Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เกี่ยวกับอาชีพ"วิศวกรโยธา (Civil Engineers)"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วิศวกรโยธา (Civil Engineers)

นิยามอาชีพ 
 

ผู้ปฎิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ผู้วางแผน จัดระบบงานและควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจน การติดตั้งการใช้ และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิก และระบบสุขาภิบาล ทำการตรวจตรา และทดสอบทำงานวิจัยและให้คำแนะนำทางเทคนิคต่างๆ
 

ลักษณะของงานที่ทำ 

1. วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ  
2. ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการติดตั้ง การใช้ และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิก 
และระบบสาธารณสุขอื่นๆ  
3. พิจารณาโครงการ และทำงานสำรวจเพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการก่อสร้าง  
4. สำรวจและประเมินลักษณะ และความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศ ทางบก และทางน้ำเพื่อพิจารณาว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไรบ้าง  
5. สำรวจดูพื้นผิวดินและใต้ผิวดินว่าจะมีผลต่อการก่อสร้างอย่างใด และเหมาะสมที่จะรองรับ สิ่งก่อสร้างเพียงใด  
6. ปรึกษา หารือในเรื่องโครงการกับผู้ชำนาญงานสาขาอื่นๆ เช่น วิศวกรไฟฟ้า หรือวิศวกรช่างกล วางแผนผังรากฐาน ท่อสายไฟ ท่อต่างๆ และงานพื้นดินอื่นๆ คำนวณความเค้น ความเครียด จำนวนน้ำ ผลอันเนื่องมาจากความ
7. แรงของลมและอุณหภูมิ ความลาด และเหตุอื่นๆ  
8. เตรียมแบบแปลนรายงานก่อสร้าง และจัดทำประมาณการวัสดุและประมาณการราคา 
9. เลือกชนิดของเครื่องมือขนย้ายดิน เครื่องชักรอก เครื่องจักรกล และเครื่องมืออื่นๆ ที่จะใช้ในงานก่อสร้าง  
10. จัดทำตารางปฎิบัติงานและควบคุมให้การปฎิบัติงานไปตามแผนที่วางไว้ ทดสอบ และตรวจดูโครงสร้างทั้งเก่า และใหม่ ตลอดจนวางแผนและจัดระบบงานซ่อม
 
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ :

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา  
2. เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่น ค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเพื่อหาวิธีที่ประหยัด และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น  
3. มีวิสัยทัศน์ และสนใจกับเหตุการณ์ ข่าวสารที่เกิดขึ้นตลอดเวลา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีจรรยาบรรณของวิศวกร  
4. มีความอดทนและเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ มีอารมณ์เยือกเย็น มีความคิดสุขุม  
5. มีลักษณะเป็นผู้นำ ทั้งนี้งานส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการควบคุมคนเป็นจำนวนมาก   
6. มีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี  
7. ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรในทุกสาขาควรจะมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อใช้ใน การรับรองสำหรับการประกอบอาชีพ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ และวุฒิการศึกษาตามข้อกำหนด โดยจะขอรับใบอนุญาตได้ที่ กองวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สังกัดในกระทรวงมหาดไทย 
 
แนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ 

ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาวิทยาศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาระยะเวลาการศึกษา 4 ปี เมื่อสำเร็จ การศึกษาแล้วจะได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) ในสาขาวิศวกรโยธา หรือ เป็นผู้สำเร็จ การศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่ศึกษาเกี่ยวกับทางด้านช่างจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง วิทยฐานะ เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง) เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) ในสาขาวิศวกรโยธา
 

ความก้าวหน้าในอาชีพ รายได้ และสวัสดีการ :
 

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพมีอย่างแน่นอน เพราะสามารถพัฒนาตนเองในแนวทางที่ตนเอง

พึ่งพอใจ ซึ่งต่างจากบางอาชีพที่บุคคลก้าวหน้าได้เพราะมีคุณสมบัติเฉพาะในอาชีพนั้นเท่านั้น

ที่สำคัญ คือ การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ

ทำให้วิชาชีพพัฒนาออกไปอย่างไม่มีขีดจำกัดและพัฒนาวิชาชีพที่เกิดขึ้นเกี่ยว เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเช่นกัน ย่อมทำให้บุคคลในวิชาชีพนี้มีทางเลือกที่จะพัฒนาตัวเองในช่วงระยะเวลาที่

