Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หลักการเขียนนิยายหรือวรรณกรรม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
การเขียนการแต่งนิยายหรือวรรณกรรมนั้น ในแต่ละรูปแบบจะมีความสละสลวยในตัวของมันเอง และ จะสื่อความหมายเหมือนสิ่งเร้าให้คนอ่านเกิดมโนภาพ จินตนาการตามผู้เขียน แล้วแต่ว่าผู้เขียนจะวางเนื้อเรื่อง โครงเรื่อง รูปแบบ บุคลิก ตัวละคร และ สถานที่ ให้คนอ่านเกิดมโนภาพและเข้าใจในสิ่งที่เขียน เพื่อสื่อถึงสิ่งเร้า เพิ่มเติมความสะเทือนใจให้เกิดอารมณ์คล้อยตามในสิ่งที่ต้องการแสดงถึง



ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ จะได้เป็นกันเองขึ้นหน่อย เพื่อจะได้ศึกษาและเข้าใจง่ายขึ้นตามหลักของจิตวิทยา



ดิฉันชื่อ นางสาวอัญยา (ไม่ขอเปิดเผย)



อายุ xx ปี (ไม่บอกหรอกเดี๋ยวหาว่าแก่)



จบการศึกษาครั้งล่าสุดที่ มหาวิทยาลัย....า..ง..รณ์ คณะอักษรศาสตร์ สาขาวรรณกรรม



ทำงานแล้วค่ะ (ไม่บอกอีกแหละ )



ต้องกล่าวปรับความเข้าใจกันก่อนเลยนะคะ ดิฉัน(ผู้เขียน)จะใช้คำว่าน้องๆแทนผู้อ่านนะคะ เพราะดูเหมือนว่า ตัวดิฉัน(ผู้เขียน)จะ อายุมากกว่า ทุกท่านในเว็บเด็กดีนี้ แต่ถ้าหากใครก็ตามที่อายุมากกว่าเข้ามาอ่าน ก็ต้องขออภัยค่ะ



เอาละ! แนะนำตัวคร่าวๆแล้วนะคะ เพื่อให้น้องๆเรียนและฝึกเขียนได้เข้าใจง่ายขึ้น ในรูปแบบเป็นกันเองค่ะ จะใช้วิธีเขียนเหมือนคุย เพื่อสื่อให้รับรู้ได้ง่ายมากขึ้น



น้องๆแต่ละคนคงอยากรู้วิธีแต่งนิยายให้เก่งและช่ำชองชำนาญแล้วใช่ไหมคะ งั้นเรามาเริ่มกันเลย





===========



น้องๆต้องนึกภาพฝันในมโนภาพในสิ่งที่จะเขียนออกมาให้ชัดเจน พลางจดโคลงเรื่องคร่าวๆแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนมากนัก เพราะหลักการง่ายๆนั้นค่อยมาเพิ่มปมและสิ่งอื่นๆทีหลังได้.... แล้วนำมาเรียงเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รูปแบบ



ดังนี้



เวลาเหตุเท่าไหร่?



ใคร?



ทำอะไร?



เหตุผล?



เงื่อนไข?



ที่ไหน?



อย่างไร?



ผลจะเกิดอะไร?



ใครเป็นอะไร?



ที่ตั้งโคลงเรื่องในรูปแบบนี้ มันแสดงให้เห็นว่า น้องๆก็เคยลองทำมาแล้วในรูปแบบการเรียนของวิชาภาษาไทยปกติที่เคยเรียนมาตอนอยู่บนชั้นเรียน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาที่ 1 จนกระทั่งจบมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว



การวางโครงเรื่องแบบนี้ น้องๆหลายคนมักมองข้าม เพราะเล็งเห็นว่า เป็นการกระทำของเด็กและไม่ได้ช่วยให้เรื่องดีขึ้นได้ ซึ่งจริงๆแล้วตรงกันข้าม เพราะวิธีดังกล่าวผู้มีฝีมือจริงๆแล้วนั้น เขายังไม่มองข้ามขั้นตอนนี้..ที่ดูเหมือนเด็กๆแบบนี้สักเท่าไหร่ การกระทำอย่างข้างต้นมักทำให้ผูกเรื่องได้ดีกว่า การแต่งโดยที่ไม่จดลงบนกระดาษ



