Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ตอบทุกเรื่อง "เส้นทาง/ชีวิตการทำงานนักการทูต" จากพี่ๆ นักการทูตตัวจริง

ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค่าน้องๆ ขอแนะนำตัวกันก่อน



พี่วาว วาวไพลิน ช่อวิเชียร(คนซ้าย) และพี่ตาล อรวิจิตร์ ชูเพชร(คนขวา)

พี่ทั้งสองคนเป็น "นักการทูต" จากกระทรวงการต่างประเทศนะคะ อาชีพที่หลาย ๆ คนสงสัยเหลือเกินว่าเป็นยังไง หลายคนก็ใฝ่ฝันอยากจะเป็นทูตเหลือเกิน (หรือบางคนอาจจะอยากเป็นภรรยาทูต อันนี้แล้วแต่ อิอิ) ตอนนี้พี่สองคนถูกส่งมาประจำการอยู่ที่ "สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์" ค่ะ ก่อนหน้านี้พี่ ๆ ก็ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกระทรวงฯ ที่กรุงเทพฯ 


นักการทูต" มีหลายระดับ สูงสุดก็คือ "เอกอัครราชทูต" (หรือ "ท่านทูต" ที่เราเรียกกันนั่นเอง) แล้วก็มีระดับรอง ๆ ลงมาค่ะ พวกพี่ ๆ ยังห่างไกลค่ะ เพราะเรายังเรียนจบกันมาไม่นาน (เนอะ)! ^^


สำ
หรับ พี่วาว เรียนที่สาธิตจุฬาฯ สอบได้ทุนกระทรวงการต่างประเทศ ตอนมัธยมปลายไปเรียนที่อังกฤษค่ะ โดยเริ่มเรียน ระดับ A-level (2 ปี ก่อนเข้ามหาลัย) ที่เมืองเคมบริดจ์ แล้วต่อ ป.ตรี ด้านกฎหมาย ที่ King's College London และ ป.โท ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ London School of Economics and Political Science (LSE) เรียกว่าอยู่ลอนดอนจนรู้ตรอกซอกซอยทุกแห่งเลยล่ะค่ะ (ใครจะไปเที่ยวก็ถามได้นะ ^^)
( twitter @vow_vow / Facebook : www.facebook.com/vowvow )


ส่วน พี่ตาล จบปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนะคะ พอเรียนจบปริญญาตรีปุ๊ป ก็สอบบรรจุเข้าเป็นนักการทูตที่กระทรวงการต่างประเทศค่ะ หลังจากนั้น ก็ได้รับทุนรัฐบาลฝรั่งเศสไปเรียนต่อปริญญาโท ที่สถาบันการเมือง ณ กรุงปารีส หรือ Sciences-Po Paris ประเทศฝรั่งเศสค่ะ



"นักการทูต" นั้น เป็นอาชีพที่น่าสนใจค่ะ เราจะได้ทำหลาย ๆ อย่างที่สนุกสนาน ได้ผจญภัยไปยังเมืองต่าง ๆ ได้มีโอกาสพบปะผู้คน ตั้งแต่บุคคลระดับสูง จัดงานเทศกาลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ไปจนถึงการช่วยเหลือคนไทยตกทุกข์ในต่างประเทศ ช่วยเหลือคนเจ็บที่ รพ. หรือไปเยี่ยมคนไทยที่ติดคุก ชีวิตพวกเราทั้งสองนั้น "หวือหวา" มากค่ะ 


พี่เห็นว่า มีน้อง ๆ ให้ความสนใจงานนี้กันมาก แต่อาจจะยังไม่แน่ใจเส้นทางที่จะเข้ามาทำงานตรงนี้ ใครสนใจจะมาเป็น "นักการทูต" สอบถามพี่ ๆ กันมาได้เลยนะคะ ไม่ว่าจะตั้งแต่การเรียน การสมัครเข้าทำงาน (ทั้งการสอบทุน และการสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศ) รวมทั้งลักษณะงานและชีวิตความเป็นอยู่ (ที่จริง ๆ แล้วอาจไม่ได้สบายอย่างที่ใครคิด) พี่ ๆ ยินดีตอบทุกคำถามค่า


น้อง ๆ สามารถโพสต์ถามพวกพี่ได้เรื่อย ๆ ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ ถ้าว่างตอนไหน พวกพี่จะเข้ามาทยอยตอบให้นะคะ 
และในคืนวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคมนี้ ตอน 20.30 - 22.30 พวกพี่จะเข้ามารอตอบคำถามสด ๆ ในกระทู้นี้ สดจากสิงคโปร์กันเลย! ใครสะดวกช่วงเวลานั้น สามารถเข้ามาถามตอบกันแบบสด ๆ ได้นะคะ

แสดงความคิดเห็น

>

156 ความคิดเห็น

Riyar 15 ส.ค. 59 เวลา 16:59 น. 1

ถ้าเรียนจบคณะสายวิทย์พอจะมีโอกาสไหมคะพี่ ตอนนี้เรียนสาธารณสุขแต่รู้สึกไม่ใช่แนวตัวเองเท่าไรค่ะ T^T

1
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 19:50 น. 1-1

การสมัครสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศ น้อง ๆ จะต้องจบ ป.ตรี หรือ ป.โท ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์/บริหารรัฐกิจ บริหารธุรกิจ การจัดการ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บัญชี ภาษา วรรณคดี ศึกษาศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ปรัชญา ศาสนา เทววิทยา สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ หรือนิเทศศาสตร์ ค่ะ (อ้อ ใครเก่งมากจบ ป.เอก ก็สมัครได้นะคะ แต่ใช้วุฒิ ป.โท สอบ แล้วค่อยมาปรับวุฒิทีหลังค่ะ)

