Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

กว่าจะเป็นนักฏหมาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
หวัดดีทุกคนนlaugh วันนี้เรามาแบ่งปันความรู้ เกี่ยวกับอาชีพ นักกฏหมาย เราเชื่อว่าหลายๆคน รักและใฝ่ฝันอยากประกอบอาชีพนี้ไม่น้อยเลย ก่อนอื่นที่เราอยากเล่าเลย คือ เราชอบในอาชีพนี้มาตั้งแต่เด็กแล้ว เราชื่นชมคนที่ทำอาชีพนี้มาก แล้วส่วนตัวคือเรามีความสุขทุกครั้งเวลาเรียนสังคม ยิ่งได้เรียนเกี่ยวกับพวกกฏหมายด้วย เราว่ามันสนุกอะ55555 ไม่เบื่อเลย เพื่อนจะมองว่าเราแปลกมาก เพราะแต่ละคนดูเกลียดสังคมเข้าไส้555555 เพื่อนเราจะชอบคณิตซะส่วนมาก แต่เราไม่ใช่ไง เราเกลียดมาก เรียนทีเราง่วงอะ5555555 หลับตลอด แล้วอีกเหตุผลคือ พ่อกับแม่เราก็สนับสนุนด้วย ไม่เคยห้าม หรือบังคับให้เราเรียนอะไรที่ไม่อยากเรียน คือให้เราเลือกเองตลอด จะมีห้ามแค่เรื่อง เราขอเรียนพิเศษนู่นนี่นั่น มากเกินไปมากกว่า พ่อกับแม่บอกดีใจที่เราชอบเรียน แต่เรียนมากไปจนตัวเองเหนื่อยก็ไม่ดี

มาเริ่มกันเลยดีกว่าาาา enlightened

ลักษณะการทำงาน
1. ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของเอกชนในด้านกฎหมาย
2. ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ คำสั่ง กฎ ระเบียบข้อบังคับ
และเอกสารทางกฎหมายอื่นๆ
3.ร่างพระราชบัญญัติ และเอกสารทางกฎหมายตามที่องค์กรหรือหน่วยงานต้องการ
4. ตีความเรื่อสิทธิ หน้าที่
และข้อผูกพันตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้ฝ่ายจัดการระดับสูงสุดทราบ
5. ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ทนายความประจำสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับการว่าความ คดีต่างๆในศาล
 
ปล.อันนี้เป็นการทำงานหลักเฉยๆน้า จะมีการเจาะอาชีพนี้เข้าไปอีกว่าเราอยากทำงานในด้านไหน เช่นผู้พิพากษา อัยการ เป็นต้นจ้าา
 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นักกฎหมาย


คุณสมบัติของนักกฏหมาย
1. รักการอ่าน การค้นคว้า มีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆกว้างขวาง
2. ช่างคิด และมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็น
3. มีความสามรถในการเขียนและใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี
4. มีนิสัยรักความเป็นธรรม
ปล.ใครมีคุณสมบัติครบทั้ง4ข้อนี้ เป็นแนวทางที่ดีมากในการประกอบอาชีพนี้เลยล่ะ 


แนวทางในการศึกษาต่อในสาขาอาชีพนี้
ในส่วนของการเลือกสายการเรียนต่อตอนม.4 ส่วนมากใครที่อยากจะประกอบอาชีพนักกฏหมาย จะเลือกเรียน สายศิลป์-ภาษา เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสอบเข้ามหาวิยาลัย คณะนิติศาสตร์ต่อไป โดยมี 4 ทาง ให้เลือก คือ
1. การสอบตรง มหาวิทยาลัยที่เปิดสอบตรงคือ ธรรมศาสตร์ และจุฬา ซึ่งรับเยอะมากกว่าครึ่งของจำนวนที่เปิดรับทั้งหมด
2. แอดมิชชั่น อาจจะต้องรอผลนานกว่า
3. มหาวิทยาลัยเปิด  เป็นอีกทางเลือกถ้าเรามุ่งมั่นที่จะเป็นนิติบัณฑิตเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยเปิดเช่นรามคำแหงก็มีชื่อเสียงมาก
4. มหาวิทยาลัยเอกชน ทุกสถาบันเปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตร์ และยังมีภาคภาษาอังกฤษอีกด้วย
เมื่อเรียนจบเป็นนิติบัณฑิตแล้วมีทางเลือกอะไร
 
