Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สัตวาภิธาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คือเรามีอยากให้ช่วยอีกแล้วอ่ะ

เราเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องสัตวาภิธาน

แล้วอาจารย์ให้หาข้อมูลแมลง 2 ชนิด คือ

มดไร กับ น้ำลายงูเห่า

ซึ่งเราหาข้อมูลไม่ได้เลย


ใครรู้แหล่งข้อมูล

ก็ช่วยเอามาลงให้หน่อยนะคะ

เรารู้เพียงว่า แมลงทั้งสองชนิดเป็นมด

แต่ไม่รู้ข้อมูลอื่นๆ อีกเลย

ใครรู้ก็ช่วยหน่อยนะคะ

อยากได้ภายในวันนี้ค่ะ


PS.  55555555555 ชั่วชีวิตของฉันจะมีแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 55555555555

แสดงความคิดเห็น

>

42 ความคิดเห็น

ป้าเอง 14 ส.ค. 49 เวลา 12:17 น. 1

ผู้แต่ง พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)



ประวัติผู้แต่ง พระยาศรีสุนทรโวหาร มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2346 – 2434 ท่านเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาประเทศไปสู่ความเจริญอย่างอารยประเทศ ท่านมีส่วนสำคัญในการแต่งตำราเรียนภาษาไทยหลายเล่ม และบางเล่มยังมีความสำคัญมาจนทุกวันนี้



ลักษณะคำประพันธ์ ประกอบด้วยคำประพันธ์ 2 ประเภท คือ โคลงสี่สุภาพ และกาพย์ฉบัง 16



ถ้าเป็นโคลงที่สามารถอ่านคำจากบาทที่ 1 ลงมาถึงบาทที่ 4 ได้ใจความ เราเรียกว่า โคลงกระทู้ เช่น บทแรกของเรื่อง อ่านลงมาได้ความว่า “สัตว์มีเท้ามาก”



จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อเป็นบทหัดอ่าน โดยนำชื่อแมลงมาผูกเป็นเรื่อง



ใจความสำคัญ เฉพาะบทที่คัดมาให้อ่านนี้ เป็นตอนที่กล่าวถึงสัตว์มีเท้ามาก คือมากกว่า 4 เท้า นอกจากจะบอกชื่อสัตว์แล้ว บางชนิดยังบอกลักษณะเด่นหรือธรรมชาติของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ด้วย เท่าที่คำประพันธ์จะอำนวยให้ เมื่อจำแนกสัตว์ชนิดต่าง ๆ จากคำประพันธ์แล้ว อาจสรุปชนิดและประเภทของสัตว์ที่กล่าวถึงเป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ คือ สัตว์บก และสัตว์น้ำ ดังนี้



1.สัตว์บก แบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อย คือ



ประเภทที่เลื้อยคลาน ได้แก่ ตะบองพลำ (อ่าน ตะ-บอง-พะ-ลำ) ตะขาบ กิ้งกือ

ประเภทแมง ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง แมงใย แมงดาเรือง แมงป่องช้าง

ประเภทแมลง ได้แก่ แมงกะแท้ แมงกะชอน แมงดานา แมงทับ แมงค่อม แมงวัน แมงภู่ แมงสาบ แมงเม่า ผึ้ง แตน ต่อ ตาปะขาว ตัวเต่าทอง แมงปอ หมาร่า เหลือบ ยุง ริ้น ด้วงพร้าว ด้วงโสน (อ่าน ด้วง-สะ-โหน) ร่าน บุ้ง ผีเสื้อ ตั๊กแตน เหนี่ยง กลิ้งคี่ เรไร แม่ม่ายลองไน จักจั่น ชันโรง ปลวก

ประเภทมด ซึ่งเป็นแมลงประเภทหนึ่ง ได้แก่ มดแดง มดดำ มดดีด มดแดงไฟ มดตะนอย มดไร มดตาลาน มดเป้ง มดคัน มดน้ำลายงูเห่า มดง่าม

2. สัตว์น้ำ ได้แก่ แมงดาทะเล ปูทะเล ปูนา ปูม้า (ปูอัศวา) ปูเบี้ยว กุ้งใหญ่ กุ้งฝอย กั้ง



ข้อสังเกต แมลงในบทอ่านยังใช้ แมง โดยไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้เพราะสมัยก่อนเราไม่ได้



จำแนกให้แตกต่างกันอย่างในปัจจุบัน วิธีจำแนกว่าสัตว์ชนิดใดเป็น แมง หรือแมลงนั้น ให้ยึดหลักในการสังเกตดังนี้



แมง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวขนาดเล็ก เมื่อเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัวกับส่วนท้อง มีขา 8 ขา ไม่หนวด ไม่มีปีก แมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวขนาดเล็ก เมื่อเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มีขา 6 ขา มีหนวด 1 คู่ มีปีก 1 หรือ 2 คู่ หรืออาจไม่มีก็ได้

