Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เกมควบรวมธุรกิจ ประกันภัย ไทยยึดโมเดลญี่ปุ่น ‘เมกะ กรุ๊ป’

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ไทยเดินหน้าไปเร็วกว่าญี่ปุ่น ตื่นตัวทำ ประกันภัย มากขึ้น การพัฒนาจะเร็วกว่าญี่ปุ่น ไทยที่มีศักยภาพการเติบโต คือ ประกันภัยรถยนต์

 

การจับคู่เพื่อควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) ในธุรกิจ ประกันภัย ไทย โดยเฉพาะประกันวินาศภัยไทยจะยิ่งมีให้เห็นมากขึ้น หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) เตรียมออกกฎเพิ่มเงินกองทุนขั้นต่ำของบริษัทประกันวินาศภัยจาก 30 ล้านบาทเป็น 500 ล้านบาทภายใน 5 ปี นอกเหนือจากให้ปฏิบัติตาม RBC พร้อมกับเตรียมทางออกให้สำหรับบริษัท ประกันภัย ที่ไม่สามารถเพิ่มเงินกองทุนได้ ให้ควบรวม หรือหาพันธมิตรทางธุรกิจ ยิ่งจะเพิ่มแรงกดดันบริษัท ประกันภัย ที่มีเงินกองทุนปริ่มเกณฑ์ ต้องเร่งหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ หรืออาจจะตัดสินใจขายกิจการทิ้งไป เพราะมีแรงบีบจากการเปิดเออีซีด้วย

เทียบกับตลาดประกันวินาศภัยญี่ปุ่นแม้จะเทียบกันยาก เพราะญี่ปุ่นมีเบี้ยประกันวินาศภัยใหญ่กว่าไทยมาก แต่โมเดลการควบรวมอาจจะไม่ต่างกันมากนัก โดยญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีบริษัทประกันวินาศภัยควบรวมกันมาก โดยกรรมการผู้จัดการสถาบันประกันวินาศภัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (GIIJ) ให้ความเห็นระหว่างมาร่วมสัมมนาหลักสูตรประกันวินาศภัยในไทยว่า ในญี่ปุ่นเองหลังเปิดเสรีธุรกิจ ประกันภัย ในปี 2541 ก็ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน แต่เริ่มหลังจาก 2542 เป็นต้นมา เกิดการควบรวมกันขึ้นจากบริษัท ประกันภัย ใหญ่ 10 บริษัทก็รวมกันเหลือ 3 บริษัท เรียกว่า “เมกะ กรุ๊ป” ในช่วง 10 ปี ซึ่งเกิดจากนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันภัย เอง ไม่ได้เกิดจากนโยบายของรัฐบาล

“ควบรวม” โมเดลยุ่นรับศึกแข่งเสรี / คาด ประกันภัย ไทยตามรอย “เมกะ กรุ๊ป”

 “เมื่อตลาดเปิดเสรี ผู้บริโภคก็มีความคาดหวังสูงขึ้น ในฐานะผู้ประกอบการ ก็ต้องการตอบสนองความต้องการผู้บริโภค มองถึงโมเดลธุรกิจที่จะทำให้ต้นทุนลดลง และเพิ่มเครือข่ายในการบริการกว้างขึ้น ตัวเลือก คือ การควบรวม และซื้อกิจการ เป็นวิถีที่บริษัท ประกันภัย ญี่ปุ่นเลือก อย่างกรณีของ 3 บริษัท ประกันภัย ใหญ่ แต่ไม่ใช่คำตอบของทุกบริษัท อย่างบริษัทที่เลือกทำตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ซึ่งการควบรวมอาจจะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในไทย”


ถามถึงความเป็นไปได้ที่ธุรกิจประกันวินาศภัยในไทยจะควบรวมกัน เหมือนโมเดล “เมกะ กรุ๊ป” ในญี่ปุ่น มีความเป็นไปได้ แต่ก็ขึ้นกับนโยบายของแต่ละบริษัท ประกันภัย หากบริษัทไหนต้องการขยายเครือข่าย และมีต้นทุนสูงมาก ต้องเลือกวิธีนี้