ประกอบอาชีพนี้ให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของตนเองได้สูงขึ้น

 

ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรโยธา-Civil Engineer ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือน ตามวุฒิการศึกษา โดยวิศวกรโยธาที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้

ประเภทองค์กร เงินเดือน

ราชการ 6,360

รัฐวิสาหกิจ 7,210

เอกชน 12,000 – 18,000

ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจจะต้องมาทำงานวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุด อาจจะต้องทำงาน ล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน นอกจาก ผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่นค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น
 

ปัญหา หรืออุปรรคที่อาจพบในการประกอบอาชีพ :

ปัญหาที่เกิดจากผู้รับเหมา

ปัญหาที่เกิดจากผู้รับเหมาส่วนใหญ่ก็มีอยู่หลายอย่าง ใครเคยทำงานในส่วนของผู้รับเหมาก็น่าจะรู้ดี ปัญหาหลักๆ ได้แก่

    ▪    ปัญหาที่เกี่ยวกับคน เช่น จำนวนคนงานไม่เพียงพอต่อการทำงาน ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน มาตรฐานด้านงานฝีมือไม่เพียงพอ เกิดความขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกันเอง

    ▪    ปัญหาที่เกี่ยวกับเงิน เช่น เบิกงวดไม่ได้ เงินหมุนไม่ทัน และปัญหานี้ก็ยังเป็นชนวนของอีกหลายๆปัญหาที่จะตามมา

    ▪    ปัญหาที่เกี่ยวกับวัสดุ เช่น วัสดุขาดตลาด ส่งวัสดุเข้าไซต์งานไม่ได้ การปรับขึ้นราคาของวัสดุ วัสดุไม่ตรงตามข้อกำหนด

    ▪    ปัญหาที่เกี่ยวกับเครื่องจักร เช่น เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักร และไม่มีเครื่องจักรสำรอง ไม่มีเครื่องจักรเป็นของตนเอง และไม่สามารถหาเช่าเครื่องจักรได้

    ▪    ปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหาร เช่น ผู้บริหารไม่เด็ดขาด เกิดความขัดแย้งในฝ่ายบริหาร การบริหารด้อยคุณภาพ

ปัญหาที่เกิดจากผู้ควบคุมงาน

ปัญหาที่เกิดจากผู้ควบคุมงานส่วนใหญ่มักจะเกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจต่องานที่ได้รับมอบหมาย หรือประสบการณ์ในการทำงานไม่เพียงพอ ไม่มีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ หวังผลประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป เป็นต้น

ปัญหาที่เกิดจากการออกแบบ

ปัญหาที่เกิดจากการออกแบบที่ผิดพลาดนี้สามารถพบเจอได้บ่อยพอสมควร คนหน้างานเขามีประโยคฮิตติดปากว่า “คนทำไม่ได้ออกแบบ คนออกแบบไม่ได้ทำ” สำหรับเรื่องความถูกต้องจามหลักวิชาการนั้น ส่วนใหญ่ทางฝ่ายออกแบบจะแม่นเรื่องนี้อยู่แล้ว จึงไม่ใช่ประเด็น ที่พบได้มากที่สุดก็คือ การไม่คำนึงถึงการก่อสร้างที่หน้างาน ว่าหน้างานจะทำได้หรือไม่ ทำให้ต้องกลับมาแก้ไขแบบใหม่อีกรอบ ทั้งนี้ก็น่าจะเกิดจากการขาดประสบการณ์ของผู้ออกแบบหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง เพราะส่วนใหญ่แล้วทางหน้างานจะตรวจเจอปัญหาก่อนการทำงาน ก็จะทำให้เสียเวลาในการทำงานส่วนนั้นๆไป

ปัญหาที่เกิดจากเจ้าของงาน

ปัญหาที่เกิดจากเจ้าของงานนั้นมีอยู่ไม่มากนัก แต่เป็นปัญหาใหญ่ทั้งนั้น เช่น ความล่าช้าในการจ่ายเงิน การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขแบบกระทันหัน ขอเพิ่มงานนอกเหนือจากสัญญา และข้อห้ามจิปาถะในการทำงาน เป็นต้น

ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก

ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภัยธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม พายุเข้า หนาวเกินไป ร้อนตับ ร้อนตับแลบ ฯลฯ ความล่าช้าของระบบโลจิสติกส์ สภาวะเศรษฐกิจและการเมือง วันหยุดประจำเทศกาลและวันหยุดฉุกเฉิน เป็นต้น