-เลือกเรียนต่อ-
 
1. เรียนเนติบัญฑิตไทย
 สอบเป็นอัยการ และ ผู้พิพากษา
2. เรียนต่อปริญญาโทเนติต่างประเทศ
เรียนต่อและทำวิจัยในหัวที่สนใจ การเรียนต่อนิติศาสตร์ต่างประเทศจะเป็นการเรียนเพื่อนำไปใช้ เรียนตีความตามบริบทต่างๆ


มีอีกๆๆ ไปอ่านต่อในเม้นน้า  

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นักกฎหมาย

แสดงความคิดเห็น

>

15 ความคิดเห็น

IAM_PHY 30 ส.ค. 59 เวลา 19:09 น. 1
ความก้าวหน้าในอาชีพ รายได้ และสวัสดิการที่จะได้รับในการประกอบอาชีพนักกฏหมาย

-โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ-
เป้าหมายสูงสุดของผู้ประกอบอาชีพทางกฎหมายคือ ที่ปรึกษาทางกฎหมาย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ผ่านการทำงานด้านกฎหมายมานานพอที่จะให้คำปรึกษาทางกฎหมายหรือหน่วยงานนั้นๆได้หรืออาจจะเป็นอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญที่สอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ที่มีความชำนาญหรือมีชื่อเสียง บุคคลากรดังกล่าวนี้เป็นที่ต้องการในหน่วยงานทั่วไปทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งค่าตอบแทนจะค่อนข้างสูง
-รายได้-
1.ทนายความ  รายได้ที่ได้รับ : 8,500 – 100,000 บาท ตามงานที่ได้รับ
2.ที่ปรึกษากฎหมาย  รายได้ที่ได้รับ : ค่าตอบแทนไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว อัตราค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ  50,000 – 100,000  บาท
3.อัยการ  รายได้ที่ได้รับ : เงินเดือนเเละเงินประจำตำเเหน่งตามชั้นเงินเดือนจากชั้นที่ 1 จนถึงชั้นที่ 8 อัยการสูงสุดจะได้รับเงินเดือนๆ ละ 62,000 บาท และเงินประจำตำแหน่งชั้น 8 เดือนละ 42,500 บาท ลงมาถึงอัยการผู้ช่วยจะได้รับเงินเดือนชั้นที่ 1 โดยไม่มีเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดือนละ 14,850 บาท
4.ผู้พิพากษา  รายได้ที่ได้รับ : ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษา (ศาลชั้นต้น) จะมีอัตราเงินเดือน 21,800 – 57,190 บาท ศาลฎีกาถึงรองประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน 57,190 - 62,000 บาท  ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน  64,000  บาท และมีเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท
-ใครที่ประกอบอาชีพนี้ จะได้รับบ้าน รถ ประจำตำแหน่ง ส่วนเงินเดือนจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ณ ขณะนั้น-



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นักกฎหมาย



ปัญหาหรืออุปสรรคในการประกอบอาชีพนักกฏหมาย

1.การยัดเงินหรือติดสินบนใต้โต๊ะ ที่นักกฏหมายได้รับเงินเดือนสูง ส่วนหนึ่งคือ ไว้สำหรับป้องกันการทุจริต เมื่อมีเงินเดือนมากพอ ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะได้ไม่รับสินบนใต้โต๊ะ และทำงานอย่างยุติธรรมอย่างแท้จริง
2.การประกอบอาชีพนี้ จะต้องรักษาภาพลักษณ์ของอาชีพนี้ทุกครั้ง ที่จะกระทำอะไรในที่สาธารณะ จากปกติที่ก่อนจะเป็นนักกฏหมาย สามารถทานข้าว หรือนัดเจอกับเพื่อนได้ทุกที่ แต่เมื่อดำรงอาชีพนี้แล้ว ก็ต้องตระหนักถึงสถานที่ และสถานะของตนให้เหมาะสม
3.เรื่องเด็กเส้น ที่อาจเกิดขึ้นในการทำงานนี้เยอะพอสมควร หลายๆคนก็อยากจะก้าวหน้าในอาชีพนี้อย่างก้าวกระโดด จนลืมนึกถึงเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ บางคนที่ประกอบอาชีพนี้อย่างสุจริต แต่เมื่อรู้ว่ามีคนใช้เส้นในการทำงาน ก็คงรู้สึกท้อและเสียกำลังใจในการทำงานเหมือนกัน
แนวโน้มความต้องการที่จะประกอบอาชีพนี้ในอนาคต
ในอนาคตคาดว่าจะมีผู้ประกอบอาชีพนี้มากขึ้น เนื่องจากในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ การที่มีความรู้ทางกฎหมายยอมรับกันใน ปัจจุบันว่า ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชน ฝ่ายงานที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ฝ่ายหนึ่งก็คือ ฝ่ายกฎหมาย โดยเฉพาะในจุดที่เศรษฐกิจและธุรกิจก้าวกระโดดอย่างภาวการณ์ปัจจุบัน จึงทำให้เด็กยุคใหม่หันมาเรียนในสาขาอาชีพนี้มากขึ้น