หากคณะที่เรียนอยู่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ก็อย่าเพิ่งหมดหวังนะคะ ^_^ สามารถเรียนต่อ ป.โท ในสาขาเหล่านี้แล้วก็มาสมัครสอบได้ หรืออาจจะเรียน ป.ตรี อีกใบ (เช่น เรียนนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง) ไปควบคู่กันไปเลยก็ได้ค่ะ

หรืออีกวิธีหนึ่งคือ การรับทุน ป.โท ของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะมีประกาศอยู่สม่ำเสมอค่ะ วิธีนี้ก็จะได้ไปเรียนต่อเมืองนอกด้วยเลย โดยทุนกระทรวงฯ ระดับ ป.โท มักมีเงื่อนไขคือ จะต้องมีมหาวิทยาลัยในต่างประเทศรองรับอยู่แล้ว (คือ มหาวิทยาลัยตอบรับเราแล้วนั่นเองเนอะ)
ขำ / พี่วาว

0
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 19:53 น. 2-1

สบายมากค่า ^__^ คนที่สอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศส่วนใหญ่เลยก็จบในประเทศไทยนี่แหละค่ะ (พี่ตาลก็เป็นหนึ่งในนั้น สอบเข้าหลังจบ ป.ตรี ที่รัฐศาสตร์ จุฬาฯ)

หลังจากนั้น ไม่จำเป็นต้อเงรียนต่อก็ได้ค่ะ แต่หากใครอยากเรียนต่อเมืองนอก ก็ทำได้เช่นกัน จะมีทุนของกระทรวงฯ ที่ให้กับข้าราชการนักการทูต หรือจะเป็นทุนจากรัฐบาลต่างประเทศก็มีค่ะ อย่างพี่ตาลก็ได้ทุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสไปเรียนต่อที่ปารีสค่ะ (โดยระหว่างที่เรียนก็ยังเป็นข้าราชการอยู่ค่ะ ไม่ต้องลาออก ^^)

ว้าว / พี่วาว พี่ตาล

0
Chanan Ya 15 ส.ค. 59 เวลา 17:14 น. 3

อยากทราบว่า กว่าจะเป็นนักการทูตได้นี่ต้องผ่านอะไรมาบ้างคะ? แบบว่าการสมัครเข้าทำงานมีขั้นตอนยังไงบ้าง? พอการสมัครคัดเลือกผ่านแล้วต้องเจออะไรต่อ? และถ้าไม่ได้เรียนสายตรง(ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)มา พอจะมีโอกาสบ้างมั๊ยหรือถ้าอยากเป็นจริงๆต้องเตรียมตัวยังไงบ้างคะ? ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าค่ะ 

2
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 19:55 น. 3-1

การเข้ามาเป็นนักการทูต ทำได้ 2 วิธี คือ การรับทุนของกระทรวงการต่างประเทศ (อย่างพี่วาว) หรือสอบเข้า (อย่างพี่ตาล) ค่ะ โดยกระทรวงฯ จะประกาศให้ทราบว่าเปิดรับสมัครสอบทางเว็บ www.mfa.go.th ค่ะ

สำหรับการสอบเข้าก็จะมีด่าน 3 ด่าน ด้วยกัน (เหมือนเข้ารอบ The Voice อะไรแบบนี้เนอะ มีหลายชั้น..) คือ

(1) ภาค ก. สอบปรนัย (multiple choice) มักจะถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการต่างประเทศ และข้อสอบภาษาอังกฤษพื้นฐาน

(2) ภาค ข. สอบข้อเขียน แบ่งเป็นส่วนการแปลไทย-อังกฤษ อังกฤษ-ไทย การย่อความ และการเขียนเรียงความ (essay) ซึ่งจะมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (เลือกตอบภาษาต่างประเทศใดก็ได้ตามที่กำหนด เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน ฯลฯ) ในหัวข้อที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศค่ะ (ด่านนี้ดูจริงจังเนอะ) เหอะๆ

(3) ภาค ค. สอบสัมภาษณ์ โดยเราจะไปเข้าค่ายทำกิจกรรมร่วมกัน จะมีการสอบ 3 ส่วนคือ 1) Group discussion แบ่งกลุ่มหารือกันในหัวข้อที่ได้รับ 2) Public speaking การพูดต่อหน้าสาธารณชนอย่างฉับพลันเป็นภาษาอังกฤษ โดยเราจะได้รับหัวข้อมา แล้วมีเวลาเตรียม 10 นาที จากนั้นขึ้นพูดประมาณ 3-5 นาทีค่ะ (พี่ตาลขอบอกว่า อันนี้ ตื่นเต้นสุดๆ เลยค่ะ) และ 3) การสัมภาษณ์รายบุคคล ค่ะ น้ำตาจะไหล

พอผ่านเข้ามาแล้วก็จะมีการอบรมนักการทูตแรกเข้า (นอกจากวิชาการแล้วก็มีสอนวิธีการเรียงช้อนส้อม แก้วไวน์ บนโต๊ะอาหาร อะไรแบบนี้ด้วยนะ ^^) มีการหมุนเวียนไปทดลองปฏิบัติงานตามกรม/กอง ต่าง ๆ บางปีก็จะมีการส่งไปปฏิบัติงานระยะสั้นที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศด้วยล่ะค่ะ จากนั้น ก็จะเป็นการเข้าปฏิบัติงานตามกรม/กอง ต่าง ๆ ตามปกติ (หมด honeymoon period แล้ว!)

