Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่องเกี่ยวกับในหลวง ( ซึ้งมากๆ )

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

     

สองพระหัตถ์โอบอุ้มคุ้มประเทศ  สองพระเนตรส่องสุขทุกข์ไกลใกล้  สองพระกรรณสดับสุขทุกข์ผองไทย  ทรงห่วงใยไพร่ฟ้าประชาชน  พ่อแผ่นดินถิ่นไทยคุณใหญ่หลวง  พ่อคือดวงใจไทยในทุกหน  หกสิบปีทรงครองราชย์ชาติสุขล้น  ภูมิพลมหาราชพ่อชาติไทย *ผลงานชนะเลิศของเด็กชาย วิศรุต  จันทร์หนองแวง ป.4/1 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก

  

 

 

"ครองใจคน" หลากเหตุผลที่คนไทยรักในหลวง ".... ผมเคยอยู่มาแล้วหลายแผ่นดิน  แต่ก็ไม่เคยเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวแผ่นดินใดที่คนทั้งเมืองเขาเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ  ให้ความเคารพบูชาอย่างสนิทสนมอย่างทุกวันนี้ ...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อน ๆ ทรงครองแผ่นดิน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลนี้ ทรง
"ครองใจคน.." หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ***** เรื่อง "เดิมพันของเรา" ครั้งหนึ่ง เมื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช  กราบบังคมทูลถามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า "เคยทรงเหนื่อย ทรงท้อบ้างหรือไม่" ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสตอบว่า"ความจริงมันน่าท้อถอยหรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูง เหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านคือเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ" ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ฉบับ 5 ธ.ค.32
***** เรื่อง "ราษฎรยังอยู่ได้" ปีพุทธศักราช 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรใน ตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในภาคใต้เวลานั้น ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เสียก่อน แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ "ราษฎรเขาเสี่ยงภัยยิ่งกว่าเราหลายเท่า เพราะเขาต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้ แล้วเราจะขลาดแม้แต่จะไป เยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ" ข้อมูลจากคำอภิปรายเรื่อง "พระบิดาประชาชน"
***** และมีอีกหนึ่งพระกระแสพระราชดำรัสที่เป็นคำตอบว่าเหตุใดจึงไม่อาจหยุดทรงงานได้ "...คนเราจะอยู่สุขสบายแต่คนเดียวไม่ได้ ถ้าคนที่อยู่ล้อมรอบมีความทุกข์ยาก ควรต้องแบ่งเบาความทุกข์ ยากของเขาบ้าง
ตามกำลังและความสามารถเท่าที่จะทำได้"
***** "ดอกไม้จากหัวใจ"
ที่นครพนม บนเส้นทางรับเสด็จตรงสามแยกชยางกูร-เรณูนคร บ่ายวันที่ 13 พ.ย. 2498 อาณัติ บุนนาค หัวหน้าส่วน ช่างภาพประจำพระองค์ ได้บันทึกภาพในวินาทีสำคัญที่กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ วันนั้นหลังจากทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารเสร็จสิ้นในช่วงเช้าแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูก จูงหลานหอบ กันมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น ดังเช่นครอบครัวจันท์นิตย์ ที่ลูกหลานช่วยกันนำ แม่ตุ้ม จันท์นิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จห่างจากบ้าน 700 เมตร โดยลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน 3 ดอก และพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเ X ่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรา ยังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความ จงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่ เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอย่างอ่อนโยน เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่ เฒ่า แต่แน่นอนว่าแม่เฒ่าไม่มีวันลืม เช่นเดียวกับที่ในหลวงไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้น หลานและเหลนของแม่เฒ่าเล่าว่า "หลังจาก เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทางสำนักพระราชวังได้ส่งภาพรับเสด็จของแม่เฒ่าตุ้ม พร้อมทั้งพระบรมรูป หล่อด้วยปูนพลาสเตอร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแผ่นมาทางอำเภอพระธาตุพนมให้แม่เฒ่าตุ้มไว้เป็น ที่ระลึก" พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ อาจมีส่วนชุบชูชีวิตให้แม่เฒ่ายืนยาวขึ้นอีกด้วยความสุขต่อมาอีกถึงสามปีเต็ม ๆ แม่เฒ่าตุ้ม จันท์นิตย์ ราษฎรผู้โชคดีที่สุดคนหนึ่งในรัชกาลที่ 9 สิ้นอายุขัยอย่างสงบด้วยโรคชราเมื่ออายุได้ 105 ปี
ข้อมูลจาก "แม่เฒ่าตุ้ม จันท์นิตย์" ภาคพิเศษโดย คุณหญิงศรีนาถ สุริยะ วารสารไทย
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ วันที่ 11 ส.ค. 2534
***** "ต่อไปจะมีน้ำ" บทความ "น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทั่วเขตคามชื่นธารา"
เขียนโดย มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ ตีพิมพ์ใน
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 ธ.ค.2528
ได้เล่าให้ผู้อ่านชาวไทยได้ประจักษ์ถึงเรื่องอัศจรรย์ของ "ในหลวง" กับ "น้ำ" ที่เกิดขึ้นในคำวันหนึ่งของเดือน ก.พ.2528 ด้วยความทุกข์ที่เปี่ยมล้นใจอันเนื่องมาจากต้องเผชิญความแห้งแล้งอย่างหนัก หญิงชราคนนึ่งที่มาเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ ได้คลานเข้ามากอดพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลด้วยน้ำตาอาบแก้ม ขอพระราชทานน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบว่า "ยายไม่ต้องห่วงแล้วนะ ต่อไปนี้จะมีน้ำ เราเอาน้ำมาให้" แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระดำเนินกลับไปยังรถพระที่นั่งซึ่งจอดห่างออกไปราว 5 เมตร ปรากฏว่า ท่ามกลางอากาศที่ร้อนแล้ง จู่ ๆ ก็เกิดฝนตกลงมาเป็นครั้งแรกในรอบปี ทำให้ผู้ตามเสด็จและราษฎรในที่นั้นถึงกับงุนงง ไปตาม ๆ กัน