เพราะการแต่งที่มีการจดบันทึกคร่าวๆง่ายๆแล้วมักจะทำให้เราสามารถกับมาเรียงคำได้ และ ยังช่วยเพิ่มคำสร้างบรรยากาศให้นิยายให้น่าอ่านขึ้นได้อีก



สมมติว่า...น้องๆนึกเรื่องที่จะเขียนออกมาแล้ว ให้น้องๆมาเริ่มเขียนโครงเรื่องก่อน โดยไม่ต้องสนใจชื่อเรื่องในตอนนี้ เพราะไม่แน่ ถ้าหากน้องๆเขียนชื่อเรื่องออกมาแล้ว แต่เนื้อเรื่องกลับกลายเป็นคนละอย่างไม่ตรงกับชื่อเรื่อง มันจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ สู้เอาเวลามาวาง พล๊อต(โครงเรื่อง)ดีกว่าค่ะ



เช่นว่า...น้องๆได้โครงเรื่องในรูปแบบข้างล่างนี้มา ก็ลองเขียนดูเลย





เวลาเหตุเท่าไหร่? ประมาณ 5โมงเย็น



ใคร? น้องๆอาจจะวางไว้ว่าเขาคนนั้นชื่อเอ



ทำอะไร? ก็เอาแบบง่ายๆว่าเขากำลังซักผ้าอยู่



เหตุผล? ก็เพราะเมียคนสวยไล่ให้ซักผ้า ถ้าไม่ซักจะถูกสากกระเบือตีหัวตาย อะไรประมาณเนี้ย



เงื่อนไข? ก็วางไว้ว่าถ้าซักผ้าเสร็จจะรอดตาย หรือเมียคนสวยอาจจะอนุญาติให้ไปสังสรรกับเพื่อนได้



ที่ไหน? ถ้าตอนที่เอซักผ้าก็ที่บ้าน แต่ในเงื่อนไขที่เขียนไว้ว่า ถ้าซักเสร็จจะได้ไปสังสรรกับเพื่อนๆก็เพิ่มตรงนี้ว่า ร้านอาหารด้วยก็ได้



อย่างไร? ก็เอาง่ายๆเลยว่ามันเกิดไปแล้ว



ผลจะเกิดอะไร? สนุกอะมั้งถ้าซักไม่เสร็จแล้วหนีไปสังสรร แต่ถ้าซักเสร็จก็รอดตาย



ใครเป็นอะไร? ตรงนี้แล้วแต่สถานการณ์ว่าซักผ้าเสร็จหรือยัง



ยังไงคะง่ายใช่ไหมคะ และสมมติว่านี่คือตอนแรกที่วางเอาไว้



ขั้นตอนที่ 2 ก็คือค้นคำค่ะ เพื่อให้ใช้คำได้เหมาะสมมากที่สุด และ อธิบายได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีคำให้ใช้เล่นไม่ซ้ำกันมากขึ้นอีกด้วย



ตัวอย่างเช่น ....



เวลาข้างต้น ที่วางไว้คือ 5โมงเย็นน้องๆ ก็นำมากล่าวตามสภาวะมโนภาพที่น้องๆได้นึกไว้ว่า



อืม.....ตอน 5 โมงเย็นท้องฟ้ามันสีอะไรนะ นกมันกลับรังยัง ต้นไม้ใบหญ้า บ้านเรือนในตอนนั้น บรรยากาศในตอนนั้น(5โมงเย็น)เป็นอย่างไร เมื่อน้องๆนึกออกว่า



5โมงเย็น พระอาทิตย์มันกำลังจะลับขอบฟ้าแล้ว ท้องฟ้ามันสีออกแดงๆม่วงๆมองไม่ค่อยชัดเลย อากาศก็เริ่มหนาว นกมันน่าจะกลับรังไปหาลูกมันมั้ง ก็นำมาเขียนเรียบเรียงอีกทีดังนี้...



