Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ตอบทุกข้อสงสัยการสอบ SAT ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

New SAT เป็นอย่างไร ?

การสอบ SAT แบบใหม่ที่จะเริ่มใช้ในประเทศไทยรอบการสอบเดือนพฤษภาคม 2016 นี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง น้องๆที่มีแผนที่จะสอบ จะต้องรู้อะไรบ้างเพื่อเตรียมตัวสอบได้ถูก วันนี้พี่เลยมาตอบปัญหาข้อสงสัยที่น้องๆถามกันเข้ามาเยอะเหลือเกิน เราไปดูกันครับ
 

 

เปรียบเทียบการสอบ SAT เก่าและ SAT ใหม่ที่จะใช้ในเดือย พฤศภาคมนี้

SAT แบบใหม่เริ่มใช้เมื่อไหร่ ?

การสอบ SAT จะเปลี่ยนระบบใหม่โดยใช้ชื่อว่า "Redesigned SAT" หรือ "New SAT" โดยจะเริ่มจากประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนมีนาคม 2016 และประเทศอื่นๆนอกสหรัฐอเมริกาจะเริ่มใช้ SAT แบบใหม่เดือนพฤษภาคม 2016 ซึ่งจะไม่มีการจัดสอบ SAT ในรอบเดือนมีนาคมสำหรับศูนย์สอบนอกประเทศสหรัฐอเมริกา 

มหาวิทยาลัยจะรับคะแนน SAT แบบใหม่เมื่อไหร่ ?

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะยังคงรับคะแนน SAT ทั้งแบบเก่าและแบบใหม่สำหรับนักเรียนที่จะจบการศึกษาปี 2017 ตั้งแต่รอบสอบเดือนพฤษภาคม 2016 ในประเทศไทย 

ข้อแตกต่างของข้อสอบ SAT เก่าและ SAT ใหม่มีอะไรบ้าง ?

  • ลดข้อสอบจากเดิม 3 ส่วน (Math, Critical Reading, Writing) เหลือ 2 ส่วนคือ Math และ Reading & Writing พูดกันแบบง่ายๆก็คือ ข้อสอบใหม่จะรวบ Reading และ Writing เข้าเป็นส่วนเดียวกันนั่นเอง
  • ลดเวลาในการสอบจาก 3 ชั่วโมง 45 นาที เหลือ 3 ชั่วโมง
  • มี 4 ตัวเลือกแทน 5 ตัวเลือก
  • ไม่หักคะแนนหากตอบผิด
  • คะแนนรวมสูงสุด คือ 1600 คะแนน ( จากเดิมคะแนนเต็ม 2400 คะแนน )
 

เนื้อหาในการออกข้อสอบเปลี่ยนไปอย่างไร ?

ก่อนจะไปดูการสอบ SAT แบบใหม่ มาดู SAT แบบเก่ากันก่อนครับ ซึ่งการสอบแบบเก่านั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. Critical Reading
  2.  Math 
  3. Writing 

ซึ่งคะแนนเต็มแต่ละส่วนคือ 800 คะแนน คะแนนรวมสูงสุดคือ 2400 คะแนน 

ทีนี้มาดูการสอบ SAT แบบใหม่กันบ้างครับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาการสอบ ปี 2016 ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของเนื้อหาการสอบในทุกส่วน เรามาดูรายละเอียดแยกเป็นแต่ละส่วนกันเลยครับ

Reading 

ข้อสอบในส่วนนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Evidence-Based Reading โดยมีคำถาม 52 ข้อ ให้เวลาทำ 65 นาที ในการสอบจะมี 4 Passage และ 1 Pair Passage (หมายถึงมี 2 Passage ที่เขียนโดยผู้เขียนคนละคน แต่พูดถึงเรื่องเดียวกันหรือคล้ายกัน) ในเรื่องต่างๆคือ

  1. Literature – วรรณกรรมต่างๆ
  2. Founding Documents or Great Global Conversation – เอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ เช่น รัฐธรรมนูญหรือคำพูดของบุคคลสำคัญของโลก
  3. Social Studies – เรื่องความรู้ในวิชาต่างๆ เช่น Economics, Geography, Political Science, Psychology
  4. Science – วิชาวิทยาศาสตร์ (Physics, Chemistry, Biology)

โดยคำถามจะเริ่มจากคำถามกว้างๆก่อน เช่น The main purpose of this passage is to แล้วค่อยๆลงรายละเอียดในคำถามต่อไป

 


สิ่งที่แตกต่างจากข้อสอบ Reading แบบเดิมคือ
 

1. การถามคำศัพท์ จะไม่มีการถามคำศัพท์แบบให้ท่องจำเหมือนแบบเดิม (ให้เติมคำศัพท์จากตัวเลือกลงในช่องว่าง ใครไม่รู้ศัพท์จะไม่มีทางตอบได้เลย) แต่การถามคำศัพท์แบบใหม่จะถามโดยให้อ่านเนื้อเรื่องแล้วถามว่าคำศัพท์ในเนื้อเรื่องคำนั้นน่าจะมีความหมายตรงกับตัวเลือกใดมากที่สุด วิธีนี้ทำให้ผู้สอบสามารถหาคำตอบได้หากสามารถตีความเนื้อเรื่องได้ดี เช่น As used in line 7, “want” most nearly means (A) hardship. (B) desire. (C) lack. (D) necessity.

2. มีการให้กราฟ/ ตาราง มานอกเหนือจาก Reading อย่างเดียว โดยคำถามจะให้หาข้อสรุปของข้อมูลในกราฟ/ ตาราง


 

Writing 

ข้อสอบในส่วนนี้มีชื่อเรียกเต็มๆว่า Writing and Language โดยมีคำถาม 44 ข้อ ให้เวลาทำ 35 นาที ในการสอบจะมี 4 Passage ในเรื่องที่คล้ายกับ Passage Reading โดยในแต่ละ Passage จะมีการขีดเส้นใต้คำหรือประโยคจำนวน 11 จุด จากนั้นคำถาม 11 ข้อจะถามว่าส่วนที่ขีดเส้นใต้นั้นผิดหลัก Grammar หรือการเขียนหรือไม่ ถ้าผิด จะต้องแก้เป็นอย่างไร สิ่งที่แตกต่างจากข้อสอบ Writing แบบเดิมคือจะไม่มีการสอบ Error Identification อีกต่อไป

Mathematics 

ข้อสอบในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. No Calculator โดยมีคำถาม 20 ข้อ ให้เวลาทำ 25 นาที (1.25 นาทีต่อข้อ) ข้อสอบในส่วนนี้ห้ามใช้เครื่องคิดเลข แต่ผู้ออกสอบจะใจดี ออกข้อสอบที่ไม่ต้องมีการคำนวณซับซ้อน เช่น การคูณจุดทศนิยมหลายตัว
  2. Calculator โดยมีคำถาม 38 ข้อ ให้เวลาทำ 55 นาที (1.45 นาทีต่อข้อ) ข้อสอบส่วนนี้ใช้เครื่องคิดเลขได้ตามปกติ โดยส่วนสำคัญคือการเพิ่มเนื้อหาบางอย่างที่ไม่เคยออกสอบข้ามา เช่น Trigonometry

Cr : http://www.tutorferry.com/2016/07/new-sat-2016.html

แสดงความคิดเห็น

>