***** "เก็บร่ม"
การเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง แม้จะต้องเผชิญกับแดดร้อนหรือลมแรง ราษฎรก็ไม่เคยย่อท้อที่จะอดทนรอรับเสด็จให้ ถึงที่สุด แม้ฝนจะตกหนักแค่ไหนก็ไม่มีใครยอมกลับบ้าน ร้อยเอกศรีรัตน์ หริรักษ์ เล่าไว้ในบทความ "พระบารมีปกเกล้าฯ ที่อำเภอท่ายาง" ตีพิมพ์ในหนังสือ "72 พรรษา ราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์" ว่า ครั้งหนึ่งที่โครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลง มาอย่างหนัก
ราษฎรและข้าราชการที่มาเข้าแถวรอรับเสด็จต่างเปียกปอนกันหมด แต่ก็ยังตั้งแถวเป็นระเบียบเรียบร้อย อยู่อย่างนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ นายตำรวจราชองค์รักษ์ที่ตามเสด็จได้เข้าไปกางร่ม ถวาย ทรงทอดพระเนตรเห็นบรรดาข้าราชการและราษฎรที่มายืนตั้งแถวรอรับเสด็จอยู่ต่างก็เปียกฝนโดยทั่วกัน จึงมีรับสั่งให้นายตำรวจราชองครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงพระดำเนินเยี่ยมข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเสด็จ โดยทรงเปียกฝนเช่นเดียวกับข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายที่ยืนรอรับเสด็จในขณะนั้น"
***** "สิ่งที่ทรงหวัง"
ครั้งหนึ่งขณะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศคนหนึ่งได้ขอพระราชทาน สัมภาษณ์ และได้กราบบังคมทูลถามว่า การที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรและมีโครงการตามพระราชดำริเกิดขึ้นมากมายนั้น ทรงหวังว่าจะให้คอมมิวนิสต์น้อยลงใช่หรือไม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งตอบว่า "มิได้ทรงสนพระทัยว่าคอมมิวนิสต์จะน้อยลงหรือไม่ แต่ทรงสน พระทัยว่าประชาชนของพระองค์จะหิวน้อยลงหรือไม่"
***** "รักถึงเพียงนี้" และ "จุดเทียนส่งเสด็จ"
บทความชื่อ "แผ่นดินร่มเย็นที่นราธิวาส" ตีพิมพ์ในนิตยสาร "สู่อนาคต"
ฉบับพิเศษเนื่องในวันเฉลิมฯ ได้เล่าย้อนให้เรา ได้เห็นภาพความยากลำบากในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทางภาคใต้เมื่อหลายปีก่อน โดยเฉพาะช่วงก่อนสร้างพระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์นั้น เป็นที่รู้กันว่าจังหวัดนราธิวาสชุกชุมไปด้วยโจรร้าย โจร ปล้นสะดมและพวกโจรเรียกค่าไถ่ ถึงขนาดที่ในหลาย ๆ หมู่บ้านนั้น
แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่กล้าย่างกรายเข้าไป ทว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักในทุกข์อันลึกล้ำของชาวบ้านที่ทั้งทุกข์เพราะยากจนและทุกข์เพราะภัย คุกคาม จึงได้เสด็จฯ ลงไปเยี่ยมเยียนเป็นขวัญกำลังใจให้ราษฎรของพระองค์โดยไม่ทรงหวาดหวั่น บางวันถึงกับเสด็จ ฯ เป็นการส่วนพระองค์โดยปราศจากกำลังอารักขา
และบางหมู่บ้านตำรวจเพิ่งถูกคนร้ายแย่งปืนแล้วยิงตายก่อนเสด็จ ไปถึงเพียงไม่กี่ชั่วโมง ทรงรักราษฎรถึงเพียงนี้
จึงไม่แปลกที่หญิงชราคนหนึ่งในหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอรือเสาะจะ .."เข้ามาเกาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร้องไห้แล้วบอกว่า ไม่นึกเลยว่าพระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไทยชาวพุทธ จะมารักมุสลิมได้ถึง ขนาดนี้".. บทความเดียวกันได้เปิดเผยต่อไปอีกว่า ที่อีกหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอเดียวกันนั้น
"โต๊ะครูได้พาพรรคพวกมายืนรอรับ เสด็จแล้วพูดขึ้นว่า ..รายอกลับไปเถอะ ประไหมสุหรีกลับไปเถิด
ประเดี๋ยวพวกโจรจะลงจากเขา..." และเมื่อถึงเวลาเสด็จฯ กลับที่มืดสนิทอย่างน่ากลัว โต๊ะครูกับชาวบ้านก็พากันมาจุดเทียนส่งเสด็จตลอด เส้นทางอันตราย ด้วยความห่วงใยใน "รายอ" และ "ประไหมสุหรี" หรือ พระราชาพระราชินีของพวกเขา อย่างสุดซึ้ง
*****
"รถติดหล่มกับถนนสายนั้น" หากย้อนกลับไปค้นหาจุดเริ่มต้นของพระราชกรณียกิจในด้านการพัฒนาแล้ว
ชื่อของ "ลุงรวย" และ "บ้านห้วยมงคล" คือสองชื่อที่ลืมไม่ได้ เรื่องราวของ "ลุงรวย" เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2495
หรือมากกว่าห้าสิบปีล่วงมาแล้ว ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บ้านห้วยมงคลนี้อยู่ทั้ง "ใกล้และไกล" ตลาดหัวหิน ใกล้เพราะระยะทางที่ห่างกันนั้นไม่กี่กิโลเมตร แต่ไกลเพราะไม่มี ถนน หากชาวบ้านจะขนพืชผักไปขายที่ตลาดต้องใช้เวลาเป็นวัน ๆ ห่างไกลความเจริญถึงเพียงนี้ แต่วันหนึ่งกลับมีรถยนต์คันหนึ่งมาตกหล่มอยู่ที่หน้าบ้านลุงรวย เมื่อเห็นทหารตำรวจกว่า สิบนายระดมกำลังกันช่วยรถคันนั้นขึ้นจากหล่ม
ลุงรวยผู้รวยน้ำใจสมชื่อก็กุลีกุจอออกไปช่วยทั้งงัด ทั้งดัน ทั้งฉุด จน
ที่สุดล้อรถก็หลุดจากหล่ม เมื่อรถขึ้นจากหล่มแล้ว ลุงรวยจึงไดร้ ู้วา่ รถคันที่ตัวทั้งฉุดทั้งดึงนั้นเปน็ รถยนตพ์
ระที่นั่งและคนในรถนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชินีนาถ แม้จะตื่นเต้นตกใจที่ได้เฝ้าฯ ในหลวงอย่างไม่คาดฝัน แต่ลุงรวยก็ยังจำได้ว่าวันนั้น "ในหลวง" มีรับสั่งถามลุงว่า หมู่บ้านนี้มีปัญหาอะไรบ้าง.. ลุงได้กราบบังคมทูลว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดคือไม่มีถนน จึงนอกจากจะโชคดีได้รับพระราชทาน "เงินก้นถุง" จำนวน 36 บาท ซึ่งลุงนำไปเก็บใส่ X บบูชาไว้เป็นสิริมงคลจนถึงทุกวันนี้แล้ว อีกไม่นานหลังจากนั้น ลุงรวยก็ได้เห็นตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งเข้ามาช่วยกันไถดินที่บ้านห้วยมงคล และเพียง หนึ่งเดือนเท่านั้น ชาวบ้านก็ได้ถนนพระราชทาน ถนนห้วยมงคลที่ทำให้ชาวไร่ห้วยมงคลสามารถขนพืชผักออกมาขายที่ตลาดหัวหินได้ภายในเวลาเพียง
