Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[แนะนำอาชีพ] นักนิติวิทยาศาสตร์ อาชีพทางวิทยาศาสตร์ของคนสมัยใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีเพื่อนๆชาวเด็กดีทุกๆคนนะคะ จขกท.เชื่อว่าเพื่อนๆนักเรียนหลายๆคนยังไม่มีอาชีพในฝัน ไม่มีสิ่งที่ชอบ หรือยังไม่ค้นพบตัวเองว่าเหมาะสมกับอะไร จึงทำให้ยังไม่ได้เตรียมพร้อมว่าจะเรียนมัธยมปลายสายการเรียนไหน หรือมหาลัยคณะอะไรดี จขกท.ก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ อาชีพในฝันเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจการเลือกเรียนต่อในสายอาชีพที่ชอบในภายภาคหน้า ถ้าหากเพื่อนๆมีอาชีพในฝัน เพื่อนๆก็จะสามารถเลือกเรียนสายอาชีพตามอาชีพที่อยากเป็นในอนาคตได้ค่ะ
 
แต่ทว่า! การค้นหาตนเองว่าอาชีพไหนที่เราอยากเป็นในอนาคตนั้น ไม่ได้คิดให้ออกได้ง่ายๆเลยสำหรับบางคน(จขกท.ด้วย แฮร่!) ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการหาต่อไปเรื่อยๆค่ะ ยิ่งเรารู้จักอาชีพหลากหลายขึ้น เราก็จะมีทางเลือกหลากหลายมากขึ้นเช่นกันค่ะ
ในกระทู้นี้จึงจะมาแนะนำอาชีพทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ นั่นก็คือ "นักนิติวิทยาศาสตร์" ค่ะ
 


      นิติวิทยาศาสตร์คืออะไร?
 
"นิติวิทยาศาสตร์ (อังกฤษ: Forensic Science) เป็นการนำเอาวิชาความรู้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานเพื่อช่วยในการค้นหาความจริง มักเป็นการใช้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายภาพ เคมีคอมพิวเตอร์ และกีฏวิทยา เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อช่วยกระบวนการยุติธรรมในการพิสูจน์หลักฐานและชี้นำไปสู่ผู้กระทำความผิดอาญา"
 
"ปัจจุบันมีการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในต่างประเทศ เพื่อลดการโต้แย้งความหวาดระแวงระหว่างผู้ควบคุมกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหา เนื่องเพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องหลักการและเหตุผลที่เป็นจริงสามารถพิสูจน์ได้ โดยนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีความเกี่ยวเนื่องกับนิติเวชศาสตร์หรือการชันสูตรศพ"
 
สรุปแล้ว นิติวิทยาศาสตร์คือ "การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขามาประยุกต์ใช้ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีความเพื่อผลในการบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษ” ค่ะ


  ในปัจจุบันนี้ ได้เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรมขึ้นมากมาย ซึ่งการที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจะต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานมายืนยันให้สามารถพิสูจน์ความผิดได้อย่างชัดเจน ดังนั้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา จึงมีการนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ มาพัฒนาใช้ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานต่างๆให้ได้ผลที่ถูกต้องแท้จริงตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ผลอย่างดียิ่งในการสืบสวน ติดตามหาคนร้ายต่างๆ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เมื่อเกิดคดีฆาตกรรมเกิดขึ้น สามารถจับกุมคนร้ายได้ถึง 90% โดยการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ค้นคว้าวิจัยและผลิตขึ้นอย่างทันสมัย ผสานกับหลักนิติวิทยาศาสตร์นี้ ให้บรรลุผลได้เป็นอย่างมาก
 
  จากประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น จึงมีการนำเอานิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในขอบเขตโดยทั่วไป ดังนี้
 
1. การตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการถ่ายรูป (Crime Scene Investigation and Forensic)
2. การตรวจลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า (Fingerprint, Palmprint, Footprint)
3. การตรวจเอกสาร (Document) เช่น ตรวจลายเซ็น ลายมือเขียน
4. การตรวจอาวุธปืน และกระสุนปืนของกลาง (Forensic Ballistics)
5. การตรวจทางเคมี (Forensic Chemistry) เช่น ตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารต่าง ๆ 
6. การตรวจทางฟิสิกส์ (Forensic Physics) เช่น ตรวจร่องรอยการเฉี่ยวชนรถ
7. การตรวจทางชีววิทยา (Biological Trace Evidence) เช่น ตรวจเส้นผม เลือด อสุจิ
8. การตรวจทางนิติเวช (Forensic Medicine) ได้แก่ งานนิติพยาธิ งานนิติวิทยา งานชีวเคมี 
งานพิสูจน์บุคคล งานภาพการแพทย์
 
