Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มะเร็ง"เต้านม"รู้ไว้ไม่เสียหาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
มะเร็งเต้านมคืออะไร(Breast cancer)
        มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อน มะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอ ตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอ ตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาศรอดชีวิตสูง ก้อนขนาดเล็กก่อนที่จะรู้เรื่องมะเร็งท่านต้องทราบ
คือเซลภายในร่างกายของมนุษย์ที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้ เซลมะเร็งมักแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและควบคุมไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา เซลมะเร็งจะลุกลามและทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบรวมทั้งอวัยวะข้างเคียงหรืออาจแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดและหรือทางเดินน้ำเหลืองไปสู่อวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เมื่อมีเซลมะเร็งมากขึ้น อวัยวะเหล่านั้นจะถูกทำลายจนไม่สามารถทำงานได้ ท้ายที่สุดผู้ป่วยจะเสียชีวิต 
เมื่อเซลมะเร็งมีจำนวนมากขึ้นก็จะแย่งสารอาหารและปล่อยสารบางอย่างที่เป็นอันตรายและทำลายอวัยวะต่างๆ จนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด
มะเร็งเต้านมพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายมีโอกาสพบได้น้อยมากเพียง 1 % ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด จากสถิติของสถานวิทยามะเร็ง โรงพยาบาลศิริราชพบมะเร็งเต้านมเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งทั้งหมดในผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งนี้อาจเป็นผลจากการมีเครื่องแมมโมแกรมที่ช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ก่อนที่จะปรากฏอาการ และอาจเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีแนวโน้มใกล้เคียงประเทศทางตะวันตกมากขึ้น มีมลภาวะต่างๆมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงป่วยมะเร็งเต้านมมากขึ้น
ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็งเต้านม สถิติใน ปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเฉลี่ยประมาณ30-40คนต่อประชากร100,000 คน ซึ่งยังเป็นอัตราที่ต่ำกว่าประเทศทางตะวันตก แต่ผู้หญิงบางกลุ่มมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
เป็นโรคมะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่อเต้านม อาจมีอาการแสดง ได้แก่ มีก้อนในเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม ผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีสารน้ำไหลจากหัวนม หรือมีปื้นผิวหนังมีเกล็ดแดง ในผู้ที่มีการแพร่ของโรคไปไกล อาจมีปวดกระดูก ปุ่มน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก

การดูแลป้องกันมะเร็งเต้านม
        เนื่องจากการดำเนินของโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

อาการของมะเร็งเต้านม
• รู้สึกความเปลี่ยนแปลง เช่น มีก้อนหรือความหนาตัวของเนื้อเต้านมหรือบริเวณใต้รักแร้ บางครั้งอาจมีอาการเจ็บบริเวณหัวนม (Nipple)
• เห็นความเปลี่ยนแปลง เช่น ขนาดหรือลักษณะภายนอกของเต้านมเปลี่ยนไป, หัวนมมีการยุบหรือบุ๋มลงไปคล้ายโดนดึงรั้ง, ผิวหนังบริเวณใดบริเวณหนึ่งมีรอยย่นยับ บวมแดง หรือบุ๋มดูคล้ายผิวส้ม
• มีของเหลวไหลออกมาจากหัวนม 
• มีต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โต
สรุป มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการ (สามารถตรวจพบความผิดปกติได้จากการทำเเมมโมแกรม) ต่อมาคลำได้เป็นก้อนแข็ง ระยะแรกเป็นก้อนเล็ก ถ้าทิ้งไว้ก็จะขยายขนาดขึ้นในที่สุด ก็จะแตกออกมาเป็นแผล ในผู้ป่วยบางคนอาจมาหาแพทย์ ด้วยอาการของมะเร็งในระยะแพร่กระจาย เช่น ถ้ากระจายไปที่ปอด ก็จะมีอาการ ไอ หอบเหนื่อย ถ้ากระจายไปที่กระดูก ก็จะมีอาการปวดกระดูก ต้องทำความเข้าใจว่า
1. ก้อนของเต้านม ส่วนใหญ่ไม่ใช่มะเร็ง แต่โอกาสจะเป็นมะเร็งจะมากขึ้น หากอายุมากขึ้น (จากสถิติ ก้อนที่เต้านมทุกช่วงอายุ พบมะเร็ง 15-20 % หากอายุน้อยกว่า 30 ปี พบมะเร็งเพียง 1.5% หากอายุเกินกว่า 50 ปี พบถึง 60 %)
2. ก้อนที่เป็นมะเร็งส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ( พบเพียง 15% ที่มีอาการเจ็บ ) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดคิดว่าไม่เจ็บคงไม่ใช่มะมะเร็งระยะเริ่มต้นนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้
มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม
มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม
ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด
หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ
มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง)
เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว )
การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโตเร็ง แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ เมื่อพบว่ามีก้อนที่เต้านมจึงควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์เสมอ