>> >20 นาที
>> >*****
>> >
>> >"สามร้อยตุ่ม"
>> >มีหลายหนที่ทรงงานติดพันจนมืดสนิท
>> >ท่ามกลางฝูงยุงที่รุมตอมเข้ามากัดบริเวณพระวรกาย รอบพระศอ พระกร
พระ
>> >พักตร์ รวมทั้งแมลงต่าง ๆ ที่เข้ามารุมรบกวนพระองค์
>> >พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะยังทรงทอดพระเนตรแผนที่อยู่ภายใต้แสงไฟฉายที่มีผู้ส่องถวายอย่างไม่สะดุ้งสะเทือน
>> >อย่างมากที่ทรงทำคือโบกพระหัตถ์ปัดไล่เบา ๆ เท่านั้น
>> >ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งเล่าเรื่อง "ยุง" ด้วยพระอารมณ์ขันว่า
>> >"..ที่บางจาก แต่ไม่มีจากหรอกนะ ยุงชุมมากเลย ไปยืนดูแผนที่
>> >เลยโดนยุงรุมกัดขาทั้งสองข้าง กลับมาขา
>> >บวมแดง ไปสกลนครกลับมาแล้วถึงได้ยุบลง มองเห็นเป็นตุ่มแดง
>> >ลองนับดูได้ข้างละร้อยห้าสิบตุ่ม สองข้าง
>> >รวมสามร้อยพอดี.."
>> >แก้ไขเมื่อ 28 ธ.ค. 48
>>10:31:50
>> >*****
>> >"น้ำท่วมครั้งนั้น"
>> >วันที่ 7 พ.ย. 26
>> >ขณะที่ชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่งกำลังทนทุกข์หนักกับสภาพน้ำท่วมขัง
>> >น้อยคนที่จะรู้ว่า
>>
>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทรงพยายามหาหนทางบรรเทาทุกข์ให้พวกเขาอยู่อย่างเงียบ
>> >
>> >วันนั้นรถพระที่นั่งแวนแวคคอนเนียร์
>>แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
>> >ราวบ่ายสองโมงเศษ สู่ถนนศรีอยุธยา
>> >เลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรี มุ่งสู่ถนนบางนาตราด
>> >ไม่มีหมายกำหนดการ ไม่มีการปิดถนน
>>แม้แต่ตำรวจท้องที่ก็ไม่ทราบล่วงหน้า
>> >รถยนต์พระที่นั่งชะลอเป็นระยะ ๆ เพื่อทรงตรวจดูระดับน้ำ
>> >จนเมื่อถึงคอสะพานสร้างใหม่ที่คลองลาดกระบัง จึงเสด็จลง
>> >จากรถยนต์พระที่นั่งเพื่อทรงหารือกับเจ้าหน้าที่ที่ตามเสด็จ
>> >ทรงฉายภาพด้วยพระองค์เอง ทรงกางแผนที่ทอดพระเนตรจุดต่าง ๆ
>> >จนถึงเวลาบ่ายคล้อย รถยนต์พระที่นั่งจึงแล่น
>> >กลับ เมื่อถึงสะพานคลองหนองบอน
>>
>>
>รถพระที่นั่งหยุดเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายภาพบริเวณน้ำท่วม
>> >และทรงศึกษาแผนที่ร่องน้ำอีกครั้ง
>> >ปรากฏว่าชาวบ้านทราบข่าวว่า "ในหลวงมาดูน้ำท่วม"
>> >ต่างก็พากันมาชมพระบารมีนับร้อย ๆ คน จนทำให้การจราจรบน
>> >สะพานเกิดการติดขัด
>> >พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงโบกพระหัตถ์ให้รถขบวนเสด็จผ่านไปจนเป็นที่
>> >เรียบร้อยด้วยพระองค์เอง
>> >*****
>> >"เชื่อมั่น"
>> >เย็นย่ำแล้วแต่ขบวนรถยนต์พระที่นั่งยังไม่หมดภารกิจ
>> >เมื่อรถวิ่งกลับมาทางถนนพัฒนาการ ทรงแวะฉายภาพบริเวณ
>> >คลองตัน ทอดพระเนตรระดับน้ำแล้วทรงวกกลับมาที่คลองจิก
>> >เวลานั้นฟ้ามืดแล้วเพราะเป็นเวลาจวนค่ำ
>> >พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงนำไฟฉายส่วนพระองค์ออกมาส่องแผนที่
>> >ป้องกันน้ำท่วมและแนวพนังกั้นน้ำอยู่เป็นเวลานาน
>>
>กลายเป็นอีกภาพหนึ่งที่สร้างความตื้นตันใจแก่ประชาชนชาวกรุงเทพฯ
>> >อย่างยิ่ง
>> >ประชาชนคนหนึ่งในละแวกเคหะนคร 1 แขวงบางบอน เขตประเวศ
>>บอกว่า
>> >"รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ
>> >เป็นล้นพ้นที่ทรงห่วงใยทุกข์ของราษฎร เสด็จฯ
>> >มาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยพระองค์เอง พวกเราถึงจะทน
>> >ทุกข์เพราะน้ำท่วมขังเน่ามาเป็นเวลานานก็เชื่อมั่นว่าพระองค์ทรงช่วยพวกเราได้อย่างแน่นอน"
>> >*****
>> >เคยอ่านบทสัมภาษณ์ที่ในหลวงให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ
>> >เมื่อครั้งเดินทางไปที่อเมริกา ว่า
>> >เพราะเหตุใดพระองค์ถึงไม่ทรงยิ้มหรือพระสรวลบ้างเลย
>> >เวลาให้สัมภาษณ์กับนักข่าว
>> >พระองค์ทรงชี้ไปที่พระราชินีที่นั่งอยู่ข้างๆ พระองค์
>> >พร้อมกับตอบคำถามที่นักข่าวคนนั้นถามว่า
>> >"She's my smile"
>>
>เมื่อนักข่าวมองไปที่พระราชินี
>> >ท่านก็ทรงยิ้มให้กับนักข่าวต่างประเทศเหล่านั้น
>> >*****
>> >"ฉันทนได้"
>> >ในเดือนหนึ่งของปี 2528
>> >พระทนต์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหักเฉียดโพรงประสาทฟัน
>> >พระทนต์องค์
>> >นั้นต้องการการถวายการรักษาเร่งด่วน แต่ขณะนั้นกรุงเทพฯ
>>
>> >ก็กำลังประสบปัญหาอุทกภัย ต้องการการบรรเทาทุกข์
>> >เร่งด่วนเช่นกัน
>> >เมื่อทันตแพทย์เข้ามาถวายการรักษา
>> >พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า "จะใช้เวลานานเท่าใด"
>> >ทันตแพทย์กราบบังคมทูลว่า อาจต้องใช้เวลา 1-2 ชม.
>> >พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า
>> >"ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้
>> >วันนี้ขอไปดูราษฎรและช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมก่อน"
>> >*****
>> >"คำสอนประโยคเดียว"
>> >เมื่อนิตยสาร
"สไตล์" ฉบับปี 2530 ได้ตั้งคำถามกับ ดร. สุเมธ
>> >ตันติเวชกุล ถึง "คำสอน" ของพระบาทสมเด็จพระ
>> >เจ้าอยู่หัวที่ประทับอยู่ในหัวใจ ดร.สุเมธ
>> >ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ กปร. ตอบว่า
