Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มาทำความรู้จักกับ "สถาปนิก" กันเถอะ!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีเพื่อนๆ ชาวเด็กดีทุกคนนะคะ วันนี้พี่เพอร์คัมแบคอีกครั้งพร้อมกับข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับอาชีพสถาปนิกค่ะ คาดว่าในปัจจุบันอาชีพนี้คงเป็นหนึ่งในอาชีพในฝันของใครหลายๆ คนเลยใช่ไหมละคะ พี่เพอร์เองยังเคยคลั่งไคล้อยู่พักนึงเลยค่ะ ฮิฮิ ทุกวันนี้จะทำงานอะไรก็ต้องคิดกันให้ดีเสียก่อนค่ะ ดูว่าอาชีพนี้เหมาะกับเราจริงไหม ใช่เรารึเปล่า ทำแล้วมันจะมั่นคงแล้วเราจะมีความสุขไหม เพราะการได้งานที่ใช่ ก็เหมือนมีชัยไปกว่าครึ่งค่ะ วันนี้พี่เพอร์เลยนำข้อมูลสำคัญที่จะทำให้เพื่อนๆ รู้จักกับ “นักสถาปนิก” มากขึ้นมาให้ชมกับค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว...ก็ Let’s Go!!


 
งานสถาปกนิก คือ การออกแบบอาคารประเภทต่างๆให้สวยงาม และสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ กฎหมาย ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งทางศิลปะและเทคนิค โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและประหยัด ทั้งในด้านราคาค่าก่อสร้างและพลังงานสนองความต้องการของผู้อาศัย และผู้ใช้อาคาร สถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบ ต้องทำงานตามขั้นตอนและกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับวิศวกรก่อสร้างและนักเขียนแบบ ซึ่งงานทุกงานที่ได้รับมีความท้าทายและโจทย์ที่ต้องแก้ไขแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่างานนั้นจะเป็นอะไร เป้าหมายคือทำงานชิ้นนั้นให้สำเร็จลุล่วงตั้งแต่ขั้นตอนแรกยันขั้นตอนสุดท้ายที่เรารับผิดชอบ


ลักษณะการทำงาน
สถาปนิกจะเป็นผู้ออกแบบต้องทำงานตามขั้นตอนและกำหนดเวลาชิ้นผลงานต่างๆ ร่วมกับวิศวกรก่อสร้างและนักเขียนแบบ โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ค่ะ
1. บันทึกรายละเอียด ความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า
2. ออกแบบ คำนวณแบบ เลือกวัสดุที่มีคุณภาพเหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า
3. คำนวณรายการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับเนื้องาน
4. เตรียมแบบ และส่งแบบที่วาดโดยช่างเขียนแบบให้ลูกค้าพิจารณา เพื่อ ดัดแปลงแก้ไขและตอบข้อซักถามของ ลูกค้าร่วมกับวิศวกร
5. เมื่อแก้ไขดัดแปลงให้สมบูรณ์แล้วจึงส่งแบบให้กับวิศวกรทำการก่อสร้าง
6. ออกปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรระหว่างทำการก่อสร้างเพื่อให้ใช้วัสดุและตามแบบที่วางไว้ตามเงื่อนไขสัญญา
7. ให้คำปรึกษาต่อวิศวกรและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและการคำนวณของวิศวกร 




คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพสถาปนิก
คุณสมบัติของเราเป็นอีกหนึ่งความสำคัญสำหรับทุกอาชีพค่ะ ถ้าเรามีคุณสมบัติที่ตรงหรือเข้าข่ายกับงาน ก็จะทำให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น สำหรับอาชีพสถาปนิก มีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้
1. มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ และถี่ถ้วน
3. มีความสามารถในการรู้จักประยุกต์ใช้วัสดุ เพื่อประโยชน์ใช้สอยสูงสุด
4. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยวาดรูปหรือออกแบบ
5. มีระเบียบวินัย เข้าใจถึงการบริหารธุรกิจ
6. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้ความร่วมมือกับ ทีมงานดี
7. มีวิสัยทัศน์ที่ดี และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา
8. มีความสามารถเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
9. มีสุขภาพแข็งแรง สามารถไปทำงานต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้
10. มีความซื่อสัตย์ เป็นคุณสมบัติที่ทุกอาชีพต้องมีค่ะ




แนวทางการศึกษาต่อเพื่ออาชีพสถาปนิก
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ต้องสอบคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่จัดสอนคณะหรือภาควิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาสถาปัตย์-สถาปัตย์เป็นสาขาที่เรียนการออกแบบโครงสร้างอาคาร บ้านเรือนโดยตรง คุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี


รายได้และสวัสดิการของอาชีพ
สถาปนิก ที่รับราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ประมาณ 15,000 บาท  สถาปนิกที่ทำงานกับภาคเอกชน จะได้รับเงินเดือนขึ้นอยู่กับฝีมือและประสบการณ์ ในขั้นทดลองงานอาจได้รับเงินเดือนประมาณ 15,000 -20,000 บาท แต่เมื่อครบระยะเวลาที่กำหยดก็จะปรับขึ้นเป็น 20,000-25,00 รวมถึงได้รับสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ และสิทธิประโยชน์อื่น เช่น โบนัส ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ และ รายได้ของสถาปนิกมักจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ตำแหน่งของสถาปนิกที่ทำงานใน สำนักงานสถาปนิก หรือ องค์กรที่มีฝ่ายสถาปัตยกรรม  




ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจพบเจอได้ในอาชีพ
1.เรื่องบรรยากาศในการทำงาน ถ้าเคร่งเครียดจนเกินไป หรือ ไม่คุยกันเลย ก็จะทำให้งานออกมาไม่ดี หรือพูดง่ายๆ ว่า เพื่อนร่วมงานคือปัจจัยสำคัญของการทำงานนั่นเอง
2 เวลาในการทำงานต่อ 1 งาน คือ การทำงานที่นานเกินไปสำหรับ 1งาน แก้แบบไปเรื่อย ทำให้ส่งผลกระทบกับเราเอง เช่น เรื่องเงิน และประสบการณ์ แต่งานแบบนี้จะได้การพัฒนาตนเองในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
3.เรื่องการบริหารองค์กรไม่ดี ผู้บริหารก้าวร้าวกับลูกน้องทำให้มีผลต่อการทำงาน
4.ความเครียด ทุกอาชีพล้วนมีความเครียดในแบบของตัวเองค่ะ อาชีพสถาปนิกก็เช่นกัน การออกแบบงานให้เป็นที่น่าพอใจนั้น บางครั้งก็ทำให้เราเครียดได้ถ้าหากงานยังออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ รวมถึงการทำงานให้ลุล่วงไปได้ด้วยดีตั้งแต่ต้นจบจน ต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก



แนวโน้มของอาชีพสถาปนิกในอนาคต
ในตลาดแรงงานยัง มีความต้องการบัณฑิตคณะสถาปัตยกรรมอีกมาก เนื่องจากผู้ที่เรียนจบคณะนี้สามารถทำงานได้ทั้งด้านวิชาการและ วิชาชีพ(อาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางท่านก็ทำงานเป็นนักวิชาการ) สำหรับในวงการวิชาชีพเอง ผู้ที่เรียนจบด้านนี้สามารถทำงานได้ทั้งในสำนักงานสถาปนิกและเป็นสถาปนิก อิสระและยิ่งกว่านั้นยังสามารถออกไปปฏิบัติงานวิชาชีพในต่างประเทศได้อีกด้วย นอกจากนั้นวิชาชีพสถาปัตยกรรมนั้นเป็นวิชาชีพพื้นฐานที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถพัฒนาตนเอง ไปสู่วิชาชีพอื่นได้หลายสาขา เช่น นายช่างผังเมือง มัณฑนากร นักผลิตรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ นักโฆษณา ศิลปิน ฯลฯ



คุณค่าของอาชีพสถาปนิกต่อสังคม
เพราะงานสถาปนิก คือการออกแบบอาคารประเภทต่างๆให้สวยงาม และสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และกฎหมาย ดังนั้นคุณค่าของนักสถาปนิกคือการเนรมิตอาคารบ้านเรือนของเราให้ออกมามีคุณภาพและสวยงามนั่นเองค่ะ



จบไปแล้วนะคะกับเรื่องราวต่างๆ ของอาชีพสถาปนิก เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย? สนุกกันไหมคะ ฮ่าๆๆๆ พี่เพอร์ก็หวังว่าข้อมูลที่เอามาฝากในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับเพื่อนๆ ที่มีความฝันอยากเป็นนักสถาปนิกนะคะ แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้า สวัสดีค่าาา


ขอบคุณ

http://www.jobcity.co.th/article/362/
http://www.xn--72c0baa2eyce3a4p.com/
http://imarchitectect.blogspot.com/
https://blog.eduzones.com/noirartschool/144867

แสดงความคิดเห็น

>