Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ผู้พิพากษา กะ อัยการ ต่างกันยังไงหยอ???

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

อยากทราบจังเยยค่ะว่า ผู้พิพากษา กะ อัยการ ต่างกันยังไง แล้วแต่ละอย่างมีรายละเอียดอย่างไร ช่วยตอบหน่อยน้า~~~~


PS.   A live without love,is no life at all ชีวิตที่ปราศจากความรัก มันไม่ใช่ชีวิตหรอก

แสดงความคิดเห็น

>

53 ความคิดเห็น

55555 15 ต.ค. 49 เวลา 17:49 น. 2

อัยการ ร่วมพิจารณาคดี เป็นเสียงส่วนใหญ่ ที่ต้องร่วมกันลง ค เห็น



ผู้พิพากษา ผู้นั่งบัลลังก์ มีอำนาจซักถาม และ มีสิทธิ์ขาดในการตัดสิน เป็นได้เฉพาะผู้ชาย

1
ทนายสบายใจ 24 เม.ย. 60 เวลา 05:38 น. 2-1

ท่านมั่วมากเลยนะ อัยการคือทนายแผ่นดินว่าความให้รัฐ ส่วนที่เป็นลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่นั่นหนะเค้าเรียกคณะลูกขุน มีเฉพาะศาลระบบไต่สวน ศาลยุติธรรมประเทศไทย ใช้ศาลระบบกล่าวหา ผู้พิพากษาเป็นได้ทั้งชายและหญิงมีหน้าที่ตัดสินคดี ในศาลระบบกล่าวหา ส่วนศาลระบบไต่สวนคณะลูกขุนจะเป็นผู้ลงคะแนนตัดสิน

0
15 ต.ค. 49 เวลา 17:51 น. 3

อัยการเป็นเหมือนทนายของโจทก์ในคดีนั้น อาจเป็นจำเลยได้ในบางกรณี



แต่พู้พิพากษาจะเป็นคนตัดสินของคดีนั้น(ใหยที่สุดอะแหละมั้ง)



ก็ประมานนี้แหละ



PS.  ~*หากไม่รู้จักเจ็บปวด ก็คงไม่ซึ้งถึงความสุขใจ-*~
0
p_b 15 ต.ค. 49 เวลา 18:56 น. 6

ตอนนี้ พ่อเราเป็นอัยการอะนะ

ลองฟังดู คือว่าอัยการเนี่ย จะเป็นคนที่พิจารณาคดีก่อนว่า จะฟ้องหรือไม่ฟ้อง

ถ้าฟ้องก้อจะส่งให้ศาลต่อไป

แล้วผู้พิพากษา ก้อจะทำหน้าที่ตัดสินคดีอีกที แต่อัยการก็ยังมาร่วมเป็นทนายอีกที

(ประมาณนี้แหละ) แล้วที่สำคัญ ผู้หญิงหรือผู้ชายก้เป็นได้ทั้งนั้นแหละ

0
งุงิ 15 ต.ค. 49 เวลา 19:04 น. 7

-*- มันมั่วจริงๆด้วย

ล่าสุดผู้พิพากษาที่ได้รับการแต่งตั้งก็เป็นผู้หญิงด้วยนะ

อัยการเป็นผู้สั่งฟ้อง/ส่งฟ้อง

ผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินคดี

*ในกรณีที่เป็นอาญาแผ่นดินเช่น ชกกันแล้วไม่มีใครเอาเรื่องตำรวจเอาเรื่องได้ ส่งให้อัยการทำเรื่องฟ้องและเป็นโจทย์ฟ้องคดีเองเลยได้ รวมถึงคดีที่มีคนมาจ้างแทนก็ได้อ่ะนะ



การจะเป็นอัยการได้จะต้องจบนิติศาสตร์จากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสำนักเนติบัญดิด

และไปเรียนเนติให้จบแล้วสอบเอาอีกที

ผู้พิพากษาเรียนเนติให้จบแล้วไปสอบได้เลยโดยมีการสอบข้อเขียน 3 ครั้ง ต้องผ่านทั้งหมดบางคนใช้เวลาเป็น10ปี แล้วไปสอบสำพาด ถ้าสอบตกสำพาด ให้สอบใหม่ได้ 1 ครั้ง ถ้าตกอีกให้ไปสอบข้อเขียนใหม่ -*- แล้วบางคนที่10ปีผ่านก็ถอดใจ&nbsp  จบ-*-