ดวงตะวันสีส้มปนแดงระเรื่อกำลังจะลับขอบฟ้า แลเห็นแสงอาทิตย์คราสุดท้ายที่ทอดส่องมากระทบกับผืนเมฆจนบังเกิดแสงสีแดงปนม่วงเย็นสบายตาของวันนี้ สายลมหนาวพัดเอื่อยเฉื่อยเข้ามา......



อืม....เห็นไหมคะน้องๆมันง่ายนิดเดียวค่ะ ขอแนะนำว่าให้เลือกสรรค์ และ คัดคำมาลงให้ลงตัว เหมาะสม ตรงตัวเข้าใจ มากที่สุด เพราะจะได้คำที่สละสลวย อ่านแล้วไหลรื่น พกพจนานุกรมไว้ใกล้ๆตัวบ้างก็ดีนะคะ



ต่อมาบรรยายเวลาไปแล้วก็มากล่าวถึง



ใคร? + ทำอะไร? ก็คงเป็นนายเอที่กำลังซักผ้าอยู่หลังบ้าน พระเอกจำเป็นในตัวอย่างนี้



น้องๆก็มานั่งนึกดูว่า นายเอกำลังซักผ้า ต้องมีอะไรมั่ง ซักยังไง เหนื่อยไหม บ่นอุบอิบอะไรหรือเปล่า เอาแบบให้เหมือนคนกำลังทำอะไร ยังไงนะคะ จะได้เห็นภาพ



เมื่อเข้าใจในที่นี้น้องก็มาลอง เรียงอริยบถตัวละคร



นายเอกำลังซักผ้าอยู่ มีถึงข้างๆ ใส่เสื้อกร้าม เพราะกลัวเปียกโดนเสื้อ และกำลังรีบซัก เพื่ออยากไปงานสังสรรกับเพื่อนๆ



น้องๆก็มาเรียบเรียงและใช้คำให้บรรจงอีกที ก็จะเป็นประโยคดังนี้...



ดวงตะวันสีส้มปนแดงระเรื่อกำลังจะลับขอบฟ้า แลเห็นแสงอาทิตย์คราสุดท้ายที่ทอดส่องมากระทบกับผืนเมฆจนบังเกิดแสงสีแดงปนม่วงเย็นสบายตาของวันนี้ สายลมหนาวพัดเอื่อยเฉื่อยเข้ามา......กระทบกับผิวหนังของชายคนหนึ่งที่กำลังหมกมุ่นกับการซักเสื้อผ้าในอ่างน้ำหลังบ้าน เขารีบเร่งกับงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสุดชีวิต พลางเอามือยกขึ้นปาดเม็ดเหงื่อที่ย้อยอยู่ตามใบหน้าของเขา ถ้าสังเกตดีๆแล้วชายคนนี้มีผิวพันธ์ผุดผ่อง ใบหน้าเกรี้ยงเกรา จมูกโด่งคมเป็นสัน คิ้วดก ริมฝีปากเข้ารูป ดูล่ำสันภายใต้เสื้อกร้ามสีขาวอันบางเบา ที่เขาต้องรีบเร่งถึงขนาดนี้เพราะว่ามีนัดกับกลุ่มเพื่อน ที่เป็นนัดสำคัญยิ่งในชีวิตของเขาเลยทีเดียว...



เห็นไหมคะไม่ยากส์เลยใช่ไหม อ่อ! ลืมบอกไปค่ะ เดี๋ยวจะค่อยๆสอนให้ทีละอย่างนะคะ ตั้งใจอ่านล่ะ



การอธิบายในส่วนของ



ใคร?



