Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

(สาระล้วนที่นำมาฝากนักเขียนทุกคน) การวางโครงเรื่องขอรับ^^

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

การวางโครงเรื่อง

 

“การวางโครงเรื่องเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่องานเขียนแทบทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นเรียงความ บทความ รายงาน หรือ บทพูด”  เพราะโครงเรื่องจะช่วยให้การเรียบเรียงเรื่องราวดำเนินไปตามลำดับ สอดคล้องเกี่ยวเนื่องกัน และทำให้งานเขียนมีเนื้อหาสาระครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามความมุ่งหมาย ดังนี้นก่อนที่จะลงมือเขียนรายละเอียดของเรื่องใดเรื่องหนึ่งจึงจำเป็นต้องวางโครงเรื่องให้เหมาะสมก่อน มิฉะนั้นจะทำให้เขียนยาก ขาดระเบียบ วกวน และอาจมีเนื้อหาขาดหายไป หรืออาจเขียนออกนอกเรื่องได้

 

ความหมายของโครงเรื่อง

                โครงเรื่องหมายถึง เค้าโครงของงานเขียนซึ่งเกิดจากการนำประเด็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะเขียนนั้นมาจัดหมวดหมู่เรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเขียน อันจะทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดออกมาใดอย่างเป็นระเบียบ ครอบคลุมและตรงจุดมุ่งหมาย

 

ความสำคัญของโครงเรื่อง

                โครงเรื่องที่ดีมีความสำคัญต่องานเขียน ดังนี้

  1. ช่วยให้งานเขียนมีจุดมุ่งหมายและขอบข่ายสมบูรณ์ชัดเจน ไม่ตกประเด็นและไม่ออกนอกประเด็นที่กำหนด
  2. ช่วยให้งานเขียนมีเอกภาพสัมพันธภาพ และสารัตถภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เนื้อเรื่องมี X ส่วนที่เหมาะสมและอ่านอข้าใจง่าย
  3. .ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหา และกลวิธีการนำเสนอเนื้อหาในแต่ละประเด็นได้อย่างเหมาะสม

 

ลักษณะของโครงเรื่องที่ดี

        สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และอุดม หนูทอง(= =” อันนี้ข้าน้อยไม่รุว่าใครแต่น่าจะเป็นคนที่มีชื่อเสียงอยู่ขอรับ) กล่าวว่า โครงเรื่องที่ดีจะต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. อยู่ในขอบข่ายของชื่อเรื่องคือจะต้องไม่มีประเด็นใดอยู่นอกขอบข่ายของเรื่อง มิฉะนั้นจะทำให้โครงเรื่องขาดเอกภาพ
  2. มีน้ำหนักความสำคัญใกล้เคียงกันหรือเสมอกัน กล่าวคือประเด็นหลักแต่ละประเด็นจะมีความสำคัญเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ไม่นำประเด็นย่อยมาเป็นประเด็นหลัก ไม่เช่นนั้นจะทำให้เนื้อเรื่องขาดความสมส่วนอันแสดงถึงความบกพร่องในการจัดระเบียบเนื้อหา
  3. มีความอิสระไม่ซ้ำซอนกัน กล่าวคือ ประเด็นใหญ่แต่ละประเด็นจะต้องมเนื้อหาแตกต่างกัน ไม่มีการเหลื่อมล้ำกัน หากมีส่วนซ้ำซ้อนกันเมื่อขยายความจะทำให้เรื่องวกวนเข้าใจยาก
  4. มีความสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เขียนเนื้อหาได้ไม่ครอบคลุมหัวข้อเรื่อง
  5. มีการลำดับความสัมพันธ์ของเรื่องเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี กล่าวคือเมื่อแยกประเด็นหลักได้ครบถ้วนแล้ว จะต้องนำมาจัดลำดับใหม่ให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันอย่างมีระเบียบเมื่อขยายความจะทำให้อ่านเข้าใจง่าย ใจความไม่สับสน

 

