Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[รีวิว]สอบ CU-TEP ศัพท์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา (เมื่อวานนี้เอง) มีการสอบ CU-TEP (การทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษา โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งจัดสอบที่อาคารมหิตลาธิเบศ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (คนเยอะมากกกกกกกก ทั้งน้องมัธยม และพี่ๆ ป.ตรี ป.โท)
 

เอาละมาดูเรื่องการสอบกันดีกว่า นี่คือรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบคร่าวๆ 
(ที่มา : http://www.atc.chula.ac.th/th_html/th_tep.html)

สำหรับตัวข้อสอบนั้นจะมีหลักๆ 3 ส่วนคือ การฟัง การอ่าน การเขียน ตามรายละเอียดในภาพนั่นเอง
1.การฟัง
ลักษณะการสอบคือเราจะได้ฟังการสนทนาหรือการเล่าเรื่องเพียงครั้งเดียวแล้วตอบคำถาม ส่วนตัวถือว่ายังไม่โหดมาก เราจะได้ยินเสียงการสนทนาที่พูดช้าแบบที่เราฟังทันได้ไม่ยาก ไม่ได้รัวแบบฝรั่งคุยกันในซีรีส์ การฟังก็จะมี 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1.1 ฟังสั้นๆ แล้วตอบคำถามทีละข้อ
อันนี้จะเป็นบทสนทนาสั้นๆ ของคน 2 คนแล้วก็จะถามคำถาม เราก็จะมี 4 ตัวเลือกให้เลือกตอบ 
1.2 ฟังยาวๆ แล้วตอบคำถามยาวๆ 
อันนี้เราจะได้ฟังการสนทนายาวขึ้นหน่อย เพราะการสนทนาครั้งนึงจะถามได้ 3 ข้อเลย ก็ต้องจับใจความและจดจำให้ดีว่าอะไรเป็นอะไร ซึ่งระหว่างฟังเราจะสามารถเดาคำถามได้จากการดูตัวเลือกที่ให้มาในกระดาษข้อสอบ 
1.3 ฟังการเล่าเรื่องแล้วตอบคำถาม
อันนี้จะไม่ใช่การสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คนแต่เป็นการเล่าเรื่องของคนคนเดียว ซึ่งก็ไม่ยาวมาก แล้วก็มาตอบคำถาม 3 ข้อต่อเรื่อง

2.การอ่าน
ลักษณะการสอบก็คือการอ่านบทความแล้วตอบคำถามนั่นเอง จะมีด้วยกันทั้งสิ้น 7 บทความ บทความละ 10 คำถาม บทความแรกจะเป็นลักษณะของการเติมคำ คือเว้นที่ว่างในระหว่างบทความให้เราเลือกคำที่เหมาะสมเข้าไปเติม ฉะนั้นก็ต้องเข้าใจบริบทในประโยคของบทความ มองหาความเชื่อมโยงระหว่างประโยคเพราะบางทีเราก็ต้องเติมพวก conjunction ต่างๆ เติม because, instead, consequently อะไรพวกนี้ รวมถึงต้องมีศัพท์ในหัวพอสมควรเพราะบางจุดที่เว้นคำต้องการให้เราเลือกคำที่ความหมายสอดคล้องกับประโยคก่อนหน้า หรือเป็นคำที่สรุป/หมายถึงบางสิ่งบางอย่าง ก็ต้องรู้ความหมายคำที่เป็นตัวเลือกจริงๆ เพราะบางคำเวลาอยู่ต่างบริบทความหมายก็ต่างโดยสิ้นเชิง ต้องเข้าใจการใช้คำศัพท์ด้วย ไม่ใช่แค่ท่องจำความหมายได้เท่านั้น 