นั้นจำเป็นต้องวางไปจนถึงรูปพรรณ สันชาติพื้นเพนิสัยเลยทีเดียว นี่เป็นหน่วยย่อยของใครค่ะ



ใคร? ย่อยออกมาได้อีกดังนี้



ชื่ออะไร



นิสัย



หน้าตา



ส่วนสูง



สีผิว



ฐานะ



ซึ่งล้วนแล้วแต่ผู้เขียนจะเสริมเติมแต่งกันอย่างไร ให้บุคลิกตัวละครออกมาเด่นชัดไม่ซ้ำใคร ตอนนี้อยู่ที่ผู้เขียนนะคะ



รายละเอียดปีกย่อยยังมีอีกเยอะค่ะ



เจอกันบทเรียนที่ 2 นะคะ



ขอจบ ไว้ในตอนนี้ก่อนนะคะ



ใครมีอะไรอยากให้แนะนำเชิญค่ะ ฝากข้อความไว้ได้



สำหรับใครก็ตามที่อ่านบทเรียนที่ 1 จบแล้วก็ขอให้นำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องของตัวเองนะคะ เพราะบทเรียนที่ 2 นั้นจะยากส์ขึ้นเรื่อย เพื่อเพิ่มอรรถรสให้คนอ่านค่ะ





ไว้เจอกันนะ

บทเรียนที่ 2



สวัสดีค่ะมาเจอกันกับบทเรียนที่ 2 แล้วนะคะ น้องๆคงไปฝึกวางโคลงเรื่องแล้วใช่ไหม หวังว่า ตอนนี้น้องๆจะใช้จินตนาการพาฝันของน้องๆไปได้ไกลขึ้นอีกก้าวแล้วนะคะ



สำหรับบทเรียนที่ 2 นี้ จะเริ่มยากส์ขึ้นค่ะ



การแต่งวรรณกรรมหรือนิยาย จะมีวิธีเล่าหรือนำเสนอเนื้อเรื่องอยู่ 2 แบบ



แบบแรกคือ ผู้เขียนเป็นคนเล่า (ประโยคบอกเล่า)หรือ บรรยายเหตุการณ์ และ สรรพนามก็จะเปลี่ยนมาเป็น ผม ฉัน เขา แทน เช่น



ผมเดินเข้ามาในซอยเปลี่ยวแห่งหนึ่ง ซึ่งตัวผมเองก็ไม่รู้ว่ามันคือที่ไหน มันเป็นที่รกร้างว่างเปล่า........



ตัวอย่างข้างต้นที่เป็นตัวหนา แสดงถึงว่า คือตัวผู้เขียนเอง โดยใช้คำว่า ผม เป็นตัวสื่อ



และแบบที่ 2 คือบุคคลที่ 3 เป็นคนเล่าเรื่อง



ดังเช่น....



รองเป็นคนขี้หงุดหงิดง่าย แต่ดารินกลับตรงกันข้ามเธอสุขมแลดูเยือกเย็นมากกว่า เหมือนน้ำที่จะมาคอยดับไฟอย่าง รอง



จากตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า การเล่าเรื่องนั้นมันมีหลายรูปแบบ



วิธีที่น้องๆจะเข้าใจได้มากที่สุดเดี๋ยวพี่จะอธิบายให้ฟังนะคะ



คือในรูปแบบตัวอย่างที่ 1 มันเป็นกรณีที่ผู้เขียนเป็นคนเล่าเรื่องด้วยตัวเอง บทบรรยายเลยใช้กับนิยายบางส่วนไม่ค่อยได้ แต่ในกรณีแบบที่ 2 จะเป็นมุมมองของบุคคลที่ 3 ที่เป็นคนเล่าเรื่องหรือนำเสนอเนื้อเรื่องแทนตัวละคร ในกรณีนี้ จะเป็นรูปแบบตัวอักษรที่ค่อนข้างจะตายตัวเสมอในนิยายเกือบจะทุกๆเรื่อง



เราลองมาวางโคลงเรื่องที่ มีบุคคล 2 คน สนทนากัน



สมมติขึ้นมาง่ายๆ เช่นนาย เอ คุย กับ นาย บี เพื่อจะไปตกปลา โดยที่ บุคคลที่ 3 คือตัวเรา(ผู้เขียน)เป็นคนเล่าเรื่อง



ดึกสงัดในคืนหนึ่ง ยังมีชายหนุ่มสองคนสนทนากันท้ายคลุ้งน้ำใหม่ใกล้ๆโรงสี พวกเขากำลังขะมักเขม้นในการวางเบ็ดตกปลาข้างหนอง