ขั้นตอนการวางโครงเรื่อง

        หลังจากกำหนดเรื่องและจุดมุ่งหมายของการเขียนแล้ว ลำดับต่อไปก็คือการวางโครงเรื่องซึ่งมี 5 ขั้นตอนดังนี้

  1. ประมวลความคิด คือ การรวบรวมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนไว้เป็นข้อ ๆ ให้มากที่สุด ความคิดดังกล่าวนั้นอาจได้มาจากประสบการณ์ของตนเอง หรือได้มาจากการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร งานวิจัย หรือการสัมภาษณ์ เป็นต้น
  2. เลือกสรรความคิด คือการนำความคิดที่รวบรวมได้มาคัดเลือกเอาเฉพาะความคิดที่เกี่ยวข้องอยู่ในขอบข่ายของเรื่องที่จะเขียน ความคิดใดไม่เข้าข่ายก็ตัดออกไป
  3. จัดหมวดหมู่ความคิด คือการนำความคิดที่เลือกสรรแล้วมาจัดหมวดหมู่ โดยรวมความคิดที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันเข้าไว้ในกลุ่มเดียวกัน ความคิดใดมีเนื้อหาต่างออกไปก็จัดเป็นกลุ่มใหม่ และต้องสรุปใจความของแต่ละกลุ่มเป็นวลีหรือประโยคสั้น ๆ ตั้งเป็นหัวข้อหรือประเด็นให้ชัดเจน หากประเด็นใดสามารถแยกเป็นประเด็นรองหรือประเด็นย่อยลงไปได้ก็ให้แยกไว้ด้วย
  4. ลำดับความคิด คือการนำประเด็นหรือหัวข้อมาจัดเรียงลำดับก่อนหลัง ซึ่งมีวิธีการหลายแบบ เช่น ลำดับตามเหตุผล ตามเวลาหรือเหตุการณ์ก่อนหลัง ตามความสำคัญ ตามทิศทางหรือสถานที่ ลำดับจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อยหรือส่วนย่อยไปหาส่วนรวม
  5. ขยายความคิดและตรวจสอบความสมบูรณ์ ขั้นนี้ให้พิจารณาความสมบูรณ์ของประเด็นความคิดที่ได้จัดระเบียบแล้ว หากพบข้อบกพร่องก็ปรับปรุงแก้ไข เช่น อาจเพิ่มหรือรวมประเด็นย่อยบางประเด็นเข้าด้วยกัน ลำดับประเด็นใหม่ เป็นต้น นอกจากนั้นให้พิจารณาขยายความคิดด้วยว่า ในแต่ละประเด็นจะให้รายละเอียดแค่ไหน และอย่างไรจึงจะสามารถขยายความได้ชัดเจนถูกต้อง

 

ตัวอย่างการวางโครงเรื่อง

        เพื่อให้เข้าใจโครงเรื่องและขั้นอนในการวางโครงเรื่อง จะขอยกตัวอย่างการวางโครงเรื่องหัวข้อ “การพัฒนาความสามารถในการเขียน” ของประชา ทิชิพงศ์ เป็นตัวอย่างดังนี้

  1. ชั้นประมวลความคิด ความคิดเกี่ยวกับหัวข้อ “การพัฒนาความสามารถในการเขียน” ที่ประมวลได้มีดังนี้

 

1.1  การเขียนหนังสือได้น่าอ่านแสดงถึงความสามารถในการเขียน

 

1.2  การอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาดีและวิธีเขียนดีจะช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียน

 

 

1.3  ความคิดดีทำให้เขียนหนังสือได้ดี

 

1.4  การพัฒนาความสามารถในการเขียนจะส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิต

 

 

1.5  การเขียนจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าได้ฝึกฝนบ่อย ๆ

 

1.6  การพัฒนาความสามารถในการเขียนต้องอาศัยความตั้งใจ ความขยันหมั่นเพียร และความอดทนนการฝึกฝน

 

 

1.7  การฟังก็ช่วยพัฒนาการเขียน

 