คุณค่าของนักกฏหมายในการพัฒนาสังคม
ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้ 
1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ      
2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ    
3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น  การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม    
4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ และเพราะกฏหมายมีความสำคัญต่อสังคมอย่างมาก เพราะฉะนั้นผู้ที่จะมาทำหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายต้องมีความยุติธรรมและคุณธรรมด้วย 
 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นักกฎหมาย



และนี่คือข้อมูลสำคัญหลักๆในการประกอบอาชีพนักกฏเองจ้าา ใครที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักกฏหมาย ก็สามารถศึกษาข้อมูลจากที่กท.นี้ได้เลย และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆที่เราอยากจะบอก ในปัจจุบัน การเลือกอาชีพที่เราต้องการด้วยตัวเอง เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะหลังจากเรียนจบไป เราจะต้องทำงานตามสาขาที่เราเรียนมา ถ้าเราอยากมีความสุขกับงานที่ทำ ก็ให้เลือกอาชีพที่เหมาะสมและเรามีความสุขที่จะทำมันก็พอ yes

บ้ายบายยยยย
cr.   http://bbznet.pukpik.com
http://gyguyy.blogspot.com
http://www.thailandroad.com
http://www.hotcourses.in.th
0
่้เเดดดดด 30 ส.ค. 59 เวลา 19:42 น. 2

สายอาชีพนี้ถ้าไม่เก่งถึงระดับสุดยอดอย่าเรียนครับ เพราะคนจบเยอะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆจนล้นตลาดเเล้ว

1
Maomoy 31 ส.ค. 59 เวลา 17:30 น. 4

เฮอะๆ ง่ายมาก.....อ่านหนังสือดึกดื่นทุกคืน ท่องมาตรา ขยันทำข้อสอบเก่า บอกเลยเลือดในตาแทบกระเด็น

จากใจเด็กเรียนนิติฯ

0
Jpppp 31 ส.ค. 59 เวลา 17:50 น. 5

คนที่จะมาเรียนสายนี้จริงๆ ต้องมีความอดทนมากๆ ค่ะ
เพราะด้านทดสอบ 108 รอคุณอยู่ ตั้งแต่ปีหนึ่ง สอบในชั้นเก็บ 100 คะแนน เหมือนจะชิวแต่เลือดตาแทบกระเด็น
ยันเรียนจบมาแล้ว สอบเน สอบตั๋วทนาย สอบเรียนต่อโท สอบทำงาน สอบราชการ สอบอัยการ ผู้พิพากษา ~~~

และการเรียนสายนี้ เหมือนจะไม่ต้องใช้ทุนเยอะ แต่ถ้าคุณอยากก้าวหน้าในระดับสูงจริงๆ ไม่ว่าจะเรียนโท ทั้งในละนอกประเทศ เรียนเนฯ ซึ่งอาจจะไม่ได้ทำงานไปด้วย สอบตั๋วทนาย บลาๆ ค่าใช้จ่ายมันเยอะจริงๆ ค่ะ การแข่งขันก็สูง อย่าง ทนายที่เพิ่งสอบไป ผู้เข้าสอบตั๋วปี 2000 กว่าคน ผ่านเกณฑ์ประมาณ 300 คืออัตราผู้ผ่านลดฮวบมากจากปีทีผ่านๆมา
แต่ยังไงถ้าใจรักจริงก็สู้ๆ นะคะ ปลายทางมันหอมหวานให้ชวนฝ่าฟันมากๆ เลยค่ะ

จากใจคนเรียนสายนี้

0
5555555 31 ส.ค. 59 เวลา 18:42 น. 6

เป็นหนึ่งในสายอาชีพที่"ล้นตลาด"ที่สุด จบมาตกงาน/ไม่ตรงสายเกินครึ่ง

2
66666 31 ส.ค. 59 เวลา 21:10 น. 6-1

คุณรู้มาจากไหนเหรอครับอ้างอิงที

0
ไม่โลกสวย 1 ก.ย. 59 เวลา 00:29 น. 6-2

www.lawyerscouncil.or.th/news/ประกาศรายชื่อผู้ผ่านกา/
ตั๋วทนายคนสอบ 2292คน ผ่าน377คน
คิดเป็นร้อยละ16.44

