Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

มาดูกันว่ากีฬาแต่ละชนิดสามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บแบบใดได้บ้าง และอาการเป็นอย่างไร

1. วิ่ง, เดิน-วิ่ง
อาการบาดเจ็บ : ข้อเท้าแพลง, เข่าเจ็บ, เอ็นร้อยหวายอักเสบ, แขนหัก, บวมช้ำเคล็ดจากการวิ่ง, กระดูกส้นเท้าหนาจนวิ่งต่อไม่ได้, ปวดหน้าแข้ง, กระดูกสะบ้าเข่าสึกกร่อนและอักเสบ, ปวดกล้ามเนื้อ, กล้ามเนื้อโคนขาด้านหลังยึดเจ็บ, การอักเสบของพังผืดกระดูกฝ่าเท้า, เอ็นสะบ้าอักเสบ(พบไม่บ่อยนัก)

2. ขี่จักรยาน
อาการบาดเจ็บ : กล้ามเนื้อขาและต้นขาอักเสบ, กล้ามเนื้อบริเวณโคนขาอักเสบ, ปวดหน้าแข้ง, ข้อเท้าแพลง, กระดูกหักจากการล้ม (กระดูกขา, แขน)

3. ว่ายน้ำ
อาการบาดเจ็บ : บาดเจ็บจากการลื่นทำให้ฟกช้ำหรือเลือดออก, ปวดเมื่อย, ตาอักเสบ, โรคผิวหนังบางชนิด, แพ้คลอรีน, หูน้ำหนวก, ตะคริว, จมน้ำ-สำลักน้ำ

4. เทนนิส, สควอร์ส, แรกเกตบอล, แบดมินตัน, ปิงปอง
อาการบาดเจ็บ : Tennis-elbow(ข้อศอกอักเสบจากการเล่นเทนนิส), ปวดกล้ามเนื้อแขนและไหล่, ปวดหลัง, ข้อมือเคล็ด-อักเสบ, กล้ามเนื้อไหล่อักเสบ

5. สกีน้ำ, เคเบิ้ลสกี, วินเสิร์ฟ, เจ็ทสกี
อาการบาดเจ็บ : กล้ามเนื้อไหล่และหลังอักเสบ,ปวดกล้ามเนื้อขาหรืออักเสบ, ปวดหลัง, ข้อมือ-ข้อไหล่-ข้อศอกอักเสบ, กระดูกหักจากการปะทะของอุปกรณ์กีฬา, ไหล่หลุดจากแรงเหวี่ยง,จมน้ำ-สำลักน้ำ

6. เต้นแอโรบิก

อาการบาดเจ็บ : ปวดหน้าแข้ง, ปวดต้นขา-โคนขา-น่อง, กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ, กล้ามเนื้อข้อเท้าอักเสบ, กล้ามเนื้อหน้าขาอักเสบ, เอ็นร้อยหวายอักเสบ, ข้อเท้าแพลง, ปวดหลัง

7. กอล์ฟ
อาการบาดเจ็บ : ปวดหลัง, ปวดแขน, ปวดเอว, Golf-elbow (กล้ามเนื้อแขนและข้อศอกอักเสบ), กล้ามเนื้อข้อมืออักเสบ, กล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบ, ปวดต้นคอ, ปวดข้อมือ, ปวดไหล่

8. ขี่ม้า
อาการบาดเจ็บ : กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบ, ปวดหลัง, ปวดไหล่และแขน, กล้ามเนื้อโคนขาอักเสบ, กระดูกหักหรือเคลื่อนจากการกระแทก, เจ็บกระดูกสันหลังจากการกระแทก, กระดูกหักเพราะการตกม้า

9. ดำน้ำ
อาการบาดเจ็บ : ปัญหาเกี่ยวกับหูเนื่องจากการกดดันใต้น้ำ, จมน้ำ-สำลักน้ำ,บาดเจ็บจากสิ่งใต้น้ำ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ(ดำน้ำเป็นกีฬาที่อันตราย ผู้สนใจจำเป็นต้องรู้จริงและได้รับการฝึกฝนอย่างดีหรืออยู่ในความดูแลของผู้ X วชาญ)

10. มวย, มวยปล้ำ, ศิลปะป้องกันตัว เช่น ยูโด, คาราเต้ ฯลฯ
อาการบาดเจ็บ : คิ้วแตก, จมูกหัก, หูฉีก, เลือดกำเดาไหล, ปากแตก,ซี่โครงหัก, ฟกช้ำ, กระทบกระเทือนระบบสายตา, ขาหักและบาดแผลต่างๆอันเกิดจากการปะทะ เช่น ขา สะโพก หลัง ไหล่ แขน ฯลฯ