ประโยคข้างต้น ผู้เขียนจะเป็นคนเล่า(บุคคลที่ 3) เพื่อบรรยายลักษณะและ สภาพบรรยากาศ ก่อนที่จะเข้าสู่บทสนทนา



\'\' เฮ้ย! บีแกว่าวันนี้เราจะตกได้ปลาไหมวะ? \'\' ชายหนุ่มคนหนึ่งหันหน้ามาถามเพื่อนรักพลางปักเบ็ดไว้ตามคันนาข้างหนอง ในขณะที่ชายหนุ่มอีกคนหันหน้ามาทำสีหน้าราบเรียบแล้วส่ายศรีษะช้าๆ



\'\' ไม่แน่ว่ะ ข้าว่าวันนี้มันแปลกๆ \'\'



จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นว่า มันมีส่วนของบทสนทนาและส่วนของบทบรรยาย โดยส่วนของบทสนทนาจะมี \'\' เพื่อคอมเม้นให้แยกกันออกว่าเป็นท่อนคำพูด หรือ ท่อนบรรยาย



หวังว่าน้องๆคงเข้าใจในการแบ่งท่อนแล้วนะคะ คราวนี้เราจะมาเริ่มในส่วนของการหาคำเพื่อมาบรรยายกันค่ะ



ขั้นแรกของบทเรียนที่ 2 คือให้น้องๆ สะสมคำในแบบต่างๆให้มากที่สุดเพื่อนำมาเขียน ให้สละสลวยและ อ่านไหลรื่นมากขึ้น



คำที่ใช้แสดงความรู้สึกในด้านบวกได้แก่ ดีใจ ตื่นเต้น ไชโย ปลื้ม ปิติ ยินดี สวย หล่อ รัก ชอบ ยิ้ม ฯลฯ เป็นต้น



คำที่ใช้แสดงความรู้สึกในด้านลบได้แก่ โกรธ เกลียด ขุ่นมัว เศร้า โศก เสียใจ ร้องไห้ ฯลฯ เป็นต้น



การสะสมคำหลายๆแบบ และ คำหลายๆอย่างน้องๆ อาจจะเห็นว่ามันไม่ค่อยมีประโยชน์สักเท่าไหร่ แต่ที่จริงแล้ว ประโยชน์ของมันมหาศาลมากมาย เพราะ การใช้คำที่ซ้ำๆ จะทำให้คนอ่านเบื่อหน่ายได้ ผิดกับการใช้คำที่ไม่ซ้ำและอ่านได้ไหลรื่น



กรุณาดูตัวอย่างด้านล่าง





ขณะที่ระพีวิทย์วิ่งไปข้างหน้า ระพีวิทย์ก็ต้องสะดุดหกล้มบาดเจ็บที่หัวเข่าอย่างจัง ที่หัวเข่ามีเลือดไหล และก็ที่น่าอกด้วย



เป็นไงคะ อ่านแล้วทะxxxๆบ้างไหม หากเรามีคำให้เล่น หรือ เลือกใช้เยอะ รูปแบบออกมาจะเป็นดังนี้



ขณะที่ระพีวิทย์ก้าวทะยานไปข้างหน้าด้วยกำลังของฝีเท้า เขาก็ต้องสะดุดเข้ากับตอไม้แห้ง จนกระเด็นเซถลาหกล้มไม่เป็นท่า เขามองดูที่หัวเข่าซึ่งมีเลือดไหลชุ่มนัก น่าอกของเขาก็ใช่ย่อย



ตัวอย่างที่ 2 บ่งบอกให้เห็นว่าหากเรามีคำให้เลือกใช้มากมาย เราสามารถเลือกสรรคำดีๆมาลงให้เหมาะสม และ น่าอ่านมากยิ่งขึ้น



อืม ถ้าอยากเก่งแล้วคิดทันล่ะก็ต้องหัดหาคำบ่อยๆ เอายังงี้ดีกว่า ให้การบ้านน้องๆเลยนะ ไปหาคำในด้านบวกมา 40 คำ คำในด้านลบมา 40คำ ส่งมาทางอีเมล์นะคะห้ามโพส ที่ annya_maria@hotmail.com



