Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เสื้อบอลโลกรับเละ100ล. ก็อปปี้ขายตปท.ตร.ขู่ผิดลิขสิทธิ์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เสื้อบอลโลกรับเละ100ล. ก็อป X ขายตปท.ตร.ขู่ผิดลิขสิทธิ์

เสื้อบอลก๊อบ X เกรดเอของพี่ไทยโกอินเตอร์ บราซิล เยอรมนี ญี่ปุ่น ตีตั๋วมาซื้อถึงถิ่น คาดเม็ดเงินเข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ส่วนแม่ค้าโบ๊เบ๊สุดเซ็ง ยอดขายเสื้อก๊อบ X เกรดซีช่วงบอลโลกลดฮวบฮาบ เหตุเพราะมีคนคอยจับเรื่องลิขสิทธิ์ ในขณะที่เด็กๆ บ่นอุบ อยากซื้อเสื้อปลอมใส่แต่ไม่มีขาย บอกสุดเซ็ง ไม่มีปัญญาซื้อของจริงราคาแพงหูฉี่ตั้ง 3,000 บาท

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" สำรวจกระแสฟุตบอลโลกในเมืองไทย ประเด็นการขายเสื้อฟุตบอลโลก 2006 ที่ตลาดโบ๊เบ๊ และหลังสนามศุภชลาศัย พบว่าที่ตลาดโบ๊เบ๊ ตลาดเสื้อปลอมในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ไม่คึกคักเหมือนการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อนที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วม เพราะมีเพียงไม่กี่ร้านที่นำเสื้อปลอมมาขาย อีกทั้งเสื้อปลอมไม่มีการติดยี่ห้อเสื้อและติดอาร์มสัญลักษณ์ของทีมชาติต่างๆ แต่อย่างใด

นางตุ๊กตา เจ้าของร้านขายเสื้อกีฬาปลอมที่ตลาดโบ๊เบ๊ ซึ่งขายปลีกและขายส่งเสื้อสโมสรดังๆ ของยุโรป และเสื้อทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ เผยว่าฟุตบอลโลกหนนี้ไม่คึกคักเหมือนครั้งก่อน เพราะก่อนหน้านี้มีตัวแทนจากทีมดังของศึกพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ทั้ง เซลซี แมนฯ ยูไนเต็ด ลิเวอร์พูล อาร์เซนอล เดินทางมาประสานกับตำรวจไทยจับกุมผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เสื้อฟุตบอล ทำให้แม่ค้าหลายราย โดนปรับเป็นเงินหลายหมื่นบาท บางคนโดนไปหลายแสนบาทเลยทีเดียว ทำให้ฟุตบอลโลกครั้งนี้แม่ค้าไม่กล้านำเสื้อปลอมมาขายอีก แต่มีหลายเจ้าที่ปรับกลยุทธ์โดยทำเสื้อปลอมขึ้นมาแต่ไม่ติดยี่ห้อเสื้อ รวมทั้งไม่มี "โลโก้" สัญลักษณ์ของทีมชาตินั้นๆ โดยราคาขายปลีกตกตัวละ 120-180 บาท

"ฟุตบอลโลกครั้งก่อนยอดขายเสื้อปลอมดีมากๆ ทำเงินได้เป็นแสนเป็นล้านบาท เพราะคนไทยชอบฟุตบอลต่างประเทศ โดยเฉพาะทีมอังกฤษ บราซิล ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา เยอรมนี ขายดิบขายดี แต่ครั้งนี้พวกเราไม่กล้าขายกัน เพราะเสี่ยงต่อการโดนจับกุม ซึ่งค่าปรับหนักเอาการ เมื่อความเสี่ยงสูงจึงไม่ขายดีกว่า แต่น่าสงสารบรรดาเด็กๆ หรือคนที่ไม่มีเงินมาก พวกเขาอยากได้เสื้อปลอม เมื่อไม่มีก็อดใส่ เพราะไม่มีปัญญาซื้อของจริงตัวละ 2,000 กว่าบาท หากจะซื้อเสื้อที่ไม่มียี่ห้อ รวมทั้งไม่มีการติดโลโก้ทีมชาติที่ตัวเองรัก เวลาใส่แล้วเหมือนขาดความรู้สึก" แม่ค้าย่านโบ๊เบ๊ กล่าว