หากใครเคยดูทีวีซีรีย์อย่าง CSI : Crime Scene Investigation มาแล้ว ก็จะรู้ว่า อาชีพทางนิติวิทยาศาสตร์นี้เหมือนหน่วย CSI เลยนั่นเองค่ะ
 
   หนึ่งในฉากจากซีรี่ย์โทรทัศน์เรื่อง CSI : Crime Scene Investigation

นอกจากนี้ หนุ่ม "แบรี่ เอลเลน" ตัวละครหลักทีวีซีรี่ย์เรื่อง The Flash ยังมีอาชีพเป็นนักนิติวิทยาศาสตร์อีกด้วยค่ะ (นอกจากจะเร็วแล้ว ยังหล่อบาดใจเข้าไปอีก)

หนึ่งในฉากจากซีรี่ย์โทรทัศน์เรื่อง The Flash

  ประวัติความเป็นมาของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 75 บัญญัติให้รัฐดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฏหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาลด้วยคณะรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์  2544 ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและการปฏิรูปกฏหมายเรื่อง เร่งรัดการจัดโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมให้มีบทบาทและหน้าที่ครอบคลุมกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ งานด้านนิติวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการยุติธรรมที่ต้องมีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ซึ่งที่ผ่านมางานบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงงานบางงานในกรุงเทพฯ ประชาชนยังได้รับการบริการไม่ทั่วถึงทุกคดี
และไม่สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประกอบกับงานบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์กระจัดกระจายอยู่ใน หลายหน่วยงาน เช่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานใดทำหน้าที่ประสานงานโดยตรง และกำหนดมาตรฐานกลาง ที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ของงานด้านนิติวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพเข้าสู่ความเป็นมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม
            สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นตามพระราชบัญญัติการแบ่งส่วนราชการ กระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม  2545 โดยเริ่มปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2545

 
  กลุ่มเป้าหมายนักศึกษา
กลุ่มเป้าหมายบุคคลที่จะเข้ามาศึกษาในโครงการพิเศษ คือ บุคลากรด้านพิสูจน์หลักฐานกระบวนการยุติธรรมและการสืบสวนสอบสวน ที่ปฏิบัติงานในภูมิภาคตะวันตกและบริเวณใกล้เคียง รวมถึงผู้ที่ประสงค์จะศึกษาเพิ่มเติมทั่วไป
 
  ระบบการศึกษา
เป็นระบบเดียวกันกับการจัดการศึกษาภาคปกติ โดยการจัดการศึกษาโครงการพิเศษ จะมีช่วงเวลาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแตกต่างไปจากนักศึกษาภาคปกติคือจัดไว้นอกเวลาปฏิบัติราชการปกติ และในวันหยุด ราชการ ตามความเหมาะสม ดังนี้
1.จัดสอนในวันจันทร์ - ศุกร์ นอกเวลาราชการ หรือ
2.จัดสอนในวันจันทร์ - ศุกร์ นอกเวลาราชการและวันหยุดราชการ หรือ
3.จัดสอนในวันศุกร์นอกเวลาราชการ และวันหยุดราชการ
 
  การสำเร็จการศึกษา
ผู้สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.มีเวลาการศึกษาในหลักสูตรไม่เกิน 5 ปีการศึกษา
2.ได้ศึกษารายวิชาต่างๆ และได้หน่วยกิตสะสมครบถ้วนสำหรับแผน ก แบบ ก 2 หรือแผน ข ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
3.ได้ค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
4.ได้ระดับไม่ต่ำกว่า B ในรายวิชาบังคับ และได้ระดับไม่ต่ำกว่า C ในรายวิชาเลือก
5.ได้ S ในการสอบภาษาอังกฤษ
6.สอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายสำหรับแผน ก แบบ ก 2 หรือสอบผ่านการสอบประมวลความรู้สำหรับแผน ข
7.สอบวิทยานิพนธ์ได้ไม่ต่ำกว่าระดับผ่าน ได้ส่งวิทยานิพนธ์แล้วต่อบัณฑิตวิทยาลัย และผลงาน วิทยานิพนธ์
ได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceeding) สำหรับแผน ก แบบ ก 2
8.มีคุณสมบัติอื่น ๆ ครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2542 หมวดที่ 7 และ/หรือที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายหลัง (ภาคผนวก 1)

 
ขอขอบคุณแหล่งที่มา
- http://www.cifs.moj.go.th/main/index.php/th/2013-09-22-03-50-09/2013-11-07-08-27-13
- http://forensic.sc.su.ac.th/history.php

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

~beer~ 28 ส.ค. 59 เวลา 21:59 น. 1

เห็นว่าตลาดงานด้านนี้ต้องการคนที่เรียนจบป.โท รู้สึกว่าเงินเดือนจะน้อยด้วย(นอกจากไปทำงานที่ตปท.)
เคยอยากเรียนนะคะ แต่คิดว่าคงไม่คุ้มกับเวลาที่ร่ำเรียน 555

0