Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สาเหตุและการรักษาสิว._.

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว 
 1. เกิดจากกรรมพันธุ์
 2. เกิดจากการแพ้อาหาร เช่น บางคนทานช็อกโกแลต แล้วสิวขึ้นทันที    
     ทานเมื่อไรก็ขึ้นทุกที
 3. เกิดจากสภาพอากาศ เช่น บางคนโดนแดดมาก ๆ สิวก็ขึ้นได้คะ
 4. เกิดจากสภาวะเครียด เนื่องจากเมื่อเราเครียดการไหลเวียนของเลือดจะเริ่มผิดปกติ ต่อมไขมัน ผลิตไขมันมากจนเกิดสิว นอกจากนี้ความเครียดยังทำให้ความต้านมานโรคของร่างกายต่ำลง ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น
 5. เกิดจากระดับฮอร์โมน เช่นในช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือวัยรุ่น โดยกรดไขมันที่เกิดจากากรย่อยไขมันโดยเชื้อโรคจะถูกขับออกมาตามรูขุมขนพร้อมๆกับเชื้อโรคตลอดเวลา แต่ระดับฮอโมนเพศในช่วงดังกล่าวจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตไขมันมากขึ้น ดังนั้นไขมันจึงระบายออกมาไม่ทัน เชื้อโรคจึงมีโอกาสแบ่งตัวมากขึ้น
 6. เกิดจากการทาครีม หรือแป้ง ทำให้มีการอุดตันรูระบายไขมัน สารเคมีในสบู่บางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดสิวได้ ครีมบำรุงผิว น้ำมันและโลชั่นบางชนิดอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดสิว 
ยกตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตัน เช่น จากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ หรือความผิดปกติของสมดุลกรด-ด่าง ในร่างกาย เช่น ที่พบในผู้ป่วยไตวาย ส่วนจากปัจจัยภายนอก ก็อย่างเช่น การใช้สบู่ที่มีความเป็นด่างสูง ทำให้ผิวระคายเคือง, การใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ Paraffin, การสัมผัสกับฝุ่น สารประเภทไฮโดรคาร์บอน หรือน้ำมันในอุตสาหกรรมบางประเภท และมีบางการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างสิวเสี้ยน กับเชื้อ Propionibacterium acnes และ Pityrosporum spp. ซึ่งเป็นเชื้อที่สัมพันธ์กับสิวแท้ด้วย 
 