จะรอตรวจค่ะ มันมีประโยชน์นะคะ ว่าแต่คิดว่ามันง่ายหรือเปล่า และแน่นอน มันมีถึงค่ะ มันมีถึง 80 คำแน่นอน ลองเล่นดูไหมมันเป็นประโยชน์กับน้องๆนะ





แล้วมาเจอกันใน



บทเรียนที่ 3 นะคะ หวังว่าพวกน้องๆคงไม่ท้อกันเสียก่อน
บทเรียนที่ 3





สวัสดีค่ะ เรามาถึงบทเรียนที่ 3 แล้วนะคะ หวังว่าที่ผ่านจะช่วยให้น้องๆได้ก้าวเข้ามาใกล้ความฝันขึ้นเรื่อยๆแล้วนะคะ หวังว่า บทเรียนที่ 1 และ 2 จะทำให้น้องๆเข้าใจในการวางโครงเรื่องพื้นฐานและ เข้าใจวิธีการบรรยายอย่างคร่าวๆแล้วนะคะ



ในส่วนของบทเรียนที่ 3 นี้จะเริ่มแนะนำให้น้องๆ มีความรู้เกี่ยวกับวางตัวละครเบื้องต้นค่ะ



หลักๆขอมันแล้ว เนื้อเรื่องต้องมาก่อนนะคะ ให้น้องๆลองวกกลับไปดูตอนที่ 1 การวางโครงเรื่องแล้ว นำมาตีตาราง ทำเป็นสมุดกระดาษก่อนเลยง่ายๆดี



สมมตินะคะ ว่า วางตัวละครเอกเด่นๆ ไว้ 7 ตัว ตามหลักการแล้วเราต้องใส่บุคลิก และเนื้อหาสำทับไปด้วยเช่น



มีตัวเอก 7 ตัว



เนื้อเรื่องต้องไปปราบปิศาจ เป็นเวลากี่วันก็ใส่ลงไป



เพื่อแย่งชิงลูกแก้วแห่งแสงกลับมา



ตัวละครตัวที่ 1 ชื่อเอ อุปนิสัยโง่ๆเห่ยๆ แต่เก่งเรื่องฟันดาบ



ตัวที่ 2 ชื่อ บี อุปนิสัยราบเรียบไม่พูดจา ชอบของไฮเทคล้ำยุค



ตัวที่ 3 ชื่อซี เฉยเมย



ตัวที่ 4 ชื่อดี ร่าเริงแต่กลัวความสูง



ตัวที่ 5 ชื่ออี น่ารัก และ ฉลาดด้วย



ตัวที่ 6 ชื่อเอฟ แข็งแรง



ตัวที่ 7 ชื่อจี มีเสน่ห์



เห็นได้ชัดว่า วางโครงเรื่องและตัวละครมั่วๆ แต่ก็ยังคงมีเค้าหลักการให้เห็น ดังนั้นไม่ว่าจะวางเรื่องแบบไหนขอให้มีหลักการ ก็ดูเหมือนจะไปได้ดีแล้วค่ะ





และแน่นอนตัวละครเหล่านี้ต้องเดินทางไปปราบเหล่าปิศาจต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกแก้ว แล้วโลกก็จะสงบสุข เราก็จะมาเพิ่มตรงที่ว่า



ฝากไว้ก่อนค่ะ บทเรียนที่ 3 ยังไม่จบนะคะ ไว้มาเรียนกันต่อ วันนี้ไปทำงาน ล่าหาตัวนักเขียนมีแววก่อนบายค่ะ


-----------------------------------------------------
หวังว่าเพื่อนๆคงได้ประโยชน์นะ เราหาเจอพอดี เลยเอามาฝากงะ อิอิ
ถ้าซ้ำก็ขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