ไม่ได้เรียนรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ไหม? สบายมากเลยค่ะ ^_^ ทราบไหมคะว่า นักการทูตส่วนใหญ่ของกระทรวงฯ นั้นไม่ได้จบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาค่ะ ที่เหลือก็จบรัฐศาสตร์สาขาอื่น เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ อักษรศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่น ๆ (พี่วาวก็จบกฎหมายมาค่ะ)

สิ่งสำคัญที่สุดยิ่งกว่าการ “จบอะไรมา?” ก็คือจะต้องใฝ่หาความรู้รอบตัว โดยเฉพาะด้านการต่างประเทศ (อ่านบทความเยอะ ๆ) ฝึกการคิดวิเคราะห์และการสังเคราะห์ (ฝึกตั้งโจทย์และอภิปรายกับตัวเองหรือคนรอบข้าง) และการฝึกไหวพริบค่ะ เพราะการปฏิบัติงานของนักการทูตไม่ได้ทำแค่ในแผ่นกระดาษ ^^ ถ้าทำตรงนี้ได้ก็จะสามารถทำข้อสอบได้แล้ว จะทำให้เราก้าวไปเป็นนักการทูตที่ดีได้ด้วยค่ะ

(น้องถามยาวไง เลยตอบให้ยาวกว่า ^^’’)


ขำ / พี่วาว พี่ตาล

0
Chanan Ya 16 ส.ค. 59 เวลา 15:19 น. 3-2

อู้หู ดูทรหดมากเลยค่ะ ช็อค ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ

0
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 20:06 น. 4-1

อันนี้พี่ตาลบอกว่า “ยากค่า” (จบนะ) ไม่สิ ต้องบอกว่า ความยากนั้นจะทำให้เรารู้ว่าจะต้องเตรียมตัวมาดีค่ะ และที่สำคัญ เรารู้ว่าผลตอบแทนก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าค่ะ

เครียดมั้ยน่ะเหรอ ^____^ แฮ่ ๆ ๆ ไม่เครี้ยดดดดด (เสียงสูง)

(เอาจริง ๆ) ก็มีเครียดบ้างในช่วงที่งานหนัก ใกล้ทริปเยือนของบุคคลระดับสูง หรือใกล้ประชุมค่ะ (ทำหน้าอ่อนแรง มุมิ แต่เดียวก็หาย >.<) แต่ภายใต้ความเครียดนั้นก็มีความสนุกและความสุขอยู่ค่า เพราะการทำงานเป็นนักการทูตนั้นทำให้เราได้มีโอกาสทำงานที่หลากหลายค่ะ ทั้งวิชาการ ทั้งจัดงานสนุก ๆ ยกตัวอย่างเช่น การจัดงานเทศกาลไทยในต่างประเทศ ที่มีทั้งการจัดการแสดงสินค้า วัฒนธรรม และอาหารไทย...

เครียดไปก็กินไปค่ะ >.<

ฮือฮือ / พี่วาว พี่ตาล

0
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 20:43 น. 5-1

เมื่อทำงานไปสักพัก นักการทูตเราจะได้ “ออกประจำการ” ที่ต่างประเทศค่ะ (หรือเรียกตามภาษานักการทูตว่า “การออกโพสต์” ค่ะ)
ซึ้ง

ส่วนจะออกไปประเทศอะไรนั้น เรามีสิทธิที่จะแจ้งความประสงค์เป็นอันดับ ๆ ไปค่ะ แต่การจะได้มอบหมายให้ไปที่ไหน-ตามที่หวังไว้หรือไม่ นั้น ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความรู้/ความถนัดภาษาท้องถิ่น อายุราชการ และคุณสมบัติอื่น ๆ ค่ะ บางโพสต์อาจจะมีการเปิดสอบเป็นการเฉพาะด้วย

สำหรับสิงคโปร์นั้น พี่วาว และพี่ตาล ต่างก็ตั้งใจเลือกเองค่ะ สิงคโปร์เป็นประเทศอาเซียน มีความสัมพันธ์ที่ดีและรอบด้านกับไทย รวมทั้ง มีงานให้ทำได้ไม่ขาดมือเลย ^_^
แบร่

แต่ไม่ว่าจะไปที่ไหน เราก็จะได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ของแต่ละที่ที่ต่างกันไป เพราะในชีวิตนักการทูตนั้น การถูกหมุนเวียนไปในประเทศต่าง ๆ จะทำให้เรามีความรอบด้าน และสั่งสมประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ให้พร้อมเป็นนักการทูตที่ดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ ^^

ว้าว / พี่วาว พี่ตาล

0
Munn Manie 15 ส.ค. 59 เวลา 19:26 น. 6

อยากถามค่ะว่าทำไมถึงอยากมาเป็นนักการทูต
ทำงานเป็นยังไง เครียดมั้ย สนุกมั้ย
ตอนสอบเป็นยังไงบ้าง ถ้าอยากเป็นแบบพี่ๆต้องทำยังไงบ้างคะ
ถามเยอะมาก555555 ขอบคุณที่ตอบล่วงหน้านะคะ