ผ่านน้อยมากเเล้วคนที่เหลือจะไปไหนละครับ ไม่มีตั๋วทนายก็ว่าความไม่ได้ ทบต้นทบดอกไปสิครับเเต่ละปี

หน่วยงานราชการ รับครั้งละตำเเหน่ง คนสมัครเป็นร้อย อย่างทหารเรือที่กำลังจะสอบในไม่กี่วันนี้รับวุฒินิติศาสตร์บรรจุ3ตำแหน่ง เเต่คนสมัครต้องสอบศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์รังสิต

เนติบัณฑิตผู้ผ่านก็อยู่ประมาณไม่เกินร้อยละ15

ผู้พิพากษาอัยการยิ่งน้อยกว่านี้ครับ

เเล้วที่เหลืออีกเป็นหมื่นๆทำไงครับ ล้นวนไปครับ

0
กัลย์ 1 ก.ย. 59 เวลา 10:45 น. 8

คนในอยากออก ออกไม่ได้ เพราะถลำลึกแล้ว
คนนอกอยากเข้า เพราะยังไม่รู้ข้อมูลจริงๆ

ขออนุญาตเล่าตามประสบการณ์ที่เคยอยู่ในวงการยุติธรรมมาหลายสิบปี เห็นการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากเงินเดือนผู้พิพากษา อัยการไม่มาก เป็น เงินเดือนแสนกว่าบาท ก็เริ่มมีคนสนใจเรียนนิติศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

สมัยก่อนคนเรียนนิติศาสตร์ยังไม่มาก มี 3 - 4 สถาบันที่คนรู้จัก เช่น จุฬา ธรรมศาสตร์ รามฯ สุโขทัยฯ จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ สมัครวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา ก็เสียเงินเเลือกเป็นทนายชั่วคราว หรือตลอดชีพได้ ไม่ต้องอบรม ไม่ต้องสอบ เพราะช่วงนั้นยังไม่ได้มีการหาเงินเข้าสภาทนายเหมือนปัจจุบันนี้ ถ้ามีตั๋วทนายแล้ว ก็ต้องหาสำนักงานทนายความเข้าทำงานเพื่อได้ประสบการณ์ สำนักทนายจะรับคนเข้าใหม่เฉพาะลูก หลานคนในสำนัก หรือคนที่มีบุญคุณฝากมา ถึงจะรับ เพราะพวกทนายใหม่ พอทำงานมีประสบการณ์ 3-5 ปี ก็จะออกไปตั้งสำนักงานเอง ดึงลูกค้าบางส่วนไปด้วย เริ่มทำงานใหม่ๆ ทนายจะไม่มีเงินเดือน ค่าจ้างเลย แม้แต่บาทเดียว เพราะต้องการหาความรู้เอง เจอลูกพี่ใจดี ให้ไปยื่นคำร้อง คำแถลงที่ศาล ก็จะให้เงินค่ารถเมล์ 100 บาท ลูกพี่บางคนไม่ให้เงินเลยก็มี ทนายใหม่ และผู้จบนิติศาสตร์ส่วนใหญ่จะหาสอบงานราชการไว้ด้วย เพราะงานเอกชนมีน้อย และไม่มั่นคง เอาที่เด่นๆรับคนจำนวนมาก คือ
1.ปลัดอำเภอ
2.พัฒนากร
3.ตำรวจ
4.ทหาร
5. ก.พ.และส่วนราชการต่างๆ
6.รัฐวิสาหกิจ
7.ธนาคาร(เอกชน)

ส่วนพวกมีเงิน ฐานะทางบ้านดี ลูกข้าราชการ ลูกผู้พิพากษา/อัยการ ก็เรียนให้เรียนต่อจนจบเนติฯอาจจะ 1 ปี หรือ 2 ปี หรือ 3 ปี แล้วแต่คุณภาพของคนสอบ จบแล้วทำงานในวงการกฎหมาย 2 ปี รอสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา อัยการ สมัยนั้นสอบได้จำนวนเป็นร้อย มีบางปีปล่อยผีได้ประมาณ 500 คนก็มี บางคนสอบปีเดียวติดก็มี บางคน 2-3 ปีถึงติด