ผู้สื่อข่าวเดินทางไปสำรวจต่อที่สนามศุภชลาศัย แหล่งใหญ่ที่จำหน่ายเสื้อฟุตบอลทั้งของจริงและของปลอม นายเปี๊ยก เผยว่า ช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลายร้านที่ขายเสื้อปลอมรวมทั้งตนโดนจับเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ หลังจากนั้นการขายเสื้อฟุตบอลจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยจะเก็บเสื้อปลอมไว้หลังร้าน หรือโกงดังเก็บของ จะนำมาโชว์เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ซึ่งหากว่าโดนจับอีกก็จะเสียค่าปรับไม่เท่าไร ทั้งนี้จะขายเฉพาะลูกค้าประจำ ส่วนขาจรที่ดูท่าว่าอาจจะเป็นสายมาล่อซื้อ จะหลีกเลี่ยงไม่ขายให้

"หากโดนจับได้ ต้องเสียค่าปรับสูงมาก โดยเขาจะคิดการปรับเป็นจุด จุดละ 200 บาท เช่น เสื้อ 1 ตัว มีการปะยี่ห้อ 3 จุด และโลโก้ของทีมชาตินั้นๆ อีก 1 จุด รวมทั้งหมด 4 จุด เสื้อตัวนั้นจะโดนปรับเป็นเงินถึง 800 บาท หากโดนจับเป็นร้อยตัว รับรองกิจการล้มละลายแน่นอน ทั้งที่เสื้อ 1 ตัวต้นทุนแค่ 150 บาทเท่านั้น ซึ่งไม่คุ้มค่าหากจะนำมาขายหน้าร้าน" เจ้าของร้านที่เคยโดนจับเมื่อต้นปีที่ผ่านมา กล่าว

ด้านเจ้าของร้าน คอร์บอล (CORBALL) ตั้งอยู่ที่จุฬาลงกรณ์ ซอย 4 เปิดจำหน่ายเสื้อทีมฟุตบอลของแท้เท่านั้น ทั้งทีมสโมสรดังๆ และเสื้อทีมชาติ เผยว่า แม้ดูภาพรวมตลาดเสื้อปลอมจะซบเซา แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นแบบนั้น การขายเสื้อก๊อบ X ยังคงขายดีเหมือนเดิม แต่เป็นการขายส่งให้ลูกค้าขาประจำทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพราะคนไทยผลิตเสื้อปลอมเก่งมาก ดูเผินๆ ไม่รู้ว่าตัวไหนของจริงตัวไหนของปลอม และไม่ขายหน้าร้าน

" ช่วงนี้ชาวต่างชาติแห่มาเมืองไทยกันมาก เพื่อซื้อเสื้อก๊อบ X เกรดเอ ที่ราคาถูกมาก ตกตัวละ 200 บาทเท่านั้น เพื่อนำกลับไปขาย โดยราคาเสื้อก๊อบ X หากขายที่ต่างประเทศ ราคาจะพุ่งไปถึง 1,500-2,000 บาทเลยทีเดียว โดยชาติที่ซื้อมากที่สุดคือ บราซิล เยอรมนี ญี่ปุ่น ที่พวกเขาบินมาซื้อและขนกลับไปขายเอง ส่วนเสื้อทีมชาติอังกฤษนั้น จะไม่มีการผลิต เพราะคนที่เป็นตัวแทนคอยดูแลลิขสิทธิ์มักนำตำรวจมาจับกุมบ่อยๆ จึงเลี่ยงไม่ขายหรือผลิตเลยดีกว่า แต่จะขายเฉพาะของจริงเท่านั้น ซึ่งราคาอยู่ที่ 2,800 บาท"

พร้อมกันนี้ เจ้าของร้านคอร์บอล เผยอีกว่า ที่ร้านตนขายเฉพาะเสื้อของแท้เท่านั่น โดยเสื้อที่แฟนบอลชาวไทยนิยมซื้อมากที่สุดคือทีมชาติอังกฤษ ราคา 2,800 บาท รองลงมาคือ บราซิล ราคา 2,700 บาท โดยตนจะนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ อีกส่วนจะซื้อจากตัวแทนจัดจำหน่ายในประเทศไทย โดยคาดว่าช่วง 1 เดือนก่อนฟุตบอลโลกจะฟาดแข้ง จะมีเม็ดเงินเข้าประเทศจากการขายเสื้อปลอมไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทอย่างแน่นอน

