Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รู้รึเปล่าว่า.. เราทุกคนน่ะ กำลังอยู่ในโลกอดีตนะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เราทุกคนใช้ชีวิตอยู่ในอดีตกันทั้งนั้นครับ

สมมติว่ามีแมลงตัวหนึ่งมีประสาทรับรู้ที่เร็วกว่าเรา เราก็จะเสมือนว่าอยู่ในอดีตของมัน ตอนที่เราคิดว่าเราตบมันได้พอดีอยู่แล้วนะ 
มันก็หนีไปได้อย่างเหลือเชื่อ แหม่ไวจริงๆ-ตัวพรรค์นี้ 
เพราะที่จริงมันเห็นการเคลื่อนไหวของเราก่อนที่เราจะรู้ตัวว่าเรากำลัง เคลื่อนไหวซะอีก 

ในโลกการรับรู้ของเราไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นอย่างเรียลไทม์จริงๆเลย เราอยู่ในอดีตของโลกนี้ อยู่ในอดีตของตัวเองตลอดเวลา

ไม่ใช่เฉพาะแค่การมองเห็น แต่การรับรู้ทุกอย่างของเราอยู่ในอดีตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส การเคลื่อนไหว ทุกอย่างเลย เพราะประสาทของเราสามารถส่งข้อมูลไปยังสมองได้เร็วสุดแค่ 250 ไมล์ต่อชั่วโมง 
การรับรู้ของเราจะล่าช้ากว่าความเป็นจริงไปประมาณ 80 มิลลิวินาที 
อาจดูเหมือนน้อย แต่ตรวจวัดได้อย่างชัดเจนและเราก็รับรู้มันได้บ้างในบางกรณี 

สรุปคือเราใช้ชีวิตอยู่ในอดีตที่ห่างจากปัจจุบันอยู่ 80 มิลลิวินาทีเสมอ เราจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นเมื่อมันเกิดขึ้นไปแล้วถึง 80 มิลลิวินาที 
ก็นานเหมือนกันนะ แต่เราไม่รู้สึกผิดปกติกับค่าดีเลย์นั้นเพราะสมองพยายามทำความเคยชินกับมัน 
อะไรที่เราคิดว่ากำลังเกิดขึ้น มันได้เกิดขึ้นไปแล้ว แม้แต่เวลาทีเราหยิบดินสอขึ้นมา 
ณ เวลาที่เรารู้สึกว่าเราหยิบมันขึ้นมานั้นเราได้หยิบมันไปแล้ว 



80 มิลลิวินาทีมันนานพอที่จะรู้สึกได้ (นานกว่าการกระพริบตา) แต่ความเคยชินช่วยลดปัญหาในชีวิตเราหลายๆอย่าง 
แม้กระทั่งทำให้เรารู้สึกว่ามันควรจะเป็นแบบนั้นน่ะถูกแล้ว มีการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานนี้ โดยให้อาสาสมัครเปิดสวิชต์ไฟ 
ซึ่งไฟจะติดขึ้นมาหลังจากกดสวิชต์ 80 มิลลิวินาที ไม่นานอาสาสมัครก็ไม่รับรู้ถึงความล่าช้านั้น 
และเมื่อตั้งค่าให้ไฟติดขึ้นมาในเวลา 40 มิลลิวินาที อาสาสมัครกลับรู้สึกว่าไฟติดขึ้นมาก่อนที่พวกเขาจะกดสวิชต์ 

แบบทดสอบที่อธิบายเรื่องนี้ได้ชัดเจนคือภาพลวงตา Flash-Lag Effect

********************************


ภาพลวงตานี้ถูกบันทึกครั้งแรกเมื่อปี 1958 การที่มันได้ชื่อว่า flash-lag effect เพราะเดิมทีมันเกิดจากการมีผู้สังเกตเห็นว่าแสงกระพริบจากเครื่องบินมันไป ไม่พร้อมกับเครื่องบิน แต่จะอยู่รั้งท้ายเสมอ

ออริจินัลอิมเมจมักจะอธิบายในรูปแบบของวงแหวนที่มีไฟกระพริบอยู่ตรงกลาง
เราจะเห็นว่าไฟกระพริบนั้นไม่ได้อยู่ตรงกลางตามที่มันควรเป็น แต่จะช้ากว่าการเคลื่อนที่ของวงแหวนนิดหน่อย

สมมติฐานดั้งเดิมของภาพลวงตานี้กล่าวไว้ว่า เป็นเพราะสมองของเราทำนายตำแหน่งของวัตถุล่วงหน้าแปบนึง 
เพราะสมองต้องใช้เวลาสักครู่ในการประมวลผลภาพ ถ้าไม่มีการคาดการณ์ล่วงหน้า เราก็จะมองเห็นวัตถุผิดตำแหน่งไป 
เพราะในขณะที่เรารับรู้ วัตถุนั้นก็เปลี่ยนตำแหน่งไปแล้ว เราจึงต้องมีระบบการเดาตำแหน่งล่วงหน้า 
ซึ่งก็เป็นสมมติฐานที่สมเหตุสมผลมากพอ

แต่นั่นก็จะหมายความว่า เรามองเห็นอนาคตอยู่ตลอดเวลาน่ะสิ? บางคนคิดว่านั่นไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่

สมองของเรามองเห็นอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคตกันแน่?

จึงมีการทดลองเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยจัดการทดลองแบบง่าย ๆ คือ ใช้วงแหวนกับไฟกระพริบเหมือนเดิม 
แต่คราวนี้เราลองมองต่างมุมดู ไม่คิดว่าวงแหวนนั้นคือภาพลวงตา แต่ลองคิดว่าไฟกระพริบอาจจะเป็นภาพลวงตาแทน

แทนที่จะให้วงแหวนเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิมเรื่อย ๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งเขาก็ทำให้วงแหวนหยุดนิ่ง 
หรือไม่ก็เคลื่อนที่กลับไปในทิศทางตรงข้าม

ถ้าสมมติฐานเดิมถูกต้อง ไฟกระพริบจะต้องเคลื่อนที่ต่อไปในทิศทางเดิมก่อน 
เพราะสมองต้องคาดว่าวงแหวนจะยังคงเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิม แต่ผลการทดลองไม่ได้ออกมาอย่างนั้น

เมื่อวงแหวนหยุด ไฟกระพริบก็หยุดอยู่ตรงกลางพอดี และเมื่อวงแหวนเคลื่อนที่ไปอีกทางหนึ่ง มันก็เริ่มเคลื่อนที่ตามไปอีกทางหนึ่งเช่นกัน

จากการทดลองอย่างง่าย ๆ นี้จึงสรุปได้ว่าสมมติฐานเดิมนั้นผิด สมองของเราไม่ได้แสดงให้เราเห็นภาพเหตุการณ์ล่วงหน้า

********************************

สรุป เรามองเห็นตำแหน่งของวัตถุในอดีต ไม่ใช่ตำแหน่งวัตถุในปัจจุบัน และไม่ใช่ตำแหน่งของมันในอนาคต 
ถ้าจะพูดว่าเราใช้ชีวิตอยู่ในอดีตก็ไม่ผิดอะไรครับ


Cr.ζ-Zeta S.

แสดงความคิดเห็น

>