1.8  การรับฟังข้อวิจารณ์ของผู้อื่นที่มีต่องานเขียนของเราจะช่วยพัฒนางานเขียนให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น

 

1.9  การสังเกตก็ช่วยพัฒนาการเขียน

 

  1. ขั้นเลือกสรรความคิด เมื่อพิจารณาประเด็น้ความคิดทั้ง 9 ข้อ จะเห็นว่าความคิดในข้อ 1 และข้อ 4 อยู่นอกขอบเขของเรื่อง ต้องตัดออกไปจึงคงเหลือประเด็นความคิดที่ใช้ได้ 7 ประเด็น
  2. ขั้นจัดหมวดหมูความคิด จากประเด็นความคิดที่เหลือ เมื่อพิจารณาสาระแล้วจะเห็นว่าข้อ 2,7,8,9 มีสาระหลักร่วมกันคือเรื่องการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ในการเขียนนั่นคือ ข้อ 2 ใช้วิธีการอ่าน ข้อ 7,8 ใช้วิธีการฟัง ข้อ 9 ใช้วิธีการสังเกต (ข้อ 8 สามารถแยกออกไปได้อีกเพื่อให้เห็นความต่อเนื่องในการพัฒนา) นอกจากนี้ข้อ 5 กับข้อ 6 ก็เป็นเรื่องเดียวกัน คือ การผลิตงานเขียนอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้คุณสมบัติคือ ความตั้งใจ ขยันหมั่นเพียร และอดทน เป็นประเด็นขยายความคิด ดังนั้นเมื่อจัดหมวดหมู่ความคิดแล้วจะได้เป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

 

3.1  การแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ในการเขียน

3.1.1        โดยการฟัง (ข้อ 7,8)

3.1.2        โดยการอ่าน (ข้อ 2)

3.1.3        โดยการสังเกต (ข้อ 9)

 

3.2  การพัฒนาความคิด (ข้อ 3)

 

3.3  การผลิตงานเขียนอย่างสม่ำเสมอ (ข้อ 5,6)

 

 

3.4  การรับฟังข้อวิจารณืเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียน (ข้อ 8)

 

  1. ขั้นลำดับความคิด จากขั้นจัดหมวดหมู่จะเห็นว่าความคิดได้จัดวางลำดับไว้เหมาะสมดีแล้ว คือเริ่มด้วยการหาข้อมูล นำข้อมูลมาเสริมสร้างและพัฒนาความคิด ลงมือเขียนอย่างสม่ำเสมอและรับฟังข้อวิจารณืเพื่อนำมาพัฒนาความสามารถในการเขียน
  2. ขั้นขยายความคิดและตรวจสอบความสมบูรณ์ ในประเด็นต่าง ๆ ที่วางไว้แล้วนั้นหากพิจารณาต่อไปจะพบว่าประเด็นในข้อ 2 การพัฒนาความคิด ควรขยายความคิดให้ชัดเจนขี้นโดยอาจขยายให้เห็นวิฑีการพัฒนาความคิด ด้วยการคิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย คิดอย่างมีขอบเขต และคิดอย่างวิเคราะห์ ส่วนข้ออื่น ๆ ก็หาประเด็นขยายความคิดแบบเดียวกัน (ถ้าเห็นว่าจำเป็น)

เมื่อผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วก็เขียนเป็นเค้าโครงเรื่องโดยปรับแต่ภาษาให้สละสวย แล้วตัวเลขหรือตัวอักษรกำกับให้เหมาะสมก็จะได้เค้าโครงเรื่องที่สมบูรณ์ดังนี้

 

การพัฒนาความสามารถในการเขียน

  1. การแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ในการเขียน

1.1  โดยการฟัง

1.2  โดยการอ่าน

1.3  โดยการสังเกต

  1. การพัฒนาความคิด

2.1  คิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย

2.2  คิดอย่างมีขอบเขต

2.3  คิดอย่างวิเคราะห์

  1. การผลิตงานเขียนอย่างสม่ำเสมอ
  2. การรับฟังขอ้วิจารณ์เพื่อนำมาพัฒนาความสามารถในการเขียน