1
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 20:53 น. 6-1

ทำไมถึงอยากเป็นนักการทูต? นักการทูตเป็นอาชีพที่มีเกียรติค่ะ ได้ทำงานรับใช้ประเทศ ในฐานะผู้รักษาและปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ตลอดจนได้ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของไทยสู่ต่างประเทศด้วยค่ะ ที่สำคัญ เป็นอาชีพที่มีความท้าทาย เพราะเราจะต้องปรับตัวให้ทันยุค ทันสมัยอยู่เสมอ เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ไปตลอดชีวิตค่ะ ^_^

สำหรับทำงานเป็นไง เครียดไหม สอบยากมั้ย สอบยังไงบ้าง ตอบแล้วในข้อ 3 และ 4 จ้า


รักเลย / พี่ตาล

0
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 20:53 น. 7-1

การสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศไม่มีกำหนดเกรดขั้นต่ำค่ะ หากมีความตั้งใจและความพยายามที่จะฝึกฝน พี่ ๆ ก็เชื่อว่า หลายคนจะต้องทำได้ในที่สุดค่ะ หลายคนก็ได้พยายามสอบเข้ากระทรวงฯ มากกว่า 1 ครั้งและสอบได้ในที่สุดค่ะ ที่สำคัญคือ จะต้องเรียนรู้การแปลงความผิดพลาดให้เป็นบทเรียนและแรงผลักดัน ให้เราขยันจนทำได้ในที่สุดค่ะ อย่าท้อเด็ดขาด fighto!

พูดไม่ออก / พี่วาว พี่ตาล

0
Mingukgy 15 ส.ค. 59 เวลา 20:14 น. 8

การจะสอบนักการทูตนี่ต้องเตรียมตัวด้านแกรมม่าด้วยมั้ยคะ แบบว่าภาษาอังกฤษ เขียนแกรมม่าต้องเป๊ะอะไรอย่างงี้ 555 แล้วก็สอบสัมภาษณ์ก็จะถูถามเป็นภาษาอังกฤษใช่มั้ยคะ

1
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 20:56 น. 8-1

แกรมม่าเป็นพื้นฐานของการเขียนและการพูดเนอะ ^_^ แน่นอนว่าไม่มีใครมานั่งจับผิดแกรมม่าเราเวลาที่เราเขียนตอบ essay หรือว่าในการสอบสัมภาษณ์ (ซึ่งมีภาษาอังกฤษด้วย) แต่เราก็จะต้องไม่ให้แกรมม่ามาเป็นอุปสรรคของการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน

ที่สำคัญกว่าแกรมม่า ก็คือ สิ่งที่เราต้องการจะสื่อ นั่นก็คือ ความคิดของเรานั่นเองค่ะ สำคัญที่สุดเลย
ขำ / พี่วาว พี่ตาล

0
tv__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 21:09 น. 9-1

สำหรับคณะรัฐศาสตร์ เป็นการเรียนในเชิงกว้างๆ เราจะไม่ได้มีวิชาชีพเฉพาะเหมือนนิติศาสตร์ (ไปเป็นนักกฎหมาย) บัญชี วิศวกร ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้หลายๆ คนคิดว่า จะค่อนข้างหางานลำบากนิดนึงเนอะ
แต่จากประสบการณ์ของพี่ตาลนะคะ เพื่อนๆ พี่หลายคนก็ไปทำงานรับราชการในภาครัฐ ทำงานในรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนต่างๆ ก็เยอะ บางคนไปเปิดธุรกิจของตัวเองก็มีค่ะ
พี่ตาลว่า การเรียนเป็นแค่จุดเริ่มต้นนะคะ ลองเลือกเรียนในสิ่งที่สนใจและอยากเรียนก่อน หลังจากนั้น ในเรื่องของการทำงาน พี่ว่าเป็นการต่อยอดค่ะ เดี๋ยวนี้ งานก็มีให้เลือกทำหลากหลายและเปิดกว้างขึ้น พี่ว่า ไม่ตกงานแน่นอนค่ะ

รักเลย / พี่ตาล

0
^^^^^^^^^^ 15 ส.ค. 59 เวลา 20:23 น. 10

หนูสงสัยอะค่ะว่าต้องเก่งENGแค่ไหน หนูโทอิก 700กว่าๆ ฟังพูดอ่านเขียนออกหมด แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าอังกฤษเราแน่นพอที่จะเข้าไปทำงานตรงนั้น หรือมีเทคนิคอะไรที่จะทดสอบตัวเองได้ว่าภาษาอังกฤาเราดีพอจะทำงานนักการทูตมั้ยคะ:))))))))เผื่อหนูจะได้เรียนเพิ่มค่ะ ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าค่ะพี่ๆ

1
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 22:23 น. 10-1

ไม่รู้ก็ต้องมาลองสอบเข้ากระทรวงฯ ดูค่า ^_^ ถ้าสอบผ่านได้ ก็แปลว่าภาษาอังกฤษเราดีพอแน่นอน (ฮา)

สิ่งหนึ่งที่พี่วาวใช้วัดตัวเองก็คือ ตราบใดที่ภาษาอังกฤษไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารของเรา เราสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ต่างจากภาษาไทย นั่นแปลว่า ภาษาเราดีในระดับของการสื่อสารได้ค่ะ

อย่างไรก็ดี ภาษาเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ไม่มีวันสิ้นสุด แม้กระทั่งเป็น English native speaker ที่สามารถสื่อสารได้ในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ได้แปลว่า จะสามารถเขียนภาษาราชการ หรือภาษาวรรณคดีที่ยาก ๆ ได้สวยงามค่ะ ดังนั้น หากมีโอกาสพัฒนาภาษา ก็จงคว้าไว้ค่ะ เพราะภาษาเป็นสิ่งที่พัฒนาได้เรื่อย ๆ เนอะ ^_^