พร้อมกันนี้ ทีมข่าว "คม ชัด ลึก" สอบถาม น้องป็อบ ซึ่งเรียนหนังสือระดับมัธยมปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ชื่นชอบทีมฟุตบอลต่างประเทศ รวมทั้งรอชมการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ คำตอบว่า ชอบเสื้อฟุตบอลของทีมแมนฯ ยูไนเต็ด และทีมชาติอังกฤษมาก แต่จะซื้อของปลอมมาใส่เช่นเดียวกับเพื่อนๆ เพราะไม่มีเงินซื้อของจริงที่ราคาแพงมากเกือบ 3,000 บาท สาเหตุที่ชอบเสื้อปลอมเพราะเหมือนของจริงมาก อีกอย่างเวลาใส่มันได้อารมณ์ร่วมในการเชียร์ฟุตบอล แต่ปีนี้ของปลอมหายาก หากจะให้เสื้อของแท้คงจะไม่มีปัญญาเพราะพ่อแม่ไม่มีเงิน ดังนั้นคงต้องใส่เสื้อตัวเดิมไปก่อน แม้จะเชยไปบ้างแต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ใส่เชียร์ทีมที่เรารัก

ด้าน พล.ต.ต.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) รับผิดชอบงานปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ปลป.น.) กล่าวว่า เบื้องต้นต้องพิจารณาก่อนว่า เสื้อฟุตบอลทีมดังเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า หากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของต้องมาร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ จึงจะสามารถดำเนินการจับกุมได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า ตำรวจสามารถเข้าจับกุมได้เลย แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นการปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าจริง ไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหาตามมาได้

พล.ต.ต.ชัชวาลย์ บอกด้วยว่า เครื่องหมายการค้ากับลิขสิทธิ์ จะแตกต่างกันตรงที่เครื่องหมายการค้าจำเป็นต้องจดทะเบียน เช่น ตราประจำทีมฟุตบอลดังๆ หากนำไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า แล้วมีผู้อื่นปลอมแปลงนำไปหาผลประโยชน์ ถือว่ามีความผิด ตำรวจสามารถเข้าไปดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอให้มีการร้องทุกข์ และไม่สามารถยอมความได้ แตกต่างจากลิขสิทธิ์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเป็นต้องมีการร้องทุกข์ และสามารถยอมความกันได้ ดังนั้น ในชั้นนี้จะต้องพิจารณาก่อนว่าการปลอมแปลงเสื้อทีมฟุตบอลดังเข้าข่ายความผิดใด

"อย่างไรก็ตามในชั้นนี้ หากผู้เสียหายตรวจสอบแล้ว มั่นใจว่ามีการปลอมแปลงหรือละเมิดลิขสิทธิ์แล้วเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ตำรวจก็พร้อมที่จะกวดขันจับกุมผู้กระทำผิด" รอง ผบช.น. กล่าว

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" สำรวจกระแสฟุตบอลโลกในเมืองไทย ประเด็นการขายเสื้อฟุตบอลโลก 2006 ที่ตลาดโบ๊เบ๊ และหลังสนามศุภชลาศัย พบว่าที่ตลาดโบ๊เบ๊ ตลาดเสื้อปลอมในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ไม่คึกคักเหมือนการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อนที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วม เพราะมีเพียงไม่กี่ร้านที่นำเสื้อปลอมมาขาย อีกทั้งเสื้อปลอมไม่มีการติดยี่ห้อเสื้อและติดอาร์มสัญลักษณ์ของทีมชาติต่างๆ แต่อย่างใด

นางตุ๊กตา เจ้าของร้านขายเสื้อกีฬาปลอมที่ตลาดโบ๊เบ๊ ซึ่งขายปลีกและขายส่งเสื้อสโมสรดังๆ ของยุโรป และเสื้อทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ เผยว่าฟุตบอลโลกหนนี้ไม่คึกคักเหมือนครั้งก่อน เพราะก่อนหน้านี้มีตัวแทนจากทีมดังของศึกพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ทั้ง เซลซี แมนฯ ยูไนเต็ด ลิเวอร์พูล อาร์เซนอล เดินทางมาประสานกับตำรวจไทยจับกุมผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เสื้อฟุตบอล ทำให้แม่ค้าหลายราย โดนปรับเป็นเงินหลายหมื่นบาท บางคนโดนไปหลายแสนบาทเลยทีเดียว ทำให้ฟุตบอลโลกครั้งนี้แม่ค้าไม่กล้านำเสื้อปลอมมาขายอีก แต่มีหลายเจ้าที่ปรับกลยุทธ์โดยทำเสื้อปลอมขึ้นมาแต่ไม่ติดยี่ห้อเสื้อ รวมทั้งไม่มี "โลโก้" สัญลักษณ์ของทีมชาตินั้นๆ โดยราคาขายปลีกตกตัวละ 120-180 บาท