“ประเทศไทยเดินหน้าไปเร็วกว่าญี่ปุ่น เพราะหลังๆ การตื่นตัวทำ ประกันภัย มากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาจะเร็วกว่าญี่ปุ่นแน่ ในไทยที่มีศักยภาพการเติบโต คือ ประกันภัยรถยนต์ เพราะการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจยังน้อย นอกจากนี้ยังมีประกันอัคคีภัย คือเมื่อคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น จะมองหาที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าสูงขึ้น ก็จะซื้อ ประกันภัย เพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่ ประกันภัยรถยนต์ เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจ แต่ที่เติบโตแน่นอนคือ ประกันภัย สุขภาพ”

สำหรับ 3 กลุ่ม ประกันภัย ญี่ปุ่น หรือ “เมกะ กรุ๊ป” คือ MS&AD ที่เกิดจากการควบรวมกันของ 3 บริษัท คือ มิตซุย สุมิโตโม (เอ็มเอสไอจี), ไอโออิ และนิสเซย์ โดวะ, กลุ่มโตเกียว มารีน และกลุ่มนิปปอนโคอะสมโพธิ์เจแปน (NKSJ) ที่เกิดจากการควบกันระหว่าง นิปปอนโคอะกับสมโพธิ์เจแปน โดยเพิ่งควบรวมกันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557

ยาหอม ประกันภัย ไทยโอกาสโตเยอะ ล้อ AEC / ระวัง เกมตัดเบี้ย / ยุ่นจ่อซื้อค่าย ประกันภัย ไทย

 ด้านกรรมการผู้จัดการสมาคมประกันวินาศภัยแห่งประเทศ ญี่ปุ่น (GIAJ) กล่าวว่า ไทยมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก เนื่องจากมูลค่าตลาด ประกันภัย ยังไม่สูง ขณะที่หลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ก็มีบทบาทการเติบโตอีกมาก นักลงทุนญี่ปุ่นมองเป็นโอกาส ธุรกิจ ประกันภัย ก็เช่นกัน หากภาวะเศรษฐกิจไทยเติบโต ธุรกิจ ประกันภัย ก็เติบโตด้วย และการที่เออีซีเกิดขึ้น ทำให้ไทยซึ่งปัจจุบันมีบทบาทในอาเซียนอยู่แล้ว จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น และเติบโตไปกับเออีซีเช่นกัน

ถามถึงฐานะการเงินของบริษัท ประกันภัย ญี่ปุ่นหลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ในไทย กล่าวว่า ถึงขณะนี้ไม่มีปัญหา และแม้ว่าปีนี้ธุรกิจประกันวินาศภัยไทยจะเติบโตไม่มากนัก ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อบริษัท ประกันภัย ญี่ปุ่นในไทย เพราะที่ผ่านมาธุรกิจประกันวินาศภัยเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี และเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเศรษฐกิจไทยเองเมื่อได้รัฐบาลใหม่ แนวโน้มการเติบโตน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ธุรกิจประกันวินาศภัยก็จะเติบโตตาม อีกทั้งรายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกันวินาศภัยก็จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และเบี้ย ประกันภัย ต่อจีดีพีของไทยไม่สูง เป็นโอกาสในการเติบโต

กล่าวถึงการเปิดเสรีค่าเบี้ย ประกันภัย ว่า หลังการเปิดเสรี ทุกประเทศต้องระวังเรื่องการแข่งขันตัดราคาเบี้ย ประกันภัย อย่างรุนแรง อย่างที่สหรัฐฯ และยุโรป หลังการเปิดเสรี มีการตัดราคากันมาก ทำให้หลายบริษัท ประกันภัย ล้มละลาย ซึ่งในอนาคตไทยก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่การเปิดเสรีเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ เช่นกัน โดยในญี่ปุ่นได้ป้องกันด้วยการตั้งหน่วยงานคำนวณอัตราเบี้ย ประกันรถยนต์ อ้างอิง เพื่อให้ทุกบริษัท ประกันภัย รู้ราคาที่เหมาะสม

สำหรับอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยญี่ปุ่น ในปี2556 มีเบี้ย ประกันภัย รับตรงประมาณ 8 ล้านล้านเยน หรือราว 2.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น-ส่วน 5% ของตลาดโลก มีขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลก โดยเบี้ย ประกันภัย มากกว่าครึ่งเป็น ประกันภัยรถยนต์ คิดเป็นมูลค่าเกือบ 5 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท มีบริษัทประกันวินาศภัยทั้งหมด 53 บริษัท โดย 3 กลุ่มคือ MS&AD, โตเกียวมารีน และกลุ่มนิปปอนโคอะสมโพธิ์เจแปน มีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 80% ซึ่งตามกฎหมายบริษัท ประกันภัย ญี่ปุ่นต้องมีเงินกองทุน 1,000 ล้านเยน หรือประมาณ 300 ล้านบาท และปฏิบัติตาม RBC เช่นกัน โดยญี่ปุ่นให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ปัจจุบันไทยมีบริษัทประกันวินาศภัย 63 บริษัท ลดลงเทียบกับ 10 กว่าปีก่อน มี 78 บริษัท ประกันภัย เนื่องจากการควบรวม และถูกภาครัฐสั่งปิด ขณะที่มีเบี้ย ประกันภัย รวม 203,021 ล้านบาท

ข่าวจากบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งกล่าวว่า “เมกะ กรุ๊ป” คือการควบรวมกันของบริษัท ประกันภัย ภายในกลุ่มท็อปเทนให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นอีก ซึ่งในช่วง 30-40 ปีก่อน บริษัท ประกันภัย ของญี่ปุ่นไม่สนใจควบรวมกัน แต่ช่วงหลังบริษัทแม่ เช่น กลุ่มโตโยต้า กลุ่มฮอนด้า ออกไปขยายธุรกิจในตลาดโลกมากขึ้น บริษัท ประกันภัย จึงต้องตามไป การทำให้บริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อเพิ่มศักยภาพ ขณะที่ไทยอาจจะเดินตามรอยเท้าญี่ปุ่นในเรื่องการควบรวม เพราะเจ้าของบริษัทซึ่งเป็นทายาทรุ่น 3 รุ่น 4 อาจจะไม่มีใจอยากทำธุรกิจมาก และคิดถึงกระเป๋าเงินมากกว่าหน้าตา อีกทั้งกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ถือหุ้นในบริษัท ประกันภัย เริ่มไปขยายธุรกิจในเออีซี อาทิ ปตท., ปูนซีเมนต์ เป็นต้น

เลขาธิการสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ทั้งไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือในการพัฒนาตลาดประกันวินาศภัยกันมานานแล้ว ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งล่าสุด เป็นเรื่องของการ ประกันภัยรถยนต์ โดยนำเสนอภาพรวมเบี้ย ประกันภัย หลักเกณฑ์การกำกับการรับ ประกันภัย แบบประกันภัย อัตราเบี้ย และการจัดการสินไหมทดแทนของญี่ปุ่นให้กับบริษัท ประกันภัย ของไทย เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนา ประกันรถยนต์ ทำให้รากฐานธุรกิจไทยมั่นคงมากขึ้น

อนึ่ง กลุ่มทุนจากญี่ปุ่นจัดว่ามีความแข็งแกร่ง และความพร้อมด้านเงินทุน ที่จะเข้าควบรวม และซื้อบริษัท ประกันภัย ในไทยได้ โดยเฉพาะกลุ่ม “บิ๊กทรี” ที่มีนโยบายจะขยายธุรกิจในไทยผ่าน M&A ขณะที่ประกันชีวิตก็เช่นกัน มี 3 กลุ่มใหญ่ที่เข้ามาขยายธุรกิจในไทยอยู่แล้ว คือ นิปปอน ไลฟ์, ไดอิจิ, และเมจิยาสึดะ

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น