ขำ / พี่วาว

0
Anna 15 ส.ค. 59 เวลา 20:24 น. 11

ทุนกระทรวงต่างประเทศมีให้ไปเรียนมัธยมปลายที่ต่างประเทศด้วยหรอคะ?ที่พี่วาวไปอะค่ะ

1
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 22:39 น. 11-1

ทุนไปเรียนระดับ ม.ปลาย (เรียกว่า ทุนระดับ ม.ต้น) เมื่อก่อนมีค่ะ แต่หายไปนานมากแล้ว

สำหรับทุนที่พี่ได้รับ เป็นทุนสำหรับเรียน ป.ตรี-โท ค่ะ (เรียกว่า ทุนระดับ ม.ปลาย เพราะสอบตอนอยู่ ม.6) แต่ว่า จบ ม.6 ของไทยจะเทียบเท่าเพียงระดับ GCSE ของอังกฤษ ยังไม่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้ จำเป็นจะต้องไปเรียนในระดับมัธยมปลาย 2 ปี สุดท้ายที่เรียกว่า A-level ก่อน (อังกฤษเรียนในโรงเรียน 13 ปี แต่ ป.ตรี 3 ปี อะไร ๆ จึงไม่สามารถเทียบเท่ากันได้ซะทีเดียวค่ะ แต่ก็มีบางคนเรียนคอร์ส A-level ลัด 1 ปี หรือเรียน Foundation Course ของมหาวิทยาลัยแทน ตรงนี้ขอไม่ลงรายละเอียดละกันนะคะ ยกเว้นจะสนใจจริง ๆ ^^)

สำหรับทุนระดับ ม.ปลาย ของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อก่อนมีมาเรื่อย ๆ ค่ะ แต่ระยะหลังอาจจะหายไปบ้าง ขึ้นกับความต้องการบุคลากรของกระทรวงฯ ในสาขาเฉพาะทางในช่วงนั้น ๆ จะต้องคอยติดตามในเว็บ www.mfa.go.th (กต.) เว็บ www.ocsc.go.th (ก.พ.) หรือฝ่ายแนะแนวของโรงเรียนค่ะ
พูดไม่ออก / พี่วาว

0
hollychiki 15 ส.ค. 59 เวลา 20:34 น. 12

อยากทราบว่าใช้ภาษาจีนในการสอบเข้าทำงานได้ไหมคะ เพราะว่าภาษาอังกฤษไม่ดีเท่าไหร่เลยค่ะ T_____T
แล้วก็อยากทราบการทำงานหลักๆค่ะ ว่าต้องทำอะไรบ้าง ต้องบินบ่อยไหมคะ? ขอบคุณมากๆค่ะ

1
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 22:57 น. 12-1

สำหรับคำถามแรก ภาษาจีนใช้ในการสอบข้อเขียนส่วนที่เป็น essay ได้ค่ะ แต่ว่าก็จะมีการทดสอบการแปลกับย่อความในการสอบข้อเขียนซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ และการสัมภาษณ์ซึ่งมีส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่ดีค่ะ ^^''

การที่รู้ภาษาที่สามย่อมมีประโยชน์มาก ๆ แน่นอนในการทำงานเป็นนักการทูตค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกประจำการไปยังประเทศนั้น ๆ อย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษก็ยังมีความสำคัญมากในโลกปัจจุบัน การทำงานในฐานะนักการทูตจะต้องใช้ภาษาอังกฤษมากทีเดียวค่ะ (เลี่ยงไม่ได้เนอะ ถ้าไม่ถนัดก็ต้องฝึกจ้า ^^)

สำหรับการทำงาน แบ่งเป็นงานการทูตทวิภาคี (ความสัมพันธ์ไทยกับประเทศต่าง ๆ) การทูตพหุภาคี (เช่น องค์การระหว่างประเทศ อาเซียน ฯลฯ) งานบริหาร และงาน functional (เช่น งานกงสุล งานพิธีการทูต) แต่ละงานมีเนื้องานที่แตกต่างกันไปค่ะ ความถี่ในการบินไปต่างประเทศและประเทศที่บินไปก็ต่างกันไปตามเนื้องานที่เราทำด้วย มีตั้งแต่ทุก ๆ ไม่กี่สัปดาห์ ไปจนถึงแทบไม่ต้องบินไปไหนเลยก็มีค่ะ งานการทูตถือว่ามีความหลากหลายมาก

รักเลย / พี่วาว พี่ตาล

0
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 23:06 น. 13-1

ตามที่ตอบไปในข้อ 1 เรียนวิชาอะไรก็ได้ในนั้นเลยจ้ะ (บริหารธุรกิจก็เป็นหนึ่งในสาขาวิชาที่สามารถสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศได้) แต่เนื้อหาในการเตรียมตัวสอบจะออกไปทางนโยบายต่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ตามที่ตอบไว้ในข้อที่ 3 จ้า เรียนอะไรก็ได้ แต่เตรียมตัวมาทางนี้ ๆ ละกันเนอะ ^^
พูดไม่ออก / พี่วาว พี่ตาล

0
ฟิล์มเอง 15 ส.ค. 59 เวลา 20:40 น. 14

จากที่อ่านคำตอบที่พี่บอกว่าคณะนิเทศศาสตร์สามารถสอบเข้าได้ สามารถสอบเข้าได้จริงๆใช่ไหมคะ รู้สึกตกใจมาก 5555555ช็อค