ประเภทของสิว
ประเภทของสิวอุดตัน และสิวอักเสบ
สิว (Acne) สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก คือ 
1. สิวไม่อักเสบ หรือสิวอุดตัน (Comedone)
เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน สิวชนิดนี้มีลักษณะเป็นเม็ดตุ่มเล็กๆ ที่เกิดบริเวณผิวหน้าของเรา แบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ 
สิวหัวปิด หรือสิวหัวขาว (White head) เห็นเป็นตุ่มนูนเล็กๆ หัวขาวๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1-3 มิลลิเมตร มีสีเดียวกับผิวหนังปกติ สิประเภทนี้เกิดจากการอุดตันสะสมอยู่ในท่อเปิดของต่อมไขมันและขุมขน (Pilosebaceous unit) แต่ท่อเปิดจะเล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สิวหัวปิดขนาดใหญ่ อาจจะคงอยู่ได้ นานหลายสัปดาห์ หรือ หลายเดือน ประมาณ 75% ของสิวชนิดนี้จะกลายไปเป็นสิวอักเสบ 
สิวหัวเปิด หรือสิวหัวดำ (Black head) เห็นเป็นตุ่มนูนเล็กๆ หัวดำๆ เส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.1-3 มิลลิเมตร และสังเกตดีๆ จะมีจุดดำอยู่ตรงกลาง ซึ่งจุดเหล่านี้ก็เป็นกลุ่มเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว, ไขมัน, และเชื้อ P.acnes อุดอยู่ในท่อเปิดของต่อมไขมัน 
นอกจากนี้ยังอาจแบ่งสิวอุดตันได้อีกชนิดหนึ่ง คือ สิวอุดตันชนิดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Microcomedone) จากการตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ของผิวในบริเวณที่ดูปกติ ในบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดสิว พบ Microcomedone ได้ 28% ข้อมูลดังกล่าวจึงสนับสนุนการใช้ยาทารักษาสิว แม้ในบริเวณที่ยังไม่มีสิวให้เห็น 
2. สิวอักเสบ (Inflammatory acne) 
สิวชนิดนี้คือ เกิดจากการอักเสบของสิวอุดตัน (Comedone) ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย (BACTERIA) แทรกซ้อน จะมีลักษณะเป็นเม็ดบวมแดง หรือเป็นหัวหนอง หรืออาจจะกลายเป็นถุงซีสต์ ที่เรียกว่า “สิวหัวช้าง” และสามารถแบ่งเป็นหลายชนิดด้วยกัน ดังนี้ 
สิวชนิดตุ่มนูนแดง (Papule) มีขนาดแตกต่างกันออกไป ร้อยละ 50 ของสิวชนิดนี้เกิดจากสิวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (microcomedone), 25% เกิดจากสิวหัวปิด และอีก 25% เกิดจากสิวหัวเปิด 
สิวหนอง (Pustule) มีได้หลายขนาด อาจตื้น หรือ ลึกก็ได้ ถ้าเป็นสิวหนองชนิดตื้นจะหายได้เร็วกว่าชนิดที่เป็นตุ่มนูนแดงแข็ง (papule) ส่วนสิวหนองชนิดลึกมักจะพบน้อยกว่า และพบในผู้ที่เป็นสิวค่อนข้างรุนแรง โดยเริ่มมาจากตุ่มนูนแดงแข็งก่อน อาจเป็นอยู่ได้นานมากกว่า 7 วัน มักมีอาการเจ็บร่วมด้วย และใช้เวลาในการหายประมาณ 2-6 สัปดาห์ 
สิวอักเสบแดงเป็นก้อนลึก (Nodule) มักมีขนาดตั้งแต่ 8 มม.ขึ้นไป อาจใช้เวลาในการหายถึง 8 สัปดาห์ และมักจะทำให้เกิดเป็นรอยแผลเป็นตามมาได้ 
สิวเป็นถุงขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง (Cyst) พบได้ไม่บ่อย มักมีขนาดใหญ่ได้หลายเซนติเมตร ภายในบรรจุหนองหรือสารเหลวคล้ายเนย รอยโรคอาจรวมกันเป็นสิวขนาดใหญ่มากๆ ได้ สิวลักษณะนี้มักจะก่อให้เกิดรอยแผลเป็นเสมอ 