สมัยนี้คนเรียนนิติศาสตร์ มีจำนวนเท่าใด ไม่รู้ รู้แต่ว่ามีจำนวนมาก มีสถาบันสอนนิติศาสตร์เยอะแยะไปหมด ทั้ง ม.รัฐ และ ม.เอกชน แข่งกันเปิด เพราะตลาดมีความต้องการมาก(ต้องการเรียน) การลงทุนถูก ค่าใช้จ่ายดำเนินการเปิดสอนนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยน้อยมากเมือ่เทียบกับคณะอื่นๆ พวกสายวิทยาศาสตร์ ขอยกตัวอย่าง ม.รัฐที่ผลิตนิติศาสตร์บัณฑิตเยอะๆ เช่น รามฯ ราชภัฏทั่วประเทศ สุโขทัย ส่วน ม.เอกชนทั่วประเทศ ก็รับไม่อั้น เพราะรายได้เข้ามหาลัยดีมาก จบปริญญาตรีนิติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นทนายไม่ได้ ต้องเสียเงินค่าอบรม สอบให้ผ่านก่อน ถ้าสอบผ่านแล้ว เสียเงินสมัครวิสามัญสมาชิกเนติฯ เสียค่าจดทะเบียนเป็นทนาย 800 บาท เสียค่าตั๋วทนายชั่วคราว 2 ปี 800 บาท ตั๋วทนายตลอดชีพ 4,000 บาท(เสียเงินทั้งหมดให้สภาทนายไม่ใช่น้อย) เป็นทนายแล้ว ก็ยังหาสำนักลงไม่ได้ เพราะพ่อแม่ไม่มีพรรคพวกเป็นเจ้าสำนัก จึงต้องไปสมัครเป็นลูกจ้างชั่วคราวตามส่วนราชการก่อน ถ้าลูกมีพ่อแม่เป็นผู้พิพากษา ก็อาจจะฝากเข้าเป็นลูกจ้างชั่่วคราว นิติกรตามศาลต่างๆได้ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา(ถ้าเส้นใหญ่ชอบศาลฎีกา) เพื่อให้ได้คุณสมบัติ รอสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา อัยการต่อไป แต่ก็ไม่รู้จะสอบติดอีกกี่ปี เพราะจะมีผู้สอบติดปีละไม่กี่คน น้อยมาก มีบางปีได้ 6 คนก็มี พวกสอบไม่ได้ ก็ต้องรอสอบไปเรื่อยๆ มีบางคนสอบ 3 ปี ก็ยังไม่ติดเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา ถ้าคนไม่มีงานทำ ก็ถอดใจ ถูกทางบ้านด่าทุกวัน ก็ต้องไปหางานทำ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับสายงานก็ได้

สมัยก่อน ตำแหน่งนิติกรลูกจ้างชั่วคราวในศาลยุติธรรม เด็กนิติศาสตร์ จุฬา ธรรมศาสตร์ ไม่ค่อยสนใจมาสมัคร มีแต่เด็กนิติฯรามฯมาสมัครทั้งนั้น ต่อมาก็สอบเป็นผู้พิพากษา อัยการได้หลายคน

สมัยปัจจุบันนี้ มีเด็กนิติศาสตร์จุฬา ธรรมศาสตร์ รามฯ และอื่นๆ ทุกสถาบันมาสมัครสอบเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งนิติกร ครั้งละจำนวนมากๆ แต่รับไม่กี่คนเอง เคยเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ถามเด็กว่า ตอนนี้ยังไม่ค่อยมีงานวิชาการอะไรทำ ส่วนมากจะเป็นงานช่วยขนของ โต๊ะ เก้าอี้ ถ่ายเอกสาร ค้นหาเอกสาร ส่งเอกสาร ฯลฯ ทำได้หรือไม่ ทุกคนบอกทำได้ ทุกคนต้องการทำงาน แม้เงินเดือนน้อย สวัสดิการไม่มีเหมือนข้าราชการ

ความจริงมีรายละเอียดมากกว่านี้ แต่ขออนุญาตเล่าประสบการณ์คร่าวๆ เพียงเท่านี้ แล้วพิจารณาเอาเอง

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

1
;;;;;;;;;;;;;;;; 1 ก.ย. 59 เวลา 11:32 น. 8-1

เห็นด้วยกับคห.นี้ครับ ผมคนนึงที่ถลำเข้ามาเเล้วถอยไม่ได้ ถ้ารู้อย่างนี้ตอนม.6จะไม่เลือกคณะนี้เด็ดขาด