1
vt__diplomat 15 ส.ค. 59 เวลา 23:08 น. 14-1

ได้ค่ะ ไม่ได้โม้ 5555 เรียนจบคณะอะไรก็ตามที่ตอบไปในข้อ 1 ได้เลยค่ะ แต่อย่างที่บอกไว้ในข้อ 13 ค่ะ เราก็จะต้องเตรียมตัวตามแนวข้อสอบด้วยเนอะ เพราะอย่าลืมว่า ยังไงก็สอบมาเป็นนักการทูต ไม่ได้สอบไปเป็น producer รายการทีวีเนอะ อาจจะเนื้อหาต่างจากที่เรียน อิอิ :3

ขอเสริมนิด ส่วนตัวแล้วพี่วาวคิดว่า การเรียนด้านนิเทศศาสตร์มีประโยชน์กับงานของนักการทูตมากเลย โดยเฉพาะการการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ทักษะด้านนี้จะมีประโยชน์มากในงานด้านสารนิเทศของกระทรวงฯ รวมทั้งงานด้านอื่น ๆ โดยรวมด้วยค่ะ
ว้าว / พี่วาว

0
Baimonnnn 15 ส.ค. 59 เวลา 20:52 น. 15

ทุนปริญญาตรีต้องสอบตอนจบม.6ใช่มั้ยคะ ประมาณช่วงไหนคะ แล้วข้อสอบเป็นประมาณไหนคะเศร้าจัง

1
vt__diplomat 16 ส.ค. 59 เวลา 21:22 น. 15-1

ทุนระดับมัธยมปลายที่ให้เราไปเรียนระดับ ป.ตรี (หากมี – เพราะเว้นว่างไประยะหนึ่งแล้ว) จะสอบระหว่างที่เรากำลังเรียนอยู่ ม.6 ค่ะ มักจะประกาศในช่วงปลายปีนั้น ๆ ร่วมกับทุนรัฐบาลอื่น ๆ ค่ะ ข้อสอบจะเหมือน ๆ กับข้อสอบทุนรัฐบาลในระดับเดียวกัน โดยเราต้องสอบวิชาที่เกี่ยวข้องกับสาขาของทุน เช่น สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือหากไปเรียนเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศก็จะต้องสอบเลข ค่ะ
พูดไม่ออก / พี่วาว

0
I wanna say 15 ส.ค. 59 เวลา 21:34 น. 16

ถ้าเราเรียนรัฐศาสตร์ IR จบไปสามารถเป็นอะไรได้บ้างคะ ถ้าไม่ใช่นักการทูต

แล้วการสอบเข้าเป็นนักการทูตนี่ต้องมีนามสกุลดังๆจริงรึป่าวคะ

อีกคำถามนะคะ อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับทุนของกระทรวงต่างประเทศอ่ะค่ะ

คำถามสุดท้ายค่ะ 555 การจะเป็นนักการทูตต้องมีนิสัยยังไง คุณสมบัติยังไงเป็นพิเศษไหมคะ คือหนูชอบภาษามากค่ะ ชอบท่องเที่ยวด้วย แต่เฉยๆกับพวกวิชาสังคมอะไรพวกนี้อ่ะค่ะ

2
vt__diplomat 16 ส.ค. 59 เวลา 21:23 น. 16-1

ถ้าเราเรียนรัฐศาสตร์ IR จบไปสามารถเป็นอะไรได้บ้าง? อันนี้พี่ตาลตอบแล้วในข้อ 9 ค่ะ

เป็นนักการทูตต้องนามสกุลดัง ๆ จริงรึเปล่าคะ? เท่าที่ดูนามสกุลพี่ ๆ ทั้งสอง ก็ไม่มีญาติเป็นอดีตทูต หรือเป็นคนดังอะไรเนอะ ถ้าจะดังก็สงสัยจะดังเพราะเว็บเด็กดีเอามาลงเนี่ยแหละ (ดังหรือดับไม่รู้)

เรื่องทุน ตอบไปแล้วในข้อ 1, 11 และ 15 ค่ะ หากสงสัยเพิ่มเติมก็ถามมาได้ค่ะ

จะเป็นนักการทูตต้องนิสัยยังไง มีคุณสมบัติอะไร? พี่ ๆ คิดว่าการเป็นนักการทูตจะต้องมีคุณสมบัติเหล่านี้ (ไม่ได้จำกัดอยู่เท่านี้นะคะ)

1) จะต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้ ไม่เพียงแต่เรื่องการทูต-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแค่นั้น แต่จะต้องรู้รอบด้าน ตามทันโลกและตามทันคนเสมอ

2) ไม่เพียงแต่เป็นนักวิชาการ เขียน speech ได้ เตรียมข้อมูลได้ แต่นักการทูตจะต้องเป็นนักปฏิบัติ ทำงานอย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

3) จะต้องทำงานเป็นทีมเวิร์คให้ได้ เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี เป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้ตามที่ดี เพราะงานส่วนใหญ่ไม่ใช่ “one man show” ไม่ได้สำเร็จได้ด้วยคน ๆ เดียว

4) ไม่เพียงแต่การเข้าสังคมอย่างเป็นทางการเข้านั้น นักการทูตที่ดีจะต้องใฝ่หามิตรเสมอ เพราะในหลาย ๆ เรื่องคำกล่าวที่ว่า Information is King ก็ยังเป็นความจริง

น้อง ๆ จะเห็นว่า การเป็นนักการทูตนั้นอาจไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความชอบด้านภาษา ท่องเที่ยว หรือความชอบวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น แต่จะต้องอาศัยทักษะหลาย ๆ ด้านที่กล่าวมาเป็นสำคัญเลยค่ะ ^^’’

