Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

What is โรคคอตีบ ... ????

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
รู้จักโรคคอตีบกันหรือเปล่าเอ่ย!!!!!!!blush
ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :หลอดลม  ระบบทางเดินหายใจ  ระบบโรคติดเชื้อ

อาการที่เกี่ยวข้อง :ไข้  หายใจลำบาก  ไอ
 
โรคคอตีบ (Diphtheria) เป็นโรคเกิดจากทางเดินหายใจติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Chorynebac terium diphtheriae ปัจจุบันเป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนอย่างทั่วถึง แต่ยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อนที่ยังไม่พัฒนาหรือกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยเพราะการขาดแคลนวัคซีนหรือเด็กไม่ได้รับวัคซีนเพราะคลอดเองที่บ้าน อย่างไรก็ตามถึงแม้เป็นโรคของเขตร้อนแต่ก็สามารถพบโรคเกิดได้ทั่วโลก รวมทั้งเคยมีการระบาดมาแล้วในประเทศเยอรมันและประเทศแคนาดา
โรคคอตีบพบเกิดได้เท่ากันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย โดยเป็นโรคพบได้ในทุกอายุ แต่มักไม่พบในเด็กอ่อนอายุต่ำกว่า 6 เดือนเนื่องจากเด็กช่วงอายุนี้ได้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจากแม่ซึ่งจะหมด ไปเมื่อเด็กมีอายุได้ประมาณ 6 เดือน โดยทั่วไปในประเทศที่ยังไม่พัฒนามักพบโรคเกิดในเด็กเล็ก แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วเมื่อเกิดโรคมักพบในวัยตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเนื่องจากขาดการฉีดวัคซีนกระตุ้นซึ่งต้องฉีดทุกๆ 10 ปี
ปัจจุบันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคคอตีบคือ คนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่) หรือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนกระตุ้น การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัดและขาดสุขอนามัย และในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ

เชื้อคอตีบก่อโรคและติดต่อได้อย่างไร?cheeky
 


แหล่งรังโรคของเชื้อโรคคอตีบคือมนุษย์ โดยเชื้ออาศัยอยู่ในโพรงจมูก โพรงหลังจมูก ในลำคอ และอาจพบที่ผิวหนังได้ นอกจากนั้นอาจพบเชื้อโรคคอตีบได้ในดินและในบางแหล่งน้ำธรรมชาติ
คอตีบเป็นโรคติดต่อได้ง่ายและระบาดได้รวดเร็ว โดยติดต่อ

จากการใกล้ชิดคลุกคลีกับผู้ป่วย รวมทั้งการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย ละอองหายใจ และจากการไอ จาม นอกจากนั้นยังอาจพบติดต่อผ่านทางเชื้อที่ปนในอาหารเช่น ในนม แต่พบโอกาสติดต่อด้วยวิธีนี้ได้น้อยกว่า
เมื่อได้รับเชื้อ เชื้อจะอยู่ในบริเวณส่วนตื้นๆของเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจเช่น โพรงจมูก ต่อม ทอนซิล ในลำคอ และในกล่องเสียง หลังจากนั้นเชื้อจะสร้างสารพิษ/สารชีวพิษซึ่งเป็นโปรตีนมีพิษต่อร่างกายชนิดหนึ่งเรียกว่า Diphtheria toxin ซึ่งสารพิษนี้จะก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อเมือกในทางเดินหายใจ เกิดการตายของเซลล์เยื่อเมือกในทางเดินหายใจ ของเซลล์เม็ดเลือดขาว และของเม็ดเลือดแดง รวมทั้งการตายสะสมของตัวแบคทีเรียเอง ก่อให้เกิดเป็นแผ่นเยื่อหนาสีเทา-น้ำตาล ปกคลุมหนาในทางเดินหายใจจึงก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจไม่ออก คล้ายมีอะไรบีบรัดในทางเดินหายใจ (เป็นที่มาของชื่อ “โรคคอตีบ”) แผ่นเยื่อนี้พบเกิดได้ตั้งแต่ในโพรงจมูกลงไปจนถึงในลำคอ โดยพบบ่อยที่สุดในบริเวณต่อมทอนซิลและคอหอย
นอกจากนั้นสารพิษยังอาจแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต (เลือด) และอาจก่ออาการอักเสบกับอวัยวะ และเนื้อเยื่อต่างๆได้ที่พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและ/หรือเส้นประสาทอักเสบโดยเฉพาะเส้น ประสาทบริเวณลำคอที่ทำให้เกิดอาการกลืนลำบาก ซึ่งอาจเกิดได้หลังเกิดอาการจากโรคประมาณ 2 - 10 สัปดาห์
 

โรคคอตีบมีอาการอย่างไร?indecision
 

อาการของโรคคอตีบมักเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 2 - 5 วัน (ระยะฟักตัวของโรค) แต่อาจนานได้ถึง 10 วัน และผู้ป่วยมักมีอาการอยู่ได้นานถึง 4 - 6 สัปดาห์หรืออาจนานกว่านี้ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
อาการพบบ่อยของโรคคอตีบคือ
มีไข้มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส (Celsius) อาจรู้สึกหนาวสั่น
อ่อนเพลีย เจ็บคอมาก กิน/ดื่มแล้วเจ็บคอมากจึงกิน/ดื่มได้น้อย
หายใจลำบาก หายใจไม่ออก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
คออาจบวมและไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
มีแผ่นเยื่อในจมูก ต่อมทอนซิล ลำคอ และกล่องอาการค่อยๆมีเสียงแหบลงเรื่อยๆ และน้ำมูกอาจมีเลือดปน/น้ำมูกเป็นเลือด
อาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวมโตซึ่งโตได้ทั้งสองข้าง
หลังจากมีอาการทางเดินหายใจแล้ว อาจพบมีแผลบริเวณผิวหนังพบได้ทั่วตัวแต่พบบ่อยบริเวณแขนและขา แผลมีลักษณะเหมือนแผลทั่วไป แต่เมื่อตรวจเชื้อจะพบว่าเกิด จากเชื้อโรคคอตีบ
 