>>"คำ
>> >สอนประโยคเดียวก็เกินพอ" นั้นคือพระราชดำรัสที่ว่า
>> >"มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้
>> >นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น"
>> >*****
>> >"ดีใจที่สุด"
>> >สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์มืดมน
>>
>> >พระบรมฉายาลักษณ์ไม่เพียงเป็นรูปเคารพบูชา
>> >แต่ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของ
>> >ความศรัทธาที่ช่วยให้มีแรงต่อสู้กับความทุกข์ต่อไปได้ ดัง
>> >คุณยายละเมียด แสงเนียมวัย 72 ปี ชาวจังหวัดชุมพร ผู้ที่
>> >เผชิญกับอุทกภัยภาคใต้ในปี 2540 น้ำท่วมบ้านสูงมากจนอยู่อาศัยไม่ได้
>>
>"อยู่ ๆ น้ำก็ท่วมมาเร็วมาก ยายต้องไปขออาศัยบ้านคนอื่นเขาอยู่
>> >ต่อมาก็ขึ้นไปอยู่ชั้นบน ออกไปไหนไม่ได้เลย
>> >
>> >...พอดีที่บ้านนี้เขาปลูกมะละกอ
>> >ต้นมันสูงมาถึงหน้าต่างเราก็เอื้อมถึงพอดี เลยได้กินข้าวกับมะละกอ
>> >ก็กินมาสามวัน
>> >มาเมื่อวานผู้ใหญ่บ้านมาบอก มูลนิธิในหลวงจะเอาของมาแจกยายคิดเลยว่า
>> >ไม่อดตายแล้ว ทุกครั้งที่คนไทยเดือดร้อน
>> >ในหลวงจะให้ความช่วยเหลือทุกครั้ง
>> >ของที่ยายได้มา ที่ดีใจที่สุดคือมีรูปของท่านมาด้วย
>> >ที่บ้านเสียหายหมดแล้ว
>>ยายจะเอารูปท่านไว้บูชา
>> >ยายพูดแล้วก็ก้มลงกราบพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความจงรักสุดหัวใจ
>> >*****
>> >"ทุกข์บรรเทา"
>> >การ "ประทับอยู่ในบ้านเมือง" ดังพระราชดำรัสนั้น
>>
>ในเวลาต่อมาก็เป็นที่รู้กันว่ามิได้หมายถึงการประทับอยู่ในเมืองหลวง
>> >เท่านั้น แต่ยังเสด็จฯ
>> >เยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์จนแทบจะทั่วทุกตารางนิ้วที่พระบาทจะย่างไปถึงได้
>> >ทรงวิทย์ แก้วศรี ผู้เรียบเรียงบทความ
>> >"บรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐ" บันทึกไว้ว่า
>> >วันที่
>> >13 ก.ย 2497 ขณะที่ทรงมีพระชนมายุ 26 พรรษา
>>และทรงครองราชย์เป็นปีที่ 8
>> >ปรากฏว่าเกิดเหตุการณ์อัคคีภัยครั้งร้ายแรงขึ้นที่อำเภอบ้านโป่ง
>> >จ.ราชบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระ
>> >ราชดำเนินไปเยี่ยมเยือนราษฎรขาวบ้านโป่งผู้ประสบภัยในพื้นที่
>> >ทรงทอดพระเนตรบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้และ
>> >พระราชทานสิ่งของบรรเทาทุกข์
>> >ทุกข์ในยามยากเพราะสิ้นเนื้อประดาตัวจากภัยเพลิงนั้นมากล้น
>>แต่
>>
>เมื่อได้รู้ว่ายังมีใครสักคนคอยเป็น
>> >กำลังใจ ทุกข์สาหัสแค่ไหนก็ยังพอมีแรงกายลุกขึ้นสู้ต่อได้
>> >การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรผู้ประสบภัยในครั้งนั้น
>> >นับได้ว่าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร
>> >ต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกในรัชกาล
>> >*****
>> >"141 ตัน"
>> >เป็นที่รู้กันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเสด็จฯ
>> >พระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และหลังจากนั้น
>> >บัณฑิตทุกคนก็เฝ้ารอที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์อย่างใจจดใจจ่อ
>> >ภาพถ่ายวันรับพระราชทานปริญญาบัตรกลายเป็นของล้ำค่าที่ต้องประดับไว้ตามบ้านเรือนและเป็นสัญลักษณ์แห่ง
>> >ความสำเร็จของหนุ่มสาวและความภาคภูมิใจของบิดามารดา
>> >จน 29
>>
>ปีต่อมามีผู้คำนวณให้ฉุกใจคิดกันว่าพระราชภารกิจในการพระราชทานปริญญาบัตรนั้นเป็นพระราชภารกิจที่หนัก
>> >หน่วงไม่น้อย หนังสือพิมพ์ลงว่าหากเสด็จฯพระราชทานปริญญาบัตร 490
>>ครั้ง
>> >ประทับครั้งละราว 3 ชม.
>>เท่ากับทรงยื่น
>> >พระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง
>>น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ
>> >3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมดที่
>> >พระราชทานมาแล้ว 141 ตัน
>> >ไม่เพียงเท่านั้น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ยังเล่าเสริมให้เห็น
>> >"ความละเอียดอ่อนในพระราชภารกิจ" ที่ไม่มีใครคาดถึงว่า
>> >"..ไม่ได้พระราชทานเฉย ๆ ทรงทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา
>> >โบว์หลุดอะไรหลุดพระองค์ท่านทรงผูกโบว์ใหม่
>> >ให้เรียบร้อย บางครั้งเรียงเอกสารไว้หลายวัน ฝุ่นมันจับ
>> >พระองค์ท่านก็ทรงปัดออก"
>> >*****
>> >
>> >"สุขเป็นปี ๆ"
>>
>ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการเสด็จฯ
>> >พระราชทานปริญญาบัตรลงบ้าง โดยอาจงดเว้น
>> >การพระราชทานปริญญาบัตรในระดับปริญญาตรี
>> >คงไว้แต่เพียงระดับปริญญาโทขึ้นไป
>> >พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับมีพระราชกระแสรับสั่งตอบว่า
>> >พระองค์เองเสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ
>> >6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปี ๆ
>>เปรียบกันไม่ได้เลย
>> >ที่สำคัญคือ ทรงเห็นว่าการพระราชทานปริญญาสำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
>> >นั้นสำคัญ เพราะบางคนอาจไม่มีโอกาส
>> >ศึกษาชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ดังนั้น
>> >"จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง.."
>> >*****
>> >สุดท้าย แต่ยังไม่ท้ายสุด
>> >"พระมหากษัตริย์"
>> >เมื่อมีผู้สื่อข่าว BBC