สิวเสี้ยน (Trichostasis spinulosa) สิวประเภทนี้พบได้ค่อนข้างบ่อยเลยค่ะ โดยเฉพาะ บริเวณจมูก, คาง, ลำตัวส่วนบน, ต้นแขน และหลังบริเวณระหว่างกระดูกสะบัก ถึงเราจะเรียกว่าเป็นสิวเสี้ยน แต่จริงๆ แล้วทางการแพทย์ไม่จัดว่าสิวเสี้ยน เป็นสิวนะค่ะ เพียงแต่ว่าเนื่องจากบริเวณที่พบสิวเสี้ยนเป็นบริเวณใกล้เคียงกับที่พบสิวโดยทั่วไป และก่อปัญหาทางด้านความงามได้พอๆ กับสิวแท้ 
โดยความจริงแล้ว สิวเสี้ยน นั่นก็คือ กลุ่มของขนอ่อน (Vellus hair) หลายๆ เส้นที่สะสมอุดตันอยู่ในรูขุมขน เห็นเป็นขนแหลมๆ สีดำ ยื่นออกมาจากรูขุมขน ในบริเวณดังที่กล่าวมาแล้ว 
ส่วนกลไกของการเกิดจริงๆ นั้น ยังไม่ทราบแน่ชัดค่ะ แต่ที่อาจเป็นไปได้ คือ มีการหนาตัวของเซลล์ชั้นหนังกำพร้าที่มากขึ้น จนมาปิดกั้นรูขุมขน ทำให้ขนที่สร้างขึ้นไม่สามารถหลุดออกไปได้ 
ผลข้างเคียงจากการเกิดสิวอักเสบ มักเกิดได้บ่อย ถ้าไม่รีบรักษา คือ 
1. รอยดำจากสิว 
2. รอยแดงช้ำ ซึ่งอยู่ได้นาน เป็นเดือนๆ 
3. รอยหลุมจากสิว หรือ Icepick-scar 
การรักษาสิว
  1. รักษาสิวอุดตัน ด้วยตนเองวิธีแรก คือ อย่าปล่อยให้ผิวหน้าสกปรกเป็นเวลานานๆ
  2. เลี่ยงการเช็ดหน้าหรือนวดหน้าแรงจนเกินไป
  3. อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้ากดทับบริเวณที่สิวอักเสบ
  4. ล้างหน้าวันละ 2 ครั้งตามปกติ และใช้ผ้าซับเบาๆไม่จำเป็นต้องล้างบ่อยจนเกินไป เพราะสิวไม่ได้เกิดจากความสกปรก แต่สำหรับในคนที่หน้ามันมาก อาจล้างเพิ่มระหว่างวันด้วยน้ำเปล่า ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเสียสมดุลของค่า pH บนผิวหน้า ยกเว้น ช่วงที่เสร็จจากการออกกำลังกาย หรือช่วงที่คิดว่าหน้าเราสกปรกมากจริงๆ
  5. เวลาล้างหน้าไม่ควรถูใบหน้าแรงๆ เพราะอาจทำให้สิวเกิดการอักเสบได้
  6. หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้หน้าชื้นเช่น sauna การทำงานในครัว และสถานที่ที่มีมลพิษมากๆ
  7. งดใช้เครื่องสำอางที่ทำให้เกิดสิว เครื่องสำอางที่เพิ่มความมัน หรือเลือกเครื่องสำอางที่ถูกกับผิวหน้า
  8. งดยาหรือครีมทาก่อนนอน
  9. ห้ามบีบหรือแกะสิวโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้สิวลุกลาม
  10. อาหารสามารถรับประทานได้แต่ก็ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารที่มัน และหวานและก็อย่ารับมากจนอ้วน
  11. การเลือกยาทาสิวขึ้นกับชนิดของสิวซึ่งควรจะปรึกษาแพทย์
  12. หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด
  13. ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าควรเป็นสบู่เหลวอ่อนๆ หรือคลีนเซอร์สูตรอ่อนโยน และสครับหน้าเบาๆ
  14. ถ้าหากใช้รองพื้นหรือใช้เครื่องสำอาง ควรล้างเครื่องสำอางด้วย Cleansing Remover และล้างหน้าให้สะอาดก่อนนอน
  15. ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีสามารถขจัดแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุของการเกิดสิว หรือที่มีส่วนผสม ของสารสกัดจากพืชธรรมชาติ ที่เหมาะกับสภาพผิว
  16. ระหว่างเป็นสิว ควรงดใช้ผลิตภัณฑ์ใส่ผม หรือเครื่องสำอางที่มีความเหนียวเหนอะหนะ เพราะอาจมีตกค้างอยู่แถวๆไรผมได้ ซึ่งอาจทำให้เป็นสิวได้
  17. ควรใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ชนิดออยล์ฟรีทาบนใบหน้า
  18. หากเราเส้นผมมัน ก็ควรสระผมให้สะอาด เพราะสิวอุดตันอาจเกิดขึ้นได้ตามบริเวณไรผม