 
 
แพทย์วินิจฉัยโรคคอตีบได้อย่างไร?laugh


แพทย์วินิจฉัยโรคคอตีบได้จากประวัติอาการ ประวัติสัมผัสโรค ประวัติการฉีดวัคซีน การตรวจ ร่างกาย การตรวจย้อมเชื้อจากการป้ายสารคัดหลั่งจากโพรงหลังจมูกหรือจากลำคอ และอาจมีการตรวจสืบค้นอื่นๆเพิ่มเติมทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์เช่น ตรวจเลือดซีบีซี (CBC) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการเอกซเรย์ปอด

รักษาโรคคอตีบได้อย่างไร?devil

 
แนวทางการรักษาโรคคอตีบมักเป็นการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสมอเพราะเป็นโรคที่มีอาการรุนแรง การรักษาได้แก่ การให้ยาต้านสารพิษของเชื้อ การให้ยาปฏิชีวนะ (เช่น ยาในกลุ่ม Erythromycin, กลุ่ม Penicillin) และการฉีดวัคซีนโรคคอตีบเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อโรค
นอกจากนั้นคือ การรักษาประคับประคองตามอาการเช่น การให้น้ำเกลือ และให้สารอาหาร ทางหลอดเลือดดำ การใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งบางครั้งอาจต้องเจาะคอถ้าแผ่นเยื่อจากโรคหนามากจนทางเดินหายใจแคบเกินกว่าจะหายใจเองได้ และการให้ออกซิเจน
 
 
 
 

โรคคอตีบรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?indecision
 

ผลข้างเคียงจากโรคคอตีบเกิดจากสารพิษ/สารชีวพิษแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิตและก่อให้เกิดโรคต่างๆดังได้กล่าวแล้วซึ่งที่อาจพบได้คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ บวม) และเส้นประสาทอักเสบ (กล้ามเนื้ออ่อนแรง) ซึ่งถ้าเกิดกับประสาทกล้ามเนื้อหาย ใจจะส่งผลให้หายใจเองไม่ได้
โรคคอตีบจัดเป็นโรครุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต (ตาย) ได้ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นกับการได้รับยาต้านสารพิษและยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็วภายใน 1 - 2 วันหลังมีอาการ ซึ่งช่วยลดอัตราเสียชีวิตลงเหลือประมาณ 1% แต่ถ้ามาพบแพทย์ล่าช้า หรือเมื่อผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรืออายุสูงตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือเกิดผลข้างเคียงแล้ว อัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20%

ดูแลอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?angry
 


การดูแลตนเองหรือการดูแลเด็กคือ การรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการดังกล่าวในหัวข้อ อาการ นอกจากนั้นดังกล่าวแล้วว่าคอตีบเป็นโรคติดต่อได้ง่ายรวดเร็วและรุนแรง ดังนั้นผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยรวมทั้งผู้ดูแลผู้ป่วยควรพบแพทย์เสมอเพื่อขอรับคำแนะนำ อาจต้องตรวจเชื้อจากโพรงหลังจมูก และอาจจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ หรือฉีดกระตุ้น (ในคนเคยได้วัคซีนมาก่อนแล้ว) รวมทั้งการได้รับยาปฏิชีวนะเมื่อตรวจพบเชื้อทั้งๆที่ยังไม่มีอาการทั้งนี้ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์
 

ป้องกันโรคคอตีบอย่างไร?angel
 


การป้องกันโรคคอตีบที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือ การฉีดวัคซีนซึ่งเริ่มฉีดเมื่ออายุ 2 เดือนโดยอยู่ในรูปแบบของวัคซีนรวม โรคคอตีบ โรคบาดทะยัก และโรคไอกรน (DTP vaccine/วัคซีน ดีพีที: Diphtheria, Tetanus และ Pertussis) ฉีดทั้งหมด 5 เข็มเป็นระยะๆจากอายุ 2 เดือนจนถึงอา ยุ 6 ปีตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของกระทรวงสาธารณสุขของเรา พ.ศ. 2548 โดยเข็มแรกฉีดที่อายุ 2 เดือน, เข็มที่ 2 อายุ 4 เดือน, เข็มที่ 3 อายุ 6 เดือน, เข็มที่ 4 อายุ 18 เดือน และเข็มที่ 5 อายุ 4 - 6 ปี ต่อจากนั้นฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 12 - 16 ปีเฉพาะวัคซีนคอตีบและบาดทะยัก (วัคซีน ดีที/DT) ไม่ต้องฉีดวัคซีนไอกรนเพราะเป็นโรคมักพบเฉพาะในเด็ก และต่อไปฉีดกระตุ้นทุกๆ 10 ปีเฉพาะวัคซีนดีทีเช่นกัน
นอกจากนั้นคือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงซึ่งที่สำคัญคือ
การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆซึ่งรวมทั้งเชื้อโรคคอตีบและลดการติดโรคที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำเช่น ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
การรู้จักใช้หน้ากากอนามัย และการร่วมมือกันในชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีสุขอนามัยที่ดี
 
 

แสดงความคิดเห็น

>