นหลัง ดังนั้นควรป้องกันให้แผ่นหลังอบอุ่นตลอดเวลา

6.ใช้น้ำเย็นล้างจมูก ใช้น้ำเย็นทำความสะอาดบริเวณโพรงจมูก ค่อยๆ สูดน้ำเย็นให้น้ำเย็นได้สัมผัสกับโพรงจมูก แล้วค่อยๆ หายใจออก ให้น้ำเย็นเกิดการผ่านเข้าออกในโพรงจมูก ใช้เวลาทำประมาณ 3 นาที หากสามารถทำต่อเนื่องได้ในทุกๆ วัน จะสามารถช่วยรักษาอาการภูมิแพ้จมูกที่เป็นอยู่ได้

7.นวดจมูก ก่อนที่จะทำการนวด ให้ใช้น้ำเย็นล้างโพรงจมูกให้เรียบร้อย จากนั้นให้ใช้นิ้วกลางนวดคลึงเบาๆ บริเวณข้างปีกจมูกสองข้างใช้เวลาประมาณ 20 นาทีโดยประมาณ

8.ควรได้รับแสงแดดเพื่อเพิ่มหยางในร่างกาย ใช้เวลาครึ่งชั่วโมงในการเดินออกกำลังกาย สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดอาการเกิดภูมิแพ้ แนะนำให้ออกกำลังกายในช่วงที่แดดไม่แรงจนเกินไป โดยให้แสงแดดส่องที่บริเวณแผ่นหลังและฝ่ามือเป็นหลัก

9.หากเข้ารับการรักษาแล้วอาการภูมิแพ้ลดลง ควรปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติข้างต้นอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอาการภูมิแพ้ที่อาจเกิดขึ้นอีก

10.สำหรับอาการแพ้ในลักษณะอื่นๆ เช่น อาการภูมิแพ้รอบดวงตา อาการคันผิวหนัง ผื่นผิวหนัง เป็นต้น สามารถปฏิบัติตามข้อที่ 1-5, 8-10 ได้

 

 

         ที่มา : เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์


 

 

 

แสดงความคิดเห็น

>