>>ขอพระราชทานสัมภาษณ์เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง
>> >The Soul of Nation ในปี 2522 โดยได้
>> >กราบบังคมทูลถามถึงพระราชทัศนะเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ไทย
>> >พระองค์ได้พระราชทานคำตอบว่า
>> >"การที่จะอธิบายว่า พระมหากษัตริย์ คืออะไรนั้น
>> >ดูเป็นปัญหาที่ยากพอสมควร โดยเฉพาะในกรณีของ
>> >ข้าพเจ้า ซึ่งถูกเรียกโดยคนทั่วไปว่า พระมหากษัตริย์
>> >แต่โดยหน้าที่ที่แท้จริงแล้ว ดูจะห่างไกลจากหน้าที่ที่
>> >พระมหากษัตริย์ที่เคยรู้จักหรือเข้าใจกันมาแต่ก่อน
>> >หน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนั้น ก็คือทำอะไรก็ตามที่เป็นประโยชน์
>>
>> >ถ้าถามว่า ข้าพเจ้ามีแผนการอะไรบ้างในอนาคต คำตอบก็คือไม่มี เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เรา ก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วสำหรับเรา" ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ เรารักในหลวง

แสดงความคิดเห็น

>

25 ความคิดเห็น

milly 24 มิ.ย. 49 เวลา 20:51 น. 3

ขอให้พระองค์ เป็นร่มโพธิ์ ร่ม ไทร ของปวงชนชาวไทยตลอดไป (ยาวมาก อ่านไม่หมดอะ)