0
ฟลุก 1 ก.ย. 59 เวลา 18:21 น. 9

คณะไหนมันก็เรียนยากเหมือนกันแหละครับ อบู่ที่ความตั้งใจของคนมากกว่า คนเก่งจริงตั้งใจจริงมีจุดมุ่หวังจริงยังไงก็ประสบความสำเร็จครับโกรธแล้วนะ

0
กัลย์ 1 ก.ย. 59 เวลา 21:45 น. 10

-อาชีพแพทย์/ทันตะ กำลังเรียน ม.6 สอบติดแพทย์/ทันตะ รู้เลยว่าอีก 6 ปีข้างหน้า จะต้องทำงานเป็นแพทย์/ทันตะ ตามสัญญาใช้ทุนที่ทำไว้(รู้อนาคต)
-อาชีพผู้พิพากษา/อัยการ จบ ม.6 สอบติดนิติศาสตร์ อีก 6 ปียังไม่รู้เลยว่า จะได้ทำงานเป็นผู้พิพากษา/อัยการ หรือไม่(ไม่รู้อนาคต)

เส้นทางเดินก่อนเป็นผู้พิพากษา
-ผู้ที่มีสิทธิสมัครสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาต้องอายุ 25 – 60 ปี(อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มอายุจาก 25 ปีเป็น 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในอนาคต)
-จะต้องเรียนจบปริญญาตรีกฎหมาย นิติศาสตร์บัณฑิต และจบเนติบัณฑิตด้วย นอกจากนี้ ยังต้องมีประสบการณ์ทำงาน รับราชการที่เกี่ยวกับกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 2 ปี
หรือไม่ก็ต้องมีอายุงานเก็บคดีทางกฎหมาย เช่น ทนายความ ไม่ต่ำกว่า 2 ปี เก็บคดีได้ 20 คดี(คดีแพ่ง 5 คดี) เป็นต้น

จึงเห็นได้ว่า กว่าที่จะผ่านด่านต่างๆมาได้ จนมีคุณสมบัติครบมีสิทธิเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษานั้น ก็ไม่ใช่ได้ง่ายๆเลย และแม้ว่าโอกาสสมหวัง อาจมีไม่ถึง 1% (0.25%) แต่ก็ยังมีคนสนใจเข้าสอบกันมากมายทุกปี บางคนสอบครั้งเดียวติด(ส่วนใหญ่พวกปริญญาตรีเกียรตินิยม) บางคนต้องสอบหลายครั้ง มีบางคนอดทน รอสอบทุกปีไม่ไหว ต้องเบนเข็มไปทำอาชีพอื่น ไม่เอาแล้วผู้พิพากษา อัยการ อุตส่าห์เรียนปริญญาตรี 4 ปีจบ เรียนเนติฯ ไม่รู้ 1 ปีหรือกี่ปีจบ มีประสบการณ์งานกฎหมาย 2 ปี
สรุปจบปริญญาตรีมาแล้ว 4-5 ปี ยังไม่รู้จะสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือไม่ หรือจบ ม.6 มาแล้ว 8-9 ปี ยังไม่รู้จะสอบติดเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือไม่

คุณสมบัติ คุณวุฒิ เงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ สำหรับผู้สมัครสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
๑) สนามใหญ่ อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป+ เนติบัณฑิต + อายุงาน ๒ ปี + หากเป็นทนาย อายุตั๋ว ๒ ปี + ๒๐ คดี
๒) สนามเล็ก อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป + เนติบัณฑิต + ปริญญาโทในประเทศหรือต่างประเทศ + อายุงาน ๑ ปี + หากเป็นทนาย อายุตั๋ว ๑ ปี + ๑๐ คดี
๓) สนามจิ๋ว อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป+ เนติบัณฑิต + ปริญญาตรีกฎหมาย ๓ ปี จากต่างประเทศ หรือปริญญาเอกกฎหมายในประเทศ (ไม่ต้องใช้อายุงาน) หากเป็นปริญญาตรีกฎหมาย ๒ ปี หรือ ปริญญาโทกฎหมาย ๒ ปีจากต่างประเทศ ต้องใช้อายุงาน ๑ ปี + ๒๐ คดี