สัตว์ที่น่าสนใจ ค้นคว้า และรวบรวมจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525



ตะขาบ ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลำตัว และขาเป็นปล้อง มีหลายวงศ์ หัวและลำ

ตัวยาวแบนหรือค่อนข้างแบน ลำตัวแต่ละปล้องมีขา 1 คู่ มีเขี้ยวซึ่งเป็นขาคู่แรก บางชนิดมีน้ำพิษ



แมงมุม ชื่อสัตว์พวกแมง ที่ปากมีเขี้ยวรูปร่างคล้ายปากคีบ และมีอวัยวะรูปทรงคล้าย

ขายื่นออกมา 1 คู่ ไม่มีหนวด มีหลายชนิด ทุกชนิดที่ขามีโครงสร้างพิเศษซึ่งสามารถถักใยที่ออกมาจากรูเปิดตรงส่วนท้องได้ มีทั้งชนิดถักใยดักสัตว์ และชนิดกระโดดจับสัตว์กิน



กิ้งกือ ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง

ปล้องตามลำตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทำให้สามารถขดเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมี 2 ขา ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ 2-4 มีขาเพียงคู่เดียว จำนวนขาอาจมีได้ถึง 240 คู่



แมงค่อม ชื่อด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็น

งวงสั้น ๆ ตัว และปีกสีเขียวเหลือบทอง ค่อมทองหรือทับเล็ก ก็เรียก



แมงคาเรือง ชื่อตะเข็บ (ตะขาบขนาดเล็ก) ชนิดที่ตัวเรืองแสงเมื่ออยู่ในที่มืด ขนาดเล็ก

เท่าก้านไม้ขีดไฟ ขายาวกว่าความยาวของปล้องมาก อาศัยอยู่ตามที่รกรุงรัง กองขยะมูลฝอย ฯลฯ



แมงดา หมายถึงสัตว์ 2 ประเภท แตกต่างกัน คือ

แมงดานา ชื่อแมลงพวกมวน ตัวกว้างรูปไข่ แบน มักบินมาเล่นแสงไฟในเวลา

กลางคืน ใช้ตำกับน้ำพริก กินได้



แมงดาทะเล ชื่อสัตว์ทะเลพวกแมง รูปร่างคล้ายจานคว่ำ หางยาวเป็นแท่ง

สามเหลี่ยม พบ 2 ชนิดในน่านน้ำไทย คือ แมงดาจาน ซึ่งมีส้นหางคม และแมงดาถ้วย หรือเหรา (เห-รา) หรือแมงดาไฟ ซึ่งมีสันหางมน บางท้องถิ่น และบางฤดูกาลถ้านำมากิจอาจมีพิษได้ทั้ง 2 ชนิด



ต่อ ซึ่งแมลงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายวงศ์ เอวคอดกิ่ว ตัวเมียมีเหล็กไนสำหรับ

ต่อยปล่อยน้ำพิษทำให้เจ็บปวดได้ บางชนิดอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่บางชนิดรวมกลุ่มเป็นฝูง ทำรัง



แตน ชื่อแมลงประเภทเดียวกับต่อ แต่ขนาดเล็กกว่า มีหลายชนิด หลายชนิดอยู่เป็นฝูง

ทำรังขนาดเล็ก



เต่าทอง ชื่อด้วงปีกแข็งขนาดเล็ก ตัวป้อม ๆ ลำตัวส่วนหลังมีสีเงินหรือสีทอง ปีกแข็ง

ใสโค้งนูน เมื่อหุบปีกเข้าหากันจะจดกับด้านหลัง ทำให้มองคล้ายหลังเต่า



หมาร่า ชื่อต่อหลายชนิด ใช้ดินเหนียวทำรังติดตามฝาบ้าน คาน เสาบ้าน หรือบริเวณ

ที่ร่มอื่น ๆ



เหลือบ ชื่อแมลงหลายชนิด รูปร่างคล้ายแมลงวันแต่ตัวโตกว่า ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์

และสัตว์



บุ้ง ชื่อเรียกหนอนผีเสื้อหลายชนิด มีขนปกคลุมเต็มลำตัว เมื่อถูกเข้าจะปล่อยน้ำพิษ

ทำให้เกิดอาการแสบร้อนและคัน ร่าน ก็เรียก



ริ้น ชื่อแมลงพวกตัวบึ่ง (แมลงขนาดเล็กหลายสกุล ขนาดเท่าแมลงหวี่หรือโตกว่าเล็ก

น้อย เจาะดูดเลือดคนกินเป็นอาหาร) ที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงหวี่



ด้วงโสน ชื่อหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่งที่เจาะกินเข้าไปในต้นโสน ชาวชนบทจับมาทำเป็น