  19. หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่แรงเกินไปหรือมีส่วนผสมของน้ำหอม น้ำมัน หรือฮอร์โมน โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าที่ระบุว่า ไม่เป็นตัวก่อสิว "Non-comedo genic" คือไม่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน
  20. ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีใดๆก่อนเข้านอน
  21. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มกับปลอกหมอนหรือที่นอน
  22. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ระบบฮอร์โมนทำงานไม่สมดุล และมีปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น
  23. พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด เพราะการเครียดมากๆจะทำให้ต่อมไขมันทำงานหนัก อาจลดความเครียด ด้วยการนั่งสมาธิ หรือ การฝึกการหายใจ สร้างอารมณ์ขำขัน ทำให้เรามีความสุข ปราศจากความเครียด ซึ่งความเครียดเป็นสาเหตุของสิว
  24. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
  25. ดื่มน้ำให้มากๆในแต่ละวัน เพราะน้ำจะช่วยล้างสารพิษในร่างกาย
  26. อบไอน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อเปิดรูขุมขนให้ไอน้ำเข้าไปทำความสะอาด
  27. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าให้น้อยที่สุด เพราะฝ่ามือมีทั้งความสกปรก และแบคทีเรีย ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดสิว
  28. ควรใช้หลังฝ่ามือลูบแทน เพราะหลังฝ่ามือเป็นบริเวณที่เราไม่ยุ่งเกี่ยวมากที่สุด จึงเป็นบริเวณที่ค่อนข้างสะอาด แต่เราควรล้างมือให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ
  29. ห้ามบีบหรือกดสิวด้วยตัวเอง เพราะหากทำผิดวิธีมักจะก่อให้เกิดแผลและหลุมสิวได้ ซึ่งการบีบจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสิว และยังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิวอักเสบด้วย
  30. หากหน้าเรามันมากๆ ควรใช้กระดาษซับหน้ามัน ซึ่งเป็นวิธีช่วยลดความมันบนใบหน้า แต่ก็ไม่ซับทั้งวันจะดูไม่ดีและเสียนิสัย
  31. ควรงดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง (หรือรับประทานแต่แต่พอดี) เพราะเป็นสาเหตุอีกประการของการเกิดสิว
  32. เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลหรือแป้งต่ำ โปรตีนต่ำหลีกเลี่ยงโปรตีน leucine หลีกเลี่ยงผลิภัณฑ์ที่ทำจากน้ำนม รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ การที่เรากินอาหารจำพวกผัก จะทำให้เราสามารถล้างพิษออกจากร่างกายได้ และยังมีวิตามินต่างๆ ซึ่งยังช่วยทำให้เราร่างกายแข็งแรงอีกด้วย ลดไขมันไปในตัว
  33. หยุดสูบบุหรี่
  34. เลือกใช้กันแดดที่ค่า SPF 15 เพื่อป้องกันความมันของเนื้อครีม
  35. ใช้ผลิตภัณฑ์มาส์กหน้าที่มีส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว และบำรุงผิวอาทิตย์ละครั้ง
  36. หากใช้วิธีต่างๆ ไม่ได้ผล ให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังจะดีที่สุด เนื่องจากสิวอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือ ฮอร์โมน ซึ่งการปรึกษาแพทย์จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ควรทำ ซึ่งปัจจุบัน ยังมีคลินิกรักษาหน้าเปิดอยู่ทั่วไป
  37. ใช้เปลือกส้มหรือเปลือกมะนาวที่สับละเอียด ผสมโยเกิร์ต แล้วนำไปพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออก จะสามารถช่วยกำจัดสิวอุดตันออกไปจากใบหน้าได้
  38. ใช้น้ำผึ้งพอกหน้าสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ก่อนพอกควรล้างมือให้สะอาด ขณะที่พอกให้ใช้มือนวดหน้าวนไปเรื่อยๆสัก 3 นาที ก็สามารถช่วยเรื่องสิวอุดตันได้อีกทางหนึ่ง