"ฟุตบอลโลกครั้งก่อนยอดขายเสื้อปลอมดีมากๆ ทำเงินได้เป็นแสนเป็นล้านบาท เพราะคนไทยชอบฟุตบอลต่างประเทศ โดยเฉพาะทีมอังกฤษ บราซิล ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา เยอรมนี ขายดิบขายดี แต่ครั้งนี้พวกเราไม่กล้าขายกัน เพราะเสี่ยงต่อการโดนจับกุม ซึ่งค่าปรับหนักเอาการ เมื่อความเสี่ยงสูงจึงไม่ขายดีกว่า แต่น่าสงสารบรรดาเด็กๆ หรือคนที่ไม่มีเงินมาก พวกเขาอยากได้เสื้อปลอม เมื่อไม่มีก็อดใส่ เพราะไม่มีปัญญาซื้อของจริงตัวละ 2,000 กว่าบาท หากจะซื้อเสื้อที่ไม่มียี่ห้อ รวมทั้งไม่มีการติดโลโก้ทีมชาติที่ตัวเองรัก เวลาใส่แล้วเหมือนขาดความรู้สึก" แม่ค้าย่านโบ๊เบ๊ กล่าว

ผู้สื่อข่าวเดินทางไปสำรวจต่อที่สนามศุภชลาศัย แหล่งใหญ่ที่จำหน่ายเสื้อฟุตบอลทั้งของจริงและของปลอม นายเปี๊ยก เผยว่า ช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลายร้านที่ขายเสื้อปลอมรวมทั้งตนโดนจับเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ หลังจากนั้นการขายเสื้อฟุตบอลจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยจะเก็บเสื้อปลอมไว้หลังร้าน หรือโกงดังเก็บของ จะนำมาโชว์เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ซึ่งหากว่าโดนจับอีกก็จะเสียค่าปรับไม่เท่าไร ทั้งนี้จะขายเฉพาะลูกค้าประจำ ส่วนขาจรที่ดูท่าว่าอาจจะเป็นสายมาล่อซื้อ จะหลีกเลี่ยงไม่ขายให้

"หากโดนจับได้ ต้องเสียค่าปรับสูงมาก โดยเขาจะคิดการปรับเป็นจุด จุดละ 200 บาท เช่น เสื้อ 1 ตัว มีการปะยี่ห้อ 3 จุด และโลโก้ของทีมชาตินั้นๆ อีก 1 จุด รวมทั้งหมด 4 จุด เสื้อตัวนั้นจะโดนปรับเป็นเงินถึง 800 บาท หากโดนจับเป็นร้อยตัว รับรองกิจการล้มละลายแน่นอน ทั้งที่เสื้อ 1 ตัวต้นทุนแค่ 150 บาทเท่านั้น ซึ่งไม่คุ้มค่าหากจะนำมาขายหน้าร้าน" เจ้าของร้านที่เคยโดนจับเมื่อต้นปีที่ผ่านมา กล่าว

ด้านเจ้าของร้าน คอร์บอล (CORBALL) ตั้งอยู่ที่จุฬาลงกรณ์ ซอย 4 เปิดจำหน่ายเสื้อทีมฟุตบอลของแท้เท่านั้น ทั้งทีมสโมสรดังๆ และเสื้อทีมชาติ เผยว่า แม้ดูภาพรวมตลาดเสื้อปลอมจะซบเซา แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นแบบนั้น การขายเสื้อก๊อบ X ยังคงขายดีเหมือนเดิม แต่เป็นการขายส่งให้ลูกค้าขาประจำทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพราะคนไทยผลิตเสื้อปลอมเก่งมาก ดูเผินๆ ไม่รู้ว่าตัวไหนของจริงตัวไหนของปลอม และไม่ขายหน้าร้าน