0
nujeab 19 ธ.ค. 51 เวลา 15:24 น. 4

80 เรื่องเกี่ยวกับ ในหลวง ดีมากๆ
เมื่อทรงพระเยาว์
1. ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.
2. นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต&nbsp วิตมอร์ มีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
3. พระนาม"ภูมิพล"ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระปกเ กล้าเจ้าอยู่หัว รัช กาลที่ 7
4. พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5. ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
6. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่
โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า "H.H Bhummibol Mahidol"หมายเลขประจำตัว&nbsp 449
7. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือ สมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า"แม่"
8. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9. แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผัก มาปลูกเพิ่ม
10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็ เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11. สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยพระเยาว์ เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า"บ๊อบบี้"
12. ทรงฉลองพระเนตร (แว่นสายตา) ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกต
เห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำ จะต้องลุกขึ้นบ่อย ๆ
13. สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรอง 3 ที มากเกินไป 2ทีพอแล้ว
14. ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์โดยระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก"การให้"โดยสมเด็จย่าจะทรง ตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า"กระป๋องคนจน"หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก"เก็บภาษี"หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือน สมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋อ งนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้ โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า"ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน"
17. กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสม ส่วนพระองค์
เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง

พระอัจฉริยภาพ
19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก"การเล่น"สมัยพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไร ต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับ พระเชษฐาซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
20. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิป ระเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้ โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทย เป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็น จิ๊กซอว์

0
nujeab 19 ธ.ค. 51 เวลา 15:27 น. 5

21. ทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ ทรงหัดเล่นคือ บเพลง (แอกคอร์เดียน)
22. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟน มือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
23. ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
24. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อ พระชนม์พรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ"แสงเทียน" จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
25. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วยอย่างครั้งหนึ่งทรง เกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง"เราสู้"
26. รู้ไหม...? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจ การถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่5
27. - - - -
28. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไ ทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
29. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง"นายอินทร์"และ"ติโต" ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์แต่พระมหาชนก ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
30. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และเรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"กีฬา&nbsp ซีเกมส์") ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510
31. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้&nbsp ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่งตรั สกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มี&nbsp ใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
32. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธ ิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้น เครื่องกลเติม อากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เมื่อปี 2536
33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิง น้ำมันจากวัสดุก ารเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงาน
ทดแทน เช่น แก๊ส&nbsp โซฮอล์, ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์ม บริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20ปีแล้ว
34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์
แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง

เรื่องส่วนพระองค์
35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด ์ แต่เหตุการณ์&nbsp ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า"น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่า รักแรกพบ
เนื่องเพราะรับสั่งว่า จะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้ว เสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง
37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษก
สมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม
10 บาท

0
nujeab 19 ธ.ค. 51 เวลา 15:29 น. 6

38. หลังอภิเษกสมรส ทรง"ฮันนีมูน"ที่หัวหิน
39. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรี&nbsp รัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมือง&nbsp วันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
40. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และ พระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
41. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพง ต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้
ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น
42. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ&nbsp ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
43. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
44. หลอดยาสีพระทน ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอ หลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนช่วยรีด&nbsp และ กดเป็นรอยบุ๋ม
45. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรณคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า&nbsp วันนั้นในหลวงไปเฝ้า แม่ถึงตีสี่ตีห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับ ถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า&nbsp สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์ แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็น แม่นอนหลับตาอยู่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้า&nbsp ไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมา&nbsp น้ำพระเนตรไหลนอง

งานของในหลวง
46. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบันมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
47. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำ พระองค์อยู่ 3 สิ่งคือ
แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง (ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
48. ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเ นียว กระดาษที่จะนำ
มาให้ข้อราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
49. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมา
ถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกัน
ทุกคน เมื่อทรงเห็น ดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
50. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯร่วม
กับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประช าชน

0
nujeab 19 ธ.ค. 51 เวลา 15:30 น. 7

51. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73 บาท ซึ่ง ได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆ เติบโต เป็นโครงการพัฒนามา จนเป็นอย่างที่เราเห้นกันทุกวันนี้
52. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯ สวนจิตรลดา ในหลวงจะ เสด็จฯ ลงมา
อธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
53. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า&nbsp "ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพัน ของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง&nbsp คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ
54. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
ของทรงโปรด
55. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
56. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังช่าย
57. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยา หารหลัก
58. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
59. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
60. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศสของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
61. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที่&nbsp จส.100 ด้วย โดย
ใช้พระนามแฝง
62. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่น บรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้ง
ไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
63. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูดลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ
ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภ ประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว
64. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็น ห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่อง พยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
65. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว
66. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว ว่า "นายหลวง" ภายหลัง
จึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง
67. ทรงวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน

0
nujeab 19 ธ.ค. 51 เวลา 15:30 น. 8

68. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆ ทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพของพระองค์ว่า "ทำราชการ"
69. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิสเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุข ประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
70. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับใน หลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็น
ประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า"อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก"
71. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
72. หัวใจทรงเต้นไม่ปกติด ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี
73. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที ่ใช้กันอยู่
ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์ จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
74. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห ัว เนื่องในโอกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชม รวม 6ล้านคน
75. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่า&nbsp เสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
76. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
77. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
78. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้น
เปลือง ให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด
79 - - - -
80. พระราชประวัติในหลวง ฉบับการ์ตูน

ปล. บางข้อ เป็นตัว ---- ซึ่ง ผมคัดลอกมา
ไม่ทราบสาเหตุ
ส่วนข้อสุดท้ายคงจะพิมพ์ไม่จบ ต้องกราบขอ
อภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ได้รับ forword mail มาอีกที อ่านแล้วดีมากๆ เลยมาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้อ่านกัน
ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

0
khunnain 9 มิ.ย. 53 เวลา 09:24 น. 9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำ และมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรชาวไทย

0
เน€เธžเน‡เธเธ™เธ�เธฒ 7 ม.ค. 54 เวลา 14:47 น. 11

เธ‚เธญเธžเธฃเธฐเธญเธ‡เธ„เนŒเธ—เธฃเธ‡เธกเธตเธžเธฃเธฐเธžเธฅเธฒเธ™เธฒเธกเธฑเธขเนเธ‚เน‡เธ‡เนเธฃเธ‡เนเธฅเธฐเธญเธขเธนเนˆเน€เธ›เน‡เธ™เธกเธดเนˆเธ‡เธ‚เธงเธฑเธเธ‚เธญเธ‡เธ›เธฃเธฐเธŠเธฒเธŠเธ™เธ„เธ™เน„เธ—เธขเธ•เธฅเธญเธ”เน„เธ›
เธ‚เธญเธžเธฃเธฐเธญเธ‡เธ„เนŒเธ—เธฃเธ‡เธžเธฃเธฐเน€เธˆเธฃเธดเธ