อาหารรับประทาน



ด้วงพร้าว ชื่อแมลงปีกแข็ง มีขา 3 คู่ หรือตัวหนอนที่อาศัยอยู่ใต้ต้นมะพร้าวและกัดกิน

มะพร้าว



ผีเสื้อ ชื่อแมลงพวกหนึ่ง มีปีกเป็นแผ่นบาง 2 คู่ มีสีต่าง ๆ

ตั๊กแตน ชื่อแมลงพวกหนึ่ง ลำตัวยาว มีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีปีกหรือไม่มีก็ได้

เหนี่ยง ชื่อด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ลำตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย สีดำตลอดตัว มีหนามแหลม

ที่ด้านล่างของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ



เรไร ชื่อจักจั่นสีน้ำตาลหลายชนิด ส่วนใหญ่ตัวค่อนข้างโต ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษทำให้

เกิดเสียงสูง และต่ำมีกังวานสลับกันไปได้หลายระดับ



แม่ม่ายลองไน ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีลำตัวและปีกสีฉูดฉาด มีอวัยวะทำเสียงซึ่งเสียง

จะเป็นเสียงห้าว ก้องกังวานได้ยินไปไกล ๆ



จักจั่น ชื่อแมลงพวกหนึ่ง มีหลายขนาด ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสำหรับทำเสียงได้ยินไป

ไกล ระดับเสียงค่อนข้างสม่ำเสมอไร้กังวาน ส่วนใหญ่สีเขียว



มดแดง ชื่อมดชนิดหนึ่ง ตัวมีสีแดงส้มหรือน้ำตาลปนแดง รวมทั้งหนวด และขา ทำรัง

บนต้นไม้ (จึงมีสำนวนไทยเปรียบเทียบชายที่ปองรักหญิงบ้านใกล้หรืออยู่ใกล้กัน และคอยกีดกันไม่ให้ชายอื่นมารักว่า “มดแดงเฝ้ามะม่วง หรือมดแดงแฝงพวงมะม่วง” เหตุที่เปรียบเช่นนี้เพราะถึงมดจะเฝ้ามะม่วงอย่างไร ในที่สุดก็จะมีคนมาเด็ดมะม่วงไปกิน ทั้ง ๆ ที่ต้องเสี่ยงกับการถูกมดกัด)



ปลวก ชื่อแมลงพวกหนึ่ง รูปร่างคล้ายมด ส่วนใหญ่ตัวสีขาวหรือครีม ไม่ชอบแสง

อาศัยทำรังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนพื้นหรือใต้ดิน มักจะเอาดินมาสร้างคลุมทางเดิน บางชนิดทำลายไม้ ต้นไม้



ชันโรง (อ่าน ชัน-นะ-โรง) ชื่อผึ้งขนาดเล็กหลายชนิด ไม่มีเหล็กไน อยู่รวมกันเป็นฝูง รังทำจากขี้ผึ้งผสมขี้ดิน และยางไม้





ข้อสังเกต สัตว์ที่ปรากฏในเรื่องและในรายละเอียดชื่อสัตว์นี้ ส่วนใหญ่เป็นแมลง ส่วนสัตว์ประเภทที่เลื้อยคลาน แมง หรือสัตว์น้ำนี้มีจำนวนน้อยกว่า ได้แก่ ข้อ 1, 2, 3, 5, 6.2

ประโยชน์ที่ได้จากเรื่อง



ได้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ เช่น รู้ว่าสัตว์ชนิดใดมีพิษ ชนิดใดกินได้ ชนิดใดมีความสวย

งาม ชนิดใดส่งเสียงร้องไพเราะ และยังได้รู้ธรรมชาติของสัตว์บางชนิดที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน (ถ้าเปิดพจนานุกรมค้นคว้าเพิ่มเติมจะช่วยให้ยิ่งมีความรู้แตกฉานยิ่งขึ้น)



เนื้อเรื่องบอกลักษณะของสัตว์บางชนิดอย่างน่าสนใจ เป็นการกระตุ้นให้เด็ก ๆ เป็น

คนช่างสังเกต และการสังเกตนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งของผู้ใฝ่ความรู้



การพรรณนาเรื่องมีลำดับขั้นตอนเหมือนการเขียนเรียงความหรือบทความ คือ นำ

เรื่องด้วยโคลงกระทู้ “สัตว์ มี เท้า มาก” แล้วขยายความเป็นส่วนเนื้อเรื่องด้วยกาพย์ฉบังตามลำดับ สถานที่ที่สัตว์จำพวกนี้อาศัยอยู่คือ ในป่า ใกล้บ้านเรือน และที่อยู่ตามบ้านเรือน ไปจนถึงสัตว์ที่อยู่ในน้ำ ตอนท้ายบอกจุดมุ่งหมายของการแต่งและสรุปเรื่องด้วยโคลงสี่สุภาพ นับว่าเป็นตัวอย่างการแต่งบทร้อยกรองเป็นเรื่องสั้น ๆ ได้อย่างดี