การรักษาสิว

 
การรักษาสิวขึ้นกับชนิดของสิว และความรุนแรงของสิว การเลือกใช้ยาก็เช่นเดียวกัน การรักษาสิวจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะบอกว่าไม่ได้ผล

ยาทารักษาสิว

  • ยาทารักษาสิวจะทาบริเวณที่เกิดสิว มิใช่ทาเฉพาะหัวสิว หากเป็นบริเวณกว่างก็อาจจะจำเป็นต้องใช้ยารับประทาน
  • Salicylic acid 10% is similar in action to retinoids.
  • Azelaic acid มีการระคายเคืองน้อย แต่อาจจะทำให้เกิดผิวสีเปลี่ยนบริเวณที่ทา
  • สำหรับผู้ที่เป็นสิวมีหนองเล็กน้อยอาจจะใช้ยา  benzoyl peroxide ซึ่งจะลดการสร้างไขมัน และยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย  P. acnes:
    • ยานี้จะมีการระคายเคือง และจะทำให้ผิวลอกใน3-4 วัน
    • เวลาเริ่มจะใช้ความเข้มข้น 5% และค่อยเพิ่มความถี่ หรือความเข้มข้น
    • ยานี้จะทำให้เกิดอาการแสบร้อนหลังจากทา
    • ยา Benzoyl peroxideอาจจะผสมร่วมกับยา  clindamycin หรือ  erythromycin 
  • ยาทาปฏิชีวนะ:
    • ได้แก่ erythromycinclindamycin และ tetracycline
    • ใช้ยาเป็นเวลานานอาจจะเกิดเชื้อดื้อยาจึงต้องผสมกับยา benzoyl peroxide เพื่อลดอาการดื้อยา
  • ยาทา retinoids:
    • ได้แก่ยา  isotretinoin, tretinoin or adapalene จะลดการเกิดสิว และลดการเกิดอักเสบ
    • ระหว่างการใช้ยานี้ห้ามออกไปตากแดดเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคือง Adapalene เป็นยาที่มีการระคายเคืองน้อยที่สุด
    • แม้ว่าการดูดซึมจะน้อยแต่ก็ไม่ควรใช้ในคนท้อง
ยารับประทานรักษาสิว
  • การใช้ยารับประทานเพื่อรักาาสิวจะต้องใช้เวลาหลายเดือนจึงจะได้ผล ดังนั้นจะต้องรับประทานยาอย่างน้อย 3 -4 เดือนจึงจะเห็นผล
  • สามารถที่จะใช้ยารับประทานรักษาสิวร่วมกับยาทารักษาสิว
  • ผู้ที่มีผิวคล้ำควรจะได้รับยารับประทานให้เร็วเพราะเมื่อสิวหายจะเกิดจุดดำบริเวณที่สิวเกิด
  • ยาปฏิชีวนะยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ได้แก่ยา erythromycin,Tetracyclines ยาปฏิชีวนะจะให้กับผู้ที่เป็นสิวรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมากจะให้ระยะเวลาไม่เกิน 3-4 เดือนเพื่อลดการดื้อยา หลังจากสิวดีขึ้นจะลดการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน และใช้ชนิดทาแทน
    • ยารับประทานปฏิชีวนะจะได้ผลดีในสิวที่เป็นหนอง
    • ยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อยคือ doxycycline   minocycline Clindamycin
  • ยาฮอร์โมน:
    • โดยการรับประทานยาคุมกำเนิดก็สามารถรักษาสิวได้ oral contraceptive 
    • ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของ norethisterone ไม่ควรจะใช้เนื่องจากมีฤทธิ์ของ androgenic
    • Spironolactone ได้ผลดีสำหรับผู้สูงอายุ
  • Oral isotretinoin ยาอนุพันธ์ของวิตามินเอ Isotretinoin ใช้รักษาสิวชนิดรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีปกติ การใช้ยานี้จะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผิวหนังโดยใกล้ชิดเนื่องจากมีผลข้างของยามาก และอาจจะทำให้ทารกเกิดมาพิการหากได้ยานี้ในระหว่างการตั้งครรภ์
    • ยา retinoid isotretinoin จะลดการสร้างไขมัน
    • การรักษาด้วยยานี้จะต้องติดตามโดยใกล้ชิดเนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียง
    • อาการข้างเคียงที่สำคัญคือ ผิว ริมฝีปาก และตาแห้ง ไขมันในเลือดสูง ปวดกล้ามเนื้อเวลาออกกำลังกาย
    • อาจจะทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดจึงไม่ควรให้กับคนตั้งครรภ์ ดังนั้นจะต้องคุมกำเนิดระหว่างที่รับประทานยานี้
    • ผู้ที่รับยานี้อาจจะมีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง
การรักษาสิวโดยไม่ใช้ยา
  • comedone extractor การใช้เครื่องมือเพื่อกดหัวสิว ใช้กับสิวหัวดำ และสิวหังขาว
  • chemical peels การใช้ครีมลอกหน้าเพื่อลอกเอาผิวส่วนหน้าออก และมีเซลล์ใหม่แทนที่เซลล์เดิม
  • การใช้ Laser และแสง light therapy การใช้ Laser และ lightเป็นการรักษาที่ชั้นลึกของผิวหนังโดยที่ไม่ทำลายส่วนบนของผิวหนัง โดยเชื่อว่าจะทำให้ต่อมไขมันสร้างไขมันลดลง สำหรับการใช้แสงเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบ
  • การลอกผิวเช่นการใช้สารเคมี หรือการขัดผิว microdermabrasion ซึ่งใช้ในการลบรอยย่น ตีนกา หรือปผลเป็นเล็กๆ ก็สามารถนำมาใช้รักษาสิวได้
 
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สิว

แสดงความคิดเห็น

>