+*+*+*+~Nu_OiL~+*+*+*+ 5 ต.ค. 49 เวลา 17:00 น. 1

เคยอ่านๆๆ รู้สึกจะเคยลงไปแล้ว แต่ดีนะที่เอามาลงอีก เราเชื่อว่ามีเพื่อนๆอีกหลายคนที่ยังไม่ได้อ่าน และเป็นประโยชน์มากๆสำหรับพวกเราบรรดานักเขียนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าจ๊ะ ขอบคุณมากจ๊ะสำหรับบทความดีๆๆ




                 ...................... ที่นี่ http://www.termfan.com ก้าวแรกของนักเขียนหน้าใหม่  สู่การเป็นนักเขียนมืออาชีพ.............................
                                                                                   เติมฝัน.com จุดเริ่มต้นของคนมีฝัน

0
LucifeR_ศาสตราแห่งความมืด 5 ต.ค. 49 เวลา 21:19 น. 2

The magician team ผู้วิเศษแห่งโลกา เรื่องยาว
แฟนตาซี
อัพเดท: 5 ต.ค. 49 , เข้าชม :22/27 , โพสท์ :6 , Rating :0
คำอธิบาย : เมื่อโลกที่เคยแบ่งแยกอำนาจโดยสิ้นเชิงทั้ง นรก สวรรค์ และมนุษย์ หากกงล้อแห่งชะตาชักนำสงครามที่ทำให้มิติทั้งสามกลับต้องร่วมมือกันผู้ถูกเลือกของมนุษย์ แม้เป็น ปีศาจ หรือเทวดาจะต้องร่วม
ฝากติชมหน่อยสิ เราพยายามสุดความสามารถแล้วนะ
0
เจ้านางน้อยณฌา แห่งเหฬา 6 ต.ค. 49 เวลา 10:13 น. 4

ขอบคุณมากค่ะ...ที่ได้เรียนรู้บทเรียนในการเขียนนิยาย เราก็เป็นคนหนึ่งที่อ่านนิยายมาหลายแนวแล้วเหมือนกัน จนรู้สึกว่าอยากจะเขียนบาง เพราะเท่าที่อ่านมาไม่ค่อยจะถูกใจซักเท่าไหร่ตอนนี้มีแต่พล๊อตเรื่องจุดสำคัญที่ทำให้อยากจะเขียนมีอยู่ 2 เรื่อง แต่ยังเขียนไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหนแล้วจะให้เรื่องราวดำเนินต่อไปอย่างไรน่ะ ต่อไปเราก็ขอคำชี้แนะจากพี่อัญยาด้วยนะคะ ฝากตัวด้วยนะคะ

0
ไอซ์ดราก้อน 7 มิ.ย. 51 เวลา 09:06 น. 5

ใช่ค่ะ!   เราก็เป็นคนนึงที่อยากแต่งนิยายให้ได้ซะที    ถึงจะแต่งมา 7-8 เรื่องแล้วแต่รู้สึกว่าจะมีตัวละครมากเกินไปหน่อย( แฟนตาซีเรื่องล่าสุดที่แต่งอยู่ต้องเขียนใหม่หมดเลยเพราะงี้แหละ)   อยากให้ช่วยสอนเกี่ยวกับปัญหาของเรื่องนี้ด้วยค่ะ    แล้วก็ข้อเสียของนิยายแนวแฟนตาซีส่วนใหญ่อะ   มันจะอยู่ที่ว่ามีการบรรยายมากเกินไป(มีใครสาบานได้บ้างว่าเวลาอ่านนิยายแฟนตาซีแล้วจะอ่านหมดทุกตัวอักษร)    เพราะงั้นเราก็เลยไม่ได้บรรยายลักษณะของตัวละครมากขนาดนั้น    (เคยลองบรรยายแบนั้นดูปรากฎว่าขนาดเป็นคนแต่งยังขี้เกียจอ่านให้หมดเลย-_-a)     เพราะงั้นก็เลยอยากให้พี่อัญยาช่วยบอกเทคนิกการแต่งนิยายแนวนี้น่ะค่ะ    เพราะหนูพยายามจนสุดความสามารถแล้วก็ยังทำไม่ได้ซะที(นี่ฉันเคยพยายามขนาดนั้นเลยเหรอ)    ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ 

0