ระยะของมะเร็งเต้านม       
       มะเร็งระยะเริ่มต้นนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้
มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม
มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม
ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด
หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ
มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง)
เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว )
การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต
#โดยทั่วไปมะเร็งเต้านมมี 4 ระยะ คือระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 แต่ปัจจุบันนี้ เรามักจะเพิ่มระยะที่ “ศูนย์” เข้าไปด้วย รวมแล้วเป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ ศูนย์ ถึง ระยะสี่ เนื่องจากปัจจุบันผู้หญิงมีการตรวจเช็คมะเร็งเต้านมกันบ่อยมากขึ้น ทำให้เราพบว่ามี ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เซลล์มะเร็งเต้านมเพิ่งจะก่อตัวขึ้น ยังไม่ทันได้ลุกลามออกไปจากจุดกำเนิด ซึ่งสามารถรักษาได้ง่าย โดยการผ่าตัดเอาบริเวณนั้นออกไป ก็จะมีโอกาสหายขาดสูงมากเกือบ 100 ยกตัวอย่างในปะเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนมีการตรวจเช็คมะเร็งเต้านมกันอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ทศรววษ 80 เป็นต้นมา ทำให้ปัจจุบันนี้พบว่า ราวหนึ่งในสี่ หรือ 25% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จะยังคงอยู่ในระยะที่ศูนย์ และให้ผลการรักษาที่ดีมากเรียกได้ว่า หายขาดเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

การรักษามะเร็งเต้านม
       จะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
•ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
•ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
•อายุและสุขภาพของผู้ป่วย
•ตัวรับฮอร์โมนของมะเร็ง
•ภาวะก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน
•ปัจจัยที่บ่งบอกความรุนแรงของเนื้องอก เช่น ยีน HER2

การผ่าตัดมะเร็งเต้านม
        Simple Mastectomy คือการตัดเฉพาะเต้านมออก โดยไม่มีการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ วิธีการจะใช้เมื่อแน่ใจว่า มะเร็งอยู่เฉพาะที่ ไม่ได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ซึ่งจะต้องทำ Sentinel Node เพื่อดูว่าต่อมน้ำเหลืองต่อมแรกที่มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปนั้น มีเซลล์มะเร็งหรือไม่ ถ้าไม่มีการแพร่กระจายไป ก็ไม่จำเป็นต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
        Modified Radical Mastectomy (MRM) คือ การผ่าตัดเอาเต้านม และต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ออก หากพบว่าเซลล์มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว
        Modified Radical Mastectomy with Reconstruction คือ การผ่าตัดเอาเต้านมออกด้วยวิธี Modified Radical Mastectomy คือตัดต่อมน้ำเหลืองออกไปด้วย และยังผ่าตัดย้ายกล้ามเนื้อจากบริเวณหลังหรือท้อง มาทำเป็นเต้านมและหัวนม เพื่อลดความรู้สึกของการสูญเสียความเป็นหญิง
       Radical Mastectomy คือ การผ่าเอาเต้านมพร้อมก้อนมะเร็งออก จากนั้นเลาะเอาก้อนน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และตัดเอากล้ามเนื้อทรวงอก (Pectoralis Major และ Minor) ออกไปด้วย ปัจจุบันไม่นิยมทำแล้ว เนื่องจากมีผลแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมาก แพทย์จะเลือกทำให้ในรายที่มีแพร่กระจายไปยังกล้ามเนื้อทรวงอก