0
บทความ 20 ก.พ. 56 เวลา 15:18 น. 13

บทความในหลวงของเรา
ในหนังสือว่า...หลังงานพระบรมศพสมเด็จย่าเสร็จสิ้นลงแล้ว
ราชเลขาฯของสมเด็จย่ามาแถลงในที่ประชุมต่อหน้าสื่อมวลชนว่า
ก่อนสมเด็จย่าจะสิ้นพระชนม์ปีเศษ ตอนนั้นอายุ 93
ในหลวงเสด็จจากวังสวนจิตรไปวังสระปทุมตอนเย็นทุกวัน
ไปทำไม?&nbsp  ไปกินข้าวกับแม่ ไปคุยกับแม่ ไปทำให้แม่ชุ่มชื่นหัวใจ
ในหลวงของเราเสด็จไปกินข้าวมื้อเย็นกับแม่ สัปดาห์ละกี่วัน...ทราบไหม?

5 วัน
มีใครบ้าง? ที่อยู่คนละบ้านกับแม่ แล้วไปกินข้าวกับแม่สัปดาห์ละ 5 วัน
หายาก...
ในหลวงมีโครงการเป็นร้อยเป็นพันโครงการ มีเวลาไปกินข้าวกับแม่สัปดาห์ละ 5 วัน
พวกเรา ซี 7 ซี 8 ซี 9 ร้อยเอก พลตรี อธิบดี ปลัดกระทรวง
ไม่เคยไปกินข้าวกับแม่ บอกว่างานยุ่ง แม่บอกว่าให้พาไปกินข้าวหน่อย
บอกว่าไม่มีเวลา จะไปตีกอล์ฟ
ทุกครั้งที่ในหลวงไปหาสมเด็จย่า ในหลวงต้องเข้าไปกราบที่ตัก
แล้วสมเด็จย่าก็จะดึงตัวในหลวงเข้ามากอด กอดเสร็จก็หอมแก้ม
ตอนสมเด็จย่าหอมแก้มในหลวง เราคิดว่าแก้มในหลวงคงไม่หอมเท่าไร
เพราะไม่ได้ใส่น้ำหอม
แต่ทำไมสมเด็จย่าหอมแล้วชื่นใจ
เพราะท่านได้กลิ่นหอมจากหัวใจในหลวง หอมกลิ่นกตัญญู
ไม่นึกเลยว่าลูกคนนี้จะกตัญญูขนาดนี้ จะรักแม่มากขนาดนี้
ตัวแม่เองคือสมเด็จย่าไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ เป็นคนธรรมดาสามัญชน
เป็นเด็กหญิงสังวาลย์ เกิดหลังวัดอนงค์เหมือนเด็กหญิงทั่วไป
เหมือนพวกเราทุกคนในที่นี้
ในหลวงน่ะ...เกิดมา เป็นพระองค์เจ้า เป็นลูกเจ้าฟ้า ปัจจุบันเป็นกษัตริย์
เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่เหนือหัว แต่ในหลวงที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ก้มลงกราบคนธรรมดา...ที่เป็นแม่
หัวใจลูกที่เคารพแม่ กตัญญูกับแม่อย่างนี้ หาไม่ได้อีกแล้ว
คนบางคน พอเป็นใหญ่เป็นโต ไม่กล้าไหว้แม่ เพราะแม่มาจากเบื้องต่ำ