บทความที่ 2 ก็จะให้อ่านแล้วมาตอบคำถามคล้ายๆ ใน GAT หรือ ONET เพียงแต่บทความจะยาวกว่า และไม่มีบทความไหนสั้นเลย จะประมาณ 1 หน้าข้อสอบ แต่ความพิเศษในบทความที่สองคือจะมีบางจุดที่เว้นไว้ เพื่อให้เลือกประโยคที่เหมาะสมไปเติมด้วย บทความแรกแค่เติมคำ นี่เติมทั้งประโยคเลยนะ! ก็ต้องดูดีๆ ว่ามันสอดคล้องกับการเล่าเรื่องมั้ย เอามาเติมแล้วเรื่องมันกระโดดมั้ย เปลี่ยนประเด็นแบบปุ้บปั้บหรือเปล่า มันเชื่อมโยงระหว่างพารากราฟได้มั้ย ต้องคิดดีๆ

บทความอื่นๆ ก็จะมีแค่ให้อ่านเเล้วตอบคำถาม คำถามคลาสสิคที่มีทุกข้อเลยก็คือ ถามหาประเด็นหลักของเรื่อง, ยกคำต่างๆ เช่น that those they อะไรพวกนี้มาถามว่า  refer ถึงอะไร, ข้อไหนถูก, ข้อไหนผิด, ข้อไหนไม่ได้กล่าวในบทความ, จากบทความ infer ว่าอย่างไร, มีคำแปลกๆ โผล่เข้ามาในบทความแล้วถามความหมายที่ใกล้เคียงที่สุด ก็จะเจอศัพท์แปลกๆ อีกในตัวเลือก บอกเลยว่าคำถามอันนี้ถ้าเราไม่มีศัพท์ในหัวก็อาจจะต้องจำใจเดาหรือข้ามไปก่อนไม่งั้นจะเสียเวลาทำข้อสอบมากกกกกกก (ุข้อสอบ 60 ข้อกับเวลา 70 นาที เพราะงั้นคิดนานไม่ได้ จะไล่อ่าน
บทความตั้งแต่ต้นจนจบแล้วค่อยตอบก็ไม่ได้แน่ : ขอแนะนำกระทู้ เทคนิคอิ้ง Reading อ่านไม่หมดก็ทำได้)
ส่วนตัวทำพาร์ทนี้ไม่ทันไป 6 ข้อ เพราะเสียเวลาย้ำคิดกับคำถามบางข้อ
แล้วทำไงนะหรอ....เดาเลยจ้า 555 



3.การเขียน
เมื่อบอกว่าการเขียน บางคนก็อาจจะตกใจ 
"เห้ย! นี่จะต้องมาเขียน Essay อะไรพวกนี้หรอ? ตายๆๆๆๆ ตาย
แน่เลย"
แต่จริงๆ แล้วการสอบในพาร์ทนี่คือข้อสอบ Gramma Error นั่นเอง ก็แค่มองหาจุดที่มันแปลกๆ ประหลาดๆ ประธานเป็นพหูพจน์แต่กระแดะใช้ verb ของเอกพจน์ หรืออุตริเอา verb มาเป็นประธานดื้อๆ อะไรแบบนี้ แต่รู้สึกว่าข้อสอบพาร์ทนี้ก็มีดักมีหลุมเหมือนกัน ที่เจอมาบางข้อก็มองไม่ออกเลยว่าอะไรผิดถ้าอ่านแบบเผินๆ เพราะผิดแบบเนียนมาก (หรือเราโง่เองก็ไม่รู้ 555) เพราะงั้นไม่ใช่แค่เราแม่น tense แม่น verb adjective adverb แล้วจะรอด แต่ยังต้องเข้าใจรูปประโยคด้วย และการวางตำแหน่งคำด้วย

คิดว่าที่เล่ามาน่าจะเป็นประโยชน์กับการเตรียมตัวสำหรับน้องๆ หรือใครก็ตามที่กำลังจะสอบในรอบถัดไป ยังไงก็เตรียมตัวดีๆ นะครับ เตรียมตัวดีมีชัยไปกว่าครึ่งจริงๆ โดยเฉพาะเตรียมคลังศัพท์ในหัว แต่อย่างที่บอกครับ ไม่ใช่แค่ท่องจำความหมายศัพท์ได้เยอะเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจวิธีการใช้คำนั้นในลักษณะที่แตกต่างกันด้วย
สู้ๆ ครับทุกคน

 

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น