" ช่วงนี้ชาวต่างชาติแห่มาเมืองไทยกันมาก เพื่อซื้อเสื้อก๊อบ X เกรดเอ ที่ราคาถูกมาก ตกตัวละ 200 บาทเท่านั้น เพื่อนำกลับไปขาย โดยราคาเสื้อก๊อบ X หากขายที่ต่างประเทศ ราคาจะพุ่งไปถึง 1,500-2,000 บาทเลยทีเดียว โดยชาติที่ซื้อมากที่สุดคือ บราซิล เยอรมนี ญี่ปุ่น ที่พวกเขาบินมาซื้อและขนกลับไปขายเอง ส่วนเสื้อทีมชาติอังกฤษนั้น จะไม่มีการผลิต เพราะคนที่เป็นตัวแทนคอยดูแลลิขสิทธิ์มักนำตำรวจมาจับกุมบ่อยๆ จึงเลี่ยงไม่ขายหรือผลิตเลยดีกว่า แต่จะขายเฉพาะของจริงเท่านั้น ซึ่งราคาอยู่ที่ 2,800 บาท"

พร้อมกันนี้ เจ้าของร้านคอร์บอล เผยอีกว่า ที่ร้านตนขายเฉพาะเสื้อของแท้เท่านั่น โดยเสื้อที่แฟนบอลชาวไทยนิยมซื้อมากที่สุดคือทีมชาติอังกฤษ ราคา 2,800 บาท รองลงมาคือ บราซิล ราคา 2,700 บาท โดยตนจะนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ อีกส่วนจะซื้อจากตัวแทนจัดจำหน่ายในประเทศไทย โดยคาดว่าช่วง 1 เดือนก่อนฟุตบอลโลกจะฟาดแข้ง จะมีเม็ดเงินเข้าประเทศจากการขายเสื้อปลอมไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทอย่างแน่นอน

พร้อมกันนี้ ทีมข่าว "คม ชัด ลึก" สอบถาม น้องป็อบ ซึ่งเรียนหนังสือระดับมัธยมปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ชื่นชอบทีมฟุตบอลต่างประเทศ รวมทั้งรอชมการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ คำตอบว่า ชอบเสื้อฟุตบอลของทีมแมนฯ ยูไนเต็ด และทีมชาติอังกฤษมาก แต่จะซื้อของปลอมมาใส่เช่นเดียวกับเพื่อนๆ เพราะไม่มีเงินซื้อของจริงที่ราคาแพงมากเกือบ 3,000 บาท สาเหตุที่ชอบเสื้อปลอมเพราะเหมือนของจริงมาก อีกอย่างเวลาใส่มันได้อารมณ์ร่วมในการเชียร์ฟุตบอล แต่ปีนี้ของปลอมหายาก หากจะให้เสื้อของแท้คงจะไม่มีปัญญาเพราะพ่อแม่ไม่มีเงิน ดังนั้นคงต้องใส่เสื้อตัวเดิมไปก่อน แม้จะเชยไปบ้างแต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ใส่เชียร์ทีมที่เรารัก

ด้าน พล.ต.ต.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) รับผิดชอบงานปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ปลป.น.) กล่าวว่า เบื้องต้นต้องพิจารณาก่อนว่า เสื้อฟุตบอลทีมดังเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า หากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของต้องมาร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ จึงจะสามารถดำเนินการจับกุมได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า ตำรวจสามารถเข้าจับกุมได้เลย แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นการปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าจริง ไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหาตามมาได้

พล.ต.ต.ชัชวาลย์ บอกด้วยว่า เครื่องหมายการค้ากับลิขสิทธิ์ จะแตกต่างกันตรงที่เครื่องหมายการค้าจำเป็นต้องจดทะเบียน เช่น ตราประจำทีมฟุตบอลดังๆ หากนำไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า แล้วมีผู้อื่นปลอมแปลงนำไปหาผลประโยชน์ ถือว่ามีความผิด ตำรวจสามารถเข้าไปดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอให้มีการร้องทุกข์ และไม่สามารถยอมความได้ แตกต่างจากลิขสิทธิ์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเป็นต้องมีการร้องทุกข์ และสามารถยอมความกันได้ ดังนั้น ในชั้นนี้จะต้องพิจารณาก่อนว่าการปลอมแปลงเสื้อทีมฟุตบอลดังเข้าข่ายความผิดใด

"อย่างไรก็ตามในชั้นนี้ หากผู้เสียหายตรวจสอบแล้ว มั่นใจว่ามีการปลอมแปลงหรือละเมิดลิขสิทธิ์แล้วเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ตำรวจก็พร้อมที่จะกวดขันจับกุมผู้กระทำผิด" รอง ผบช.น. กล่าว


PS.  นี่เมล์เรานะ BLUE_SB_KID@HOTMAIL.COM [-

แสดงความคิดเห็น

>