0
งุงื 15 ต.ค. 49 เวลา 19:07 น. 8

อัยการกับทนายมันมาเกี่ยวไรกันครับ ความคิดเห็นที่ 6&nbsp จะมาเป็นทนายได้ไง -*-

ทนายส่วนทนายเด้ะ

0
นางสาวพรหมลิขิต 15 ต.ค. 49 เวลา 19:11 น. 9

ไปเอามาจากหนายยยยย ^^ ที่ว่า...ผู้พิพากษาเป็นได้แต่ผู้ชายน่ะ
เหอๆ มั่วได้เรื่องเจงๆ >_<


PS.  การแอบรักที่แท้จริง คือ การรักใครสักคน.. โดยที่มีคนรู้แค่คนเดียว ^^ คนๆนั้นคือตัวเรา
0
ว่าที่ นิติ มธ. 15 ต.ค. 49 เวลา 20:06 น. 11

อัยการก็เหมือนกับทนายอ่ะแหละ เพียงแต่ อัยการเป็นทนายความของแผ่นดิน เป็นข้าราชการพวกคดีที่เกี่ยวกับรัฐพวกอาญษกับมหาชน อัยการจะรับหน้าที่เหมือนทนาย ส่วนทนายไม่ใช่ข้าราชการ มีสิทธิ์จะอยู่ฝั่งผู้ใดก็ได้ตามที่รับจ้างมาอ่ะน่ะ

0
ว่าที่ นิติ มธ. 15 ต.ค. 49 เวลา 20:08 น. 12

เติมอันบน- - ละเมอนิดหน่อย อย่างที่บอกอ่ะนะ อัยการ เป็นเหมือนทนาย แต่ผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินคดี ผู้พิพากษาใหญ่กว่าอัยการ - -

0
[ The_Ant@Chem ] 15 ต.ค. 49 เวลา 23:11 น. 13

แหม่ ตรงใจพี่เลยว่ะ

อัยการ ทนายของแผ่นดิน  เป็นประมาณพวกข้าราชการประจำ ( หรือป่าว ) มีหน้าที่เกี่ยวกับอรรถคดีของรัฐทั้งอาญาและทางมหาชน  มีหน้าที่คล้ายทนาย จะอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายโจทก์ ( ใช่ป่าวหว่า )

ส่วนทนาความ ก็บอกอยู่แล้วอ่ะ น่าจะรู้ เป็นตัวต่อในการดำเนินคดีความ เดินเรื่องการไต่สวนในชั้นศาล อยู่ฝั่งไหนก็ได้ แต่ที่เคยเห็นเห็นแต่ฝั่งโดนฟ้องอ่ะ ( จำเลย )

สองคนนี้จะนั่งอยู่ข้างล่าง แล้วก็เดินวนคนที่เบิกขึ้นมา ถามโน่นถามนี่ไป

ส่วนผู้พิพากษา เป็นตำแหน่งข้าราชการประจำครับ  ทำหน้าที่พิจารณาและตัดสินอรรถคดีในชั้นศาลครับ ผู้พิพากษาจะมีแค่คนเดียว ( มั๊ง ) ส่วนที่นั่งกระนาบสองข้างบนบัลลังก์ ก้เป็น ผช.  ทำหน้าที่ช่วยในการพิจารณาคดี ร่วมกับผู้พิพากษา  โดยเมื่อการไต่สวนเป็นที่เสร็จสิ้น ผู้พิพากษาจะเป็นผู้อ่านคำพิพากษาตัดสินคดีความ


ทั้ง 2 ( คืออัยการและผู้พิพากษา ) ต้องจบ เนติบัณฑิต ครับ  ถ้าไม่จบ หรือไม่ได้เรียนจะไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินคดีความน่ะครับ ( ฟังเค้ามาอีกที ) 


PS.   ***---*** โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง****------****
0
Justice 1 ก.พ. 53 เวลา 15:23 น. 15