 

แนวโน้มความต้องการอาชีพในอนาคต :

การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มีบทบาทในการสนับสนุนทั้งกิจการของภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่สำคัญระดับโลก เป็นบุคลที่วางแผน จัดระบบงานและควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร “วิศกรโยธา” จึงเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงมาก รวมไปถึงรายได้ที่ยังคงดีต่อเนื่องสม่ำเสมอของวิศวกรรมสาขานี้ จากผลการสำรวจพบว่าในประเทศกลุ่มทวีปต่าง ๆ ยังคงขาดแคลนวิศกรโยธา ยกเว้นกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย 

คุณค่าของอาชีพต่อการพัฒนาสังคม :


วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาที่กว้างขวางและมีบทบาทต่อสังคมมากที่สุดสาขาหนึ่งของ
วิศวกรรมศาสตร์ งานของวิศวกรโยธาเกี่ยวพันกับการก่อสร้างอาคาร สะพาน เขื่อน ถนนและสิ่ง ปลูกสร้างอื่นๆอีกมากมาย วิศวกรโยธามีหน้าที่วางแผน ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างตั้งแต่ งานขนาดเล็กไปจนถึงโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ตึกระฟ้า ท่าอากาศยาน ศูนย์การผลิตและ ควบคุมบําบัดน้ําเสีย นอกจากนี้วิศวกรโยธายังมีบทบาทสําคัญในการคิดค้นและพัฒนาระบบ ขนส่งและระบบสาธารณูปโภคในอนาคต เช่น การออกแบบระบบรถไฟอนาคตซึ่งใช่แรงแม่เหล็ก เพื่อออกแรงยกตัวและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Magnetic levitation trains)



บรรณานุกรม :

ที่มา : 

http://eng.sut.ac.th/ce/index.php?option=com_content&view=article&id=81&Itemid=184&lang=th
https://peetloveb.wordpress.com/โอกาศความก้าวหน้า/
http://buildcivilman.blogspot.com/2013/05/build-iron-man-6.html
https://blog.eduzones.com/sauw/32012
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9580000129963
http://www.civilclub.net/ปัญหาทั่วไปในงานก่อสร้าง-problems-in-construction.html
http://www.denichsoiltest.com/article/วิศวกรโยธา-civil-engineer.html
http://eng.bu.ac.th/2007/doc/engineer.pdf








 
  

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

wasd 16 ก.ย. 59 เวลา 19:18 น. 1-1

สงัสยเป็นข้อมูลเก่า(มากๆ)ครับ วิศวะสาขาอื่นก็แบบเดียวกัน เลยดูน้อยๆ

0
Apple-o 9 ก.พ. 60 เวลา 11:37 น. 1-2

แก้ให้ค่ะ

ฤทธา,ซิโนไทย,อิตาเลียนไทย หรือบริษัทรับเหมา เงินเดือน 15000+ รวมอื่นๆ start ประมาณ 20000 บาท (โบนัสเฉลี่ย 3 เดือน)
Takenaka เงินเดือน 13000 + กว 8000 +OT อื่นๆ ประมาณเดือนละ 25000+ บาท
บริษัทญี่ปุ่นอื่นๆ เงินเดือน 13000-14000 รวมอื่นๆ 20000+ บาท
บริษัทพวกคอนเซาท์ทั้งหลาย เงินเดือน 13000-14000 โอทีอย่างเก่งก็ 20000 บาทต่อเดือน
พฤกษา 15000+ รวมอื่นๆ และ OT (ออกไซต์) 25000 บาทต่อเดือน (โบนัส 5-6 เดือน)

สรุปโยธาจบใหม่เฉลี่ยเงินเดือนไม่รวมOT 17000-18000 บาทครับ
ถ้าโยธารัฐวิสาหกิจก็ประมาณนี้ 17000-18000 บาท

0
CM13 20 ต.ค. 61 เวลา 19:34 น. 1-3

จบใหม่​ ไม่ต้องสนเงินเดือนมาก​ พอประสบการณ์มากและความสามารถวิชาชีพสูง​ (สย.​, วย.)​ เงินเดือนจะสูงเอง​ อีกทั้งยังสามารถออกมาเปิดบริษัทเองได้​... อยู่ที่ว่าเก่งจริง​หรือ​ป่าว​

0