ส่วนสนามเล็กสำหรับผู้ที่เป็นอาชีพพิเศษ
๑) แพทย์ เภสัช ฯลฯ + เนติบัณฑิต + จบโทหรือเอกสาขาแพทย์ (ในหรือต่างประเทศก็ได้) + ประกอบวิชาชีพในสาขาที่เรียนมา ๓ ปี หรือ ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ๓ ปี (อย่างหนึ่งอย่างใด) + หากประกอบวิชาชีพกฎหมายประเภททนายความ ฯลฯ ต้องเก็บคดี ๓๐ คดี
๒) แพทย์ เภสัช ฯลฯ + เนติบัณฑิต + ประกอบวิชาชีพในสาขาที่เรียนมา ๑๐ ปี (ไม่ต้องเก็บคดีหรือมีอายุงานกฎหมาย)
อาชีพพิเศษได้แก่
แพทย์ ทันตะ เภสัช สัตวแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล วิศวะ สถาปัตย์ หรือการบัญชีและได้
ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การสัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ การพยาบาล
วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาตแล้วแต่กรณี

ส่วนใหญ่พ่อแม่ที่เป็นผู้พิพากษาที่มีฐานะดี หรือเป็นผู้พิพากษาชั้นผู้ใหญ่ จะใช้ช่องทางพิเศษ ส่งลูกไปเรียนที่ต่างประเทศ เมื่อจบกลับมาไทย ก็จะสอบสนามเล็ก สนามจิ๋ว ซึ่งมีโอกาสติดง่ายกว่าสนามใหญ่มาก

อยากรู้รายละเอียดลองอ่านบทความตามลิงค์นี้ http://prachatai.com/journal/2012/08/41970
บทความนี้ลงเมื่อปี 55 ปัจจุบันนี้การแข่งขันยิ่งเข้มข้นสูงมากกว่าเดิม ติดยากกว่าเดิม

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 3 ก.ย. 59 เวลา 11:47 น. 11

หลายคนคงได้อ่านบทความที่ลิงค์ไว้แล้ว มีบางส่วนข้อมูลอาจจะเปลี่ยนแปลงแล้ว เช่น อำนาจ หน้าที่ บารมี ของเจ้าหน้าที่อื่นๆ(จบนิติศาสตร์) ที่ไม่ใช่ผู้พิพากษา การสอบแข่งขันเป็นผู้พิพากษาเข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิม ยากมากกว่าเดิม และมีข้อมูลบางส่วนถูกต้อง ใกล้เคียงกับความจริงมาก สงสัยคงได้รับข้อมูลจากผู้พิพากษา เช่น ผู้พิพากษที่ฐานะดี ผู้พิพากษาชั้นผู้ใหญ่ วางแผนให้ลูกเป็นผู้พิพากษาทางลัด นิยมส่งลูกที่จบ ป.ตรี นิติศาสตร์ไทยแล้ว ไปเรียนต่อต่างประเทศใช้เงินประมาณ 4-5 ล้านบาท จบง่ายกว่าปริญญาโทกฎหมายในไทย(ม.ธรรมศาสตร์) ให้ได้คุณวุฒิตามที่ กต.กำหนด เพื่อสอบสนามเล็ก สนามจิ๋ว ง่ายกว่า ไม่อยากสอบสนามใหญ่แข่งกับลูกชาวบ้าน ประชาชนทั่วไปที่เก่งๆ

สมัยนี้ การสอบแข่งขันเป็นผู้พิพากษายิ่งเข้มข้นมากขึ้น ลูกชาวบ้าน ประชาชนทั่วไป ถ้าจบนิติศาสตร์ ได้เกรด 3 ขึ้นไป หรือจบเกียรตินิยม หรือจบเนติฯ อันดับ 1-500 คิดว่าน่าจะมีโอกาสลุ้นสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษามาก ถ้าน้อยกว่า ต่ำกว่านี้ ก็อาจจะมีลุ้นสอบในตำแหน่งข้าราชการอื่นๆ ได้ ที่ไม่ใช่ผู้พิพากษา ถ้าเลือกงาน ก็อาจจะตกงาน

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 4 ก.ย. 59 เวลา 09:43 น. 12

เอาเงินหลวง จ้างลูกผู้พิพากษา เตรียมตัวสอบผู้พิพากษา

ที่บอกว่า ถ้าลูกมีพ่อแม่เป็นผู้พิพากษา ก็อาจจะฝากเข้าเป็นลูกจ้างชั่่วคราว นิติกรตามศาลต่างๆได้ เช่น ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา(ถ้าเส้นใหญ่ชอบศาลฎีกา)