ขำ / พี่วาว พี่ตาล

0
Ppcrwd 15 ส.ค. 59 เวลา 21:38 น. 17

การสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศ ได้จำกัดจำนวนคนไว้รึเปล่าคะ คือถ้ามีคนสอบผ่านทั้งสามด่านจำนวนสามถึงสี่คน ทั้งหมดที่ผ่านก็สามารถเข้าบรรจุกระทรวงได้เลยหรือต้องเลือกเพียงคนเดียวคะ

1
vt__diplomat 16 ส.ค. 59 เวลา 21:24 น. 17-1

การสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศ นอกจากจะแข่งขันกับตัวเอง (ผ่านเกณฑ์) แล้วจะต้องแข่งกับผู้อื่นด้วยค่ะ โดยจะมีโควต้าในแต่ละรอบค่ะ (เช่น รอบนี้รับ 30 คน เป็นต้น)

พูดไม่ออก / พี่วาว พี่ตาล

0
vt__diplomat 16 ส.ค. 59 เวลา 21:25 น. 18-1

Diplomatic affairs involve different aspects of work – be it political, cultural, economic, consular or others. As a diplomat, you will be required to perform a number of tasks, which involve various sets of skills and knowledge, some of which you might have never heard of before. Throughout your diplomatic career, the most important thing is to be flexible, to adapt well, and to be able to achieve different tasks, despite your lack of prior skills or background knowledge. You will also need to put your 100% efforts into whatever you do, and to look beyond the final results towards the steps forward. Whether or not you are the expert, as a diplomat, you have to be one. This is because, as a diplomat, the outcome of your performance does not just reflect on yourself, or your organisation, but also your country. Combining adaptability with efficiency is not just the most important thing, but also the most difficult thing.

ขำ / P'Vow

0
ablastone 15 ส.ค. 59 เวลา 22:06 น. 19

พี่ๆคะ ขอถามแบบโง่ๆเลยนะคะ 555555555เห็นเรื่องนี้เยอะมาก ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า ที่แบบว่าเส้นสายอะไรแบบนี้อ่ะค่ะมีจริงๆหรือเปล่าคะ อีกคำถามค่ะ อย่างพี่วาวคือได้ทุนเรียนป.ตรีที่ตปทเลยใช่มั้ยคะ ข้อสอบยากมั้ยคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

1
vt__diplomat 16 ส.ค. 59 เวลา 21:26 น. 19-1

ตามที่ตอบไปในข้อ 16 ค่ะ พวกพี่ ๆ สองคนน่าจะมีแต่เส้นหมี่ เส้นมาม่า ค่ะ

ข้อสอบทุนระดับมัธยมปลาย ตามที่บอกในข้อ 15 คือ ข้อสอบก็จะเป็นข้อสอบทุนรัฐบาลเหมือนกับที่อื่น ๆ ค่ะ ไม่ยากมากแต่ออกแนวโหดนิด ๆ สำหรับเด็กมัธยมปลายในระบบโรงเรียนไทยที่อาจแทบไม่เคยมีโอกาสเขียนตอบเป็น essay (เช่น วิชาสังคม) ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ใช้ความรู้ แต่จะต้องมีการวิเคราะห์ และสามารถนำเสนอความคิดได้อย่างดีอีกด้วย
เหอะเหอะ / พี่วาว พี่ตาล

0
alicealison 15 ส.ค. 59 เวลา 22:28 น. 20

สวัสดีค่าา ขอรบกวนพี่ตาลกับพี่วาวด้วยนะคะ

1.นักการทูตควรจะต้องมีทักษะหรือว่าบุคลิกยังไงบ้างคะ แล้วจะสามารถฝึกได้มั้ยคะ?

2.ภาษาที่สามสำหรับนักการทูตจำเป็นมั้ยคะ ถ้าสมมติเราจะได้ไปประจำในประเทศที่ไม่ได้ใช้
ภาษาอังกฤษ เราจะต้องเรียนภาษาของประเทศนั้นๆ ด้วยหรือเปล่าคะ?

3.หนูสนใจที่จะเรียนภาษาที่สามเพิ่มเติมค่ะ และตั้งใจว่าจะสอบเข้าทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศด้วย
รบกวนพี่วาวกับพี่ตาลช่วยแนะนำหน่อยได้มั้ยคะ ว่าจะเรียนภาษาไหนดี อยากทราบความต้องการของกระทรวงด้วยน่ะค่ะ

4.อยากทราบว่าพี่ตาลต้องสอบชิงทุนรัฐบาลฝรั่งเศสด้วยมั้ยคะ หรือว่าเป็นทุนที่ให้นักการทูตเลยหรือเปล่าคะ?

5.จะต้องไปประจำอยู่ที่ต่างประเทศนานแค่ไหนคะ มีระยะเวลากำหนดมั้ยคะ แล้วนักการทูตคนหนึ่งจะได้ไปประจำอยู่คนละกี่ประเทศคะ?