 

โครงเรื่องที่ดีนั้นควรจะได้มีการพิจารณาทบทวนอย่างถี่ถ้วน จัดหมาวดหมูและลำดับหัวข้อให้ต่อเนื่องเป็นระบบ ปรับปรุงโครงเรื่องให้มีประเด็นครบถ้วน ครอบคลุมเรื่องที่จะเขียนและแม้จะเริ่มต้นเขีนรายละเอียดแล้ว ถ้าพบว่าโครงเรื่องยังไม่สมบูรณ์หรือบกพร่องในส่วนใดก็สามารถแก้ไขในส่วนนั้น ๆ ได้

 

ประเภทโครงเรื่อง

        โครงเรื่องโดยทั่วไปนิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภท คือ

1.      โครงเรื่องแบบหัวข้อ คือโครงเรื่องที่แต่ละหัวข้อหรือแต่ละประเด็นเขียนเป็นคำหรือวลีสั้น ๆ เพื่อนให้เข้าใจแนวคิดอย่างกว้าง ๆ มักใช้กับการเขียนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ค่อยเป็นทางการ เช่น บทความ บทวิจารณื หรือรายงานสั้น ๆ เป็นต้น

2.      โครงเรื่องแบบประโยค คือ โครงเรื่งที่เขียนแต่ละหัวข้อหรือแต่ละประเด็นเป็นประโยคสั้น ๆ ที่มีใจความสมบูรณ์ มีความหมายกระชับ ทำให้แนวคิดชัดเจน สามารถขยายความได้ง่าย มักใช้กับการเขียนที่เป็นทางการ เช่น การเขียนวิทยานิพนธ์ งานวิจัย หรือ ตำรา เป็นต้น

 

ตัวอย่าง การเปรียบเทียบการวางโครงเรื่องเบบหัวข้อและแบบประโยคเรื่อง “การปรับปรุงบุคลิกภาพ”

โครงเรื่องแบบหัวข้อ                                                              โครงเรื่องแบบประโยค

1. ความหมายและความสำคัญของบุคลิกภาพ                       1. บุคลิกภาพมีความหมายและความสำคัญ

2. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ                              2. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็น

2.1 พันธุกรรม                                                                       องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ

2.2 สิ่งแวด้อม                                                                        3. บุคลิกภาพมีหลายประเภท

3. ประเภทของบุคลิกภาพ                                                     4. การเสริมสร้างและปรับปรุงบุคลิกภาพมี

4. วิธีสร้างเสริงและปรับปรุงบุคลิกภาพ                                หลายวิธี

 

ผู้เขียนจะเลือกใช้โครงเรื่องแบบใดขี้อยู่กับเนื้อหา เวลา และประเภทของงานเขียนเป็นสำคัญ

 

การขยายโครงเรื่อง

เมื่อวางโครงเรื่องแล้ว ผู้เขียนจะมองเห็นลำดับขั้นตอนของเรื่องที่จะเขียนได้ชัดเจนโดยตลอด และสามารถเรียบเรียงเนื้อหาสาระได้สะดวกขี้นโดยการขยายความหัวข้อต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในโครงเรื่องให้มีรายละเอียดชัดเจน มีเนื้อความสมบูรณ์เป็นเหตุเป็นผลและมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบ

               

เนื้อหาที่ข้าน้อยนำมาเล่าสู่นี้เป็นเนื้อหาที่ข้าน้อยเพิ่งได้รับเป็นชีทเรียนวันนี้  เนื่องด้วยข้าน้อยเห็นความสำคัญว่าจะช่วยนักเขียนหลายคนได้รู้จักการวางโครงเรื่องให้ดียิ่งขึ้น(หลังจากที่มีบทความของท่านต่ายเลือดมาเป็นความรู้ให้แล้วก่อนหน้านี้) และเนื้อหาที่ข้าน้อยจัดมานั้นข้าน้อยพิมพ์สดและพิมพ์ด่วนหากมีข้อความผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยนะขอรับ

ปล.การวางโครงเรื่องข้าน้อยเองก็ยังทำไม่เป็นเรยหุหุ =. =


PS.   ปีสองนี่ข้าน้อยต้องรอดดดดดดดดดดดดดดดดดดด เหอ ๆ

แสดงความคิดเห็น

>

19 ความคิดเห็น

<*-มกรดำ-*> 25 เม.ย. 49 เวลา 23:00 น. 1

อ้อเรื่องที่ข้าน้อยนำมาฝากนั้น  ข้าน้อยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ ทุกคนไม่มากก็น้อยนะขอรับ^^ ....ข้าน้อยความรู้น้อยหากไม่ดียังไงก็ติได้นะขอรับ


PS.   ปีสองนี่ข้าน้อยต้องรอดดดดดดดดดดดดดดดดดดด เหอ ๆ
0
กระต่ายโลหิต 25 เม.ย. 49 เวลา 23:03 น. 3

แทงค์ - -b


PS.  ข้าพเจ้าชอบโลกไซเบอร์เพราะคุณค่าของคนที่นี่ไม่ได้อยู่ที่ เพศ อายุ การศึกษา หรือ ยศฐาบรรดาศักดิ์ แต่มันอยู่ที่ความคิดและความรับผิดชอบต่อข้อความที่พิมพ์ออกไปของตนเอง!
0
ฅนรกโลก 25 เม.ย. 49 เวลา 23:12 น. 4

นี่เป็นวิธีการวางโครงเรื่องในการทำรายงานหรืองานนำเสนอ

สำหรับโครงเรื่องนิยายก็สามารถนำหลักการนี้มาใช้ได้ดีเหมือนกัน

เสริมอีกนิดว่า การวางโครงเรื่องของนิยายอยู่ที่จังหวะในการผูกปมและคลายปม(ปัญหา)

พล็อตใหญ่กับพล็อตรอง และความสัมพันธ์อย่างมีเอกภาพ ดุลยภาพ

0
KeN[Y] 26 เม.ย. 49 เวลา 00:46 น. 6

เง้อ  สาระมากมายมหาศาล =[]=!~


PS.  ----------ไม่อยากได้รับความสุขหรือความทุกข์อีกแล้ว----------ท่านยมทูต โปรดเอาชีวิตที่เน่าดวงนี้ไปที---------เหนื่อยเต็มทนแล้ว เหนื่อยเหลือเกิน...Death
0
Geminia 26 เม.ย. 49 เวลา 05:10 น. 8

ขอบคุณมากค่ะ^^
ปล.พี่กิ๊ฟใช้ฟอนต์อะไรอ่าถึงได้ออกมาสวยพอดิบพอดี!


PS.  เปลี่ยนเมล์แล้วนะงับ geminia_dekdee@hotmail.com
0
<*-มกรดำ-*> 26 เม.ย. 49 เวลา 08:11 น. 9

ข้าน้อยใช้ฟอนท์Angsans พิมพ์ลงเวิร์ดก่อนแล้วค่อยก็อปใส่เด็กดีขอรับ^^


PS.   ปีสองนี่ข้าน้อยต้องรอดดดดดดดดดดดดดดดดดดด เหอ ๆ
0
ka-rab 26 เม.ย. 49 เวลา 10:42 น. 10

เหอ กระทู้ดีอย่างนี้ทำไมคนเข้าโพสน้อยหว่า งั้นก็โหวตซะ


PS.  เชื่อด้วยเรอะว่าที่โพสน่ะ ผมอ่านงานของท่านแล้ว ผมตอ-แห-ลทั้งนั้นตรูเข้ามาหาคะแนนเท่านั้นเฟ้ย ไอ้ที่เห็นเยอะๆน่ะ มั่วเอาทั้งนั้น จริงรึไม่ พิสูจน์เอง
0