ศาลชั้นต้น มีประชาชนติดต่องานมาก งานหนักกว่าศาลสูง มีเวลาอ่านหนังสือน้อยกว่า
ศาลสูง ไม่ค่อยมีประชาชนติดต่องาน งานสบาย (เอาเงินไปฝากธนาคาร ซื้ออาหาร) มีเวลาอ่านหนังสือมาก

ศาลพิเศษต่างๆ ก็มี เช่น มีข่าวลูกตุลาการไปเรียนต่างประเทศแล้ว ยังรับเงินค่าจ้างอีกเป็นปีๆ ต่อมาเรื่องแดง ค่อยคืนเงิน

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 4 ก.ย. 59 เวลา 21:59 น. 13

เคยเห็นนิติกร ข้าราชการศาลยุติธรรม ระดับ 5 คนหนึ่ง สอบผู้พิพากษาหลายครั้งแล้ว ยังไม่ติด
เห็นรุ่นน้องนิติกร ข้าราชการศาลยุติธรรม ระดับ 4 สอบผู้พิพากษาครั้งที่ 3 ติด เลยตัดสินใจทุบหม้อข้าวตัวเอง ขอลาออกจากราชการ เลิกกับแฟน เพื่อไปเตรียมตัวสอบผู้พิพากษาอีก อ่านหนังสืออย่างเดียว

เคยเตือนไปว่า อย่าออกเลย อย่าเสี่ยงมากเกินไป สอบไม่ได้จะไม่คุ้มกับการลงทุน เป็นข้าราชการระดับ 5 แล้วทำงานอีก 1 ปี ก็ครบ 6 ปี มีสิทธิ์สอบสนามเล็กแล้ว เสี่ยงเกินไป คนจะเป็นผู้พิพากษาได้ มันอาจจะต้องมีดวงช่วยด้วย ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้สำเร็จเสมอไป เตือนตามประสบการณ์ที่เห็นมา ผลปรากฏว่า สอบอีกหลายครั้ง ก็ยังไม่ติด ได้ข่าวว่าพอสอบไม่ติดอีก ต่อมาไปเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งนิติกร สำนักงานอัยการที่ต่างจังหวัดบ้านเกิด ปัจจุบันก็ยังสอบผู้พิพากษาไม่ติด แต่สอบได้เป็นข้าราชการ ระดับ 3 ตำแหน่งนิติกร อยู่ที่ศาลต่างจังหวัด

สรุป คนที่สอบติดผู้พิพากษา ต้องทั้งเก่ง และมีดวงด้วย

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กัลย์ 5 ก.ย. 59 เวลา 18:36 น. 14

มีเพืื่อนเป็นทนายความ ผ่านเนติฯตั้งแต่หนุ่มๆ สอบผู้พิพากษาตั้งแต่มีคุณสมบัติครบ จนถึงอายุ 56 ปี เปิดสอบผู้พิพากษาทุกครั้ง จะสมัครสอบทุกครั้ง แต่สมัครจำนวนกี่ครั้งแล้ว นับครั้งไม่ได้ จำไม่ได้ รู้แต่ว่าได้บริจาคเงินให้สำนักงานศาลยุติธรรม หลายหมื่นบาทแล้ว ยังสอบไม่ติดเลย ปัจจุบันนี้อายุน่าจะใกล้ 60 ปี อายุมากแล้ว คงจะถอดใจไม่สมัครอีกแล้ว

มีหลานเพื่อนคนหนึ่ง เป็นลูก ส.ส.และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ เห็นตั้งแต่เด็กๆ เรียนสาธิตประสานมิตร วางแผนการเรียนอย่างดี จบนิติศาสตร์ มธ.จบเนติฯ ทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวสำนักงานศาลยุติธรรม จนมีคุณสมบัติครบ ไปเรียนปริญญาโทต่างประเทศ 2 ใบ สอบสนามเล็ก สนามใหญ่ พอสอบไม่ติดหลายครั้ง ก็ท้อใจ ไม่ยอมสอบผู้พิพากษาอีกเลย พ่อแม่อ้อนวอนให้สู้ต่ออย่างไร ก็ไม่เอา ปัจจุบันนี้ ก็ไปเป็นข้าราชการหน่วยงานอื่น ไม่เกี่ยวกับศาลยุติธรรม และไม่สมัครสอบผู้พิพากษาอีกเลย

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เนื้อหาซ้ำ เคยโพสท์ไปแล้ว เพื่อความเป็นระเบียบกรุณาโพสท์กระทู้เพียงครั้งเดียว