6.รบกวนพี่วาวกับพี่ตาลช่วยเล่าเหตุการณ์ที่ประทับใจในฐานะนักการทูตให้ฟังได้มั้ยคะ อยากได้แรงบันดาลใจค่าา

พี่ตาลจะสะดวกหรือเปล่าคะถ้าหนูจะขอช่องทางการติดตามน่ะค่ะ ขอจากพี่วาวในทวิตเตอร์แล้วพี่วาวบอกให้มาถามพี่ตาลในกระทู้อีกทีน่ะค่ะ >w< ทวิตเตอร์ก็ได้ค่าา ถ้าไม่สะดวกไม่เป็นไรนะคะ ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะคะ จริงๆ ก็แอบเกรงใจพี่วาวกับพี่ตาลอยู่ค่ะที่ถามมาซะยาวและเยอะขนาดนี้ แต่ดีใจมากค่ะที่ได้มีโอกาสคุยกับพี่ๆ ขอบคุณมากๆ นะคะ หนูจะพยายามค่าา :)

4
tv__diplomat 16 ส.ค. 59 เวลา 21:46 น. 20-1

ข้อ 1 บุคลิกและคุณสมบัติของนักการทูต ตอบไปแล้วในข้อ 16 นะคะ

ข้อ 2 ภาษาที่สามจำเป็นมั้ย? ภาษาที่สามเป็นประโยชน์มากค่ะสำหรับนักการทูต อย่างพี่ตาลก็พูดฝรั่งเศส หากไปประจำการในประเทศฝรั่งเศส (สาธุ) ก็เจ๋งเป้งเลยค่ะ ในการไปประจำการในประเทศที่ไม่พูดภาษาอังกฤษนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะรู้พื้นฐานของการสื่อสารค่ะ การยิ่งพูดภาษาท้องถิ่นได้มากก็ยิ่งเป็นประโยชน์ค่ะ

ข้อ 3 ภาษาที่กระทรวงฯ ต้องการมักจะเป็นภาษาที่คนเรียนน้อย แต่มีการใช้กันมากพอควรในวงการการทูต/การทำงานด้านการทูตของไทยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอาหรับ ภาษารัสเซีย ภาษาบาฮาซา ที่หาคนไทยเป็นผู้เชี่ยวชาญยากมาก อยากรู้ว่ากระทรวงฯ สนใจภาษาที่สามไหน อาจจะดูได้จากทุนกระทรวงฯ ปีที่ผ่าน ๆ มาค่ะ ว่าส่งคนไปเรียนระดับ ป.ตรี ที่ประเทศไหนบ้าง ^_^

ข้อ 4 พี่ตาลสอบทุนรัฐบาลฝรั่งเศสค่ะ มีเปิดรับสมัครทุกปีชื่อว่า ทุน Franco-Thai ค่ะ

ข้อ 5 ระยะเวลาประจำการในต่างประเทศสำหรับนักการทูตระดับเอ๊าะ ๆ อย่างพวกเรา คือ 4 ปี ค่ะ แล้วก็กลับไปกรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะออกไปประเทศอื่นอีกครั้ง แต่สำหรับระดับสูง (เช่น เอกอัครราชทูต) จะไม่มีการกำหนดระยะเวลาแน่นอน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 2-4 ปี ค่ะ นักการทูตคนหนึ่งอาจจะประจำการ 4-5 ประเทศ อาจจะมากกว่านี้ หรือน้อยกว่านี้ก็ได้ค่ะ ขึ้นกับความเหมาะสมและโอกาส บางคนเลือกที่จะไม่ออกประจำการและขอทำงานใน Headquarters ที่กระทรวงฯ ได้เช่นกันค่ะ

ข้อ 6 เหตุการณ์ประทับใจของพี่วาว คือ สิ่งที่หลายคนมองข้ามเกี่ยวกับงานของนักการทูตค่ะ นั่นคือ การช่วยคนไทยตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ หลาย ๆ ครั้งเราได้มีโอกาสช่วยคนที่เจ็บหนัก เส้นเลือดในสมองแตกจนจำอะไรไม่ได้ ช่วยติดต่อ รพ. ติดต่อญาติ จนพาเขาไปรักษาตัวที่ประเทศไทยได้สำเร็จ มีอยู่วันหนึ่งหลังจากเหตุการณ์นั้นนานแล้ว ก็มีผู้ชายคนหนึ่งทักเราที่ซุเปอร์มาร์เก็ต บอกว่าจำเราได้ คุณวาวที่เป็นกงสุลใช่ไหม เพราะเขาคือน้องชายของผู้ชายที่เจ็บหนักคนนั้น ตอนนี้พี่ชายเขาหายเกือบเป็นปกติแล้ว ได้ยินแบบนี้เราก็ดีใจค่ะ
ส่วนของพี่ตาล คงเป็นการได้ไปในสถานที่แปลกใหม่ค่ะ เช่น ตอนพี่อยู่กรมยุโรป ได้ไปหมู่เกาะ Svalbard ประเทศนอร์เวย์ ถือเป็นบริเวณที่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากๆ ค่ะ โดยได้สานต่อความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัยขั้วโลกเหนือ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีค่ะ

สำหรับช่องทางติดต่อพี่ตาลนะคะ พี่ไม่ได้เล่นทวิตเตอร์ (เชยจัง 555) แต่ติดตามทาง ig ที่ @ornwijit ได้นะคะ

ขำ / พี่วาว พี่ตาล

0
alicealison 17 ส.ค. 59 เวลา 14:31 น. 20-2

ขอบคุณพี่วาวกับพี่ตาลมากๆ นะคะ
มีกำลังใจและแรงบันดาลใจขึ้นเยอะเลยค่ะ
หนูจะพยายามทำให้เต็มที่ค่า!

0
alicealison 17 ส.ค. 59 เวลา 14:39 น. 20-3

ไปติดตาม IG ของพี่ตาลเรียบร้อยแล้วนะคะ
ขอบคุณค่าา :)

0