ความไพเราะของบทร้อยกรองมีครบครัน แม้จะเป็นเรื่องที่ผู้แต่งมุ่งให้ความรู้และฝึก

อ่าน สังเกตได้จากการเล่นคำเล่นอักษร 4 ลักษณะ คือ



การเล่นเสียงอักษรเข้าคู่กัน เช่น “ตะขาบ-ไต่ขอน” อักษรที่เล่นคือ “ต-ข, ต-ข”

“กลิ้งคี่-เกลอกคูถ” อักษรที่เล่น คือ “ก-ค, ก-ค” ถ้าอ่านออกเสียงจะเห็นชัดเจนขึ้น



เล่นเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกันในแต่ละวรรค เช่น “แตนต่อตัวตา…..”

“จักจั่นแจ้วแจ้วจับใจ จาดจ้าแจ่ม….”



ใช้คำซ้อนเพื่อให้เกิดเสียงไพเราะ เช่น ใหญ่ยง เรี่ยวแรง ซอนซน วาววับ ไฟฟอน

ม้วยมรณ์ วู่วาม เขตขัณฑ์ โบยบิน ผินผัน ร่ายร้อง ไต่ตอม



ใช้คำซ้ำทำให้ความหมายเด่นชัด เช่น (สี) เรืองเรือง (ตัว) เขื่องเขื่อง หริ่งหริ่ง แจ้ว

แจ้ว (สังเกตว่าคำซ้ำในบทร้อยกรองจะไม่ใช้เครื่องหมายไม้ยมก)

0
NANA 16 ส.ค. 49 เวลา 17:40 น. 2

55555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555

มดคันอยู่ไหน

0
ƒairy` the ghost flower 27 พ.ย. 49 เวลา 18:32 น. 13

ที่โรงเรียนก็กำลังหาเหมือนกันค่ะ แต่หาเรื่องมดตะนอยมดไรมดเป้ง โดยเฉพาะ
หายากจังเลย ช่วนนู๋ทีจิ แบบว่าเอาเรื่องมดพวกนี้โดยเฉพาะอ่า T_T

0
เเนน 28 พ.ย. 49 เวลา 20:25 น. 14

เอ่อ&nbsp ของเราเรื่องเเมงคเรืองน่ะ&nbsp หาไม่ได้เลย คือเราอยากได้เยอะๆน่ะ&nbsp  ใครรู้ช่วยบอกที

0
boyza 29 พ.ย. 51 เวลา 16:16 น. 17

วงศ์ : Hydrophilidae
ชื่อไทย : แมลงเหนี่ยง
ชื่อสามัญ : Water scarvenger beetle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydrous cavistanum Bedel
ลักษณะ : มีรูปร่างคล้ายด้วงดิ่งมาก ลำตัวค่อนข้างยาวเรียว โค้งนูน ผิวเรียบเป็นมัน หนวดมีลักษณะเป็นรูปกระบอง ปากแบบกัดกิน ขามีขนปกคลุม ส่วนของปีกแข็งปิดส่วนท้องมิด เวลาว่ายน้ำจะสลับขาทีละข้าง สามารถดำน้ำได้นาน โดยเก็บท่ออากาศไว้บริเวณด้านล่างของร่างกาย&nbsp 
ถิ่นอาศัย : อาศัยในน้ำนิ่ง สามารถบินและมีชีวิตอยู่บนบกได้ ตัวเต็มวัยชอบแสงไฟ และหากินกับซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย

0
boyza 29 พ.ย. 51 เวลา 16:29 น. 18

วงศ์ : Hydrophilidae
ชื่อไทย : แมลงเหนี่ยง
ชื่อสามัญ : Water scarvenger beetle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydrous cavistanum Bedel
ลักษณะ : มีรูปร่างคล้ายด้วงดิ่งมาก ลำตัวค่อนข้างยาวเรียว โค้งนูน ผิวเรียบเป็นมัน หนวดมีลักษณะเป็นรูปกระบอง ปากแบบกัดกิน ขามีขนปกคลุม ส่วนของปีกแข็งปิดส่วนท้องมิด เวลาว่ายน้ำจะสลับขาทีละข้าง สามารถดำน้ำได้นาน โดยเก็บท่ออากาศไว้บริเวณด้านล่างของร่างกาย&nbsp 
ถิ่นอาศัย : อาศัยในน้ำนิ่ง สามารถบินและมีชีวิตอยู่บนบกได้ ตัวเต็มวัยชอบแสงไฟ และหากินกับซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย

0