11. บาสเกตบอล
อาการบาดเจ็บ : ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ, กล้ามเนื้อเข่าและข้อเท้าอักเสบ, ไหล่หลุด, การสึกของกระดูกข้อสะโพก-ข้อเข่า-ข้อเท้าเนื่องจากการกระแทก, ข้อมือหักและกระดูกส่วนอื่นหัก

12. วอลเล่ย์บอล
อาการบาดเจ็บ : ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขนและข้อมืออักเสบ, กล้ามเนื้อโคนขาอักเสบ, ปวดและเจ็บ, ฟกช้ำบริเวณหน้าแขน, บาดเจ็บจากการปะทะลุกอย่างแรง รวมถึงแผลถลอกด้วย

13. ฟุตบอล
อาการบาดเจ็บ : กระดูกหัก เช่น ขาหัก, แขนหัก, ข้อเท้าแพลง, ตะคริว, ปวดหน้าแข้ง, กล้ามเนื้อต้นขาหรือโคนขาฉีก-อักเสบ, คอเคล็ด, ศีรษะแตก, แผลถลอก

14. รักบี้
อาการบาดเจ็บ : แขนหัก, ซี่โครงหัก หรือส่วนกระดูกต่างๆของร่างกายหัก-เคลื่อน, ต้นคออักเสบ, กล้ามเนื้อแขน-ขาอักเสบ ฟกช้ำ เคล็ดตามร่างกาย ปวดหลังจากการกระแทก

   การบาดเจ็บโดยทั่วไปที่กล่าวมาแล้วในการเล่นกีฬานี้ จะขอแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุดก่อนนั่นคือ ข้อเคล็ด

   อาการเคล็ดคือ การบาดเจ็บซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อ เมื่อเอ็นและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อต่อนั้นถูกปิดหรือฉีกขาดขึ้นมาฉับพลัน บางครั้งอาการเคล็ดก็เล็กน้อย แต่ในบางครั้งก็อาจจะมีอาการอื่นแทรกซ้อนด้วยหากมีการทำลายอย่างร้ายแรงต่อเนื้อเยื่อ และมักจะเกิดร่วมกับการมีกระดูกหักด้วย ดังนั้นในทุกกรณีถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าการบาดเจ็บรุนแรงขนาดไหนก็ให้ทำการปฐมพยาบาลเช่นเดียวกับกระดูกหักไปก่อน

อาการและอาการแสดง

  • รู้สึกเจ็บปวดและไวอย่างผิดปกติต่อการสัมผัส ตรงบริเวณรอบข้อต่อและจะยิ่งเพิ่มความปวดมากขึ้นเมื่อขยับเขยื้อนส่วนนั้น
  • มีอาการบวมรอบข้อต่อซึ่งจะมีอาการฟกช้ำติดตามมา

วิธีปฐมพยาบาลคือ

  1. ให้คนเจ็บได้พักอวัยวะที่บาดเจ็บและยกอวัยวะนั้นขึ้นในท่าที่สบายที่สุด โดยหาวัตถุมารองอวัยวะส่วนนั้นไว้ หรือยกแขน ขา ที่เกิดข้อเคล็ดขึ้น
  2. ค่อยๆจับตรงบริเวณที่ข้อเคล็ดอย่างระมัดระวัง และถ้าอาการเคล็ดเพิ่งเกิดขึ้นให้ใช้ผ้าเย็นประคบ เพื่อลดอาการบวมและปวด
  3. วิธีนี้ เป็นการลดอาการบวมและช่วยรับน้ำหนักของอวัยวะที่มีข้อเคล็ด โดยการใช้สำลีหนาๆ พันรอบข้อที่เคล็ดและใช้ผ้าพันแผลอีกทีหนึ่ง ถ้าข้อเท้าเคล็ดและไม่สามารถหาคนที่ชำนาญด้านนี้มาช่วยเหลือได้ อย่าถอดรองเท้าหรือถุงเท้าออก เพราะจะยิ่งเพิ่มการขยับที่อาจทำให้เกิดความรุนแรงที่ข้อมากขึ้น แต่ให้ใช้วิธีการพันแผลตรงบริเวณเหนือรองเท้าขึ้นมา
  4. ถ้าอาการเคล็ดยังไม่ทุเลาให้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์ ถ้าหากยังไม่แน่ใจในอาการบาดเจ็บ ให้ปฐมพยาบาลตามวิธีรักษากระดูกหัก (การดามหรือเข้าเฝือกอย่างง่าย)

PS.  ธนูรเพท-เทพเจ้าแห่งสงครามและชัยชนะ : "ข้าขอนอบน้อมแก่ธรรมอันศักดิ์สิทธิ์คือธนูรเวท ขอจงป้องกันรักษาข้าพเจ้า ขอจงขบกินศัตรูของข้าพเจ้าเสีย"

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น