เป็นชาวนา เป็นลูกจ้าง ไม่เคารพแม่ ดูถูกแม่ แต่นี่ในหลวงเทิดแม่ไว้เหนือหัว
นี่แหละครับความหอม
นี่คือเหตุที่สมเด็จย่าหอมแก้มในหลวงทุกครั้ง ท่านหอมความดี หอมคุณธรรม
หอมความกตัญญูของในหลวง หอมแก้มเสร็จแล้วก็ร่วมโต๊ะเสวย
มีอยู่เรื่องหนึ่งที่จำได้แม่น สมเด็จย่าเล่าว่า
ตอนเรียนหนังสือที่สวิส ในหลวงยังเล็กอยู่ เข้ามาบอกว่า อยากได้รถจักรยาน เพื่อนๆ
เขามีจักรยานกัน แม่บอกว่า ลูกอยากได้จักรยาน
ลูกก็เก็บสตางค์ที่แม่ให้ไปกินที่โรงเรียนไว้สิ
เก็บมาหยอดกระปุกวันละเหรียญ สองเหรียญ พอได้มากพอ ก็เอาไปซื้อจักรยาน
พอถึงวันปีใหม่ สมเด็จย่าก็บอกว่า 'ปีใหม่แล้ว เราไปซื้อจักรยานกัน
เอากระปุก...ดูซิว่ามีเงินเท่าไร?'
เสร็จแล้วสมเด็จย่าก็แถมให้ ส่วนที่แถมนะ มากกว่าเงินที่มีในกระปุกอีก
มีเมตตาให้เงินลูก ให้ไม่ได้ให้เปล่า สอนลูกด้วย สอนให้ประหยัด
สอนว่าอยากได้อะไร ต้องเริ่มจากตัวเรา
คำสอนนั้นติดตัวในหลวงมาจนทุกวันนี้
เขาบอกว่าในสวนจิตรฯเนี่ย...คนที่ประหยัดที่สุดคือในหลวง
...คราวหนึ่งในหลวงป่วย สมเด็จย่าก็ป่วย ไปอยู่ศิริราชด้วยกัน
แต่อยู่คนละมุมตึก ตอนเช้าในหลวงเปิดประตู แอ๊ด...ออกมา
พยาบาลกำลังเข็นรถสมเด็จย่าออกมารับลมผ่านหน้าห้องพอดี ในหลวงพอเห็นแม่
รีบออกจากห้องมาแย่งพยาบาลเข็นรถ
มหาดเล็กกราบทูลว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องเข็น มีพยาบาลเข็นให้อยู่แล้ว
ในหลวงมีรับสั่งว่าแม่ของเรา ทำไมต้องให้คนอื่นเข็น เราเข็นเองได้
นี่ขนาดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นกษัตริย์ ยังมาเดินเข็นรถให้แม่
ยังมาป้อนข้าว ป้อนน้ำให้แม่ ป้อนยาให้แม่ ให้ความอบอุ่นแก่แม่ เลี้ยงหัวใจแม่
ยอดเยี่ยมจริงๆ เห็นภาพนี้แล้วซาบซึ้ง...
...ในหลวงเฝ้าสมเด็จย่าอยู่จนถึงตี 4 ตี 5 เฝ้าแม่อยู่ทั้งคืน จับมือแม่
กอดแม่ ปรนนิบัติแม่ จนกระทั่ง 'แม่หลับ...' จึงเสด็จกลับ
พอไปถึงวัง เขาโทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์
ในหลวงรีบเสด็จกลับไปศิริราช เห็นสมเด็จย่านอนหลับตาอยู่บนเตียง
ในหลวงตรงเข้าไปคุกเข่า กราบลงที่หน้าอกแม่
พระพักตร์ในหลวงตรงกับหัวใจแม่
'ขอหอมหัวใจแม่เป็นครั้งสุดท้าย'
ซบหน้านิ่งอยู่นาน แล้วค่อยๆ เงยพระพักตร์ขึ้น น้ำพระเนตรไหลนอง
ต่อไปนี้....จะไม่มีแม่ให้หอมอีกแล้ว
เอามือกุมมือแม่ไว้ มือนิ่มๆ ที่ไกวเปลนี้แหละ
ที่ปั้นลูกจนได้เป็นกษัตริย์
เป็นที่รักของคนทั้งบ้านทั้งเมือง
ชีวิตลูก แม่ปั้น
มองเห็นหวี ปักอยู่ที่ผมแม่ ในหลวงจับหวี ค่อยๆ หวีผมให้แม่
หวี...หวี...หวี...หวี ให้แม่สวยที่สุด แต่งตัวให้แม่ ให้แม่สวยที่สุด
ในวันสุดท้ายของแม่...
เป็นภาพที่ประทับใจเราที่สุด...เป็นสุดยอดของลูกกตัญญู...หาที่เปรียบไม่ได้อีกแล้ว
อ่านแล้วสะท้อนให้เห็นเลยว่า เราอย่าลืมพ่อ แม่ของเรา ควรให้เวลากับท่านบ้าง
ถึงแม้ว่าในหลวงจะมีโครงการมากมาย แต่ท่านไม่เคยลืมสมเด็จย่า
เด็กๆเดี๋ยวนี้ควรเอาเป็นตัวอย่างนะคะ
อยากให้ทุกคนช่วยส่งต่อความดี

0
PlengSan 8 ธ.ค. 56 เวลา 12:58 น. 16

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปี หนูก็จะรักในหลวงตลอดไป เวลาอ่านบทความนี้น้ำตาอันปรื้มปิติของหนูไหลออกมาทุกครั้ง...ท่านทำเพื่อเราขนาดนี้..แล้วทุกวันนี้เราให้ท่านได้พักหรือยัง ให้ท่านได้หายห่วงเราซะทีเถอะ หยุดทะเลาะกันเพื่อท่าน..

0
ทักษิณ 1 ก.พ. 57 เวลา 15:01 น. 17


ความรู้สึกของข้าพเจ้าที่มีต่อในหลวง



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในราชวงศ์จักรี เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกถึงชื่อเสียงของท่านในพระราชกรณียกิจของท่านในสมัยที่ท่านยังสบายดีอยู่ แต่ปัจจุบันท่านมีอายุมากขึ้นทำให้ท่านเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ มากมายเพราะอายุที่มากขึ้นของท่านด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีความสามารถหลายทางยกตัวอย่างเช่น กีฬา เรือใบ ที่ต่างประเทศต่างให้การยอมรับ หรือจะให้พูดได้ว่า ในหลวงทำได้ทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนมีความสุข มีความรู้ทางได้การเกษตรเพื่อให้ประชาชนมีการงานทำ คิดค้น การใช้ เศรษฐกิจพอเพียง ที่ทุกคนให้การยอมรับ ผมดูในข่าวพระราชสำนัก แต่ก่อนพระเจ้าอยู่หัว ได้เข้าไปช่วยคนที่ยากจน ถึงที่ ถึงจะทุรกันดาร ขนาดไหนพระเจ้าอยู่หัวก็เข้าไปช่วยให้ชีวิตดียิ่งขึ้น จนถึงตอนนี้พระเจ้าอยู่หัวได้อยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ก็ยังทรงงานตลอด ไม่เคยมีการหยุดพัก พระเจ้าอยู่หัวได้ทำเพื่อคนไทยเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเราควรรักพระเจ้าอยู่หัวให้มากๆ ท่านดูแลประเทศของเราให้น่าอยู่มาก เราก็ควรจะดูแลประเทศของเราแทนพระเจ้าอยู่หัวท่านจะได้พัก ไม่ต้องมากลุ้มใจ

จากทั้งหมดนี้ที่ได้กล่าวมา จึงรวมเป็นความรู้สึกของข้าพเจ้าที่เทิดทูน พระองค์ท่าน ท่านทรงเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในประเทศไทย ข้าพเจ้าจึงหวังว่าทุกคนในชาติของเรา จะประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี ทำตัวให้เป็นประโยชน์ของประเทศ ข้าพเจ้าจึงขอให้พระองค์จงทรงพระเจริญ อยู่เป็นร่มโพธิร่มไทรของประชาชนชาวไทยอีกนานเท่านาน

นศท.วรพล จันทร์จำปา
0
kalukkalik 18 ส.ค. 59 เวลา 09:46 น. 20
ความพอดี 
ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน 
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540 
0