Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ปี 61ยกเลิกแอดมิชชั่น ใช้ระบบใหม่คล้ายเอนทรานซ์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วันนี้ (25 สิงหาคม 2559) นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังมีการหารือร่วมกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เรื่องระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยระบุว่า ในที่ประชุมได้มีการอภิปรายถึงระบบในปัจจุบันซึ่งเด็กต้องวิ่งรอกสอบ ทั้งยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เด็กซึ่งมีฐานะดีกว่า จะมีโอกาสสูงกว่าเด็กที่มีฐานะด้อยกว่า
ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่ข้อสรุปว่า จะต้องมีการปรับระบบการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2561 เนื่องจากปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยได้มีการประกาศ ปฏิทินการจัดสอบไปแล้ว

โดยระบบใหม่จะจัดช่วงเวลาการสอบเพื่อนำคะแนนไปใช้ในการเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ภายหลังจากที่เด็กเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว โดยจะอยู่ประมาณกลางเดือนมีนาคม จากนั้นจึงเปิดมหกรรมการสอบทั้งการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) การสอบวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) และการสอบวิชาสามัญ 9 วิชาซึ่งเป็นวิชาที่ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยจะใช้เวลาในการจัดสอบวิชาต่าง ๆ ประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน ทั้งนี้จะไม่ให้มีการเปิดสอบรับตรงนอกช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบ

จากนั้นเมื่อเด็กทราบคะแนนจากการสอบแล้ว จึงเปิดให้เลือกสาขาวิชาที่ต้องการเรียนได้ 4 อันดับ จากนั้นทางมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกเด็กตามลำดับคะแนน และแจ้งผลการคัดเลือกกลับมาที่ส่วนกลางเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์ ซึ่งจะมีทั้งหมด 2 รอบ โดยในรอบแรกหลังจากทางมหาวิทยาลัยแจ้งเด็กกลับไปแล้วว่าได้รับคัดเลือกกี่แห่ง หากเด็กยังไม่พอใจในคณะ/สาขาที่สอบได้ ก็สามารถนำคะแนนไปเข้าในระบบเคลียริงเฮาส์รอบที่ 2 แต่หากเด็กเลือกเข้าเรียนในคณะที่สอบได้ในรอบแรกแล้ว จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการเคลียริงเฮาส์รอบที่ 2 ทันที และหากเดินหน้าใช้ระบบรับตรงกลางร่วมกัน จะไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยไปเปิดรับตรงเอง หากจะให้เปิดรับก็ต้องมีเหตุผลที่ดีมาชี้แจงให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรับทราบ

สำหรับระบบดังกล่าวซึ่งเรียกว่าการรับตรงกลางร่วมกัน คาดว่าจะสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้ราว 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% เด็กสามารถไปสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ยังมีที่นั่งว่างได้โดยตรงอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งในอนาคตก็อาจไม่จำเป็นต้องมีระบบแอดมิชชั่นกลางอีกต่อไป ซึ่งแม้จะดูคล้ายกลับไปใช้ระบบเอนทรานซ์ แต่ระบบนี้จะทำให้เด็กรู้คะแนนล่วงหน้า เพื่อให้สามารถประมาณตนเองได้ว่าจะไปแข่งกับใคร ในหลักสูตรใด

แสดงความคิดเห็น

>

17 ความคิดเห็น

Dekk 29 ส.ค. 59 เวลา 22:44 น. 1-1

ผมไม่เห็นดีใจเลยครับเซ็งสะมากกว่า

0
ชะชะชะชะชะชะชิ 26 ส.ค. 59 เวลา 16:28 น. 2

อ่านยังงง เราขอสรุป (ถ้าไม่ถูกยังไงช่วยแก้ไขหน่อยนะ)
-แกทแพท เหลือรอบเดียว
-แอดสองรอบ (ถ้ามีสองรอบ กับสอบครั้งเดียว คะแนนจะเหลื่อมล้ำยังไงต้องดูอีกที)
-ลดการรับตรงเดี่ยว ๆ (เน้นใช้ข้อสอบร่วมกัน)

0
กัลย์ 26 ส.ค. 59 เวลา 18:56 น. 4

สรุป
ระบบใหม่สอบหลังจากเด็กจบ ม.6 แล้ว ประมาณกลางเดือน มีค. จากนั้นสอบ GAT/PAT และสอบ 9 วิชาสามัญ ประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน จะไม่มีสอบรับตรงนอกช่วงเวลา เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบ

เมื่อทราบคะแนนสอบแล้ว จึงเปิดเลือกคณะ 4 อันดับ จะคัดเลือกเด็กตามลำดับคะแนน และแจ้งผลการคัดเลือกเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์ 2 รอบ รอบแรกได้รับคัดเลือกแล้ว หากเด็กยังไม่พอใจ ก็สามารถนำคะแนนไปเข้าในระบบเคลียริงเฮาส์รอบที่ 2 แต่หากเด็กยืนยันรอบแรกแล้ว จะถูกตัดสิทธิ์รอบ 2 จะไม่ให้รับตรงเอง หากจะเปิดรับตรงเอง ต้องแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการทราบ

ระบบรับตรงกลาง คาดว่ารับเด็กเข้าเรียนได้ราว 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% เด็กจะสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ยังมีที่นั่งว่างได้โดยตรงอีก ในอนาคตอาจไม่มีระบบแอดมิชชั่นกลาง ระบบใหม่คล้ายกับระบบเอนทรานซ์ ทำให้เด็กรู้คะแนนล่วงหน้า เพื่อให้สามารถประมาณตนเองได้ว่าจะไปแข่งกับใคร ในหลักสูตรใด

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 26 ส.ค. 59 เวลา 19:35 น. 5

หากใช้ระบบใหม่ในปี 61จริง การเรียนพิเศษของเด็ก ม.ปลาย อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่

เดิม เด็ก ม.ปลายที่ขยันๆ จะเรียนพิเศษวิชาของชั้น ม.6 จบหมด ตั้งแต่อยู่ชั้น ม.5 ปลายเทอม 2 และเรียนครอสเอ็นทรานซ์/ตะลุยโจทย์ ในช่วงปิดเทอมใหญ่ ม.5 ขึ้น ม.6 พอเปิดเทอม 1 ม.6 ก็ฝึกทำแบบฝึกหัด ทำตะลุยโจทย์ ทำข้อสอบเก่า จนถึงเวลาตระเวณสอบรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ

ใหม่ เด็ก ม.ปลายที่ขยันๆ อาจจะเลื่อนเวลาเรียนพิเศษออกไป อาจจะเรียนพิเศษวิชาของชั้น ม.6 ให้จบหมด ตั้งแต่อยู่ชั้น ม.6 ก่อนปิดเทอม 1 และเรียนพิเศษครอสเอ็นทรานซ์/แอดมิสชั่น/ตะลุยโจทย์ ในช่วงปิดเทอม ม.6 เทอม 1 พอเปิดเทอม 2 ม.6 ก็ฝึกทำแบบฝึกหัด ทำตะลุยโจทย์ ทำข้อสอบเก่า จนถึงเวลาสอบปลายเดือน มีค. - พค.ไม่มีการตระเวณสอบรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆระหว่างเรียน ม.6 อีกแล้ว

ส่วนการสอบ กสพท.ของแพทย์ ทันตะ เภสัช สัตวแพทย์ ก็อาจจะมีการเลื่อนเวลาออกไปจากเดิม เพื่อความเหมาะสมกับระบบใหม่

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

กัลย์ 27 ส.ค. 59 เวลา 12:51 น. 7

ศธ.แจงข้อดีฟื้นเอ็นทรานซ์-ทปอ.ห่วงเด็กทิ้งห้องเรียน แห่กวดวิชา
อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/703020
เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 30 ส.ค. 59 เวลา 09:31 น. 8-1

เหมือนเดิม เลื่อนเวลาออกไป วิ่งรอกเดินสายไม่ได้

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
Suteema 2 ต.ค. 59 เวลา 03:20 น. 10

รูปแบบที่3รับตรงที่เป็น10%ต้องทำยังไงค่ะอยากเข้าคณะมัณฑนศิลป์ยังคงให้ใช้ความสามารถพิเศษเหมือนเดิมใช้มั้ยค่ะหรือมีข้อสอบอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย

0
Asia-Wrsr 22 ต.ค. 59 เวลา 00:24 น. 14

แล้วแบบนี้ ปวช.จะต่อมหาลัยได้ไหมคะ ไม่อยากเรียนต่อ ปวส. แต่อยากเข้ามหาลัย รู้สึกเลือกเดินผิดทางมากอ่ะ

0