รักษารังสีหรือการฉายแสง
       ก่อนเข้าสู่เทคนิคการฉายรังสี มาดูความแตกต่างระหว่างคำว่า “ฉายแสง” กับ “ใส่แร่” กันก่อนค่ะ การฉายรังสี แบ่งเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ การฉายรังสีระยะไกลและการฉายรังสีระยะใกล้ ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่จะได้รับการฉายรังสีระยะไกล หรือการฉายรังสีภายนอก หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ฉายแสง” เป็นหลัก เครื่องมือที่ใช้รักษา ได้แก่ เครื่องโคบอลต์-60, เครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน หรือไลแนค (Linear Accelerator: LINAC) เป็นต้น ขณะฉายรังสี ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดใดๆ เนื่องจากผลทางด้านรังสียังไม่เกิดขึ้นทันที แต่เมื่อผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีเป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงจะเริ่มมีผลข้างเคียงหรือผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ผมร่วง, ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น เป็นต้น

เคมีบำบัด
       การรักษาด้วยเคมีบำบัด (chemotherapy) หมายถึง การให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1 รักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคมะเร็งและไม่กลับมาเป็นซ้ำ
2 ควบคุมโรคให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือไม่โตขึ้น และไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น
3 บรรเทาอาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

การรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพราะ
เนื่องจากยาเคมีบำบัดออกฤทธิ์ทำลายเซลล์ที่มีการแบ่งตัวโดยไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเซลล์ปกติที่กำลังแบ่งตัว เช่น เซลล์รากผม หรือเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น หรือเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งตัวได้ ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด ดังนั้นการพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดแต่ละครั้งแพทย์จะคำนึงถึงประโยชน์จากการควบคุมรักษาโรคมะเร็ง และลดผลข้างเคียงที่เกิดจากยาเคมีบำบัดแก่ผู้ป่วย






 

แสดงความคิดเห็น

>

149 ความคิดเห็น

kusachi shiga 24 ส.ค. 59 เวลา 22:42 น. 19

สุดยอกเลยค่ะ มีความรู้เยอะมากไม่ต้องไปตามหาจากหายแหล่ง แต่ก็ควรใส่เครดิตนะคะ

0
aom_kong 24 ส.ค. 59 เวลา 22:58 น. 20

อันนี้ขอเสริมนิดนึงนะ จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง
สำหรับผู้หญิง ควรหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวองนะ ว่าเจอก้อนเนื้อเล็กๆที่เต้านมบ้างมั้ย ถ้ามีให้รีบไปพบแพทย์นะ เพราะ มันอาจเป็นก้อนเนื้องอก, ซีส หรือก้อนเนื้อร้าย ซึ่งคนที่จะพบได้ไม่จำเป็นต้องอายุเยอะนะ เด็กมัธยมก็พบได้ ส่วนตัวเราตรวจพบว่ามีเนื้องอกตอนอายุ 19 ปี เลยตัดสินใจผ่าออก หลังจานั้นก็พบอีกตอนอายุ 29 ปี ก็ไปผ่าออกมาแล้ว ซึ่งเราโชคดีที่เนื้อที่ผ่าออกมาทั้งสองครั้งนั้นไม่มีเชื้อมะเร็ง ดังนั้นถ้าพบว่ามีอะไรผิดปกติก็ควรไปพบแพทย์นะ และระยะเวลาที่จะเช็คได้ดีที่สุด คือ ช่วงที่ไม่มีประจำเดือน 
***ถ้าเจอไม่ควรปล่อยไว้นะ เพราะเราไม่รู้ว่ามันเป็นเนื้อดี หรือร้าย***

สำหรับผู้ชาย มะเร็งเต้านมก็เป็นได้นะ แต่จะพบในคนที่อายุมากแล้ว^^



0