ตอบ คห ที่14 ใช่ เพราะผู้พิพากษาทำหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์(ก็คือทำหน้าที่แทนในหลวง)ส่วนอัยการก็คล้ายๆทนายแต่มีเกียรติกว่า เพราะเป็นทนายของประชาชน(ทนายแผ่นดิน)ทำหน้าที่ดำเนินคดีแทนประชาชนที่เป็นผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายนั้นจะต้องร้องทุกข์ต่อตำรวจก่อนนะ แล้วตำรวจก็จะส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นว่าควรจะสั่งฟ้องดีหรือไม่ไปให้อัยการ เมื่ออัยการได้รับสำนวนแล้วก็จะพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องดีหรือไม่โดยไม่ต้องทำตามความเห็นของตำรวจ(พนักงานสอบสวน)ก็ได้ ถ้าพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล พนักงานอัยการ(เรียกสั้นๆว่าอัยการ) ก็จะต้องไปดำเนินคดีต่อในศาลเช่น บรรยายการกระทำของจำเลยที่ได้กระทำผิดให้ศาลได้ทราบ เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลย เป็นต้น

0
ดีดี 16 ก.ค. 53 เวลา 01:46 น. 17

ตอบ คห. 16 เราต้องไปเรียนนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากสำนักเนติบัญฑิต เมื่อจบปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์แล้วก็ไปต่อ เนติฯ ครับ ซึ่งเรียนอยู่ประมาณ 2 ปี ก็เอาความรู้จากปริญญาตรีนั่นแหละมาใช้ในการเรียนแต่หนักกว่าหน่อย เมื่อเรียนเนติจบแล้ว กว่าจะสอบได้นะครับต้องมีคุณสมบัติอีก 1. อายุ 25 ขึ้นไป 2.ต้องผ่านการว่าความคดีแพ่งน่าจะ 20 คดีนะครับ(ถ้าจำไม่ผิด)ส่วนอาญาไม่แน่ใจ(10+มั่งครับ) หรือไม่ก็ทำงานด้านกฎหมาย 2 ปี หรือเป็นอาจารย์สอน ครับ ถึงจะมีสิทธิ์ไปสอบทั้ง อัยการกับผู้พิพากษา แต่อีกข้อที่ต้องไม่ลืมคือ สัญชาติไทย ..... ยากครับกว่าจะได้เป็นแต่ถ้าได้เป็นแล้วสบายครับเรื่องฐานะนะครับไม่ใช่งาน...อิอิอิ ใฝ่ฝันอยากเป็นจังแต่ดันเรียนวิศวะ

0
sabaidee 29 พ.ย. 53 เวลา 16:16 น. 18

ตอบ คห.
ที่ว่า " - ละเมอนิดหน่อย อย่างที่บอกอ่ะนะ อัยการ เป็นเหมือนทนาย แต่ผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินคดี ผู้พิพากษาใหญ่กว่าอัยการ - " นั้น

ในการตัดสินคดีหากศาลตัดสินแล้ว&nbsp ถ้าเป็นคดีอาญาที่อัยการฟ้อง&nbsp อัยการจะพิจารณาว่าคำพิพากษาชอบด้วยเหตุผลหรือไม่

หากอัยการเห็นว่า&nbsp  หากเห็นว่าคำพิพากาชอบด้วยเหตุผลและเป็นไปตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็มีอำนาจในการสั่งยุติการ

ดำเนินคดีในชั้นต่อไป&nbsp แต่หากเห็นว่าคำพิพากษาไม่ถูกต้องก็จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไป&nbsp 

เป็นการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างกัน

ถือไม่ได้ว่าใครใหญ่กว่า&nbsp ขึ้นอยู่ว่าคดีอยู่ในอำนาจและระหว่างการพิจารณาของใคร

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp กรณีที่ว่าใครใหญ่กว่านั้น&nbsp  ยกตัวอย่าง ขับรถผิดกฎจราจร "พลตำรวจก็มีอำนาจจับผู้กระทำความผิดได้แล้ว"

แต่ อัยการกับผู้พิพากษาไม่มีอำนาจไปจับใครได้&nbsp เห็นแล้วหรือยังว่าใครใหญ่...

0